ในคัมภีร์พุทธศาสนา สมัยหลังพระบาลีเดิมคือพระไตรปิฎก
อรรถกถาจารย์แบ่งแยกซอยย่อยลักษณะของสัมมาสมาธิออกเป็น 3 ลักษณะ
เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจลักษณะของสมาธิในขณะเดินมรรคมีองค์8
เอกัคคตาเจตสิก ที่ทางตำราพระอภิธัมมัตถสังคหะ ระบุว่าเป็นสัพพจิตสาธารณเจตสิก
ที่เกิดกับจิตทุกดวงนั้น เอกัคคตาเจตสิกตัวนี้ หาใช่ลักษณะของขณิกสมาธิไม่
แต่เป็นสมาธิในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั่วๆ ไป ดีก็ได้ ร้ายก็ได้ ไม่ดีไม่ร้ายก็ได้
แต่เมื่อเอ่ยถึงขณิกสมาธิออกมาเมื่อใด
บริบทในขณะนั้นจะเป็นเรื่องของสมาธิที่เป็นไปเพื่อการหลุดพ้น
เป็นสมาธิในมรรคมีองค์8 ที่ประกอบด้วยปัญญา
คือขณิกสมาธิที่เกิดขึ้นโดยมีปรมัตถธรรมทั้งหลายเป็นอรมณ์
กล่าวให้ง่ายก็คือ การมีสติสัมปชัญญะ ตามดู ตามรู้อารมณ์ต่างๆ ที่กำลังเกิดและดับไปนั่นเอง
ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วคราวอย่างไร?
ก็คือสมาธิชั่วคราวที่องค์ธรรมที่กำลังเป็นอารมณ์ให้จิตรู้ด้วยปัญญาอยู่ในขณะนั้ชั่วขณะที่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ชั่วคราวนั่นเอง
ขณิกสมาธิ ไม่ใช่สมาธิเพื่อการดำรงชีวิตของสัตว์ที่เป็นเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวงแต่อย่างใด
อรรถกถาจารย์บัญญัติชื่อขณิกสมาธิตามการใช้งานของสัมมาสมาธิในขณะเดินมรรค นั่นเอง
ดังนั้น ถ้าได้ยินคำว่าขณิกสมาธิ
ท่านต้องรู้ว่า ขณะนั้น อรรถกถาจารย์ กำลังพูดถึงสมาธิในมรรคมีองค์8
เจริญในพระธรรมของพระพุทธองค์ครับ.
ขณิกสมาธิ เป็นบาทฐานของสัมมาสมาธิ
อรรถกถาจารย์แบ่งแยกซอยย่อยลักษณะของสัมมาสมาธิออกเป็น 3 ลักษณะ
เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจลักษณะของสมาธิในขณะเดินมรรคมีองค์8
เอกัคคตาเจตสิก ที่ทางตำราพระอภิธัมมัตถสังคหะ ระบุว่าเป็นสัพพจิตสาธารณเจตสิก
ที่เกิดกับจิตทุกดวงนั้น เอกัคคตาเจตสิกตัวนี้ หาใช่ลักษณะของขณิกสมาธิไม่
แต่เป็นสมาธิในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั่วๆ ไป ดีก็ได้ ร้ายก็ได้ ไม่ดีไม่ร้ายก็ได้
แต่เมื่อเอ่ยถึงขณิกสมาธิออกมาเมื่อใด
บริบทในขณะนั้นจะเป็นเรื่องของสมาธิที่เป็นไปเพื่อการหลุดพ้น
เป็นสมาธิในมรรคมีองค์8 ที่ประกอบด้วยปัญญา
คือขณิกสมาธิที่เกิดขึ้นโดยมีปรมัตถธรรมทั้งหลายเป็นอรมณ์
กล่าวให้ง่ายก็คือ การมีสติสัมปชัญญะ ตามดู ตามรู้อารมณ์ต่างๆ ที่กำลังเกิดและดับไปนั่นเอง
ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วคราวอย่างไร?
ก็คือสมาธิชั่วคราวที่องค์ธรรมที่กำลังเป็นอารมณ์ให้จิตรู้ด้วยปัญญาอยู่ในขณะนั้ชั่วขณะที่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
ชั่วคราวนั่นเอง
ขณิกสมาธิ ไม่ใช่สมาธิเพื่อการดำรงชีวิตของสัตว์ที่เป็นเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกดวงแต่อย่างใด
อรรถกถาจารย์บัญญัติชื่อขณิกสมาธิตามการใช้งานของสัมมาสมาธิในขณะเดินมรรค นั่นเอง
ดังนั้น ถ้าได้ยินคำว่าขณิกสมาธิ
ท่านต้องรู้ว่า ขณะนั้น อรรถกถาจารย์ กำลังพูดถึงสมาธิในมรรคมีองค์8
เจริญในพระธรรมของพระพุทธองค์ครับ.