หนักกว่าต้มยำกุ้งแน่ละครับ ปีที่หนักที่สุดไม่ใช่ปีที่เกิดวิกฤตด้วย แต่เป็นปีถัดไปทุกครั้ง ดูได้จากสถิติ คิดว่าปี 64 GDP จะติดลบเท่าไหรละครับ ในเมื่อปีนี้สตาร์ทไปแล้ว -5.3 อย่างต่ำ
ปี เหตุการณ์สำคัญ อัตราการเติบโต
2540 วิกฤตต้มยำกุ้ง -2.8
2541 วิกฤตต้มยำกุ้ง -7.6
2550 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ 5.4
2551 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ 1.7
2563 วิกฤตโควิด-19 -5.3 (อย่างต่ำ)
2564 วิกฤตโควิด-19 ?
https://www.khaosod.co.th/economics/news_3834317
‘สมคิด’ รับวิกฤตเศรษฐกิจหนักกว่า ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ กระทบหมดทั้งคนจน คนรวย แย้ม ‘ไอเอ็มเอฟ’ พร้อมยื่นมือช่วยไทยด้วย
ไอเอ็มเอฟพร้อมช่วยไทย - นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับ รมว.คลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ สมาคมธนาคารไทย และตลาดทุน เรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่ากรณีที่ ธปท. ปรับลดคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ปี 2563 จะขยายตัวติดลบ 5.3% นั้น ต้องยอมรับว่าวิกฤตครั้งนี้หนัก ไม่ต้องสนใจว่าจีดีพีไทยปีนี้จะลบเท่าไร เพราะลบกันทั้งโลก
นายสมคิด กล่าวว่า วิกฤตครั้งนี้ไม่เหมือนวิกฤตต้มยำกุ้งที่จีดีพีติดลบ 10% กว่า แต่ตอนนั้นคนที่มีเงินเจ็บตัว คนจนไม่เจ็บตัว เพราะเกษตรดี ท้องถิ่นดี แต่วิกฤตครั้งนี้ กระทบทั้งคนจนและคนรวยเจ็บตัวกันหมด ขอให้ทุกคนรู้ว่าทำอะไรเพื่ออนาคตเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า ไม่ต้องไปสนใจว่าจีดีพีจะลบอย่างไร เพราะมันลบกันทั้งโลก ซึ่งตอนนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ยินดีจะให้ความช่วยเหลือทั้งโลก เพราะมีปัญหากันหมด
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พิจารณาแล้วเห็นตรงกันว่าภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตรงจุด เป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว แต่ก็มองว่าไม่ตรงจุดเท่ากับนโยบายที่มีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง เหมือนที่รัฐบาลทำนโยบายช่วยเรื่องคนตกงาน ซึ่งจะตอบโจทย์ภาวะนี้
นายวิรไท กล่าวว่า คาดหวังว่าแต่ละธนาคารจะมีโครงการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพิ่มเติม เพิ่มจากแนวปฏิบัติมาตรฐานขั้นต่ำ ซึ่งฐานลูกค้าแต่ละธนาคารไม่เหมือนกัน สิ่งที่เป็นปัญหาคือขั้นตอนติดต่อกับธนาคาร ตอนนี้การใช้คอลเซ็นเตอร์ทำให้ไม่สามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็ว จึงกำชับให้มีการใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ และ ธปท. จะติดตามอย่างตามใกล้ชิดถึงวิธีปฏิบัติเพื่อให้ประชาชนได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ส่วนการจัดชั้นหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ขณะนี้ยังไม่มีการปรับเงื่อนไขแต่อย่างใด
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ข้อเรียกร้องของลูกค้า เรื่องภาระการชำระเงินต้น ดอกเบี้ยกำลังพิจารณาอยู่ ตอนนี้ภาระเงินต้นถ้ามีความต้องการ ธนาคารก็สามารถเลื่อนให้หมด ส่วนการขอเลื่อนหรือลดดอกเบี้ย ก็จะพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป ขณะเดียวกันสภาพคล่องของกิจการที่ยังต้องการ ก็มีมาตรการของรัฐที่ออกไปคือซอฟต์โลน 1.5 แสนล้านบาท ยังมีมาตรการที่รัฐบาลสนับสนุนเรื่องหลักประกัน วงเงิน 6 หมื่นล้าน พร้อมให้บริการ
‘สมคิด’ รับวิกฤตเศรษฐกิจหนักกว่า ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’
ปี เหตุการณ์สำคัญ อัตราการเติบโต
2540 วิกฤตต้มยำกุ้ง -2.8
2541 วิกฤตต้มยำกุ้ง -7.6
2550 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ 5.4
2551 วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ 1.7
2563 วิกฤตโควิด-19 -5.3 (อย่างต่ำ)
2564 วิกฤตโควิด-19 ?
https://www.khaosod.co.th/economics/news_3834317
‘สมคิด’ รับวิกฤตเศรษฐกิจหนักกว่า ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ กระทบหมดทั้งคนจน คนรวย แย้ม ‘ไอเอ็มเอฟ’ พร้อมยื่นมือช่วยไทยด้วย
ไอเอ็มเอฟพร้อมช่วยไทย - นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับ รมว.คลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ สมาคมธนาคารไทย และตลาดทุน เรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาปัญหาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่ากรณีที่ ธปท. ปรับลดคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ปี 2563 จะขยายตัวติดลบ 5.3% นั้น ต้องยอมรับว่าวิกฤตครั้งนี้หนัก ไม่ต้องสนใจว่าจีดีพีไทยปีนี้จะลบเท่าไร เพราะลบกันทั้งโลก
นายสมคิด กล่าวว่า วิกฤตครั้งนี้ไม่เหมือนวิกฤตต้มยำกุ้งที่จีดีพีติดลบ 10% กว่า แต่ตอนนั้นคนที่มีเงินเจ็บตัว คนจนไม่เจ็บตัว เพราะเกษตรดี ท้องถิ่นดี แต่วิกฤตครั้งนี้ กระทบทั้งคนจนและคนรวยเจ็บตัวกันหมด ขอให้ทุกคนรู้ว่าทำอะไรเพื่ออนาคตเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า ไม่ต้องไปสนใจว่าจีดีพีจะลบอย่างไร เพราะมันลบกันทั้งโลก ซึ่งตอนนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ยินดีจะให้ความช่วยเหลือทั้งโลก เพราะมีปัญหากันหมด
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) พิจารณาแล้วเห็นตรงกันว่าภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตรงจุด เป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว แต่ก็มองว่าไม่ตรงจุดเท่ากับนโยบายที่มีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง เหมือนที่รัฐบาลทำนโยบายช่วยเรื่องคนตกงาน ซึ่งจะตอบโจทย์ภาวะนี้
นายวิรไท กล่าวว่า คาดหวังว่าแต่ละธนาคารจะมีโครงการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพิ่มเติม เพิ่มจากแนวปฏิบัติมาตรฐานขั้นต่ำ ซึ่งฐานลูกค้าแต่ละธนาคารไม่เหมือนกัน สิ่งที่เป็นปัญหาคือขั้นตอนติดต่อกับธนาคาร ตอนนี้การใช้คอลเซ็นเตอร์ทำให้ไม่สามารถติดต่อได้อย่างรวดเร็ว จึงกำชับให้มีการใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ และ ธปท. จะติดตามอย่างตามใกล้ชิดถึงวิธีปฏิบัติเพื่อให้ประชาชนได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ส่วนการจัดชั้นหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ขณะนี้ยังไม่มีการปรับเงื่อนไขแต่อย่างใด
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ข้อเรียกร้องของลูกค้า เรื่องภาระการชำระเงินต้น ดอกเบี้ยกำลังพิจารณาอยู่ ตอนนี้ภาระเงินต้นถ้ามีความต้องการ ธนาคารก็สามารถเลื่อนให้หมด ส่วนการขอเลื่อนหรือลดดอกเบี้ย ก็จะพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป ขณะเดียวกันสภาพคล่องของกิจการที่ยังต้องการ ก็มีมาตรการของรัฐที่ออกไปคือซอฟต์โลน 1.5 แสนล้านบาท ยังมีมาตรการที่รัฐบาลสนับสนุนเรื่องหลักประกัน วงเงิน 6 หมื่นล้าน พร้อมให้บริการ