สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี


รตนสูตร
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
อะโถปิ สักกัจะ สุณันตุ ภาสิตัง
ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ
ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา
จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ
โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะตัง
กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร
อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา
นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

ความหมาย
รัตนสูตร ในขุททกปาฐะ
[ ๗] ภูตเหล่าใด ประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี
หรือภุมมเทวดา เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี
ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดีและจงฟังภาษิตโดยเคารพ
ดูกรภูตทั้งปวง เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง
ขอจงแผ่เมตตาจิตในหมู่มนุษย์
มนุษย์เหล่าใด นำพลีกรรมไปทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
เพราะเหตุนั้นแลท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทรักษามนุษย์เหล่านั้น
ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้
หรือในโลกอื่นหรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์
ทรัพย์และรัตนะนั้น เสมอด้วยพระตถาคตไม่มีเลย
พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระศากยมุนีมีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใดเป็นที่สิ้นกิเลส
เป็นที่สำรอกกิเลส เป็นอมฤตธรรม อันประณีต
ธรรมชาติอะไรๆเสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี
ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด
ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใด
ว่าเป็นธรรมอันสะอาด
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวซึ่งสมาธิใด ว่าให้ผลในลำดับ
สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี
ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

บุคคล ๘จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว
บุคคลเหล่านั้น
ควรแก่ทักษิณาทาน เป็นสาวกของพระตถาคต
ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้นย่อมมีผลมาก
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ขอความสวัสดีจงมี
พระอริยบุคคลเหล่าใด ในศาสนาของพระโคดม
ประกอบดีแล้ว[ ด้วยกายประโยคและวจีประโยคอันบริสุทธิ์]
มีใจมั่นคงเป็นผู้ไม่มีความห่วงใย [ ในกายและชีวิต]
พระอริยบุคคลเหล่านั้นบรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุหยั่งลงสู่อมตนิพพาน
ได้ซึ่งความดับกิเลสโดยเปล่า เสวยผลอยู่
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

เสาเขื่อนที่ฝังลงดินไม่หวั่นไหวเพราะ ลมทั้งสี่ทิศ ฉันใด
ผู้ใดพิจารณาเห็นอริยสัจทั้งหลาย
เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นสัตบุรุษ
ผู้ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรมมีอุปมาฉันนั้น
สังฆรัตนะนี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลเหล่าใด ทำให้แจ้งซึ่งอริยสัจทั้งหลาย
อันพระศาสดาทรงแสดงดีแล้ว
ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง พระอริยบุคคลเหล่านั้น
ยังเป็นผู้ ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่ก็จริง
ถึงกระนั้น ท่านย่อมไม่ยึดถือเอาภพที่ ๘
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดี จงมีแก่สัตว์เหล่านี้

สักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา หรือแม้สีลัพพตปรามาส
อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้น
อันพระอริยบุคคลนั้นละได้แล้วพร้อมด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็น[ นิพพาน] ทีเดียว
อนึ่ง พระอริยบุคคลเป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔
ทั้งไม่ควรเพื่อจะทำอภิฐานทั้ง ๖ [ คือ อนันตริยกรรม ๕และการเข้ารีด]
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลนั้นยัง ทำบาปกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ ก็จริง
ถึงกระนั้นท่านไม่ควร เพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันนั้น
ความที่บุคคลผู้มีธรรมเครื่องถึงนิพพานอันตนเห็นแล้ว
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อปกปิดบาปกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีตด้วยสัจจวาจานี้
ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้วในเดือนต้นในคิมหันตฤดู
ฉันใดพระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรม
อันประเสริฐยิ่งเป็นเครื่องให้ถึงนิพพาน
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลมีอุปมา
ฉันนั้นพุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงทราบธรรมอันประเสริฐ
ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ
ทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า
ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ
พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลเหล่าใดผู้มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป มีกรรมเก่าสิ้นแล้ว
ไม่มีกรรมใหม่เครื่องสมภพพระอริยบุคคลเหล่านั้น
มีพืชอันสิ้นแล้ว มีความพอใจไม่งอกงามแล้ว
เป็นนักปราชญ์ ย่อมนิพพาน เหมือนประทีปอันดับไป ฉะนั้น
สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต
ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว
ในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระพุทธเจ้า ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศก็ดี หรือ ภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว
ในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระธรรม อันไปแล้วอย่างนั้น อันเทวดา
และมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศนี้ก็ดี หรือ ภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว
ในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการ พระสงฆ์ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดา
และมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้ ฯ

จบรัตนสูตร ฯ

[/ce
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่