ไม่เข้าใจว่าทำไมคนในห้องนี้จึงคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่ ศาลบ้างว่าเป็นองค์กรอิสระ อ่านรัฐธรรมนูญไม่เข้าใจหรือยังไง

ดังนี้ผมจึงเห็นสมควรจะเปรียบเทียบคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2549กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดเดิมที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2540 หากใครมีรัฐธรรมนูญลองเปิดไปพร้อมกันเลยก็ได้นะครับ

รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2549

มาตรา 35  บรรดาการใดที่มีกฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ หรือเมื่อมีปัญหาว่า
กฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วย

ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน
ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน
ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่
ของศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 5 คน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ
และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยทีประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด
โดยวิธีลงคะเเนนลับจำนวน 2 คน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ

ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย ว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ธุรการ และการอื่นใด
ตามที่ประธานคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย องค์คณะในการพิจารณาพิพากษา วิธีพิจารณา
และการทำคำวินิจฉัย ให้เป็นไปตามที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
บรรดาอรรถคดี หรือการใด ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนวันที่ 19 กันยายน
พุทธศักราช 2549 ให้โอนมาอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ



คราวนี้เทียบกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเดิม

รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540

มาตรา 255 ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ คนหนึ่งและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่น
อีกสิบสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลดังต่อไปนี้

(1) ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือก
     โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน ห้าคน
(2) ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด
     โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนสองคน
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา 257 จำนวนห้าคน
(4) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา 257 จำนวนสามคน

ให้ผู้ได้รับเลือกตามวรรคหนึ่ง ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่ง เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ
ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


สรุปว่าตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน ได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนห้าคน
และได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับอีก จำนวนสองคน

ซึ่งเหมือนกันกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเดิมตามรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 255 วงเล็บ 1 และ 2 ทุกประการ
ไม่ใช่มาจากการเลือกแต่งตั้งของ คมช. เอาเองอย่างที่หลายฝ่ายพยายามบิดเบือน

จะมีที่เปลี่ยนแปลงไปและอาจอ้างได้ว่า คมช. แต่งตั้งก็คือ ประธานและรองประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ
ซึ่งก็มาจาก ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งถ้านับถึงที่สุดแล้ว คมช. ก็ไม่ได้แต่งตั้ง
ทั้งตำแหน่ง ประธานศาลฎีกา และประธานศาลปกครองสูงสุด อยู่ดี

จะเห็นว่าตุลาการทั้งหมดในชุดนี้มาจากองค์กรศาลสูงสุดทั้งหมดซึ่งต้องถือว่ามีความน่าเชื่อถืออย่างสูง
ในขณะที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเดิมกว่าครึ่งหนึ่งคือ 8 คนใน 15 คน ไม่ได้มาจากองค์กรศาล แต่แต่งตั้ง
โดยวุฒิสภาตามบัญชีรายชื่อที่เสนอโดยคณะกรรมการสรรหา ซึ่งหากจะให้ตุลาการชุดนี้มีองค์ประกอบ
เหมือนเดิมก็ทำไม่ได้เพราะไม่มีวุฒิสภาแล้ว

การให้ตุลาการจากผู้ทรงคุณวุฒิทางนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์มีจำนวนมากกว่าตุลาการที่มาจากองค์กรศาล
ตามแบบรัฐธรรมนูญ พศ. 2540 ในความเห็นของผมก็ไม่ได้สร้างความน่าเชื่อถือในการตัดสินคดีมากขึ้น
และยังอาจจะถูกมองได้ว่าตั้งขึ้นตามความต้องการของ คมช. ยิ่งกว่าตุลาการชุดนี้ที่มาจากองค์กรศาล
ทั้งหมดเสียอีก การให้มีแต่ตุลาการจากองค์กรศาลจึงน่าจะมีความน่าเชื่อถือว่าเป็นอิสระดีแล้ว

ดังนั้นข้อกล่าวหาที่ว่า ตุลาการรัฐธรรมนูญชุดนี้ที่ตั้งขึ้นเองโดย คมช. จึงเป็นคำกล่าวหาที่เลื่อนลอย
เพราะตุลาการชุดนี้มาจากการแต่งตั้งโดยองค์กรศาลทั้งหมด และเนื้อความในรัฐธรรมนูญ 2549
เกี่ยวกับการแต่งตั้งโดยองค์กรศาลก็แทบจะเป็นเนื้อความเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2540 ทุกประการ

ยังไงก็ขอให้พยามทำความเข้าใจกันหน่อยนะครับขอบคุณที่อ่านสิ่งที่เห็นทั้งหมดก็มีอยู่ในรัฐธรรมนูญลองหาอ่านดูครับแล้วอ่านดูครับ
ว่าศาลรัฐธรรมนูญอยู่ในหมวดไหนของรัฐธรรมนูญ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่