"โลกหลังผ่านสงครามโควิด-19 จะไม่มีทางเหมือนเดิมอีกต่อไป" ความหวังเดียวที่จะทำให้มนุษย์กลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ ก็คือการมีวัคซีนเพื่อใช้ป้องกันเชื้อไวรัสได้สำเร็จเท่านั้น ขณะเดียวกันโลกก็ต้องรับมือกับกับปัญหาเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงปัญหาการขาดแคลนอาหารก็กำลังทวีความรุนแรงอยู่ทุกขณะ
หลายประเทศทั่วโลกที่เป็นประเทศส่งออกอาหารลำดับต้นๆของโลกต่าง อย่างจีนและอินเดีย เริ่มมีมาตรการเข้มงวดการส่งออกอาหาร เพราะต้องผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศให้เพียงพอ และมาตรการปิดพรมแดนที่ทำให้การขนส่งอาหารข้ามประเทศประสบความยากลำบาก รวมทั้งภาคการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะงักงัน จนทำให้ประชาชนในหลายประเทศไม่สามารถเข้าถึงอาหาร และกระทบความเป็นอยู่และความมั่นคงในชีวิต บวกกับปัญหาภัยแล้งจากผลพวงภาวะโลกร้อนที่ทำให้ผลผลิตน้อยลง
ในช่วงเวลายากลำบากที่ทุกประเทศกำลังเกิด
“วิกฤติ” พร้อมกันเช่นนี้ หากประเทศไทยสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดภายในประเทศ พร้อมทั้งประคับประครองเศรษฐกิจในระหว่างรอการค้นพบวัคซีน และสามารถพลิกวิกฤติเป็น
“โอกาส” ได้ประเทศไทยเราก็จะฟื้นตัวเร็วได้เร็วกว่าประเทศอื่นๆ
ก่อนเกิดวิกฤติไวรัสโควิด19 นั้นประเทศไทยเราพึ่งพาอุตสาหกรรมหลักจาก 2 อุตสาหกรรมคือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมอาหาร แต่หลังจากคลื่นวิกฤติโควิดปะทะเข้ามาอย่างรวดเร็วอย่างรวดเร็ว ทำให้ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหยุดชะงัก ภาคบริการต่างๆที่อยู่ต้นน้ำยันปลายน้ำเกิดผลกระทบอย่างจังและไม่มีทีท่าว่าจะสามารถกลับมาฟื้นคืนได้อีกเมื่อใด ทางออก ณ ช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้จึงเป็นการหันมาพึ่งพา อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารเท่านั้น
เคยมีผู้กล่าวถึงภาคเกษตรของบ้านเรานั้นเปรียบเสมือน
"น้ำมันบนดิน" ที่ใช้ไม่มีวันหมด เรื่องนี้ #เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เคยให้ความคิดเห็นเอาไว้ว่า
สินค้าเกษตร คือ น้ำมันบนดิน เป็นทรัพย์ของชาติ ที่คนไทยมักละเลย และยังบอกอีกว่าหนึ่งในทางรอดประเทศไทยวันนี้ คือ เกษตรกรรม โดยใจความตอนหนึ่งของบทสัมภาษณ์กล่าวถึงภาคเกษตรว่า
"สินค้าเกษตรนอกจากทำเป็นน้ำมันก็ได้ แต่สำคัญที่สุด เลี้ยงชีวิตมนุษย์ แล้วมนุษย์นี่สำคัญกว่าเครื่องจักรมั้ย แล้วคนที่ผลิตสินค้าที่เลี้ยงมนุษย์ จนกว่าคนที่ผลิตสินค้าให้เครื่องจักร มันถูกต้องที่ไหน ถ้าเกษตรกรร่ำรวยขึ้นมา มีเงินจับจ่าย ใครได้ประโยชน์คนแรกรู้มั้ย แม่ค้าหาบเร่ได้ก่อน สินค้าโอท็อป ธุรกิจจิ๋ว เล็ก กลาง ได้ก่อน เพราะเขาเป็นกำลังซื้อของสินค้าเหล่านั้น"
อภิมหาเศรษฐีชื่อดังชาวนิวยอร์ก ผู้ก่อตั้งและบริหารกองทุน Bridgewater Associates ซึ่งเป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกกองทุนหนึ่ง ได้ออกมาคาดการณ์สถานการณ์หลังวิกฤติโควิดว่า นับต่อจากนี้ทุกประเทศจะต้องเน้นการพึ่งพาตัวเอง และอดออมมากขึ้น
หากรัฐบาลไทยช่วงชิงจังหวะเวลานี้ หันมาผลักดันประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารแห่งอาเซียน คงจะดีไม่ใช่น้อย โดยผนักดันสินค้าเป้าหมาย เช่น ข้าวและธัญพืช ปศุสัตว์ ประมง ผักและผลไม้ เกษตรอินทรีย์ และยังมีกลุ่มสินค้าที่จะทำตลาดได้ดีในอนาคต อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์อาหารจากเทคโนโลยีชีวภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ สร้างโอกาสทางธุรกิจ เเชื่อมโยงการผลิตสู่ตลาดโลกผ่านแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับผู้ผลิตทุกระดับ รวมถึงการเชื่อมโยงวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์เข้ากับผลิตภัณฑ์อาหารและการท่องเที่ยว และการสร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม นี่น่าจะเป็น
“ทางรอด” ที่เหมาะสมของประเทศไทยในยุควิกฤติโควิดนี้มากที่สุด
น้ำมันบนดิน ทางรอดประเทศไทยยุคโควิด-19
หลายประเทศทั่วโลกที่เป็นประเทศส่งออกอาหารลำดับต้นๆของโลกต่าง อย่างจีนและอินเดีย เริ่มมีมาตรการเข้มงวดการส่งออกอาหาร เพราะต้องผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศให้เพียงพอ และมาตรการปิดพรมแดนที่ทำให้การขนส่งอาหารข้ามประเทศประสบความยากลำบาก รวมทั้งภาคการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกที่ชะงักงัน จนทำให้ประชาชนในหลายประเทศไม่สามารถเข้าถึงอาหาร และกระทบความเป็นอยู่และความมั่นคงในชีวิต บวกกับปัญหาภัยแล้งจากผลพวงภาวะโลกร้อนที่ทำให้ผลผลิตน้อยลง
ในช่วงเวลายากลำบากที่ทุกประเทศกำลังเกิด “วิกฤติ” พร้อมกันเช่นนี้ หากประเทศไทยสามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดภายในประเทศ พร้อมทั้งประคับประครองเศรษฐกิจในระหว่างรอการค้นพบวัคซีน และสามารถพลิกวิกฤติเป็น “โอกาส” ได้ประเทศไทยเราก็จะฟื้นตัวเร็วได้เร็วกว่าประเทศอื่นๆ
ก่อนเกิดวิกฤติไวรัสโควิด19 นั้นประเทศไทยเราพึ่งพาอุตสาหกรรมหลักจาก 2 อุตสาหกรรมคือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมอาหาร แต่หลังจากคลื่นวิกฤติโควิดปะทะเข้ามาอย่างรวดเร็วอย่างรวดเร็ว ทำให้ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหยุดชะงัก ภาคบริการต่างๆที่อยู่ต้นน้ำยันปลายน้ำเกิดผลกระทบอย่างจังและไม่มีทีท่าว่าจะสามารถกลับมาฟื้นคืนได้อีกเมื่อใด ทางออก ณ ช่วงเวลาวิกฤติเช่นนี้จึงเป็นการหันมาพึ่งพา อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารเท่านั้น
เคยมีผู้กล่าวถึงภาคเกษตรของบ้านเรานั้นเปรียบเสมือน "น้ำมันบนดิน" ที่ใช้ไม่มีวันหมด เรื่องนี้ #เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เคยให้ความคิดเห็นเอาไว้ว่า สินค้าเกษตร คือ น้ำมันบนดิน เป็นทรัพย์ของชาติ ที่คนไทยมักละเลย และยังบอกอีกว่าหนึ่งในทางรอดประเทศไทยวันนี้ คือ เกษตรกรรม โดยใจความตอนหนึ่งของบทสัมภาษณ์กล่าวถึงภาคเกษตรว่า
"สินค้าเกษตรนอกจากทำเป็นน้ำมันก็ได้ แต่สำคัญที่สุด เลี้ยงชีวิตมนุษย์ แล้วมนุษย์นี่สำคัญกว่าเครื่องจักรมั้ย แล้วคนที่ผลิตสินค้าที่เลี้ยงมนุษย์ จนกว่าคนที่ผลิตสินค้าให้เครื่องจักร มันถูกต้องที่ไหน ถ้าเกษตรกรร่ำรวยขึ้นมา มีเงินจับจ่าย ใครได้ประโยชน์คนแรกรู้มั้ย แม่ค้าหาบเร่ได้ก่อน สินค้าโอท็อป ธุรกิจจิ๋ว เล็ก กลาง ได้ก่อน เพราะเขาเป็นกำลังซื้อของสินค้าเหล่านั้น"
หากรัฐบาลไทยช่วงชิงจังหวะเวลานี้ หันมาผลักดันประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารแห่งอาเซียน คงจะดีไม่ใช่น้อย โดยผนักดันสินค้าเป้าหมาย เช่น ข้าวและธัญพืช ปศุสัตว์ ประมง ผักและผลไม้ เกษตรอินทรีย์ และยังมีกลุ่มสินค้าที่จะทำตลาดได้ดีในอนาคต อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์อาหารจากเทคโนโลยีชีวภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ สร้างโอกาสทางธุรกิจ เเชื่อมโยงการผลิตสู่ตลาดโลกผ่านแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับผู้ผลิตทุกระดับ รวมถึงการเชื่อมโยงวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์เข้ากับผลิตภัณฑ์อาหารและการท่องเที่ยว และการสร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม นี่น่าจะเป็น “ทางรอด” ที่เหมาะสมของประเทศไทยในยุควิกฤติโควิดนี้มากที่สุด