●● ประธานศาลฎีกา ถก ผู้พิพากษาได้ข้อยุติ... 'ผวจ.' มีอำนาจห้ามคนออกนอกบ้านหากไม่ใส่หน้ากากอนามัย ●●
17 เม.ย. 63 - นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ได้เรียกประชุมหารือข้อราชการทางไกลผ่านจอภาพกับ
อธิบดีผู้พิพากษาภาค และอธิบดีผู้พิพากษาศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาความผิด
ในคดีฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 (กรณีหน้ากากอนามัยหรือ
หน้ากากป้องกัน) เพื่อพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายต่างๆ ได้ข้อสรุปว่า ...
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการออกคำสั่งห้ามบุคคลออกจากเคหสถาน โดยไม่สวมหน้ากากอนามัย
และพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดโทษ เพื่อประกอบการพิจารณาและใช้ดุลพินิจแก่ศาลทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีความเห็นว่า ในการใช้ดุลพินิจของศาล พึงต้องใช้ดุลพินิจเป็นรายคดี โดยคำนึงถึงสภาพ
แห่งข้อหาและการกระทำความผิด ตลอดจนโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมของจำเลย ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกัน
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมหารือข้อราชการทางไกลดังกล่าว ผู้ที่เข้าร่วมประชุมจะเป็นอธิบดีผู้พิพากษา
ในส่วนคดีอาญาทั้งหมด ทั้งอธิบดีศาลอาญา ศาลแขวงในพื้นที่ต่างๆ (ไม่รวมศาลแพ่ง)
โดยการประชุมดังกล่าวเกิดจากกรณีเมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา ปรากฏทางสื่อมวลชนมีการนำเสนอข่าวศาลจังหวัดสมุทรสาคร ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ ม.34(6) กรณีไม่สวมหน้ากากเมื่อออกมาในที่สาธารณะ ตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัด
แต่ขณะเดียวกันศาลจังหวัดกันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ เห็นว่า การไม่สวมหน้ากากไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ ม.34(6) โดยเห็นว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีอำนาจสั่งให้ประชาชนสวมหน้ากากเมื่อออกจากบ้าน ซึ่งเป็นกรณีที่
ศาลชั้นต้น 2 ศาลตัดสินข้อกฎหมายไม่เหมือนกัน
Cr. :
https://www.thaipost.net/main/detail/63470
●● ประธานศาลฎีกา ถก ผู้พิพากษาได้ข้อยุติ... 'ผวจ.' มีอำนาจห้ามคนออกนอกบ้านหากไม่ใส่หน้ากากอนามัย ●●
17 เม.ย. 63 - นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ได้เรียกประชุมหารือข้อราชการทางไกลผ่านจอภาพกับ
อธิบดีผู้พิพากษาภาค และอธิบดีผู้พิพากษาศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาความผิด
ในคดีฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 (กรณีหน้ากากอนามัยหรือ
หน้ากากป้องกัน) เพื่อพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายต่างๆ ได้ข้อสรุปว่า ...
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการออกคำสั่งห้ามบุคคลออกจากเคหสถาน โดยไม่สวมหน้ากากอนามัย
และพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดโทษ เพื่อประกอบการพิจารณาและใช้ดุลพินิจแก่ศาลทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีความเห็นว่า ในการใช้ดุลพินิจของศาล พึงต้องใช้ดุลพินิจเป็นรายคดี โดยคำนึงถึงสภาพ
แห่งข้อหาและการกระทำความผิด ตลอดจนโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมของจำเลย ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกัน
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมหารือข้อราชการทางไกลดังกล่าว ผู้ที่เข้าร่วมประชุมจะเป็นอธิบดีผู้พิพากษา
ในส่วนคดีอาญาทั้งหมด ทั้งอธิบดีศาลอาญา ศาลแขวงในพื้นที่ต่างๆ (ไม่รวมศาลแพ่ง)
โดยการประชุมดังกล่าวเกิดจากกรณีเมื่อวันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา ปรากฏทางสื่อมวลชนมีการนำเสนอข่าวศาลจังหวัดสมุทรสาคร ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ ม.34(6) กรณีไม่สวมหน้ากากเมื่อออกมาในที่สาธารณะ ตามประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัด
แต่ขณะเดียวกันศาลจังหวัดกันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ เห็นว่า การไม่สวมหน้ากากไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ ม.34(6) โดยเห็นว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่มีอำนาจสั่งให้ประชาชนสวมหน้ากากเมื่อออกจากบ้าน ซึ่งเป็นกรณีที่
ศาลชั้นต้น 2 ศาลตัดสินข้อกฎหมายไม่เหมือนกัน
Cr. : https://www.thaipost.net/main/detail/63470