พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร
วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
...
เมื่อเราทำสมาธิได้มากแล้ว เราก็ไม่ควรที่จะรีรอ
หาวิธีการที่จะปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไป ให้เป็นวิปัสสนากรรมฐาน
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้เป็นเรื่องของสมถะ ทำความสงบ
การทำความสงบนั้นก็อาศัยการกระทำให้มาก
เมื่อกระทำให้มากแล้วความสงบนั้นมากขึ้นจิตนี้ก็กลายเป็นพลังจิต
เมื่อจิตนี้กลายเป็นพลังจิต จิตนี้ก็มีพลังแก่กล้าตามลำดับ
เมื่อจิตนี้มีการแก่กล้าตามลำดับแล้ว ท่านก็ให้เจริญวิปัสสนา
บางคนนั้นกล่าวว่าเจริญวิปัสสนาล้วน ไม่มีสมาธิ..อันนี้เป็นไปไม่ได้
จำเป็นเหลือเกินที่จะต้องมีสมาธิพอเป็นเบื้องบาท
ถ้าไม่มีสมาธิเลย จะบำเพ็ญวิปัสสนาล้วนก็ไม่ถูกต้อง
บางคนนั้นคิดว่า เราบำเพ็ญวิปัสสนา คือ เรียนอภิธรรม
เรียนอภิธรรมจนกระทั่งรู้จักจิตเท่านั้นดวง เท่านี้ดวง
แล้วก็เรียนถึงทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
ถึงเรียนไปเท่าไรว่าเป็นวิปัสสนานั้นมันก็เป็นไปไม่ได้
เพราะวิปัสสนาที่จะให้เกิดเป็นวิปัสสนาจริงๆนั้น
ต้องเป็นวิปัสสนาที่เกิดขึ้นจากพลังของจิต
สมดั่งที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงตรัสไว้ว่า "สัมมาสมาธิ"
สัมมาสมาธิ นั้นคือ ฌาน ๔ ในมรรค ๘ นั้นมีข้อสำคัญอยู่ข้อสุดท้าย
คือ ข้อสำคัญอยู่ข้อหนึ่งในข้อสุดท้ายนั้น เรียกว่า "สัมมาสมาธิ"
สัมมาสมาธินั้นก็คือ ฌาน ๔ ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌานและจตุถฌาน
ฌานทั้ง ๔ นั้นเป็นสัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรคในจำนวนมรรคทั้งแปด
ก็เป็นอันได้ความว่า ถ้าจะพิจารณาถึงอริยสัจ พิจารณาถึงวิปัสสนาแล้ว
จะต้องมีสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ..มรรคก็จะขาดไปองค์หนึ่ง
มรรคนั้นมีแปด ถ้าขาดสมาธิก็เหลือเจ็ด อันนี้เป็นไปไม่ได้
เพราะฉะนั้นการดำเนินวิปัสสนานั้น
จึงต้องดำเนินไปจากการที่ทำจิตนี้ให้สงบ
มีกำลังแก่กล้า เมื่อจิตสงบมีกำลังแก่กล้าแล้ว
จะเกิดกระแสจิต กระแสจิตนั้นก็เหมือนกับกระแสไฟ
เราเห็นดวงไฟนั้นบางทีก็สว่างน้อย บางทีก็สว่างมาก
ที่สว่างน้อยก็เพราะแรงเทียนน้อย
ที่สว่างมากก็เพราะแรงเทียนสูง ข้อนี้เป็นข้อเปรียบเทียบ
ผู้ที่มีพลังจิตแก่กล้า มีกำลังมาก กระแสจิตก็สูง
ผู้มีกำลังน้อย กระแสจิตก็ต่ำ
การเจริญวิปัสสนาจำเป็นต้องมีสมาธิ : หลวงพ่อวิริยังค์
พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร
วัดธรรมมงคล เถาบุญญนนท์วิหาร
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
...
เมื่อเราทำสมาธิได้มากแล้ว เราก็ไม่ควรที่จะรีรอ
หาวิธีการที่จะปฏิบัติให้ก้าวหน้าต่อไป ให้เป็นวิปัสสนากรรมฐาน
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้เป็นเรื่องของสมถะ ทำความสงบ
การทำความสงบนั้นก็อาศัยการกระทำให้มาก
เมื่อกระทำให้มากแล้วความสงบนั้นมากขึ้นจิตนี้ก็กลายเป็นพลังจิต
เมื่อจิตนี้กลายเป็นพลังจิต จิตนี้ก็มีพลังแก่กล้าตามลำดับ
เมื่อจิตนี้มีการแก่กล้าตามลำดับแล้ว ท่านก็ให้เจริญวิปัสสนา
บางคนนั้นกล่าวว่าเจริญวิปัสสนาล้วน ไม่มีสมาธิ..อันนี้เป็นไปไม่ได้
จำเป็นเหลือเกินที่จะต้องมีสมาธิพอเป็นเบื้องบาท
ถ้าไม่มีสมาธิเลย จะบำเพ็ญวิปัสสนาล้วนก็ไม่ถูกต้อง
บางคนนั้นคิดว่า เราบำเพ็ญวิปัสสนา คือ เรียนอภิธรรม
เรียนอภิธรรมจนกระทั่งรู้จักจิตเท่านั้นดวง เท่านี้ดวง
แล้วก็เรียนถึงทุกขัง อนิจจัง อนัตตา
ถึงเรียนไปเท่าไรว่าเป็นวิปัสสนานั้นมันก็เป็นไปไม่ได้
เพราะวิปัสสนาที่จะให้เกิดเป็นวิปัสสนาจริงๆนั้น
ต้องเป็นวิปัสสนาที่เกิดขึ้นจากพลังของจิต
สมดั่งที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงตรัสไว้ว่า "สัมมาสมาธิ"
สัมมาสมาธิ นั้นคือ ฌาน ๔ ในมรรค ๘ นั้นมีข้อสำคัญอยู่ข้อสุดท้าย
คือ ข้อสำคัญอยู่ข้อหนึ่งในข้อสุดท้ายนั้น เรียกว่า "สัมมาสมาธิ"
สัมมาสมาธินั้นก็คือ ฌาน ๔ ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌานและจตุถฌาน
ฌานทั้ง ๔ นั้นเป็นสัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรคในจำนวนมรรคทั้งแปด
ก็เป็นอันได้ความว่า ถ้าจะพิจารณาถึงอริยสัจ พิจารณาถึงวิปัสสนาแล้ว
จะต้องมีสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ..มรรคก็จะขาดไปองค์หนึ่ง
มรรคนั้นมีแปด ถ้าขาดสมาธิก็เหลือเจ็ด อันนี้เป็นไปไม่ได้
เพราะฉะนั้นการดำเนินวิปัสสนานั้น
จึงต้องดำเนินไปจากการที่ทำจิตนี้ให้สงบ
มีกำลังแก่กล้า เมื่อจิตสงบมีกำลังแก่กล้าแล้ว
จะเกิดกระแสจิต กระแสจิตนั้นก็เหมือนกับกระแสไฟ
เราเห็นดวงไฟนั้นบางทีก็สว่างน้อย บางทีก็สว่างมาก
ที่สว่างน้อยก็เพราะแรงเทียนน้อย
ที่สว่างมากก็เพราะแรงเทียนสูง ข้อนี้เป็นข้อเปรียบเทียบ
ผู้ที่มีพลังจิตแก่กล้า มีกำลังมาก กระแสจิตก็สูง
ผู้มีกำลังน้อย กระแสจิตก็ต่ำ