ช่วงนี้เห็นคนพูดถึงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 40 และมาเทียบเคียงกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน แล้วมาบอกว่าฟองสบู่เราใกล้แตกเหมือนปี 40 แล้ว
พอดีไปได้บทความจาก
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q3/article2004july02p8.htm ซึ่งเขียนไว้ได้ดีมาก เลยคัดมาให้อ่านกัน จะได้รู้ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไรในตอนนั้น แล้วเทียบกับปัจจุบันมันเป็นเงื่อนไขเดียวกันหรือเปล่า
ลองอ่านกันดูนะครับ...
==========================================================================
ระเบิดเวลาเศรษฐกิจไทย
“ต้นเหตุของวิกฤตในครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนๆ
ตรงที่มีสาเหตุมาจากภายในประเทศทั้งสิ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ
เราเป็นผู้สร้างปัญหาให้แก่ตัวเราเอง ... แม้ทางการจะมองเห็นปัญหา แต่ขาดความเด็ดขาดในการกำหนดมาตรการที่จะป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้น และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วก็ยั
งขาดความกล้าหาญที่จะใช้มาตรการที่อาจไม่เป็นที่นิยมในทางการเมืองเข้าแก้ปัญหา” (คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.), 2541)
สัญญาณเลวร้ายต่อเศรษฐกิจไทย เริ่มชัดเจนขึ้นตั้งแต่ปี 2539 ที่อัตราการเติบโตของการส่งออกลดลงอย่างรุนแรง จาก 24.8% ในปี 2538 เป็น -1.9% ในปี 2539
ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำลายความเชื่อมั่นของชุมชนการเงินระหว่างประเทศ ถึงความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศ ของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะ
เมื่อการนำเข้าเติบโตขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องทุกปี ส่งผลให้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ด้วยแล้ว ทำให้ไม่สามารถปล่อยให้กลไกอัตราแลกเปลี่ยน แก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดด้วยตัวเองได้
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ อธิบายอย่างชัดเจนว่า ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ การเปิดเสรีทางการเงิน โดยให้เงินทุนระหว่างประเทศเคลื่อนย้ายอย่างเสรี และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอย่างอิสระ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้พร้อมกัน
การเปิดเสรีการเงินทำให้เงินทุนไหลเข้ามีจำนวนมาก หากยังธำรงระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ย่อมทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีค่าสูงเกินความเป็นจริง ส่งผลซ้ำเติมภาคส่งออกและทวีความรุนแรงของปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จนนำมาซึ่งการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน เพราะคาดว่าค่าเงินในอนาคตต้องอ่อนตัวลง และอาจจบลงด้วยวิกฤตการณ์เงินตรา (Currency Crisis) นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่สะท้อน “ภาพความจริง” ของเศรษฐกิจ ยังบิดเบือนการดำเนินนโยบายจากระดับที่ควรจะเป็น
ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2530 ธปท.เลือกดำเนินนโยบายเปิดเสรีทางการเงิน โดยปรับลดกฎระเบียบเพื่อให้เงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศเข้าออกได้โดยเสรี ในขณะที่ไม่มีการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนแต่อย่างใด เช่นนี้แล้ว อัตราแลกเปลี่ยนจึงไม่สามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้
ปี 2536 ธปท. ประกาศนโยบาย BIBF (Bangkok International Banking Facilities)โดยมีเป้าหมายเพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค อัตราดอกเบี้ยระดับสูงมากของเศรษฐกิจไทยเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยโลก และสภาพเศรษฐกิจฟองสบู่ที่เต็มไปด้วยการคาดการณ์ในทางที่ดีของนักลงทุน ทำให้เงินทุนราคาถูกจากต่างประเทศไหลหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย การลงทุนเกินตัวโดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยง เกิดขึ้นในหลายภาคเศรษฐกิจ
เงินทุนไหลเข้าจำนวนมากไม่ได้ถูกจัดสรรไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริงที่ก่อให้เกิดผลผลิตและรายได้ หากเป็นเงินทุนเก็งกำไรระยะสั้นในตลาดหุ้น หรือนำไปปล่อยกู้ต่อเพื่อการบริโภคหรือเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ บริษัทเอกชนก่อหนี้ต่างประเทศจำนวนมาก เนื่องจากมีต้นทุนถูกกว่าการกู้ภายในประเทศและไม่ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน ธนาคารพาณิชย์ในประเทศทำตัวเป็นคนกลางที่กู้เงินนอกราคาถูกมาปล่อยกู้ในประเทศราคาแพง และมีการปล่อยกู้อย่างไม่ระมัดระวัง รวมถึงมีความฉ้อฉลในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินหลายแห่ง
การเปิดเสรีทางการเงิน ด้วยความไม่พร้อม ไม่คำนึงถึงลำดับก่อนหลังในการดำเนินนโยบาย ไม่พัฒนา “สถาบัน” ที่เกี่ยวข้องให้เข้มแข็ง ไม่พัฒนาช่องทางการจัดสรรเงินทุน และไม่พัฒนากลไกการกำกับตรวจสอบ นำมาซึ่งวิกฤตการณ์การเงิน (Financial Crisis) ในบั้นปลาย
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ
ถือเป็นความโชคร้ายของพลเอกชวลิตที่ระเบิดเวลาปะทุขึ้นในยุคของท่าน แต่จะกล่าวได้หรือไม่ว่า ถือเป็นความโชคร้ายของสังคมไทยเช่นกันที่ระเบิดปะทุขึ้นในยุคที่มีชายชื่อชวลิตเป็นนายกรัฐมนตรี
เราจะเริ่มมีวิกฤตต้มยำกุ้งเหมือนปี 40 หรือ เข้ามาอ่านกันก่อนครับ ก่อนบอกว่าใช่หรือไม่
พอดีไปได้บทความจาก http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q3/article2004july02p8.htm ซึ่งเขียนไว้ได้ดีมาก เลยคัดมาให้อ่านกัน จะได้รู้ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไรในตอนนั้น แล้วเทียบกับปัจจุบันมันเป็นเงื่อนไขเดียวกันหรือเปล่า
ลองอ่านกันดูนะครับ...
==========================================================================
ระเบิดเวลาเศรษฐกิจไทย
“ต้นเหตุของวิกฤตในครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนๆ ตรงที่มีสาเหตุมาจากภายในประเทศทั้งสิ้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เราเป็นผู้สร้างปัญหาให้แก่ตัวเราเอง ... แม้ทางการจะมองเห็นปัญหา แต่ขาดความเด็ดขาดในการกำหนดมาตรการที่จะป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้น และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วก็ยังขาดความกล้าหาญที่จะใช้มาตรการที่อาจไม่เป็นที่นิยมในทางการเมืองเข้าแก้ปัญหา” (คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.), 2541)
สัญญาณเลวร้ายต่อเศรษฐกิจไทย เริ่มชัดเจนขึ้นตั้งแต่ปี 2539 ที่อัตราการเติบโตของการส่งออกลดลงอย่างรุนแรง จาก 24.8% ในปี 2538 เป็น -1.9% ในปี 2539
ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำลายความเชื่อมั่นของชุมชนการเงินระหว่างประเทศ ถึงความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศ ของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะเมื่อการนำเข้าเติบโตขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องทุกปี ส่งผลให้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ด้วยแล้ว ทำให้ไม่สามารถปล่อยให้กลไกอัตราแลกเปลี่ยน แก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดด้วยตัวเองได้
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ อธิบายอย่างชัดเจนว่า ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ การเปิดเสรีทางการเงิน โดยให้เงินทุนระหว่างประเทศเคลื่อนย้ายอย่างเสรี และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอย่างอิสระ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้พร้อมกัน
การเปิดเสรีการเงินทำให้เงินทุนไหลเข้ามีจำนวนมาก หากยังธำรงระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ย่อมทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีค่าสูงเกินความเป็นจริง ส่งผลซ้ำเติมภาคส่งออกและทวีความรุนแรงของปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จนนำมาซึ่งการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน เพราะคาดว่าค่าเงินในอนาคตต้องอ่อนตัวลง และอาจจบลงด้วยวิกฤตการณ์เงินตรา (Currency Crisis) นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่สะท้อน “ภาพความจริง” ของเศรษฐกิจ ยังบิดเบือนการดำเนินนโยบายจากระดับที่ควรจะเป็น
ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2530 ธปท.เลือกดำเนินนโยบายเปิดเสรีทางการเงิน โดยปรับลดกฎระเบียบเพื่อให้เงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศเข้าออกได้โดยเสรี ในขณะที่ไม่มีการปรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนแต่อย่างใด เช่นนี้แล้ว อัตราแลกเปลี่ยนจึงไม่สามารถถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้
ปี 2536 ธปท. ประกาศนโยบาย BIBF (Bangkok International Banking Facilities)โดยมีเป้าหมายเพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค อัตราดอกเบี้ยระดับสูงมากของเศรษฐกิจไทยเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยโลก และสภาพเศรษฐกิจฟองสบู่ที่เต็มไปด้วยการคาดการณ์ในทางที่ดีของนักลงทุน ทำให้เงินทุนราคาถูกจากต่างประเทศไหลหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทย การลงทุนเกินตัวโดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยง เกิดขึ้นในหลายภาคเศรษฐกิจ
เงินทุนไหลเข้าจำนวนมากไม่ได้ถูกจัดสรรไปสู่ภาคเศรษฐกิจจริงที่ก่อให้เกิดผลผลิตและรายได้ หากเป็นเงินทุนเก็งกำไรระยะสั้นในตลาดหุ้น หรือนำไปปล่อยกู้ต่อเพื่อการบริโภคหรือเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์ บริษัทเอกชนก่อหนี้ต่างประเทศจำนวนมาก เนื่องจากมีต้นทุนถูกกว่าการกู้ภายในประเทศและไม่ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยน ธนาคารพาณิชย์ในประเทศทำตัวเป็นคนกลางที่กู้เงินนอกราคาถูกมาปล่อยกู้ในประเทศราคาแพง และมีการปล่อยกู้อย่างไม่ระมัดระวัง รวมถึงมีความฉ้อฉลในการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินหลายแห่ง
การเปิดเสรีทางการเงิน ด้วยความไม่พร้อม ไม่คำนึงถึงลำดับก่อนหลังในการดำเนินนโยบาย ไม่พัฒนา “สถาบัน” ที่เกี่ยวข้องให้เข้มแข็ง ไม่พัฒนาช่องทางการจัดสรรเงินทุน และไม่พัฒนากลไกการกำกับตรวจสอบ นำมาซึ่งวิกฤตการณ์การเงิน (Financial Crisis) ในบั้นปลาย
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ
ถือเป็นความโชคร้ายของพลเอกชวลิตที่ระเบิดเวลาปะทุขึ้นในยุคของท่าน แต่จะกล่าวได้หรือไม่ว่า ถือเป็นความโชคร้ายของสังคมไทยเช่นกันที่ระเบิดปะทุขึ้นในยุคที่มีชายชื่อชวลิตเป็นนายกรัฐมนตรี