สัญญาณ “ขาดดุลแฝด” เศรษฐกิจไทยเสี่ยงเจอวิกฤตคล้ายต้มยำกุ้ง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.thansettakij.com/insights/527697?fbclid=IwAR2glYLuWkax_QEV9qBMxo_Ei0Ze-_5nNfGj5blphKfcWgO5jXhMGqRweTs
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้อธิบายข้อมูลกรณีการขาดดุลแฝดไว้อย่างน่าสนใจว่า มีสาเหตุมาจาก 1.การขาดดุลการคลัง เกิดจากรัฐบาลมีการใช้จ่ายมากกว่ารายรับ ทำให้ต้องชดเชยการขาดดุลโดยการกู้ยืม จะทำให้อุปสงค์การบริโภคและการลงทุนภายในประเทศเพิ่มขึ้น และอุปสงค์การนำเข้าเพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้ระดับราคาเพิ่มสูงขึ้นและทำให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อได้
2.การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เกิดจากการขาดดุลสุทธิของดุลการค้า ดุลบัญชีบริการ ดุลรายได้จากการลงทุนระหว่างประเทศ และดุลเงินโอนระหว่างประเทศ ซึ่งสาเหตุหลักมักมาจากการขาดดุลการค้า นั่นคือ มีรายจ่ายจากการนำเข้ามากกว่ารายรับจากการส่งออกสินค้า
การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จะทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง ส่งผลต่อความสามารถในการรองรับความเสี่ยงและความเชื่อมั่นของผู้ที่จะเข้ามาลงทุน แม้ว่าการขาดดุลแฝดจะทำให้ค่าเงินอ่อนลง ซึ่งอาจส่งผลดีต่อการส่งออก แต่ในขณะเดียวกันเงินที่อ่อนค่าจะสร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ ผ่านราคาพลังงานและวัตถุดิบที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศด้วย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ด้าน ศ.ดร.อรรถกฤต ปัจฉิมนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย และผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ระบุเรื่องนี้กับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในภาวะเศรษฐกิจที่ผ่านการระบาดของโควิด-19 การขาดดุลแฝดก็เกิดขึ้นได้ในหลาย ๆ ประเทศ เพราะภาวะการคลังติดลบเกือบหมด หลังจากรัฐบาลจำเป็นต้องหาเงินกู้มาสู้กับโควิด
ขณะที่บัญชีเดินสะพัด ในเดือนมีนาคม 2565 ดูเหมือนว่าจะปรับตัวดีขึ้นโดยกลับมาเป็นบวก หลังจากติดลบมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 แต่หลังจากนี้เศรษฐกิจทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตรัสเซีย-ยูเครน จึงน่าจะส่งผลถึงบัญชีเดินสะพัดต่อไปแน่นอน
ทางออกที่จะรองรับวิกฤตนี้ได้ คือ รัฐบาลต้องแสวงหาช่องทางการค้า เปิดตลาดใหม่ ๆ และเจรจากรอบความร่วมมือทางการค้าให้มากกว่าเดิม สร้างนวัตกรรมเพื่อดึงดูดการลงทุน รวมทั้งหาโอกาสใหม่เกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยว แม้ว่าจะทำได้ยากในช่วงนี้ เพราะตลาดใหญ่อย่างจีนยังไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางออกมานอกประเทศ
“ในอดีตประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่น สหรัฐฯ ก็เคยเกิดปัญหาการขาดดุลแฝดแบบนี้ แต่เขาแก้ไขโดยการเจรจาการค้า ทั้งกลุ่ม G5 กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อเพิ่มการค้า การลงทุน และการใช้กลไกของค่าเงินดอลลาร์ไปแก้ไข แต่ไทยเป็นประเทศเล็ก ๆ การแก้ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องง่ายแน่นอน และปัญหาการขาดดุลแฝดนี้จะเป็นไปอีกระยะในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังมีปัญหา” ศ.ดร.อรรถกฤต กล่าว
สัญญาณ “ขาดดุลแฝด” เศรษฐกิจไทยเสี่ยงเจอวิกฤตคล้ายต้มยำกุ้ง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้