กองกะโหลกควายอเมริกันขนาดใหญ่ที่ Michigan Carbon Works, Detroit รัฐแคลิฟอร์เนีย 1880
เนื่องจากการฆ่าวัวควายที่แพร่หลายชาวอเมริกันพบว่ามีกระดูกวัวกระทิงเหลือเฟือ กระดูกถูกรวบรวมขายและจัดส่งไปทางทิศตะวันออกจากนั้นนำไปใช้ในการผลิตปุ๋ยและผลิตภัณฑ์เจลาติน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรควัวบ้ากระดูกสันหลังและกะโหลกศีรษะไม่เคยถูกใช้ในกระบวนการ
ควายไบซัน( American bison ,Bison bison) เป็นสัตว์เท้ากีบขนาดใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือที่เหลือรอดจากยุคน้ำแข็งเมื่อหมื่นปีก่อน พวกมันรวมกลุ่มกันเป็นฝูงใหญ่ อพยพไปตามเขตทุ่งหญ้าในแถบตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือ ไปจนถึงแนวป่าสนทางตอนเหนือติดกับทุ่งทุนดรา ครั้งหนึ่งพวกมันนั้นมีประชากรมากกว่า 60ล้านตัว กระจายไปทั่วทวีปแห่งนี้
ชนพื้นเมืองในอเมริกาเหนือที่อาศัยร่วมในพื้นที่นั้นล่าควายไบซันเหล่านี้ด้วยธนู หอกและบ่วงเชือก พวกเขาล่าพวกมันเพื่อเอาเนื้อเป็นอาหาร เอาเอ็นมาทำสายธนู หนังสัตว์มาทำกระโจมและชุดสวมใส่ แม้ว่าชนพื้นเมืองอเมริกันเหล่านี้จะล่าเป็นฤดูกาลทุก ๆ ปี แต่ด้วยความเบาบางของประชากร การล่าแต่ละปีแทบไม่ส่งผลต่อประชากรของควายไบซันที่อาศัยอยู่เลย
ล่วงมาถึงช่วงศตวรรษที่ 18 เมื่อสหรัฐอเมริกาเริ่มบุกเบิกเส้นทางไปยังโพ้นตะวันตกของทวีป เพื่อให้ชาวยุโรปที่อพยพเข้ามาหาที่ลงหลักปักฐานและแสวงโชคในเหมืองทองคำในแนวทิวเขาทางตะวันตกของทวีป เส้นทางที่ตัดผ่านถิ่นอาศัยของควายไบซันนั้นนับว่าเป็นโชคของเหล่านักแสวงโชค ที่มาพร้อมกับปืน เนื้อควายเป็นแหล่งอาหารคุณภาพดีที่ทำให้เขามีชีวิตรอดในพื้นที่กันดารกลางทวีป การล่าควายไบซันในวงกว้างเริ่มก่อเค้าขึ้น
โดยการกระตุ้นทางเศรษฐกิจจากรัฐบาลที่สนับสนุนให้มีการล่าไบซัน เพื่อต้องการสินค้าอย่างหนังสัตว์ที่จะนำไปผลิตเข็มขัด รองเท้า ซองปืน และอื่น ๆ เพื่อใช้ในกองทัพ กระดูกนำไปทำปุ๋ยและวัสดุเซรามิก อีกทั้งยังเป็นการกำจัดสัตว์รบกวนที่ส่งผลต่อการแย่งพื้นที่เลี้ยงฝูงปศุสัตว์อย่างวัว และการตัดปัจจัยแหล่งอาหารสำคัญของชนพื้นเมืองอเมริกาเพื่อบีบพวกเขาออกจากพื้นที่
กลิ่นดินปืนและคาวเลือด ภายใน 50ปี หลังจากช่วงต้นศตวรรษที่ 18 มีการประมาณประชากรควายไบซันเหล่านี้ว่าลดลงจากเดิมที่มี 60ล้านตัว เหลือประมาณแค่ 10ล้านตัว ต่อมาในปีค.ศ.1862 เมื่อมีการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟจากตะวันออกไปตะวันตกของทวีป การล่าควายไบซันนั้นยังไม่มีทีท่าจะหยุด พวกพรานหลายคนนั่งรถไฟและกราดยิงควายไบซันที่อยู่สองข้างทางล้มตายเป็นกิจวัตรอย่างรื่นรมย์ ซากกระดูกไบซันที่ล่าได้ถูกนำไปกองเป็นเขา หรือก่อเป็นแนวกำแพงสูงดังในภาพ
ล่วงมาถึงปีค.ศ.1889 เมื่อทุกคนสัมผัสได้ว่าควายไบซันที่เคยมีดาษดื่นนั้นได้หายไป จึงมีการนับประชากรของควายไบซันที่หลงเหลืออยู่ และมันน่าตกใจอย่างมาก 100ปีในการล่า ควายไบซันที่เคยมีกว่า 60ล้านตัว บัดนี้เหลือเพียงแค่ 541ตัวสุดท้ายที่เหลือรอดบนโลก
นั้นทำให้เกิดแรงกระเพื่อมลูกใหญ่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ชนิดนี้ ทั้งสหรัฐอเมริกาและแคนาดาได้มีการออกกฏหมายคุ้มครองควายป่าไบซันเพื่อทำการฟื้นฟูประชากรควายป่าไบซันที่เหลือรอด จากหลักร้อย ฝูงไบซันค่อย ๆ เพิ่มขึ้นช้า ๆ ในแต่ละปี เป็นพัน หมื่น และหลังจากการอนุรักษ์ร่วมร้อยปี ประชากรของควายไบซันจึงมีอยู่ประมาณ 300,000ตัวในปัจจุบัน
ปัจจุบันนั้นในหลายท้องที่เขตอนุรักษ์นั้น ควายไบซันยังถูกปกป้องและนับเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของอเมริกา แต่ในบางรัฐอย่างอลาสกา มอนทานา และยูทาห์ มีการออกปริมาณที่กำหนดให้ล่าในแต่ละปี เพื่อควบคุมประชากรไม่ให้ขยายตัวเร็วเกินไป
และเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2016 ได้มีประกาศให้ควายไบซันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประจำชาติ (the national mammal) เทียบเท่านกอินทรีหัวขาว (Bald eagle) นกประจำชาติอเมริกา
ไบซัน อาศัยอยู่ในทวีปยุโรป ไบซันได้เคยมีนามเรียกขานว่า " จักรพรรดิแห่งพงไพร " เป็นสัตว์ตระกูลวัวป่าที่ตัวสูงมากถึง 2 เมตร และมีน้ำหนักเฉลี่ยเกือบ 1,000 กิโลกรัม มันได้ชื่อว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอเมริกาเหนือ มีไหล่หนา หัวใหญ่แถมยังมีขนดกบริเวณไหล่ไล่ขึ้นไปถึงหัว ซึ่งพอเข้าสู่ฤดูร้อนขนจะหลุดออกไป ส่วนเขาของมันมีขนาดค่อนข้างเล็กและสั้น
.
นิสัยส่วนตัวของพวกมันคือ ชอบอยู่รวมเป็นฝูงขนาดใหญ่หลักร้อยตัว รักสงบ ชอบหากินตามทุ่งหญ้าหรือตามป่าสน และว่ากันว่า เมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะสู้กันอย่างเอาจริงเอาจังมากเพื่อแย่งตัวเมียมาครอบครอง และการตกลูกของพวกมันก็คือครั้งละตัวเท่านั้น
ภาพวาด ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในถ้ำอัลตามีรา
(สีแดงสดใสของภาพเขียนควายไบซันบนผนังถ้ำ Altamira)
ถ้ำอัลตามีรา (Altamira Cave) เป็นถ้ำแห่งหนึ่งในประเทศสเปน มีชื่อเสียงและความสำคัญเนื่องจากปรากฏภาพเขียนสมัยก่อนประวัติศาสตร์อยู่ภายใน ถ้ำแห่งนี้ถูกค้นพบโดยบังเอิญในปี 1869 โดย Marcelino Sanz de Sautuola นักโบราณคดีสมัครเล่น ภาพที่อยู่ถายในถ้ำนั้นแต่ละภาพมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงความเป็นจริง ถือเป็นภาพที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมในยุคนั้นได้ดีที่สุด คาดว่าอยู่ในช่วงปี 16,000-14,000 ปีที่ผ่านมา
ถ้ำอัลตามีราเป็นถ้ำหินปูนมีขนาดความลึก 300 หลา ภาพเขียนอันเก่าแก่ภายในถ้ำแห่งนี้ถูกค้นพบโดยบังเอิญในปี ค.ศ. 1869 โดยมาร์เซลิโน ซันซ์ เด เซาตูโอลา (Marcelino Sanz de Sautuola) นักโบราณคดีสมัครเล่นและเป็นเจ้าของที่ดินบริเวณดังกล่าว
ภาพวาดในถ้ำอัลตามิราได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชิ้นเยี่ยม เนื่องจากมีความเป็นเลิศทางด้านการแสดงออกและกรรมวิธีความสามารถในการวาดระบาย รวมทั้งความงดงาม ความเข้าใจในสุนทรียภาพของผู้วาดเป็นอย่างสูง
ภาพส่วนมากเป็นภาพสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายในยุคนั้น เช่น กวางเรนเดียร์ วัวไบซัน ม้า มีกิริยาอยู่ในท่ายืนแสดงอาการเคลื่อนไหวไม่แข็งนิ่งอยู่กับที่ รวมทั้งหมด 25 ภาพ แต่ละภาพมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงความเป็นจริง มีความสูงโดยเฉลี่ย 5-6 ฟุต
โดยที่จิตรกรหรือผู้วาดพยายามเลียนให้เหมือนของจริงตามธรรมชาติให้มากที่สุด วาดด้วยเส้นอันแข็งแรงเด็ดเดี่ยว สีที่ใช้เป็นสีแดงและสีน้ำตาลระบายตัวสัตว์ ตัดเส้นเน้นเป็นบางส่วนด้วยสีดำ และที่น่าอัศจรรย์ใจคือ จิตรกรสมัยก่อนประวัติศาสตร์ผู้วาดภาพเหล่านี้ รู้จักการแก้ปัญหาการทับซ้อนกันของรูปทรง รวมทั้งแสดงถึงความเข้าใจความตื้นลึกของภาพตามหลักการวาดภาพที่มีทัศนมิติหรือสัดส่วนใกล้ไกล (perspective) ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ถือเป็นกลุ่มภาพที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมในยุคนั้นได้ดีที่สุด คาดว่าอยู่ในช่วงปี 16,000-14,000 ปีที่ผ่านมา
Penedge เพ็นเอจ
ที่มาข้อมูล
:
https://en.wikipedia.org/wiki/American_bison
:
https://en.wikipedia.org/wiki/Bison_hunting
:
https://rarehistoricalphotos.com/bison-skulls-pile-used-fe…/
ที่มา :
http://www.bangkokbiznews.com,
http://www.komkid.com
Cr.
https://th.wikipedia.org/wiki/ถ้ำอัลตามิรา
Cr.
https://www.facebook.com/Penedgeencyclopedia/posts/1673081229435376/ โดย // แอดลู่
Cr.
https://www.pnr-queyras.com/ไบซันยุโรป-สัตว์ป่าสงวน/ By ADMIN
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
ภูเขากระโหลกควายไบซัน จากการล่าจนเกือบสูญพันธุ์ในอดีต
ชนพื้นเมืองในอเมริกาเหนือที่อาศัยร่วมในพื้นที่นั้นล่าควายไบซันเหล่านี้ด้วยธนู หอกและบ่วงเชือก พวกเขาล่าพวกมันเพื่อเอาเนื้อเป็นอาหาร เอาเอ็นมาทำสายธนู หนังสัตว์มาทำกระโจมและชุดสวมใส่ แม้ว่าชนพื้นเมืองอเมริกันเหล่านี้จะล่าเป็นฤดูกาลทุก ๆ ปี แต่ด้วยความเบาบางของประชากร การล่าแต่ละปีแทบไม่ส่งผลต่อประชากรของควายไบซันที่อาศัยอยู่เลย
ล่วงมาถึงช่วงศตวรรษที่ 18 เมื่อสหรัฐอเมริกาเริ่มบุกเบิกเส้นทางไปยังโพ้นตะวันตกของทวีป เพื่อให้ชาวยุโรปที่อพยพเข้ามาหาที่ลงหลักปักฐานและแสวงโชคในเหมืองทองคำในแนวทิวเขาทางตะวันตกของทวีป เส้นทางที่ตัดผ่านถิ่นอาศัยของควายไบซันนั้นนับว่าเป็นโชคของเหล่านักแสวงโชค ที่มาพร้อมกับปืน เนื้อควายเป็นแหล่งอาหารคุณภาพดีที่ทำให้เขามีชีวิตรอดในพื้นที่กันดารกลางทวีป การล่าควายไบซันในวงกว้างเริ่มก่อเค้าขึ้น
โดยการกระตุ้นทางเศรษฐกิจจากรัฐบาลที่สนับสนุนให้มีการล่าไบซัน เพื่อต้องการสินค้าอย่างหนังสัตว์ที่จะนำไปผลิตเข็มขัด รองเท้า ซองปืน และอื่น ๆ เพื่อใช้ในกองทัพ กระดูกนำไปทำปุ๋ยและวัสดุเซรามิก อีกทั้งยังเป็นการกำจัดสัตว์รบกวนที่ส่งผลต่อการแย่งพื้นที่เลี้ยงฝูงปศุสัตว์อย่างวัว และการตัดปัจจัยแหล่งอาหารสำคัญของชนพื้นเมืองอเมริกาเพื่อบีบพวกเขาออกจากพื้นที่
กลิ่นดินปืนและคาวเลือด ภายใน 50ปี หลังจากช่วงต้นศตวรรษที่ 18 มีการประมาณประชากรควายไบซันเหล่านี้ว่าลดลงจากเดิมที่มี 60ล้านตัว เหลือประมาณแค่ 10ล้านตัว ต่อมาในปีค.ศ.1862 เมื่อมีการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟจากตะวันออกไปตะวันตกของทวีป การล่าควายไบซันนั้นยังไม่มีทีท่าจะหยุด พวกพรานหลายคนนั่งรถไฟและกราดยิงควายไบซันที่อยู่สองข้างทางล้มตายเป็นกิจวัตรอย่างรื่นรมย์ ซากกระดูกไบซันที่ล่าได้ถูกนำไปกองเป็นเขา หรือก่อเป็นแนวกำแพงสูงดังในภาพ
ล่วงมาถึงปีค.ศ.1889 เมื่อทุกคนสัมผัสได้ว่าควายไบซันที่เคยมีดาษดื่นนั้นได้หายไป จึงมีการนับประชากรของควายไบซันที่หลงเหลืออยู่ และมันน่าตกใจอย่างมาก 100ปีในการล่า ควายไบซันที่เคยมีกว่า 60ล้านตัว บัดนี้เหลือเพียงแค่ 541ตัวสุดท้ายที่เหลือรอดบนโลก
นั้นทำให้เกิดแรงกระเพื่อมลูกใหญ่เกี่ยวกับการอนุรักษ์สัตว์ชนิดนี้ ทั้งสหรัฐอเมริกาและแคนาดาได้มีการออกกฏหมายคุ้มครองควายป่าไบซันเพื่อทำการฟื้นฟูประชากรควายป่าไบซันที่เหลือรอด จากหลักร้อย ฝูงไบซันค่อย ๆ เพิ่มขึ้นช้า ๆ ในแต่ละปี เป็นพัน หมื่น และหลังจากการอนุรักษ์ร่วมร้อยปี ประชากรของควายไบซันจึงมีอยู่ประมาณ 300,000ตัวในปัจจุบัน
ปัจจุบันนั้นในหลายท้องที่เขตอนุรักษ์นั้น ควายไบซันยังถูกปกป้องและนับเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของอเมริกา แต่ในบางรัฐอย่างอลาสกา มอนทานา และยูทาห์ มีการออกปริมาณที่กำหนดให้ล่าในแต่ละปี เพื่อควบคุมประชากรไม่ให้ขยายตัวเร็วเกินไป
และเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2016 ได้มีประกาศให้ควายไบซันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประจำชาติ (the national mammal) เทียบเท่านกอินทรีหัวขาว (Bald eagle) นกประจำชาติอเมริกา
ไบซัน อาศัยอยู่ในทวีปยุโรป ไบซันได้เคยมีนามเรียกขานว่า " จักรพรรดิแห่งพงไพร " เป็นสัตว์ตระกูลวัวป่าที่ตัวสูงมากถึง 2 เมตร และมีน้ำหนักเฉลี่ยเกือบ 1,000 กิโลกรัม มันได้ชื่อว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอเมริกาเหนือ มีไหล่หนา หัวใหญ่แถมยังมีขนดกบริเวณไหล่ไล่ขึ้นไปถึงหัว ซึ่งพอเข้าสู่ฤดูร้อนขนจะหลุดออกไป ส่วนเขาของมันมีขนาดค่อนข้างเล็กและสั้น
.
นิสัยส่วนตัวของพวกมันคือ ชอบอยู่รวมเป็นฝูงขนาดใหญ่หลักร้อยตัว รักสงบ ชอบหากินตามทุ่งหญ้าหรือตามป่าสน และว่ากันว่า เมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะสู้กันอย่างเอาจริงเอาจังมากเพื่อแย่งตัวเมียมาครอบครอง และการตกลูกของพวกมันก็คือครั้งละตัวเท่านั้น
ถ้ำอัลตามีราเป็นถ้ำหินปูนมีขนาดความลึก 300 หลา ภาพเขียนอันเก่าแก่ภายในถ้ำแห่งนี้ถูกค้นพบโดยบังเอิญในปี ค.ศ. 1869 โดยมาร์เซลิโน ซันซ์ เด เซาตูโอลา (Marcelino Sanz de Sautuola) นักโบราณคดีสมัครเล่นและเป็นเจ้าของที่ดินบริเวณดังกล่าว
ภาพวาดในถ้ำอัลตามิราได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชิ้นเยี่ยม เนื่องจากมีความเป็นเลิศทางด้านการแสดงออกและกรรมวิธีความสามารถในการวาดระบาย รวมทั้งความงดงาม ความเข้าใจในสุนทรียภาพของผู้วาดเป็นอย่างสูง
ภาพส่วนมากเป็นภาพสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายในยุคนั้น เช่น กวางเรนเดียร์ วัวไบซัน ม้า มีกิริยาอยู่ในท่ายืนแสดงอาการเคลื่อนไหวไม่แข็งนิ่งอยู่กับที่ รวมทั้งหมด 25 ภาพ แต่ละภาพมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงความเป็นจริง มีความสูงโดยเฉลี่ย 5-6 ฟุต
โดยที่จิตรกรหรือผู้วาดพยายามเลียนให้เหมือนของจริงตามธรรมชาติให้มากที่สุด วาดด้วยเส้นอันแข็งแรงเด็ดเดี่ยว สีที่ใช้เป็นสีแดงและสีน้ำตาลระบายตัวสัตว์ ตัดเส้นเน้นเป็นบางส่วนด้วยสีดำ และที่น่าอัศจรรย์ใจคือ จิตรกรสมัยก่อนประวัติศาสตร์ผู้วาดภาพเหล่านี้ รู้จักการแก้ปัญหาการทับซ้อนกันของรูปทรง รวมทั้งแสดงถึงความเข้าใจความตื้นลึกของภาพตามหลักการวาดภาพที่มีทัศนมิติหรือสัดส่วนใกล้ไกล (perspective) ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ถือเป็นกลุ่มภาพที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมในยุคนั้นได้ดีที่สุด คาดว่าอยู่ในช่วงปี 16,000-14,000 ปีที่ผ่านมา
Penedge เพ็นเอจ
ที่มาข้อมูล
: https://en.wikipedia.org/wiki/American_bison
: https://en.wikipedia.org/wiki/Bison_hunting
: https://rarehistoricalphotos.com/bison-skulls-pile-used-fe…/
ที่มา : http://www.bangkokbiznews.com, http://www.komkid.com
Cr.https://th.wikipedia.org/wiki/ถ้ำอัลตามิรา
Cr. https://www.facebook.com/Penedgeencyclopedia/posts/1673081229435376/ โดย // แอดลู่
Cr.https://www.pnr-queyras.com/ไบซันยุโรป-สัตว์ป่าสงวน/ By ADMIN
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)