GDP คืออะไร?
GDP หรือ Gross Domestic Product หรือ "ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ" หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งส่วนใหญ่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ BOT จะประมาณการล่วงหน้า และจะทยอยประกาศออกมาให้ประชาชนทั่วไปทราบเป็นรายไตรมาส สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ Y = C + I + G + (X - M) แต่ละตัวมีความหมายคือ
C = Consumption หรือการบริโภคของบริษัทและประชาชนทั่วไป โดยดัชนี CPI หรือ Consumer Price Index เป็นตัวชี้วัดประกอบด้วย
I = Investment หรือการลงทุนจากภาคเอกชนในการทำกิจกรรมต่างๆในระบบเศรษฐกิจ เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมการเษตร เป็นต้น โดยมีดัชนี MPI หรือ Manufacturing Production Index เป็นตัวชี้วัด
G = Government Spending หรือค่าใช้จ่ายของรัฐบาล/การลงทุนภาครัฐ เช่น การดำเนินนโยบายต่างๆทางด้านคมนาคม เงินเดือนของข้าราชการ แต่ไม่รวมสวัสดิการสังคมนะครับ
X - M = Export ลบด้วย Import คือจะต้องตัวเลขการส่งออกลบด้วยการนำเข้าถึงจะเห็นอัตราการบริโภคสุดท้ายที่แท้จริง
GDP มีการเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ระบบเศรษฐกิจต้องมีการหมุนเเวียนของรายได้และรายจ่ายของภาคครัวเรือน, ภาคธุรกิจ, ภาครัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งหมายความถึงการที่ประชาชนมีงานทำมีรายได้นำมาใช้จ่ายในตลาดสินค้าและบริการ, จ่ายภาษีให้ภาครัฐ, หากมีเงินเหลือก็ออมในสถาบันการเงินหรือลงทุนในธุรกิจ,ตลาดหลักทรัพย์, ซื้อหุ้นและกองทุนต่างๆ ภาคธุรกิจมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการโดยการนำเงินลงทุนจากสถาบันการเงินมาผลิตสินค้าและบริการ จ่ายดอกเบี้ย จ่ายค่าแรงจ่ายตลาดปัจจัยการผลิต อีกทั้งจ่ายภาษีรายได้/มูลค่าเพิ่มให้แก่ภาครัฐ ขณะที่ภาครัฐมีรายได้จากภาษีต่างๆ รัฐจะนำมาใช้จ่ายในการสร้างสาธารณูปโภค, การสนับสนุนการส่งเสริมการควบคุมให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจทำการสร้างรายได้เป็น “รายได้ประชาชาติ” และสามารถวัดเป็น “ผลผลิตมวลรวมของประชาชาติ” หรือกล่าวง่ายๆว่า GDP Gross Domestic Product ซึ่งเป็นตัวเลขที่รวบรวมมาจากผลผลิตของภาคครัวเรือน ภาครัฐและภาคธุรกิจทั้งประเทศ แน่นอนมันเป็นการวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆด้วย
GDP สำคัญต่อนักลงทุนอย่างไร?
เมื่อตัวเลข GDP Gross Domestic Product ติดลบ เป็นการบ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นหยุดชะงัก ชะลอตัว หรือไม่เป็นไปตามที่ธนาคารกลางประมาณการ นั้นอาจหมายรวมถึงการจ้างงานอาจจะต่ำกว่าคาด การลงทุนภาคอุตสาหกรรมลดลง แม้กระทั่งการบริโภคของประชาชนลดลง ตัวเลข GDP ที่ติดลบนี้ จะทำให้นักลงทุนเกิดการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินไปลงทุนในตลาดหรือระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพมากกว่า สิ่งที่ตามมาเมื่อระบบเศรษฐกิจขาดสภาพคล่องทำให้รัฐจะต้องนำงบประมาณส่วนหนึ่งมาพยุงเศรษฐกิจเอาไว้ ทำให้ตราชั่งงบประมาณเกิดโน้มเอียงไปทางหนึ่ง เช่น ภาคเกษตรตกต่ำ รัฐต้องเข้าไปแทรกแซงราคาเพื่อให้ภาคเกษตรอยู่รอด แต่ภาคการผลิตต้องมีกำไรจากการขายลดลงเนื่องจากเกิดการควบคุมราคาจากภาครัฐ จากกำไรที่ภาคเอกชนเคยได้ที่ลดลง ส่งผลให้ต้องมีการลดการผลิตลงตามผลตอบแทนที่ได้รับ โดยการลดการจ้างงาน จนทำให้เกิดการว่างงานในระบบ เมื่อมีการว่างงานเกิดขึ้น ประชาชนก็จะลดการใช้จ่ายในการบริโภค เป็นต้น แต่หาก GDP เป็นบวกหรือเท่ากับประมาณการเอาไว้ แน่นอนเศรษฐกิจจะดึงดูดเม็ดเงินของนักลงทุนเข้ามาเพิ่มแต่เช่นกัน ก็ต้องระวังเรื่องของอัตราเงินเฟ้อด้วย เพราะจะทำให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น เมื่อสินค้าแพงประชาชนก็จะระวังในการจ่าย เช่นกัน
หวังว่าเพื่อนๆนักลงทุนคงได้ประโยชน์จากบทความนี้นะครับ
GDP คืออะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร? สำคัญอะไรกับนักลงทุน?
GDP คืออะไร?
GDP หรือ Gross Domestic Product หรือ "ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ" หมายถึง มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งส่วนใหญ่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ BOT จะประมาณการล่วงหน้า และจะทยอยประกาศออกมาให้ประชาชนทั่วไปทราบเป็นรายไตรมาส สามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ Y = C + I + G + (X - M) แต่ละตัวมีความหมายคือ
C = Consumption หรือการบริโภคของบริษัทและประชาชนทั่วไป โดยดัชนี CPI หรือ Consumer Price Index เป็นตัวชี้วัดประกอบด้วย
I = Investment หรือการลงทุนจากภาคเอกชนในการทำกิจกรรมต่างๆในระบบเศรษฐกิจ เช่น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ภาคอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมการเษตร เป็นต้น โดยมีดัชนี MPI หรือ Manufacturing Production Index เป็นตัวชี้วัด
G = Government Spending หรือค่าใช้จ่ายของรัฐบาล/การลงทุนภาครัฐ เช่น การดำเนินนโยบายต่างๆทางด้านคมนาคม เงินเดือนของข้าราชการ แต่ไม่รวมสวัสดิการสังคมนะครับ
X - M = Export ลบด้วย Import คือจะต้องตัวเลขการส่งออกลบด้วยการนำเข้าถึงจะเห็นอัตราการบริโภคสุดท้ายที่แท้จริง
GDP มีการเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ระบบเศรษฐกิจต้องมีการหมุนเเวียนของรายได้และรายจ่ายของภาคครัวเรือน, ภาคธุรกิจ, ภาครัฐทั้งในประเทศและต่างประเทศซึ่งหมายความถึงการที่ประชาชนมีงานทำมีรายได้นำมาใช้จ่ายในตลาดสินค้าและบริการ, จ่ายภาษีให้ภาครัฐ, หากมีเงินเหลือก็ออมในสถาบันการเงินหรือลงทุนในธุรกิจ,ตลาดหลักทรัพย์, ซื้อหุ้นและกองทุนต่างๆ ภาคธุรกิจมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการโดยการนำเงินลงทุนจากสถาบันการเงินมาผลิตสินค้าและบริการ จ่ายดอกเบี้ย จ่ายค่าแรงจ่ายตลาดปัจจัยการผลิต อีกทั้งจ่ายภาษีรายได้/มูลค่าเพิ่มให้แก่ภาครัฐ ขณะที่ภาครัฐมีรายได้จากภาษีต่างๆ รัฐจะนำมาใช้จ่ายในการสร้างสาธารณูปโภค, การสนับสนุนการส่งเสริมการควบคุมให้ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจทำการสร้างรายได้เป็น “รายได้ประชาชาติ” และสามารถวัดเป็น “ผลผลิตมวลรวมของประชาชาติ” หรือกล่าวง่ายๆว่า GDP Gross Domestic Product ซึ่งเป็นตัวเลขที่รวบรวมมาจากผลผลิตของภาคครัวเรือน ภาครัฐและภาคธุรกิจทั้งประเทศ แน่นอนมันเป็นการวัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆด้วย
GDP สำคัญต่อนักลงทุนอย่างไร?
เมื่อตัวเลข GDP Gross Domestic Product ติดลบ เป็นการบ่งบอกถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้นหยุดชะงัก ชะลอตัว หรือไม่เป็นไปตามที่ธนาคารกลางประมาณการ นั้นอาจหมายรวมถึงการจ้างงานอาจจะต่ำกว่าคาด การลงทุนภาคอุตสาหกรรมลดลง แม้กระทั่งการบริโภคของประชาชนลดลง ตัวเลข GDP ที่ติดลบนี้ จะทำให้นักลงทุนเกิดการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินไปลงทุนในตลาดหรือระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพมากกว่า สิ่งที่ตามมาเมื่อระบบเศรษฐกิจขาดสภาพคล่องทำให้รัฐจะต้องนำงบประมาณส่วนหนึ่งมาพยุงเศรษฐกิจเอาไว้ ทำให้ตราชั่งงบประมาณเกิดโน้มเอียงไปทางหนึ่ง เช่น ภาคเกษตรตกต่ำ รัฐต้องเข้าไปแทรกแซงราคาเพื่อให้ภาคเกษตรอยู่รอด แต่ภาคการผลิตต้องมีกำไรจากการขายลดลงเนื่องจากเกิดการควบคุมราคาจากภาครัฐ จากกำไรที่ภาคเอกชนเคยได้ที่ลดลง ส่งผลให้ต้องมีการลดการผลิตลงตามผลตอบแทนที่ได้รับ โดยการลดการจ้างงาน จนทำให้เกิดการว่างงานในระบบ เมื่อมีการว่างงานเกิดขึ้น ประชาชนก็จะลดการใช้จ่ายในการบริโภค เป็นต้น แต่หาก GDP เป็นบวกหรือเท่ากับประมาณการเอาไว้ แน่นอนเศรษฐกิจจะดึงดูดเม็ดเงินของนักลงทุนเข้ามาเพิ่มแต่เช่นกัน ก็ต้องระวังเรื่องของอัตราเงินเฟ้อด้วย เพราะจะทำให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น เมื่อสินค้าแพงประชาชนก็จะระวังในการจ่าย เช่นกัน
หวังว่าเพื่อนๆนักลงทุนคงได้ประโยชน์จากบทความนี้นะครับ