พื้นฐาน Phonics สำหรับนักเรียนไทย (ภาษาอังกฤษที่ควรมีในห้องเรียน) PART 4

กระทู้สนทนา
What's going on?!

มาต่อกับตอนที่ 4 เลย บทนี้เราจะมาเรื่อง "เสียงควบกล้ำ" ขั้นพื้นฐานกันซะหน่อย (ถึงจะบอกว่าพื้นฐานแต่ก็ยกมาเกือบหมดแล้วแหละ 555)

Let's roll!

1) เรามาทำความรู้จักกับ "syllable" หรือ "พยางค์" กันบ้าง มันคืออะไร? นิยามแบบง่าย ๆ เลยพยางค์คือเสียงสระในคำศัพท์ วิธีนับพยางค์ก็คือ 'นับตามเสียงสระ' คำนี้มีสระกี่ตัว ก็จะมีจำนวนพยางค์เท่านั้น แต่ลองมาดูคำเหล่านี้ซิ "star" "sport" "smile" สองคำนี้มีกี่พยางค์ บางคนอาจบอกว่า star มี 2 พยางค์ นั่นก็เพราะเขาออกเสียงคำนี้ประมาณ "สะ-ตา" (sa-tar) แต่จริง ๆ แล้วเรานับว่าคำนี้มีแค่หนึ่งพยางค์เท่านั้น โดย st- ต้องออกรวมกันเป็นพยัญชนะควบกล้ำ และมีเสียงสระแค่หนึ่งตัวคืออา "สฺตา" (ssstar) (รวมถึงคำอื่น ๆ ด้วย)

2) ในภาษาอังกฤษอังกฤษเราเรียกเสียงพยัญชนะควบกล้ำว่า 'Consonant cluster' หรือ 'Consonat blend'
ยกตัวอย่างในภาษาอังกฤษเช่น
bl- (black, block, blink), br- (brick, bread, Bryan)
cl- (clan, clay, clean), cr- (cry, crow, crazy)
dr- (drink, drop, drive), dw- (dwell, dwarf, dwindle)
fl- (fly, flow, fluent), fr- (free, frame, friend)
gl- (glow, glue, glacier), gr- (grow, grey, grief)
pl- (play, please, plan), pr- (prey, predator, prize)
qu- (queen, quest, quarter) *มันคือเสียง kw-
tr- (tree, trick, trade), tw- (twin, twilight, twenty)
shr- (shrink, shred, shrine)
thr- (through, thorough, three)
ฝึกพูดไว้บ่อย ๆ เลย เวลาฝึกก็ให้ฝึกเป็นคู่ไปแบบนี้ ในตอนแรกอาจจะสับสนหน่อย แต่ให้ระยะยาวมันดีกว่าแน่นอน ต่อสู้กับความสับสนตั้งแต่เนิ่น ๆ เลยดีที่สุด!

3) อีกกลุ่มเสียงควบกล้ำที่ควรฝึกให้คล่องเช่นกันคือ "s blend" (หรือ s-blend words) นั่นเอง มันคือเสียงควบกล้ำที่อยู่กับตัว s ที่คนไทยหลายคนมักเพิ่มเสียงสระอะเข้าไป (ดังตัวอย่าง สะ-ตา ที่พูดถึง) จากนี้เวลาอาจไม่ต้องเพิ่มเสียงสระอะ แต่ให้ลากเสียง s ยาว ๆ แทน เช่น ski ก็ให้อ่าน ssski / slow ก็ให้อ่าน ssslow / stop ก็ให้อ่าน ssstop ไรงี้ พยายามฝึกลากเสียง s ยาว ๆ เข้าไว้
sk- , sc- (ski, sky, scare) 
sl- (slow, slide, slap)
sm- (small, smoke, smell)
sn- (snail, snow, snitch)
sp- (spy, spear, spook)
st- (stop, stand, step)
sw- (swim, swallow, swear)
sph- (sphere, Sphinx) *มันคือเสียง sf-

4) เสียง (phoneme) บางตัวสะกดด้วยสองตัวอักษร (digraph) แต่มันไม่ใช่ cluster หรือ blend นะ ให้ออกเป็นเสียงเดียวพอ ตัวอย่างเช่น sh- นี่คือเสียง ช- ไม่ใช่ สห- (คงไม่มีใครเข้าใจผิดแบบนี้หรอก 555 แค่ยกตัวอย่างเฉย ๆ) และเสียงอื่น ๆ เช่น -ck, th-, ch-, wr-, -ng, gh-, sc-, wh- เหล่านี้ก็ไม่ต้องไปควบกล้ำมันนะ ตัวอย่างคำศัพท์เช่น back (แบค), think (ธิง), church (เฉิทช), wrong (รอง), ghost (โกสท), science (ซาย-เอินส) และ who (ฮู)

5) สุดท้าย cluster ท้ายคำก็เป็นสิ่งที่เราควรฝึกไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เช่นกัน 
-st (must, fast, *missed) *-ed เมื่อต่อท้าย /s/ จะเป็นเสียง /t/
-sk, -sc (desk, disc, ask)
-mp (jump, pump, dump)
-nd (sand, mend, blend)
-nt (can't, tent, hint)
-nce (dance, chance, mince)
สำหรับเสียงลงท้ายนี้จริง ๆ มีอีกเยอะเลย แถมยังมีประเด็นของเสียง -ed และการเติม -s เข้ามาเกี่ยวด้วย ไว้เราจะมาลงรายละเอียดกันในตอนต่อ ๆ ไปนะ

"ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างในวันนี้ แค่รู้ให้มากกว่าเมื่อวาน"
Stay tuned
JGC.

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่