Date: 13 กุมภาพันธ์ 2015
พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย
ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวแบบนานกว่าที่หลายคนคาดนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคย่ำแย่ทางเศรษฐกิจหรือเปล่า หลายคนอาจยังไม่รู้ แต่ตอนนี้มีคนเรียกประเทศไทยว่า “คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย” (a new sick man of Asia) แทนที่ฟิลิปปินส์ไปเรียบร้อยแล้ว
มาแอบดูกันดีกว่าครับ ว่าเรากำลังเจอปัญหาอะไรอยู่บ้าง
ผมขอมองย้อนกลับไปสักนิด แต่ไม่อยากย้อนกลับไปไกลมาก ขอเอาช่วงไทยยุครุ่งเรืองก่อนวิกฤติปี 2540 ก็พอครับ ตอนนั้นประเทศไทยกำลังรุ่งสุดๆ GDP โตแบบฉุดไม่อยู่ เราโตปีละ 8-13% อย่างต่อเนื่องเกือบสิบปี จนได้รับขนานนามว่าเป็นปาฏิหาริย์ของเอเชีย (the miracle of Asia) เราบอกตัวเองว่าเรากำลังจะเป็นเสือตัวที่ห้า เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ กำลังแข่งกับพี่ใหญ่ทางเศรษฐกิจอย่างสิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลี ฮ่องกง เลยทีเดียว รายได้ต่อหัวเราตอนนั้นมากกว่าจีนกว่าสามเท่า
เศรษฐกิจรุ่งเรืองยุคนั้นได้จากการลงทุนขนานใหญ่ ทั้งจากการลงทุนภาครัฐ สร้างท่อเรือ ขุดแก๊ส และโรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก เงินลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมากเข้ามาเพื่อสร้างฐานการผลิตในเมืองไทย ค่าแรงที่ค่อนข้างถูกและโครงสร้างพื้นฐานที่ค่อนข้างดีทำให้ไทยรับเอาการลงทุนมาค่อนข้างเยอะ
ก่อนที่ฟองสบู่จะมาเยือน และการลงทุนจำนวนมากไปลงภาคอสังหาริมทรัพย์ สนามกอล์ฟเกิดขึ้นเหมือนดอกเห็ด การก่อสร้างมีให้เห็นอยู่ทั่วไป
ทำให้ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเยอะขึ้นเรื่อยๆ ช่วงแย่สุดๆ เราขาดดุลบัญชีเดินสะพัดกว่า 8% ของ GDP มีการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศจำนวนมาก ทำให้เกิดความเสี่ยงขนาดใหญ่ในภาคการเงิน
แล้วฟองสบู่ก็แตกดังโป๊ะ เราต้องลอยตัวค่าเงินบาท และค่าเงินหายไปกว่าครึ่ง แบงก์และธุรกิจล้มกันระเนระนาด จากมูลค่าสินทรัพย์ที่หายไปในพริบตา และหนี้ก้อนมหึมาที่เพิ่มขึ้นแบบไม่รู้ตัว
เราเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบรุนแรงอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงอย่างมากทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศดีขึ้นแบบผิดหูผิดตา เปลี่ยนประเทศไทยจากประเทศที่เน้นการลงทุนและการบริโภคในประเทศ เป็นประเทศที่ถูกขับเคลื่อนด้วยการส่งออก
ในอีกสิบปีถัดมา การส่งออกกลายเป็นเครื่องจักรสำคัญของเศรษฐกิจไทย ความสำคัญของการส่งออกเพิ่มขึ้นจากประมาณ 30% ของ GDP กลายเป็น 65-70% ในไม่กี่ปี มูลค่าการส่งออกที่โตปีละ 10-15% กลายเป็นเรื่องปกติ สินค้าส่งออกสำคัญของไทยเปลี่ยนจากสินค้าโภคภัณฑ์ สินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน เช่น สิ่งทอ กลายเป็นสินค้าอุตสาหกรรม ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และรถยนต์
ในขณะที่การลงทุนในประเทศ ทั้งการลงทุนภาครัฐและเอกชน อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับก่อนวิกฤติ (อาจจะเพราะยังเลียแผลไม่เสร็จ)
ก่อนที่เราจะเจอวิกฤติโลกในปี 2008 ที่ทำให้การส่งออกหยุดชะงักไปพร้อมๆ กับเศรษฐกิจโลก แต่ก็ฟื้นตัวได้ค่อนข้างเร็ว แต่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เราแทบไม่เจอกับปีปกติอีกเลย เราเจอวิกฤติทางการเมืองในปี 2009-2010 เราเจอน้ำท่วมใหญ่ในปี 2011 ปี 2012 เป็นปีแห่งการฟื้นตัวครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนที่จะถูกผลักดันด้วยนโยบายประชานิยมทั้งหลาย ทั้ง รถ บ้าน และโครงการรับจำนำข้าว ที่อัดเงินกว่า 500,000 ล้านบาท เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทั้งรัฐและประชาชนยืมเงินในอนาคตมาใช้กันยกใหญ่
จุดสูงสุดของเศรษฐกิจไทยน่าจะอยู่ในช่วงปลายปี 2012-ต้นปี 2013 ที่การผลิตรถยนต์เพื่อส่งมอบในโครงการรถคันแรก ดันเศรษฐกิจไทยให้โตแบบไม่เคยรู้สึกมาก่อน แล้วเศรษฐกิจก็ชนกำแพงเอาดื้อๆ เหมือนรถน้ำมันหมด เศรษฐกิจเริ่มชะลอ หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นเร็วมาก กลายเป็นเนินใหญ่ที่เศรษฐกิจข้ามไม่พ้น
และวิกฤติทางการเมืองก็เริ่มมาเยือนในปลายปี 2013 ก่อนที่จะมีการรัฐประหารในกลางปี 2014
รัฐบาลที่เข้ามาใหม่พยายามสตาร์ทเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ แต่ก็ดูเหมือนว่าเครื่องจะไม่ยอมติด ราคาสินค้าเกษตรที่ต่ำต่อเนื่องทำให้รายได้เกษตรกรที่เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจต่างจังหวัด หายไปไม่น้อย การบริโภคในประเทศจึงซบเซาแบบต่อเนื่อง คอนโดต่างจังหวัดที่บูมมากๆ เมื่อปีก่อนเริ่มจะขายไม่ออก
ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจก็ทำให้เอกชนยังไม่อยากลงทุนใหม่ ในขณะที่รัฐก็ยังผลักดันอะไรได้ไม่เต็มที่นัก
การส่งออกก็ไม่มีทีท่าจะดีขึ้น การส่งออกไทยไม่โตเลยต่อเนื่องมากว่าสามปี โดยเฉพาะตั้งแต่น้ำท่วมใหญ่เป็นต้นมา ซึ่งมีเหตุผลสองสามเรื่อง หนึ่ง คือ ปัจจัยจากภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ฟื้นตัวแบบไม่สมดุล อุปสงค์ก็ยังฟื้นตัวไม่ดีนัก และความต้องการสินค้าจากต่างประเทศก็ลดลง ทั้งจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปพึ่งพาสินค้าในประเทศและต้องการสินค้าประเภทบริการมากขึ้น
สอง คือ ราคาสินค้าเกษตรที่ซบเซา ทำให้รายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรลดลง
และที่สำคัญคือ สาม ความสามารถในการแข่งขันของไทยที่ดูเหมือนจะแย่ลงไปด้วยค่าแรงที่สูงขึ้น และการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงต่ำกว่าเยอะ
พูดง่ายๆ คือเราไม่ใช่ประเทศค่าแรงงานต่ำอีกต่อไป เราคงหวังจะแข่งขันด้วยสินค้าแบบเดิมๆ คงไม่ได้แล้ว
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เราก็ไม่สามารถขึ้นไปแข่งขันในตลาดที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ดีขึ้นได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราเป็น “ประเทศรับจ้างผลิต” อย่างแท้จริง คือเราต้องพึ่งพาให้ต่างประเทศมา “เลือก” เราเป็นฐานการผลิต โดยที่เราไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีและคุณภาพทักษะของแรงงานอย่างจริงจัง
ธุรกิจฮาร์ดดิสก์เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ
ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ที่สำคัญของโลก เราผลิตฮาร์ดดิสก์กว่าหนึ่งในสี่ของการผลิตโลก ถ้าจำกันได้ ตอนน้ำท่วม โรงงานในไทยต้องหยุดการผลิต ทำเอา Apple ขายคอมพิวเตอร์ไม่ได้ไปช่วงหนึ่งเพราะไม่มีฮาร์ดดิสก์ส่งเลยทีเดียว
แต่พอเทคโนโลยีเปลี่ยน คนเปลี่ยนจากคอมพิวเตอร์มาถือ tablet ความต้องการฮาร์ดดิสก์ก็เริ่มหมดไป solid state drive เริ่มกลายเป็นเทคโนโลยีใหม่ ยอดส่งออกฮาร์ดดิสก์ก็เริ่มตกลง แต่เราก็ไม่สามารถดึงเอาเทคโนโลยีใหม่นี้มาผลิตในเมืองไทยได้
โชคดีที่ตอนนี้เรามีรถยนต์เป็นพระเอกตัวใหม่ ไม่อย่างนั้นคงแย่กว่านี้
หลังวิกฤติปี 2008 ค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยเหลือแค่ 3% นิดๆ (และเป็น 3% นิดๆ ที่รวมเงินขาดทุนจากจำนำข้าวประมาณ 4-5% ของ GDP ไปแล้วนะครับ) เทียบกับ 8% ก่อนวิกฤติปี 1997 และประมาณ 5% ก่อนวิกฤติปี 2008
ในขณะที่ประเทศอื่นดีวันดีคืน ฟิลิปปินส์น่าจะโตได้ 6% กว่า อินโดนีเซียเศรษฐกิจคงชะลอเหลือ “แค่” 5.3% และเวียดนามก็ดีวันดีคืน คงโตได้สักเกือบๆ 6% จากที่เราเคยเกือบแข่งได้ (หรือได้แข่ง) กับสิงคโปร์ เกาหลี ไต้หวัน ตอนนี้เราเหลือแข่งกับฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม และสำนักข่าว Bloomberg ตั้งคำถามว่า เราจะได้ตำแหน่งคนป่วยแห่งเอเชียแทนฟิลิปปินส์ไปหรือเปล่า ถ้าเราไม่ปรับตัวในด้านความสามารถในการแข่งขันแล้ว อีกไม่นานเราคงโดนแซงไปในไม่ช้า
และผมอยากเน้นอีกครั้งว่า ปัญหาเรื่องประชากร กำลังจะเป็นปัญหาใหญ่ของเมืองไทย ไทยกำลังเข้าสู่ภาวะแก่ก่อนรวย และจำนวนคนวัยทำงานของไทยกำลังจะเริ่มลดลงในปีนี้ เนื่องจากจำนวนเด็กที่เข้าสู่วัยทำงานมีน้อยกว่าคนแก่ที่กำลังเกษียณอายุ เราเป็นไม่กี่ประเทศในเอเชียที่กำลังเจอปัญหานี้ (ประเทศอื่นคือ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และสิงคโปร์ ที่ส่วนใหญ่จะรวยไปหมดแล้ว)
ปัญหาประชากรสูงอายุ ที่นอกจากภาระทางเศรษฐกิจในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุ ที่ต้องเก็บจากคนทำงานที่มีน้อยลงเรื่อยๆ ก็คือเรากำลังจะขาดแคลนทรัพยากรแรงงานเพื่อไปสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนไม่มีปัญหานี้ ก็คงไม่ต้องแปลกใจ ถ้าการลงทุนต่างประเทศใหม่ๆ อาจจะไม่มาเมืองไทยเหมือนแต่ก่อน
ปัญหาพวกนี้จึงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่เราต้องสุมหัวคิดกันแล้วละครับ เรามีสองทางเลือก ทางง่ายคือเราก็ทำตัวเหมือนเดิม นำเข้าแรงงานพม่า แรงงานกัมพูชา เข้ามาเรื่อยๆ จ่ายค่าแรงที่แพงขึ้นเรื่อยๆ แล้วรอวันที่ประเทศเขาเจริญและย้ายกลับออกไป
หรือเราจะเลือกทางยาก คือพัฒนาคน พัฒนาการศึกษา ส่งเสริมการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่คุ้มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเศรษฐกิจ ส่งเสริมการใช้เครื่องจักร ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรเพื่อลดการใช้แรงงาน
ซึ่งคงไม่ใช่หน้าที่รัฐแต่ฝ่ายเดียว แต่รวมถึงภาคเอกชนที่ควรตระหนักถึงปัญหาอันใหญ่หลวงที่เรากำลังจะเผชิญ และร่วมมือกันอย่างจริงจัง
ผมก็หวังนะครับ ว่าเราจะสามารถหลบจากกับดักประเทศปานกลาง และป้ายห้อยคอ the new sick man of Asia ไปได้นะครับ
ที่มา
http://thaipublica.org/2015/02/pipat-37/
เเละสุดท้าย เครดิต : Page setup
***** ประเทศไทย “คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย” (a new sick man of Asia) ***** (by : robinhood)
พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย
ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวแบบนานกว่าที่หลายคนคาดนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคย่ำแย่ทางเศรษฐกิจหรือเปล่า หลายคนอาจยังไม่รู้ แต่ตอนนี้มีคนเรียกประเทศไทยว่า “คนป่วยคนใหม่ของเอเชีย” (a new sick man of Asia) แทนที่ฟิลิปปินส์ไปเรียบร้อยแล้ว
มาแอบดูกันดีกว่าครับ ว่าเรากำลังเจอปัญหาอะไรอยู่บ้าง
ผมขอมองย้อนกลับไปสักนิด แต่ไม่อยากย้อนกลับไปไกลมาก ขอเอาช่วงไทยยุครุ่งเรืองก่อนวิกฤติปี 2540 ก็พอครับ ตอนนั้นประเทศไทยกำลังรุ่งสุดๆ GDP โตแบบฉุดไม่อยู่ เราโตปีละ 8-13% อย่างต่อเนื่องเกือบสิบปี จนได้รับขนานนามว่าเป็นปาฏิหาริย์ของเอเชีย (the miracle of Asia) เราบอกตัวเองว่าเรากำลังจะเป็นเสือตัวที่ห้า เป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ กำลังแข่งกับพี่ใหญ่ทางเศรษฐกิจอย่างสิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลี ฮ่องกง เลยทีเดียว รายได้ต่อหัวเราตอนนั้นมากกว่าจีนกว่าสามเท่า
เศรษฐกิจรุ่งเรืองยุคนั้นได้จากการลงทุนขนานใหญ่ ทั้งจากการลงทุนภาครัฐ สร้างท่อเรือ ขุดแก๊ส และโรงงานอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก เงินลงทุนจากต่างประเทศจำนวนมากเข้ามาเพื่อสร้างฐานการผลิตในเมืองไทย ค่าแรงที่ค่อนข้างถูกและโครงสร้างพื้นฐานที่ค่อนข้างดีทำให้ไทยรับเอาการลงทุนมาค่อนข้างเยอะ
ก่อนที่ฟองสบู่จะมาเยือน และการลงทุนจำนวนมากไปลงภาคอสังหาริมทรัพย์ สนามกอล์ฟเกิดขึ้นเหมือนดอกเห็ด การก่อสร้างมีให้เห็นอยู่ทั่วไป
ทำให้ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเยอะขึ้นเรื่อยๆ ช่วงแย่สุดๆ เราขาดดุลบัญชีเดินสะพัดกว่า 8% ของ GDP มีการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศจำนวนมาก ทำให้เกิดความเสี่ยงขนาดใหญ่ในภาคการเงิน
แล้วฟองสบู่ก็แตกดังโป๊ะ เราต้องลอยตัวค่าเงินบาท และค่าเงินหายไปกว่าครึ่ง แบงก์และธุรกิจล้มกันระเนระนาด จากมูลค่าสินทรัพย์ที่หายไปในพริบตา และหนี้ก้อนมหึมาที่เพิ่มขึ้นแบบไม่รู้ตัว
เราเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยแบบรุนแรงอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนที่ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงอย่างมากทำให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศดีขึ้นแบบผิดหูผิดตา เปลี่ยนประเทศไทยจากประเทศที่เน้นการลงทุนและการบริโภคในประเทศ เป็นประเทศที่ถูกขับเคลื่อนด้วยการส่งออก
ในอีกสิบปีถัดมา การส่งออกกลายเป็นเครื่องจักรสำคัญของเศรษฐกิจไทย ความสำคัญของการส่งออกเพิ่มขึ้นจากประมาณ 30% ของ GDP กลายเป็น 65-70% ในไม่กี่ปี มูลค่าการส่งออกที่โตปีละ 10-15% กลายเป็นเรื่องปกติ สินค้าส่งออกสำคัญของไทยเปลี่ยนจากสินค้าโภคภัณฑ์ สินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน เช่น สิ่งทอ กลายเป็นสินค้าอุตสาหกรรม ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และรถยนต์
ในขณะที่การลงทุนในประเทศ ทั้งการลงทุนภาครัฐและเอกชน อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับก่อนวิกฤติ (อาจจะเพราะยังเลียแผลไม่เสร็จ)
ก่อนที่เราจะเจอวิกฤติโลกในปี 2008 ที่ทำให้การส่งออกหยุดชะงักไปพร้อมๆ กับเศรษฐกิจโลก แต่ก็ฟื้นตัวได้ค่อนข้างเร็ว แต่ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เราแทบไม่เจอกับปีปกติอีกเลย เราเจอวิกฤติทางการเมืองในปี 2009-2010 เราเจอน้ำท่วมใหญ่ในปี 2011 ปี 2012 เป็นปีแห่งการฟื้นตัวครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนที่จะถูกผลักดันด้วยนโยบายประชานิยมทั้งหลาย ทั้ง รถ บ้าน และโครงการรับจำนำข้าว ที่อัดเงินกว่า 500,000 ล้านบาท เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทั้งรัฐและประชาชนยืมเงินในอนาคตมาใช้กันยกใหญ่
จุดสูงสุดของเศรษฐกิจไทยน่าจะอยู่ในช่วงปลายปี 2012-ต้นปี 2013 ที่การผลิตรถยนต์เพื่อส่งมอบในโครงการรถคันแรก ดันเศรษฐกิจไทยให้โตแบบไม่เคยรู้สึกมาก่อน แล้วเศรษฐกิจก็ชนกำแพงเอาดื้อๆ เหมือนรถน้ำมันหมด เศรษฐกิจเริ่มชะลอ หนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้นเร็วมาก กลายเป็นเนินใหญ่ที่เศรษฐกิจข้ามไม่พ้น
และวิกฤติทางการเมืองก็เริ่มมาเยือนในปลายปี 2013 ก่อนที่จะมีการรัฐประหารในกลางปี 2014
รัฐบาลที่เข้ามาใหม่พยายามสตาร์ทเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ แต่ก็ดูเหมือนว่าเครื่องจะไม่ยอมติด ราคาสินค้าเกษตรที่ต่ำต่อเนื่องทำให้รายได้เกษตรกรที่เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจต่างจังหวัด หายไปไม่น้อย การบริโภคในประเทศจึงซบเซาแบบต่อเนื่อง คอนโดต่างจังหวัดที่บูมมากๆ เมื่อปีก่อนเริ่มจะขายไม่ออก
ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจก็ทำให้เอกชนยังไม่อยากลงทุนใหม่ ในขณะที่รัฐก็ยังผลักดันอะไรได้ไม่เต็มที่นัก
การส่งออกก็ไม่มีทีท่าจะดีขึ้น การส่งออกไทยไม่โตเลยต่อเนื่องมากว่าสามปี โดยเฉพาะตั้งแต่น้ำท่วมใหญ่เป็นต้นมา ซึ่งมีเหตุผลสองสามเรื่อง หนึ่ง คือ ปัจจัยจากภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ฟื้นตัวแบบไม่สมดุล อุปสงค์ก็ยังฟื้นตัวไม่ดีนัก และความต้องการสินค้าจากต่างประเทศก็ลดลง ทั้งจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปพึ่งพาสินค้าในประเทศและต้องการสินค้าประเภทบริการมากขึ้น
สอง คือ ราคาสินค้าเกษตรที่ซบเซา ทำให้รายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรลดลง
และที่สำคัญคือ สาม ความสามารถในการแข่งขันของไทยที่ดูเหมือนจะแย่ลงไปด้วยค่าแรงที่สูงขึ้น และการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีค่าแรงต่ำกว่าเยอะ
พูดง่ายๆ คือเราไม่ใช่ประเทศค่าแรงงานต่ำอีกต่อไป เราคงหวังจะแข่งขันด้วยสินค้าแบบเดิมๆ คงไม่ได้แล้ว
แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เราก็ไม่สามารถขึ้นไปแข่งขันในตลาดที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ดีขึ้นได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราเป็น “ประเทศรับจ้างผลิต” อย่างแท้จริง คือเราต้องพึ่งพาให้ต่างประเทศมา “เลือก” เราเป็นฐานการผลิต โดยที่เราไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีและคุณภาพทักษะของแรงงานอย่างจริงจัง
ธุรกิจฮาร์ดดิสก์เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ
ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตฮาร์ดดิสก์ที่สำคัญของโลก เราผลิตฮาร์ดดิสก์กว่าหนึ่งในสี่ของการผลิตโลก ถ้าจำกันได้ ตอนน้ำท่วม โรงงานในไทยต้องหยุดการผลิต ทำเอา Apple ขายคอมพิวเตอร์ไม่ได้ไปช่วงหนึ่งเพราะไม่มีฮาร์ดดิสก์ส่งเลยทีเดียว
แต่พอเทคโนโลยีเปลี่ยน คนเปลี่ยนจากคอมพิวเตอร์มาถือ tablet ความต้องการฮาร์ดดิสก์ก็เริ่มหมดไป solid state drive เริ่มกลายเป็นเทคโนโลยีใหม่ ยอดส่งออกฮาร์ดดิสก์ก็เริ่มตกลง แต่เราก็ไม่สามารถดึงเอาเทคโนโลยีใหม่นี้มาผลิตในเมืองไทยได้
โชคดีที่ตอนนี้เรามีรถยนต์เป็นพระเอกตัวใหม่ ไม่อย่างนั้นคงแย่กว่านี้
หลังวิกฤติปี 2008 ค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยเหลือแค่ 3% นิดๆ (และเป็น 3% นิดๆ ที่รวมเงินขาดทุนจากจำนำข้าวประมาณ 4-5% ของ GDP ไปแล้วนะครับ) เทียบกับ 8% ก่อนวิกฤติปี 1997 และประมาณ 5% ก่อนวิกฤติปี 2008
ในขณะที่ประเทศอื่นดีวันดีคืน ฟิลิปปินส์น่าจะโตได้ 6% กว่า อินโดนีเซียเศรษฐกิจคงชะลอเหลือ “แค่” 5.3% และเวียดนามก็ดีวันดีคืน คงโตได้สักเกือบๆ 6% จากที่เราเคยเกือบแข่งได้ (หรือได้แข่ง) กับสิงคโปร์ เกาหลี ไต้หวัน ตอนนี้เราเหลือแข่งกับฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม และสำนักข่าว Bloomberg ตั้งคำถามว่า เราจะได้ตำแหน่งคนป่วยแห่งเอเชียแทนฟิลิปปินส์ไปหรือเปล่า ถ้าเราไม่ปรับตัวในด้านความสามารถในการแข่งขันแล้ว อีกไม่นานเราคงโดนแซงไปในไม่ช้า
และผมอยากเน้นอีกครั้งว่า ปัญหาเรื่องประชากร กำลังจะเป็นปัญหาใหญ่ของเมืองไทย ไทยกำลังเข้าสู่ภาวะแก่ก่อนรวย และจำนวนคนวัยทำงานของไทยกำลังจะเริ่มลดลงในปีนี้ เนื่องจากจำนวนเด็กที่เข้าสู่วัยทำงานมีน้อยกว่าคนแก่ที่กำลังเกษียณอายุ เราเป็นไม่กี่ประเทศในเอเชียที่กำลังเจอปัญหานี้ (ประเทศอื่นคือ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และสิงคโปร์ ที่ส่วนใหญ่จะรวยไปหมดแล้ว)
ปัญหาประชากรสูงอายุ ที่นอกจากภาระทางเศรษฐกิจในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุ ที่ต้องเก็บจากคนทำงานที่มีน้อยลงเรื่อยๆ ก็คือเรากำลังจะขาดแคลนทรัพยากรแรงงานเพื่อไปสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนไม่มีปัญหานี้ ก็คงไม่ต้องแปลกใจ ถ้าการลงทุนต่างประเทศใหม่ๆ อาจจะไม่มาเมืองไทยเหมือนแต่ก่อน
ปัญหาพวกนี้จึงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่เราต้องสุมหัวคิดกันแล้วละครับ เรามีสองทางเลือก ทางง่ายคือเราก็ทำตัวเหมือนเดิม นำเข้าแรงงานพม่า แรงงานกัมพูชา เข้ามาเรื่อยๆ จ่ายค่าแรงที่แพงขึ้นเรื่อยๆ แล้วรอวันที่ประเทศเขาเจริญและย้ายกลับออกไป
หรือเราจะเลือกทางยาก คือพัฒนาคน พัฒนาการศึกษา ส่งเสริมการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่คุ้มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเศรษฐกิจ ส่งเสริมการใช้เครื่องจักร ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรเพื่อลดการใช้แรงงาน
ซึ่งคงไม่ใช่หน้าที่รัฐแต่ฝ่ายเดียว แต่รวมถึงภาคเอกชนที่ควรตระหนักถึงปัญหาอันใหญ่หลวงที่เรากำลังจะเผชิญ และร่วมมือกันอย่างจริงจัง
ผมก็หวังนะครับ ว่าเราจะสามารถหลบจากกับดักประเทศปานกลาง และป้ายห้อยคอ the new sick man of Asia ไปได้นะครับ
ที่มา http://thaipublica.org/2015/02/pipat-37/
เเละสุดท้าย เครดิต : Page setup