Credit : FB Thanong Fanclub
-----------
ตอนนี้ประเทศไทยเจอเงื่อนงำปัญหาเศรษฐกิจมหภาค เพราะว่าเกิดการขาดดุล 3 อย่างพร้อมกัน คือดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการค้า และดุลงบประมาณ ในภาพกว้างขาดดุล 3 เด้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่าไทยกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ภาวะการเงินกำลังอ่อนแอลง ต้องยืมเงินคนอื่นมาใช้ หรือไม่ก็ต้องใช้เงินออมเก่าของตัวเองออกไป
เริ่มด้วยดุลบัญชีเดินสะพัด ตัวนี้วัดดุลบริการและดุลการค้าด้วยกัน ถ้าเป็นบวกแสดงว่ามีเงินไหลเข้าประเทศมากกว่าไหลออก ถ้าเป็นลบแสดงว่ามีเงินไหลออกจากประเทศมากกว่าเงินไหลเข้า
ปี 1996 ดุลบัญชีเดินสะพัดไทยติดลบ 8.1% ต่อจีดีพี ก่อนหน้านี้หลายปีติดลบติดต่อกัน แสดงว่าไทยลงทุนเกินตัว เงินออกในประเทศไม่พอ ต้องยืมเงินดอลล่าร์มาอุดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุล ยืมดอลล่าร์มามาก ถึงจุดๆหนึ่งเขาเห็นว่าเราไปไม่รอดเพราะรายได้จะไม่เข้ามา เขาก็ขนเงินออก ทำให้เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ค่าเงินบาทร่วงไปที่ 50 บาทต่อดอลล่าร์
ปี 2007 ไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวก 6.3% ต่อจีดีพีหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง 10 ปี มีการเรียนรู้บทเรียน ฐานะการเงินของประเทศค่อนข้างมั่นคงปี 2012 ดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มเกินดุลน้อยลงมากเป็น 0.1% ต่อจีดีพี แต่มาครึ่งปีแรกของ 2013 ดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มติดลบ 1.9% ต่อจีดีพี
ดุลการค้ามีลักษณะคล้ายๆกัน ปี 1996 ไทยมีดุลการค้าติดลบ 5.2% ต่อจีดีพี เปรียบเทียบกับในปี 2007 ที่ดุลการค้าเป็นบวก 10.8% ต่อจีดีพี ครึ่งปีแรกของ 2013 ดุลการค้าติดลบ 0.4% ต่อจีดีพี
เป็นที่น่าสังเกตุว่า ตัวเลขการนำเข้าน้ำมันและทองคำพุ่งสูงมากครึ่งปีแรกนี้ ขาดุลจากการนำเข้าน้ำมันอย่างเดียว 9.3% ต่อจีดีพี และทอง 4.3% ต่อจีดีพี แสดงว่าไทยใช้พลังงานเปลืองมาก ระบบโลจิสติคส์ห่วย แม้ว่ามีการแปรรูปปตท และมีปตทสผแต่ไม่ได้ช่วยให้ประเทศไทยมีความสามารถในการพึ่งพาตัวเองมากขึ้นในด้านพลังงาน ตัวเลขที่กำไรสูงของปตทและบริษัทลูกๆเข้ากระเป๋าผู้ถือหุ้น และผู้บริหารมากกว่า ทำให้ประเทศดีขึ้นในด้านพลังงาน พลังงานทดแทนก็แทบจะไม่ได้พัฒนา เพราะขัดกับผลประโยชน์ปตท
การนำเข้าทองเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากที่ทางการกำลังจับตามอง ที่จริงทองเป็นการลงทุนเพื่อประกันความเสี่ยงของเงินเฟ้อ และเป็นเงินหรือ currency ที่แท้จริง ช่วงไตรมาสสองของปีนี้ไทยนำเข้าทองคำเกือบ 1 ล้านออนซ์ หรืออันดับ 7 ของโลก ตัวเลขการนำเข้าทองน่าจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะว่านักลงทุนไทยมีการตื่นตัวเรื่องทองกันมาก ต่อๆไปสถานการณ์อาจจะคล้ายๆกับอินเดีย ที่การนำเข้าทองมากจนกระทั่งทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลหนัก มีผลกระทบต่อค่าเงินรูปีให้อ่อนตัวลงอย่างรุนแรง
ขาดดุลตัวที่ 3 คืองบประมาแผ่นดิน ที่ติดลบ 300,000-350,000 ล้านทุกๆปีเป็นเวลาหลายปีดีดักแล้ว ทุกรัฐบาลต่างก็ทำงบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งๆที่เศรษฐกิจเดินได้ด้วยตัวมันเอง งบขาดดุลเป็นการสร้างหนี้สินของประเทศ ประชาชนเลือกนักการเมืองเข้ามาบริหารประเทศให้ช่วยหาเงินเข้าประเทศ ไม่ใช้ใช้จ่ายเงินภาษีอย่างเกินตัว สร้างภาระหนี้ให้ลูกหลาน งบประมาณประชานิยมมั่วไปหมด ไม่ก่อให้เกิดผลดี มีแต่สร้างหนี้เพิ่ม ตอนนี้หนี้สาธารณะยังคงอยู่ระดับต่ำกว่า 50% ต่อจีดีพี แต่รัฐบาลนี้ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มหนี้ตัวนี้ให้ชนเพดานที่ตัวเองตั้งไว้ที่ 60% ต่อจีดีพี เราทราบกันดี เพดานหนี้มักจะหยุดกันไม่อยู่ เวลาหนี้ติดปีกแล้วมันจะหยุดไม่ได้ ท้ายที่สุดประเทศจะมีวิกฤตเหมือนกับกรีซ
ถ้าดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการค้าและงบประมาณแผ่นดินติดลบทั้งสามตัวต่อเนื่องต่อไป มันจะลามปามไปทำให้เกิดปัญหาในการบริหารเศรษฐกิจมหภาคคือ
1. เงินบาทจะอ่อน
2. เงินเฟ้อจะสูง เพราะของที่นำเข้าจะแพงขึ้น
3. ดอกเบี้ยจะสูงขึ้น
4. ตลาดการเงินจะตึงตัว ติดๆขัดๆไปหมด
5. เศรษฐกิจจะชะลอตัว
6. ความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง
7. เป็นอาการของประเทศที่เข้าสู่ภาวะวิกฤตในอนาคต
ปัญหาเหล่านี้ต้องแก้เดี๋ยวนี้ ก่อนที่จะเรื้อรัง ทำให้เรามีวิกฤตในอนาคต แล้วจะทำให้แก้ปัญหาได้ยากขึ้น
thanong
26/9/2013
ไทยขาดดุล 3 เด้ง...สัญญาณอันตราย !
-----------
ตอนนี้ประเทศไทยเจอเงื่อนงำปัญหาเศรษฐกิจมหภาค เพราะว่าเกิดการขาดดุล 3 อย่างพร้อมกัน คือดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการค้า และดุลงบประมาณ ในภาพกว้างขาดดุล 3 เด้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่าไทยกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ภาวะการเงินกำลังอ่อนแอลง ต้องยืมเงินคนอื่นมาใช้ หรือไม่ก็ต้องใช้เงินออมเก่าของตัวเองออกไป
เริ่มด้วยดุลบัญชีเดินสะพัด ตัวนี้วัดดุลบริการและดุลการค้าด้วยกัน ถ้าเป็นบวกแสดงว่ามีเงินไหลเข้าประเทศมากกว่าไหลออก ถ้าเป็นลบแสดงว่ามีเงินไหลออกจากประเทศมากกว่าเงินไหลเข้า
ปี 1996 ดุลบัญชีเดินสะพัดไทยติดลบ 8.1% ต่อจีดีพี ก่อนหน้านี้หลายปีติดลบติดต่อกัน แสดงว่าไทยลงทุนเกินตัว เงินออกในประเทศไม่พอ ต้องยืมเงินดอลล่าร์มาอุดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ขาดดุล ยืมดอลล่าร์มามาก ถึงจุดๆหนึ่งเขาเห็นว่าเราไปไม่รอดเพราะรายได้จะไม่เข้ามา เขาก็ขนเงินออก ทำให้เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง ค่าเงินบาทร่วงไปที่ 50 บาทต่อดอลล่าร์
ปี 2007 ไทยมีดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นบวก 6.3% ต่อจีดีพีหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง 10 ปี มีการเรียนรู้บทเรียน ฐานะการเงินของประเทศค่อนข้างมั่นคงปี 2012 ดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มเกินดุลน้อยลงมากเป็น 0.1% ต่อจีดีพี แต่มาครึ่งปีแรกของ 2013 ดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มติดลบ 1.9% ต่อจีดีพี
ดุลการค้ามีลักษณะคล้ายๆกัน ปี 1996 ไทยมีดุลการค้าติดลบ 5.2% ต่อจีดีพี เปรียบเทียบกับในปี 2007 ที่ดุลการค้าเป็นบวก 10.8% ต่อจีดีพี ครึ่งปีแรกของ 2013 ดุลการค้าติดลบ 0.4% ต่อจีดีพี
เป็นที่น่าสังเกตุว่า ตัวเลขการนำเข้าน้ำมันและทองคำพุ่งสูงมากครึ่งปีแรกนี้ ขาดุลจากการนำเข้าน้ำมันอย่างเดียว 9.3% ต่อจีดีพี และทอง 4.3% ต่อจีดีพี แสดงว่าไทยใช้พลังงานเปลืองมาก ระบบโลจิสติคส์ห่วย แม้ว่ามีการแปรรูปปตท และมีปตทสผแต่ไม่ได้ช่วยให้ประเทศไทยมีความสามารถในการพึ่งพาตัวเองมากขึ้นในด้านพลังงาน ตัวเลขที่กำไรสูงของปตทและบริษัทลูกๆเข้ากระเป๋าผู้ถือหุ้น และผู้บริหารมากกว่า ทำให้ประเทศดีขึ้นในด้านพลังงาน พลังงานทดแทนก็แทบจะไม่ได้พัฒนา เพราะขัดกับผลประโยชน์ปตท
การนำเข้าทองเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากที่ทางการกำลังจับตามอง ที่จริงทองเป็นการลงทุนเพื่อประกันความเสี่ยงของเงินเฟ้อ และเป็นเงินหรือ currency ที่แท้จริง ช่วงไตรมาสสองของปีนี้ไทยนำเข้าทองคำเกือบ 1 ล้านออนซ์ หรืออันดับ 7 ของโลก ตัวเลขการนำเข้าทองน่าจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะว่านักลงทุนไทยมีการตื่นตัวเรื่องทองกันมาก ต่อๆไปสถานการณ์อาจจะคล้ายๆกับอินเดีย ที่การนำเข้าทองมากจนกระทั่งทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลหนัก มีผลกระทบต่อค่าเงินรูปีให้อ่อนตัวลงอย่างรุนแรง
ขาดดุลตัวที่ 3 คืองบประมาแผ่นดิน ที่ติดลบ 300,000-350,000 ล้านทุกๆปีเป็นเวลาหลายปีดีดักแล้ว ทุกรัฐบาลต่างก็ทำงบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งๆที่เศรษฐกิจเดินได้ด้วยตัวมันเอง งบขาดดุลเป็นการสร้างหนี้สินของประเทศ ประชาชนเลือกนักการเมืองเข้ามาบริหารประเทศให้ช่วยหาเงินเข้าประเทศ ไม่ใช้ใช้จ่ายเงินภาษีอย่างเกินตัว สร้างภาระหนี้ให้ลูกหลาน งบประมาณประชานิยมมั่วไปหมด ไม่ก่อให้เกิดผลดี มีแต่สร้างหนี้เพิ่ม ตอนนี้หนี้สาธารณะยังคงอยู่ระดับต่ำกว่า 50% ต่อจีดีพี แต่รัฐบาลนี้ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มหนี้ตัวนี้ให้ชนเพดานที่ตัวเองตั้งไว้ที่ 60% ต่อจีดีพี เราทราบกันดี เพดานหนี้มักจะหยุดกันไม่อยู่ เวลาหนี้ติดปีกแล้วมันจะหยุดไม่ได้ ท้ายที่สุดประเทศจะมีวิกฤตเหมือนกับกรีซ
ถ้าดุลบัญชีเดินสะพัด ดุลการค้าและงบประมาณแผ่นดินติดลบทั้งสามตัวต่อเนื่องต่อไป มันจะลามปามไปทำให้เกิดปัญหาในการบริหารเศรษฐกิจมหภาคคือ
1. เงินบาทจะอ่อน
2. เงินเฟ้อจะสูง เพราะของที่นำเข้าจะแพงขึ้น
3. ดอกเบี้ยจะสูงขึ้น
4. ตลาดการเงินจะตึงตัว ติดๆขัดๆไปหมด
5. เศรษฐกิจจะชะลอตัว
6. ความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง
7. เป็นอาการของประเทศที่เข้าสู่ภาวะวิกฤตในอนาคต
ปัญหาเหล่านี้ต้องแก้เดี๋ยวนี้ ก่อนที่จะเรื้อรัง ทำให้เรามีวิกฤตในอนาคต แล้วจะทำให้แก้ปัญหาได้ยากขึ้น
thanong
26/9/2013