กูรูด้านเศรษฐกิจประเมินเศรษฐกิจโลกปี"59 ปัจจัยเสี่ยงสูง ทั้งเศรษฐกิจโลกตกต่ำ เศรษฐกิจจีน และการก่อหนี้ภาคเอกชน ที่ไอเอ็มเอฟโชว์แนวโน้มขยับสูง 4 เท่าโดยเร็ว จาก 4 ล้านล้านเหรียญ เป็น 18 ล้านล้านเหรียญ กดดันจีดีพีทั่วโลกต่ำกว่า 3%
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในงานสัมมนาวิชาการ "ฝ่าวิกฤติ เศรษฐกิจ ยุคปฏิรูป" ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ว่า เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะขยายตัวได้ 2.7% ปัจจัยจากการลงทุนภาครัฐที่สูงถึง 21.8% แม้การลงทุนภาครัฐช่วงต้นปีนี้ในทีมเศรษฐกิจชุดก่อน อาจจะล่าช้าไปบ้าง แต่เชื่อว่าหลังจากนี้เป็นต้นไป โครงการใหญ่ต่างๆ จะเริ่มเดินเครื่องและมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบได้ และน่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจปี 2559 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนปีนี้น่าจะติดลบ 0.5% และการส่งออกติดลบ 4-5% ส่วนเศรษฐกิจในปีหน้าเชื่อว่าจะขยายตัวได้ 3.7% จากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนจากรัฐที่เริ่มเห็นผล และการลงทุนเอกชนกลับมาขยายตัว 5.4% ได้
นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เชื่อว่าเศรษฐกิจปี 2559 จะดีขึ้นกว่าปีนี้ แต่มีข้อกังวลที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เห็นว่าเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยง 50% ที่ขยายตัวต่ำกว่า 3% เนื่องจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ อาทิ จีน ละตินอเมริกา อาเซียน รวมถึงไทย มีความเสี่ยงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศสูง เพราะปัญหาหนี้สินภาคเอกชนเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า หรือเพิ่มจาก 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเป็น 18 ล้านล้านเหรียญ แต่ผลประกอบการตกต่ำจากปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ
และการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศขึ้นดอกเบี้ยในปี อาจเกิดปัญหาเงินทุนไหลออกนอกประเทศจำนวนมาก เป็นปัญหาควรเฝ้าระวังและจับตาดูอย่างใกล้ชิด ส่วนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้จ่ายจากภาครัฐในปีหน้าน่าจะช่วยลดผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกได้บ้าง หากเศรษฐกิจโลกไม่รุนแรง เศรษฐกิจภายในประเทศก็จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ แต่หากปัญหาของเศรษฐกิจโลกลุกลามบานปลาย และนโยบายกระตุ้นจากภาครัฐคงช่วยได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
นายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะขยายตัวต่ำกว่า 3% เนื่องมาจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกมากเกินไปถึง 70% ของจีดีพี แต่ส่วนใหญ่เป็นลักษณะการรับจากผลิตจากต่างชาติ (โออีเอ็ม) ขณะที่ภาคบริการต่ำกว่า 50% ของจีดีพี โดยรายได้หลักตอนนี้จากการท่องเที่ยวและการลงทุนภาครัฐ ซึ่งไม่พอที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในสภาวะที่มีปัญหาได้
นางสาวพรวลี พลาวรรณ ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวในสัมมนา "โค้งสุดท้ายปี 2558 ภาพรวมเศรษฐกิจไทย" ว่า เศรษฐกิจไทยปี 2558 และปี 2559 ยังจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ต่ำ โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ซึ่งไทยส่งออกไปจีน 11% ของมูลค่ารวม และอาเซียนได้รับผลกระทบด้วย ทำให้ราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคอยู่ระดับต่ำ
การบริโภคในประเทศยังชะลอตัว เพราะรายได้เพิ่มน้อยกว่าภาระหนี้ เอกชนยังไม่ลงทุนใหม่ พบว่ากำลังผลิตส่วนใหญ่ยังใกล้เคียงกับช่วงน้ำท่วมปลายปี 2554 อีกทั้งธุรกิจรอความชัดเจนทางการเมือง และเลือกตั้งใหม่ จึงไม่กล้าตัดสินใจลงทุน กลัวนโยบายไม่มีความต่อเนื่อง เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัว 2.8% ยกเว้นส่งออกติดลบ 5% อาจทำให้จีดีพีขยายตัวเพียง 2.3% ส่วนปี 2559 คาดจีดีพีโต 3% แต่มีปัจจัยเสี่ยงเรื่องภัยแล้ง ภาวะเศรษฐกิจโลกและจีน
JJNY : เอกชนหนี้ท่วม! ตัวถ่วงศก.ปี′59 กำลังผลิตซึมเท่าช่วงน้ำท่วมปี′54
นายณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในงานสัมมนาวิชาการ "ฝ่าวิกฤติ เศรษฐกิจ ยุคปฏิรูป" ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ว่า เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะขยายตัวได้ 2.7% ปัจจัยจากการลงทุนภาครัฐที่สูงถึง 21.8% แม้การลงทุนภาครัฐช่วงต้นปีนี้ในทีมเศรษฐกิจชุดก่อน อาจจะล่าช้าไปบ้าง แต่เชื่อว่าหลังจากนี้เป็นต้นไป โครงการใหญ่ต่างๆ จะเริ่มเดินเครื่องและมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบได้ และน่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจปี 2559 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนปีนี้น่าจะติดลบ 0.5% และการส่งออกติดลบ 4-5% ส่วนเศรษฐกิจในปีหน้าเชื่อว่าจะขยายตัวได้ 3.7% จากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนจากรัฐที่เริ่มเห็นผล และการลงทุนเอกชนกลับมาขยายตัว 5.4% ได้
นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เชื่อว่าเศรษฐกิจปี 2559 จะดีขึ้นกว่าปีนี้ แต่มีข้อกังวลที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เห็นว่าเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยง 50% ที่ขยายตัวต่ำกว่า 3% เนื่องจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ อาทิ จีน ละตินอเมริกา อาเซียน รวมถึงไทย มีความเสี่ยงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศสูง เพราะปัญหาหนี้สินภาคเอกชนเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า หรือเพิ่มจาก 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเป็น 18 ล้านล้านเหรียญ แต่ผลประกอบการตกต่ำจากปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ
และการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศขึ้นดอกเบี้ยในปี อาจเกิดปัญหาเงินทุนไหลออกนอกประเทศจำนวนมาก เป็นปัญหาควรเฝ้าระวังและจับตาดูอย่างใกล้ชิด ส่วนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้จ่ายจากภาครัฐในปีหน้าน่าจะช่วยลดผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกได้บ้าง หากเศรษฐกิจโลกไม่รุนแรง เศรษฐกิจภายในประเทศก็จะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ แต่หากปัญหาของเศรษฐกิจโลกลุกลามบานปลาย และนโยบายกระตุ้นจากภาครัฐคงช่วยได้เพียงบางส่วนเท่านั้น
นายสมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะขยายตัวต่ำกว่า 3% เนื่องมาจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกมากเกินไปถึง 70% ของจีดีพี แต่ส่วนใหญ่เป็นลักษณะการรับจากผลิตจากต่างชาติ (โออีเอ็ม) ขณะที่ภาคบริการต่ำกว่า 50% ของจีดีพี โดยรายได้หลักตอนนี้จากการท่องเที่ยวและการลงทุนภาครัฐ ซึ่งไม่พอที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในสภาวะที่มีปัญหาได้
นางสาวพรวลี พลาวรรณ ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวในสัมมนา "โค้งสุดท้ายปี 2558 ภาพรวมเศรษฐกิจไทย" ว่า เศรษฐกิจไทยปี 2558 และปี 2559 ยังจะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ต่ำ โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ซึ่งไทยส่งออกไปจีน 11% ของมูลค่ารวม และอาเซียนได้รับผลกระทบด้วย ทำให้ราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคอยู่ระดับต่ำ
การบริโภคในประเทศยังชะลอตัว เพราะรายได้เพิ่มน้อยกว่าภาระหนี้ เอกชนยังไม่ลงทุนใหม่ พบว่ากำลังผลิตส่วนใหญ่ยังใกล้เคียงกับช่วงน้ำท่วมปลายปี 2554 อีกทั้งธุรกิจรอความชัดเจนทางการเมือง และเลือกตั้งใหม่ จึงไม่กล้าตัดสินใจลงทุน กลัวนโยบายไม่มีความต่อเนื่อง เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัว 2.8% ยกเว้นส่งออกติดลบ 5% อาจทำให้จีดีพีขยายตัวเพียง 2.3% ส่วนปี 2559 คาดจีดีพีโต 3% แต่มีปัจจัยเสี่ยงเรื่องภัยแล้ง ภาวะเศรษฐกิจโลกและจีน