กุศลในชีวิต สร้างโอกาสรับปัญญาแก้ไขปัญหา
เมื่อเราต้องหมั่นสร้างกุศล ถึงจะเกิดสิทธิ์ได้เพื่อที่จะได้รับปัญญาในการแก้ไขทุกข์ปัญหานั้นๆ มีสิทธิดังนี้
๑. ถ้าเรามีกุศลก็เหมือนกับให้เราได้เกิดสิทธิ์ในการรับรู้
๒. เกิดสิทธิ์ที่จะเข้าใจว่าทำอะไร
๓. เกิดสิทธิ์ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง
๔. เกิดสิทธิ์ในการดลบันดาล
๕. เกิดสิทธิ์ในการขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้าช่วย
ไม่ใช่ว่าพอเราทำบุญกุศลตรงนี้แล้วจะกลายเป็นผู้วิเศษไปแก้ให้เขาได้ คือ มีสิทธิ์ ใช่ว่าเราทำกุศลแล้วจะไปแก้ไขได้ ยังไม่ได้ เมื่อเราเกิดสิทธิ์แล้วเราต้องมีดังนี้
๑. มีกุศลแล้วถึงจะมีสิทธิ์
๒. มีสิทธิ์แล้วต้องเรียนรู้
๓. ต้องมีปัญญาถึงจะไปแก้
๔. ต้องมีสิทธิ์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วย ไม่ใช่ว่าทำให้ตนเองเป็นผู้วิเศษ ต้องเข้าใจ คือ ให้ตนเองเป็นผู้มิสิทธิ์เท่านั้นเอง
เมื่อเราได้กุศลแล้ว เราต้องไปแก้ไขที่เหตุ เข้าสู่อริยสัจ ๔ อยู่ดีๆ จะไปเสกได้ที่ไหน ไม่ใช่เราสร้างบุญกุศลแล้ว จะอุทิศส่งบุญกุศลไปให้กับเจ้ากรรมนายเวรแล้วจะหายจากการเจ็บป่วยสิ่งนั้น ไม่ใช่ ไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ แม้ว่าจะเอาพระธาตุมาเทกองเต็มหัวเราก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้
เหมือนกับเราไปซื้อข้าวมา ๑ กระสอบ มาหุง แล้วเราไม่ได้กินข้าวกระสอบนั้น เราจะหายหิวไหม?
เราก็ต้องมีภูมิปัญญาไปทำให้ข้าวมันสุก แล้วก็มากิน เป็นการแก้ที่เหตุ เหตุเปลี่ยน ผลจึงเปลี่ยนได้
บางคนมาทำพิธีแก้กรรมแล้วทำไมยังต้องเสียชีวิต
บางคนมาทำพิธีแล้วสิทธิเขาไม่ถึง วาสนาบุญเขามีอยู่แค่นี้ จะทำยังไง ถามว่า ก่อนหน้านี้มีโอกาสไหม? มีอยู่ แต่ต้องได้สร้างสิทธิ์ไว้ก่อนอย่างเพียงพอ แต่ไม่เพียงพอที่จะขอสิทธิ์ใหญ่
อากงและครูบาอาจารย์ทุกท่านจึงบอกว่า ปกติให้ทำบุญกุศลไว้ เพราะถ้าปกติไม่ทำกุศลไว้ พอถึงเวลานั้นจุดนั้น คูปองรวบรวมแล้ว เราไปเปลี่ยนเอาสิทธิ์ใหญ่ไม่ได้ ฉะนั้น เวลาปกติให้ทำกุศลแต่คนส่วนใหญ่จะไม่ทำ สมมติว่า ถ้าถึงเวลาจะใช้คูปอง ๑๐๐ ใบ แล้วเรามีคูปองอยู่ ๘๐ ใบ แล้วเราจะทำยังไง ก็ต้องเสี่ยงดวงล่ะ แต่ถ้ามี ๑๐๐ ใบ ก็เต็ม ๑๐๐ ใบ ก็ใช้ได้
อย่างเช่น คนที่มาทำพิธีบางคนมีเปอร์เซนต์ที่จะมีชีวิตอยู่ต่ำมาก แต่ถ้าเราปฏิเสธไปเขาก็จะเสียกำลังใจ เสียความรู้สึกมากๆ อย่างน้อยก็เป็นการทำกุศลให้กับคนที่เสียชีวิตไปแล้ว อย่างน้อยคนที่ตายไปก็ได้กุศลไปสู่สุคติ ที่มันไม่ต้องลำบากมาก ในเวลาเดินทาง ไม่อย่างนั้นก็จะทรมานก่อนจะตาย
คนที่ชีวิต คูปองไม่ครบ แต่ทีนี้จะมีคนให้ยืมคูปองมั้ย ไม่มีใครให้ยืมคูปอง
อย่างเช่นอากง เวลาจะไปช่วยใคร อากงก็จะงัดคูปองของตนเองออกมาช่วย เพราะของเขามีไม่พอ ก็จะเอาคูปองของตนเองไปให้เขา แล้วให้เขาชดใช้ทำกุศลส่งคืนแทน
มันไม่ใช่ง่ายนะ เวลาช่วยมันง่าย เวลานั้นพอเราช่วยเขาหายเสร็จ เขาจะไม่ค่อยคิดกัน ก็เสียดาย เที่ยวก่อนช่วยไปเขาไม่ค่อยคิดกัน
บางคนรับปากว่าจะทำอะไร แล้วไม่ทำ เราต้องไปทำให้ ต้องเอากุศลของเราไป
ฉะนั้น เราเป็นครูบาอาจารย์ต้องหมั่นสร้างบุญกุศล เพราะเห็นเขาทุกข์เขามาพึ่งพาเราคนนี้ก็ต้องช่วย คนนั้นก็ต้องช่วย ถ้าไม่มีการเก็กเก็บกุศลไว้ก็ไส้แห้งได้ บางครั้ง ๓ ครั้งก็ไส้แห้งได้ พอช่วยเขาเสร็จข้างในแห้งโบ๋
ครูบาอาจารย์บางท่านมาถึงจุดนี้ได้ สามารถเข้าถึงธรรมได้ และ อาจารย์ก็ต้องสร้างมาเยอะแยะ แต่ทำไมต้องหมดเร็ว บุญกุศลของเรานั้นมีอยู่ด้วยกัน ๓ หลักใหญ่ๆ ดังนี้
๑. ตัวฐาน คือ ฐานเดิมสะสมกุศลมาตั้งแต่ชาติปางก่อน หลายๆภพชาติ สะสมมาเรื่อยๆ
๒. ตัวที่ใช้ได้ คือ ตัวที่เราสะสมรวบรวมไว้ในชาตินี้ สร้างบุญกุศลในชาตินี้ เราจะใช้เราก็ต้องใช้บุญกุศลที่เราทำในชาตินี้ ถ้าเราไปงัดของบุญกุศลเก่ามาแล้วชาติหน้าเราจะทำยังไง เราต้องเอาไว้สำรองไปเรื่อย
๓. ตัวที่อนุญาตให้ใช้ คือ เป็นรางวัล โบนัส เป็นรางวัลที่เราสร้างแล้วเหลือจากตัวที่ ๒ (ตัวที่ใช้ได้) สมมติตัวที่ ๒ เราใช้ ๒๐๐ คะแนน เราได้คะแนนมา ๓๐๐ แล้วอีก ๑๐๐ เราก็แบ่งให้เป็นตัวที่ ๓ (ตัวที่อนุญาตให้ใช้) เขาเรียกว่าแสดงจาคะ ถ้าไม่อย่างนั้น เราก็ต้องงัดเอาของตนเองไปใช้ช่วยเหลือคนอื่นทั้งนั้น
ไม่ใช่ไปงัดตัวฐานออกมาใช้หมด เราก็ต้องฝังศพครูบาอาจารย์นะสิ ที่เราไปช่วยเขาก็เอาตัวที่อนุญาตให้ใช้ เหมือนกันเราได้รับรางวัลอะไร เรารับมาเยอะแยะไม่หวงใช้เอง ไว้ช่วยเหลือคน
ถ้าเราไปงัดเอาฐานของเราออกก็คือ เอาชีวิตเราแลก ทีนี้เราจะเอาชีวิตของเราแลก แต่ท่านองค์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ยอม ท่านฯ บอกว่า "เอาชีวิตของเอ็งไปแลกกับชีวิตของเขา เขาสร้างประโยชน์น้อย เอ็งอยู่มีประโยชน์เยอะไอ้บ้า ไม่ให้ทำ"
บางคนส่วนใหญ่ก็จะเป็นเช่นนี้ พอช่วยเหลือเสร็จ หายแล้ว ก็จะไม่รู้สึกว่าตรงนั้นเป็นพระคุณ เพราะว่าข้างในคนทั่วไปไม่เห็น คนทั่วไปอยากเห็นเป็นชิ้น เอาเงิน ๑,๐๐๐ บาทให้เห็น แต่กุศลให้เขาไม่เห็น แต่กุศลมันแรงกว่าเงิน เพราะถ้าไม่มีกุศลตัวนี้ เงิน ๑,๐๐๐ บาทก็ดำรงอยู่ไม่ได้ ช่วยอะไรไม่ได้
ฉะนั้น การเป็นครูบาอาจารย์จะไปเที่ยวรับปากใคร ช่วยเหลือใครไปเรื่ีอย เรารู้ว่าเรามีเสบียงอยู่แค่ ๒๐๐ เราไปรับปากช่วยเหลือเขา ๓๐๐ เราจะอ๊วกทันที ระวังจะอ๊วก ครูบาอาจารย์อ๊วกก็มีให้เห็นมาเยอะแล้ว
เหมือนกับลุงเต็งไปช่วยเหลือคนอื่น แล้วสิทธิ์ไม่พอ ข้างในก็กวง สุดท้ายก็ต้องรีบทำพิธี แล้ขอความคุ้มครองจาก ไท้หยางกง (太陽公) ช่วยเหลือ (太陽星君 สุริยเทพ (ไท่หยางซิงจวิน))
แล้วเราจะทำยังไงให้เกิดกุศลที่ใช้ได้เยอะๆ เป็นกุศลใหญ่ คล้ายๆ กับว่าได้กุศลเป็นถังใหญ่ๆ ได้กุศลมากๆ ก็คือ แล้วเราจะยอมทำหรือเปล่า เอาง่ายๆ เช่น เราตื่นเช้าขึ้นมา หาบน้ำไปให้วัด ๕ หาบ กุศลแรงมากเลย แล้วเราเอารถดับเพลิงมาบริจาคให้ไม่ดีเหรอ ยังได้เยอะกว่าที่เราหาบ แล้วเราจะต้องแบ่งกุศลหรือเปล่า ถ้าเราหาบเองเราก็รับกุศลทั้ง ๕ หาบหมดเลย แต่ถ้าเราไปเอารถดับเพลิงมาเราก็ต้องแบ่งกุศลให้เขา รถดับเพลิงมา ๔ คน เราก็ต้องแบ่งกุศลให้เขาทั้ง ๔ คน ไหนจะคนที่บริจาคให้กับคนซื้อรถอีก พวกนี้ต้องแบ่งให้เขาหมด ถ้าเป็นถังน้ำที่เราหาบล่ะ เราต้องแบ่งกุศลให้เขาไหม? ไม่ต้องแบ่งกุศลให้เขา เพราะว่าถังน้ำเราจ่ายเงินซื้อเขามา หรือว่าเราไปเรียกรถดับเพลิงมาแล้วเราจ่ายค่ารถดับเพลิง เราจ่ายไหม? เราก็จ่ายแค่ค่าน้ำ ค่าแรง ค่าคน แต่ค่ารถไม่ได้จ่าย สมมติว่า เราจ่ายเป็นตัวเงินหมด เป็นค่าจ้าง แต่รถจ่ายไม่ได้ เราไม่ได้เสียค่าจ้างรถ รถที่เขาร่วมกุศลซื้อมาให้เราก็ต้องแบ่งกุศลให้เขา นี่คือความยุติธรรม ถ้าเราตั้งอกตั้งใจทำเอง กุศลก็จะแรง จะต่างกันตรงที่ว่า จะให้คะแนนตัววิริยะด้วย
ฉะนั้น เราจะเอากุศลแรงเราก็ต้องทำทุกอย่าง พยายามทำให้เข้าสู่มีขั้นตอนให้ครบขั้นตอน มีวิริยะ มีความตั้งใจที่ดี มีเจตนาที่ดี มีปณิธานที่ดี มีความพยายามที่จะต้องทำ กุศลถึงจะมากพอ
ฉะนั้น เราต้องหมั่นทำกุศลไว้ ไว้ช่วยเหลือคนก็ได้ ช่วยตัวเองก็ได้ เวลาคับขันของเราก็เอากุศลมาช่วยเหลือเราก็ได้ เราสร้างกุศล สะสมกุศลก็จะช่วยเหลือเราโดยอัตโนมัติ
เรามีเหลือก็ช่วยเหลือคนไป ไม่มีเหลือ แต่เรามีจาคะ แต่เรายังมีตัวสำรองไว้เพียงพอ เราก็จาคะช่วย
ถ้าเราเอากุศลไปช่วยเหลือเขา แล้วอะไรจะมาตอบแทนเรา ผลก็คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะรักเรา แค่นี้ก็พอแล้วจะเอาอะไรเยอะแยะ พอสิ่งศักดิ์สิทธิ์รักเรา เราก็จะมีปัญญาเพิ่มพูนขึ้นอยู่เรื่อยๆ นี่แหละสิทธิของกุศล พอเรายิ่งทำเราก็ยิ่งรู้สิ่งต่างๆ
พอเราได้ปัญญาแต่เราก็ต้องกินข้าวแล้วเราจะทำยังไง ก็ในเมื่อเรามีปัญญาก็จะมีคนมาสนับสนุนเรา เวลาเราทำอะไรก็ขึ้น เราไปค้าขายของก็ขึ้น ถ้าเราใช้สิทธิ์ตรงนี้ ฉะนั้น บุญกุศลของเราก็ต้องร่อยหรอใช่หรือไม่ ก็ไม่มีนี่ เพราะว่า เรามีโบนัส พอแบบนี้ไม่เยอะเราก็ต้องใช้แบบโบนัส สิ่งศักดิ์สิทธิ์รักเรานี่แหละเป็นโบนัส ท่านให้เรา เหมือนกับ พ่อท่านเจอเราเมื่อไหร่ท่านก็ให้เรา ท่านก็หยิบเงินให้เรา เป็นโบนัส โบนัสก็หมดได้ แต่เราก็สร้างอยู่ตลอด มันจะหมดยังไง ก็เหมือนกับถ่านชาร์จ พอออกไปก็ชาร์จกลับ ฉะนั้น ครูบาอาจารย์ทำตัวเป็นการชาร์จหรือเปล่า ครูอาจารย์ทั่วไปที่หมดก็เพราะว่าอหังการ พอทำดีเสร็จแล้วไม่ทำต่อ ว่าฉันดีแล้ว ฉันไม่ต้องทำ ต้องทำหมุนเวียนตลอดเวลา เราต้องมีการชาร์จถ้าไม่ชาร์จก็หมด ถ้าเราขยันกว่านั้น เราได้เก็บก็มีมากกว่าที่เราออก เราก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ระดับอากง เป็นปรมาจารย์ยังต้องทำ แล้วระดับพวกเราทั้งหลายไม่ค่อยจะทำ นิดหนึ่งไม่เอาแล้ว ไม่อยากจะทำ กูเก่งแล้ว กูพอแล้ว อหังการมั้ย? จะเห็นได้ว่าปากอากงประกาศิต อากงบอกว่าได้ ก็จะได้ นี่แหละสิ่งศักดิ์สิทธิ์รัก
กุศลในชีวิต สร้างโอกาสรับปัญญาแก้ไขปัญหา
เมื่อเราต้องหมั่นสร้างกุศล ถึงจะเกิดสิทธิ์ได้เพื่อที่จะได้รับปัญญาในการแก้ไขทุกข์ปัญหานั้นๆ มีสิทธิดังนี้
๑. ถ้าเรามีกุศลก็เหมือนกับให้เราได้เกิดสิทธิ์ในการรับรู้
๒. เกิดสิทธิ์ที่จะเข้าใจว่าทำอะไร
๓. เกิดสิทธิ์ในการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง
๔. เกิดสิทธิ์ในการดลบันดาล
๕. เกิดสิทธิ์ในการขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เข้าช่วย
ไม่ใช่ว่าพอเราทำบุญกุศลตรงนี้แล้วจะกลายเป็นผู้วิเศษไปแก้ให้เขาได้ คือ มีสิทธิ์ ใช่ว่าเราทำกุศลแล้วจะไปแก้ไขได้ ยังไม่ได้ เมื่อเราเกิดสิทธิ์แล้วเราต้องมีดังนี้
๑. มีกุศลแล้วถึงจะมีสิทธิ์
๒. มีสิทธิ์แล้วต้องเรียนรู้
๓. ต้องมีปัญญาถึงจะไปแก้
๔. ต้องมีสิทธิ์ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วย ไม่ใช่ว่าทำให้ตนเองเป็นผู้วิเศษ ต้องเข้าใจ คือ ให้ตนเองเป็นผู้มิสิทธิ์เท่านั้นเอง
เมื่อเราได้กุศลแล้ว เราต้องไปแก้ไขที่เหตุ เข้าสู่อริยสัจ ๔ อยู่ดีๆ จะไปเสกได้ที่ไหน ไม่ใช่เราสร้างบุญกุศลแล้ว จะอุทิศส่งบุญกุศลไปให้กับเจ้ากรรมนายเวรแล้วจะหายจากการเจ็บป่วยสิ่งนั้น ไม่ใช่ ไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ แม้ว่าจะเอาพระธาตุมาเทกองเต็มหัวเราก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้
เหมือนกับเราไปซื้อข้าวมา ๑ กระสอบ มาหุง แล้วเราไม่ได้กินข้าวกระสอบนั้น เราจะหายหิวไหม?
เราก็ต้องมีภูมิปัญญาไปทำให้ข้าวมันสุก แล้วก็มากิน เป็นการแก้ที่เหตุ เหตุเปลี่ยน ผลจึงเปลี่ยนได้
บางคนมาทำพิธีแก้กรรมแล้วทำไมยังต้องเสียชีวิต
บางคนมาทำพิธีแล้วสิทธิเขาไม่ถึง วาสนาบุญเขามีอยู่แค่นี้ จะทำยังไง ถามว่า ก่อนหน้านี้มีโอกาสไหม? มีอยู่ แต่ต้องได้สร้างสิทธิ์ไว้ก่อนอย่างเพียงพอ แต่ไม่เพียงพอที่จะขอสิทธิ์ใหญ่
อากงและครูบาอาจารย์ทุกท่านจึงบอกว่า ปกติให้ทำบุญกุศลไว้ เพราะถ้าปกติไม่ทำกุศลไว้ พอถึงเวลานั้นจุดนั้น คูปองรวบรวมแล้ว เราไปเปลี่ยนเอาสิทธิ์ใหญ่ไม่ได้ ฉะนั้น เวลาปกติให้ทำกุศลแต่คนส่วนใหญ่จะไม่ทำ สมมติว่า ถ้าถึงเวลาจะใช้คูปอง ๑๐๐ ใบ แล้วเรามีคูปองอยู่ ๘๐ ใบ แล้วเราจะทำยังไง ก็ต้องเสี่ยงดวงล่ะ แต่ถ้ามี ๑๐๐ ใบ ก็เต็ม ๑๐๐ ใบ ก็ใช้ได้
อย่างเช่น คนที่มาทำพิธีบางคนมีเปอร์เซนต์ที่จะมีชีวิตอยู่ต่ำมาก แต่ถ้าเราปฏิเสธไปเขาก็จะเสียกำลังใจ เสียความรู้สึกมากๆ อย่างน้อยก็เป็นการทำกุศลให้กับคนที่เสียชีวิตไปแล้ว อย่างน้อยคนที่ตายไปก็ได้กุศลไปสู่สุคติ ที่มันไม่ต้องลำบากมาก ในเวลาเดินทาง ไม่อย่างนั้นก็จะทรมานก่อนจะตาย
คนที่ชีวิต คูปองไม่ครบ แต่ทีนี้จะมีคนให้ยืมคูปองมั้ย ไม่มีใครให้ยืมคูปอง
อย่างเช่นอากง เวลาจะไปช่วยใคร อากงก็จะงัดคูปองของตนเองออกมาช่วย เพราะของเขามีไม่พอ ก็จะเอาคูปองของตนเองไปให้เขา แล้วให้เขาชดใช้ทำกุศลส่งคืนแทน
มันไม่ใช่ง่ายนะ เวลาช่วยมันง่าย เวลานั้นพอเราช่วยเขาหายเสร็จ เขาจะไม่ค่อยคิดกัน ก็เสียดาย เที่ยวก่อนช่วยไปเขาไม่ค่อยคิดกัน
บางคนรับปากว่าจะทำอะไร แล้วไม่ทำ เราต้องไปทำให้ ต้องเอากุศลของเราไป
ฉะนั้น เราเป็นครูบาอาจารย์ต้องหมั่นสร้างบุญกุศล เพราะเห็นเขาทุกข์เขามาพึ่งพาเราคนนี้ก็ต้องช่วย คนนั้นก็ต้องช่วย ถ้าไม่มีการเก็กเก็บกุศลไว้ก็ไส้แห้งได้ บางครั้ง ๓ ครั้งก็ไส้แห้งได้ พอช่วยเขาเสร็จข้างในแห้งโบ๋
ครูบาอาจารย์บางท่านมาถึงจุดนี้ได้ สามารถเข้าถึงธรรมได้ และ อาจารย์ก็ต้องสร้างมาเยอะแยะ แต่ทำไมต้องหมดเร็ว บุญกุศลของเรานั้นมีอยู่ด้วยกัน ๓ หลักใหญ่ๆ ดังนี้
๑. ตัวฐาน คือ ฐานเดิมสะสมกุศลมาตั้งแต่ชาติปางก่อน หลายๆภพชาติ สะสมมาเรื่อยๆ
๒. ตัวที่ใช้ได้ คือ ตัวที่เราสะสมรวบรวมไว้ในชาตินี้ สร้างบุญกุศลในชาตินี้ เราจะใช้เราก็ต้องใช้บุญกุศลที่เราทำในชาตินี้ ถ้าเราไปงัดของบุญกุศลเก่ามาแล้วชาติหน้าเราจะทำยังไง เราต้องเอาไว้สำรองไปเรื่อย
๓. ตัวที่อนุญาตให้ใช้ คือ เป็นรางวัล โบนัส เป็นรางวัลที่เราสร้างแล้วเหลือจากตัวที่ ๒ (ตัวที่ใช้ได้) สมมติตัวที่ ๒ เราใช้ ๒๐๐ คะแนน เราได้คะแนนมา ๓๐๐ แล้วอีก ๑๐๐ เราก็แบ่งให้เป็นตัวที่ ๓ (ตัวที่อนุญาตให้ใช้) เขาเรียกว่าแสดงจาคะ ถ้าไม่อย่างนั้น เราก็ต้องงัดเอาของตนเองไปใช้ช่วยเหลือคนอื่นทั้งนั้น
ไม่ใช่ไปงัดตัวฐานออกมาใช้หมด เราก็ต้องฝังศพครูบาอาจารย์นะสิ ที่เราไปช่วยเขาก็เอาตัวที่อนุญาตให้ใช้ เหมือนกันเราได้รับรางวัลอะไร เรารับมาเยอะแยะไม่หวงใช้เอง ไว้ช่วยเหลือคน
ถ้าเราไปงัดเอาฐานของเราออกก็คือ เอาชีวิตเราแลก ทีนี้เราจะเอาชีวิตของเราแลก แต่ท่านองค์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ยอม ท่านฯ บอกว่า "เอาชีวิตของเอ็งไปแลกกับชีวิตของเขา เขาสร้างประโยชน์น้อย เอ็งอยู่มีประโยชน์เยอะไอ้บ้า ไม่ให้ทำ"
บางคนส่วนใหญ่ก็จะเป็นเช่นนี้ พอช่วยเหลือเสร็จ หายแล้ว ก็จะไม่รู้สึกว่าตรงนั้นเป็นพระคุณ เพราะว่าข้างในคนทั่วไปไม่เห็น คนทั่วไปอยากเห็นเป็นชิ้น เอาเงิน ๑,๐๐๐ บาทให้เห็น แต่กุศลให้เขาไม่เห็น แต่กุศลมันแรงกว่าเงิน เพราะถ้าไม่มีกุศลตัวนี้ เงิน ๑,๐๐๐ บาทก็ดำรงอยู่ไม่ได้ ช่วยอะไรไม่ได้
ฉะนั้น การเป็นครูบาอาจารย์จะไปเที่ยวรับปากใคร ช่วยเหลือใครไปเรื่ีอย เรารู้ว่าเรามีเสบียงอยู่แค่ ๒๐๐ เราไปรับปากช่วยเหลือเขา ๓๐๐ เราจะอ๊วกทันที ระวังจะอ๊วก ครูบาอาจารย์อ๊วกก็มีให้เห็นมาเยอะแล้ว
เหมือนกับลุงเต็งไปช่วยเหลือคนอื่น แล้วสิทธิ์ไม่พอ ข้างในก็กวง สุดท้ายก็ต้องรีบทำพิธี แล้ขอความคุ้มครองจาก ไท้หยางกง (太陽公) ช่วยเหลือ (太陽星君 สุริยเทพ (ไท่หยางซิงจวิน))
แล้วเราจะทำยังไงให้เกิดกุศลที่ใช้ได้เยอะๆ เป็นกุศลใหญ่ คล้ายๆ กับว่าได้กุศลเป็นถังใหญ่ๆ ได้กุศลมากๆ ก็คือ แล้วเราจะยอมทำหรือเปล่า เอาง่ายๆ เช่น เราตื่นเช้าขึ้นมา หาบน้ำไปให้วัด ๕ หาบ กุศลแรงมากเลย แล้วเราเอารถดับเพลิงมาบริจาคให้ไม่ดีเหรอ ยังได้เยอะกว่าที่เราหาบ แล้วเราจะต้องแบ่งกุศลหรือเปล่า ถ้าเราหาบเองเราก็รับกุศลทั้ง ๕ หาบหมดเลย แต่ถ้าเราไปเอารถดับเพลิงมาเราก็ต้องแบ่งกุศลให้เขา รถดับเพลิงมา ๔ คน เราก็ต้องแบ่งกุศลให้เขาทั้ง ๔ คน ไหนจะคนที่บริจาคให้กับคนซื้อรถอีก พวกนี้ต้องแบ่งให้เขาหมด ถ้าเป็นถังน้ำที่เราหาบล่ะ เราต้องแบ่งกุศลให้เขาไหม? ไม่ต้องแบ่งกุศลให้เขา เพราะว่าถังน้ำเราจ่ายเงินซื้อเขามา หรือว่าเราไปเรียกรถดับเพลิงมาแล้วเราจ่ายค่ารถดับเพลิง เราจ่ายไหม? เราก็จ่ายแค่ค่าน้ำ ค่าแรง ค่าคน แต่ค่ารถไม่ได้จ่าย สมมติว่า เราจ่ายเป็นตัวเงินหมด เป็นค่าจ้าง แต่รถจ่ายไม่ได้ เราไม่ได้เสียค่าจ้างรถ รถที่เขาร่วมกุศลซื้อมาให้เราก็ต้องแบ่งกุศลให้เขา นี่คือความยุติธรรม ถ้าเราตั้งอกตั้งใจทำเอง กุศลก็จะแรง จะต่างกันตรงที่ว่า จะให้คะแนนตัววิริยะด้วย
ฉะนั้น เราจะเอากุศลแรงเราก็ต้องทำทุกอย่าง พยายามทำให้เข้าสู่มีขั้นตอนให้ครบขั้นตอน มีวิริยะ มีความตั้งใจที่ดี มีเจตนาที่ดี มีปณิธานที่ดี มีความพยายามที่จะต้องทำ กุศลถึงจะมากพอ
ฉะนั้น เราต้องหมั่นทำกุศลไว้ ไว้ช่วยเหลือคนก็ได้ ช่วยตัวเองก็ได้ เวลาคับขันของเราก็เอากุศลมาช่วยเหลือเราก็ได้ เราสร้างกุศล สะสมกุศลก็จะช่วยเหลือเราโดยอัตโนมัติ
เรามีเหลือก็ช่วยเหลือคนไป ไม่มีเหลือ แต่เรามีจาคะ แต่เรายังมีตัวสำรองไว้เพียงพอ เราก็จาคะช่วย
ถ้าเราเอากุศลไปช่วยเหลือเขา แล้วอะไรจะมาตอบแทนเรา ผลก็คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะรักเรา แค่นี้ก็พอแล้วจะเอาอะไรเยอะแยะ พอสิ่งศักดิ์สิทธิ์รักเรา เราก็จะมีปัญญาเพิ่มพูนขึ้นอยู่เรื่อยๆ นี่แหละสิทธิของกุศล พอเรายิ่งทำเราก็ยิ่งรู้สิ่งต่างๆ
พอเราได้ปัญญาแต่เราก็ต้องกินข้าวแล้วเราจะทำยังไง ก็ในเมื่อเรามีปัญญาก็จะมีคนมาสนับสนุนเรา เวลาเราทำอะไรก็ขึ้น เราไปค้าขายของก็ขึ้น ถ้าเราใช้สิทธิ์ตรงนี้ ฉะนั้น บุญกุศลของเราก็ต้องร่อยหรอใช่หรือไม่ ก็ไม่มีนี่ เพราะว่า เรามีโบนัส พอแบบนี้ไม่เยอะเราก็ต้องใช้แบบโบนัส สิ่งศักดิ์สิทธิ์รักเรานี่แหละเป็นโบนัส ท่านให้เรา เหมือนกับ พ่อท่านเจอเราเมื่อไหร่ท่านก็ให้เรา ท่านก็หยิบเงินให้เรา เป็นโบนัส โบนัสก็หมดได้ แต่เราก็สร้างอยู่ตลอด มันจะหมดยังไง ก็เหมือนกับถ่านชาร์จ พอออกไปก็ชาร์จกลับ ฉะนั้น ครูบาอาจารย์ทำตัวเป็นการชาร์จหรือเปล่า ครูอาจารย์ทั่วไปที่หมดก็เพราะว่าอหังการ พอทำดีเสร็จแล้วไม่ทำต่อ ว่าฉันดีแล้ว ฉันไม่ต้องทำ ต้องทำหมุนเวียนตลอดเวลา เราต้องมีการชาร์จถ้าไม่ชาร์จก็หมด ถ้าเราขยันกว่านั้น เราได้เก็บก็มีมากกว่าที่เราออก เราก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ระดับอากง เป็นปรมาจารย์ยังต้องทำ แล้วระดับพวกเราทั้งหลายไม่ค่อยจะทำ นิดหนึ่งไม่เอาแล้ว ไม่อยากจะทำ กูเก่งแล้ว กูพอแล้ว อหังการมั้ย? จะเห็นได้ว่าปากอากงประกาศิต อากงบอกว่าได้ ก็จะได้ นี่แหละสิ่งศักดิ์สิทธิ์รัก