โบราณสถานยุคน้ำแข็งในรัสเซีย สร้างจากกระดูกแมมมอธ
ลึกเข้าไปในผืนแผ่นดินใหญ่ของรัสเซีย นักโบราณคดีและทีมสำรวจ ได้ทำการค้นพบสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่จากยุคน้ำแข็งแห่งหนึ่ง ซึ่งสร้างขึ้นมาจากกระดูกของช้างแมมมอธกว่า 60 ตัว
โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ ภายในแหล่งโบราณคดีนามว่า Kostenki 11 ใกล้ๆ กับแม่น้ำดอนของเมืองโวโรเนจ โดยมันมีขนาดความกว้างถึง 12.5 เมตร และมีอายุได้มากถึง 25,000 ปี ทำให้โบราณสถานแห่งนี้กลายเป็นโบราณสถานจากกระดูกช้างแมมมอธที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุด เท่าที่เคยพบมา
อ้างอิงจากรายงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Antiquity เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2020 ที่ผ่านมา โบราณสถานที่ถูกพบในครั้งนี้ เป็นโบราณสถานที่ถูกสร้างเป็นวงกลมรูป ซึ่งล้อมรอบด้วยหลุมขนาดใหญ่ และในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าคนสมัยก่อนใช้งานมันเพื่ออะไร
เป็นไปได้ว่าหลุมที่อยู่กับตัวโบราณสถานนั้น อาจจะเคยเป็นหลุมที่มีไว้เพื่อใส่อาหาร เชื้อเพลิง หรือแม้แต่เป็นหลุมทิ้งขยะ และเหมืองหิน ในขณะที่ตัวอาคารที่ทำจากกระดูกแมมมอธเองก็อาจจะถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมอะไรบางอย่าง
“นอกเหนือจากการถูกอธิบายว่าเป็นที่อยู่อาศัย โบราณสถานประเภทนี้ก็มักจะกตีความว่ามีความสำคัญทางพิธีกรรมเสมอ” คุณ Alexander Pryor นักเขียนหลักของงานวิจัยกล่าว
“อย่างไรก็ตามพิธีกรรมดังกล่าวจะเป็นอย่างไรนั้น ในปัจจุบันยังคงเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายได้ด้วยความรู้ด้านโบราณคดีเพียงอย่างเดียว”
ในความเป็นจริงแล้ว โบราณสถานในรูปแบบนี้ เป็นแบบเดียวกับที่พบได้บ่อยๆ ในทางยุโรปตะวันออก โดยมันเคยถูกพบมาแล้วทั้งในช่วงปี 1950 ช่วงปี 1960 และในปี 2013 อย่างไรก็ตามโบราณสถานทั้งสามแห่งนี้ ไม่มีแห่งไหนเลยที่จะใหญ่และเก่าแก่ เท่ากับโบราณสถานที่ถูกพบในครั้งนี้
“การตรวจสอบกระดูกแมมมอธจำนวนมาก จากแมมมอธกว่า 60 ตัวเช่นนี้นับว่าเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งเลย” คุณ Alexander กล่าว “สิ่งเหล่านี้อาจจะถูกรวบรวมจากการสังหารได้ไม่นาน หรือรวบรวมมาจากซากกระดูกของแมมมอธที่ตายไปนานแล้วในพื้นที่ก็ได้”
“ไม่ว่าจะทางไหนกระดูกแมมมอธก็ถือว่าเป็นสิ่งที่หนักมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันยังมีความสดใหม่อยู่ ดังนั้นการจะแบกกระดูกเหล่านี้ไปๆ มาๆ เช่นนี้ มันจึงน่าจะต้องใช้แรงงานจำนวนมหาศาลเลยทีเดียว”
และด้วยสิ่งที่ Alexander กล่าวมานี้เอง ซึ่งทำให้โบราณสถานแห่งนี้ ถูกนับว่าเป็นหนึ่งในโบราณสถานที่มีความมหัศจรรย์สูงอย่างไม่น่าเชื่อ
ที่มา gizmodo, smithsonianmag, cnn
Cr.
https://www.catdumb.tv/60-mammoths-structure-378/ By เหมียวศรัทธา
โบราณสถานอายุกว่า 1,300 ปี แห่งไซบีเรีย
ปอร์-บาจิน (Por-Bajin) โบราณสถานอายุกว่า 1,300 ปี บนเทือกเขาสูงของไซบีเรีย ซึ่งถูกยกให้เป็นโบราณสถานที่ลึกลับสุดในรัสเซีย เปี่ยมไปด้วยปริศนา สร้างไว้ทำไม และเหตุใดจึงถูกละทิ้ง
ยังคงมีอีกหลายพื้นที่ในโลกที่เปี่ยมไปด้วยความลึกลับ ยากที่จะค้นหาความจริงที่ซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังสิ่งปลูกสร้างจากอดีต แม้จะมีวิทยาการสมัยใหม่มาช่วยเหล่านักโบราณคดี ในการค้นคว้าและแสวงหาเรื่องราวความเป็นมาก็ตาม เช่นเดียวกับ ปอร์-บาจิน (Por-Bajin) เมืองโบราณแห่งไซบีเรีย ซึ่งได้รับการยกให้เป็นโบราณสถานที่ลึกลับที่สุดในรัสเซีย
สำหรับความลึกลับของโบราณสถานที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 1,300 ปี แห่งนี้ ไม่ได้มีเพียงตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งอยู่บนเกาะเล็ก ๆ กลางทะเลสาบ Tere-Khol บนเทือกเขาทางตอนใต้ของไซบีเรียใกล้กับพรมแดนมองโกเลีย ห่างจากกรุงมอสโกถึง 3,800 กิโลเมตร แต่ยังมีปริศนาที่นักโบราณคดีหาคำตอบไม่ได้ว่า ใครเป็นผู้สร้าง และเหตุใดละทิ้งสถานที่แห่งนี้
ชื่อ Por-Bajin เป็นภาษาตูวันซึ่งหมายถึง "บ้านโคลน" สถานที่แห่งนี้มีลักษณะคล้ายป้อมปราการขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ครอบคุลมเนื้อที่ 35,000 ตารางเมตร คาดว่าถูกสร้างขึ้นในช่วงระหว่าง ค.ศ. 744-840 (พ.ศ. 1287-1383) มันถูกค้นพบและกลายมาเป็นที่รู้จักของสังคมโลกในปี ค.ศ. 1891 (พ.ศ. 2434) แต่เพิ่งจะมีการเริ่มลงพื้นที่ศึกษาค้นคว้าหาความเป็นมาของที่แห่งนี้อย่างจริงจังเมื่อ ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550)
จากการวิจัยเชิงลึก กลุ่มนักโบราณคดีได้ค้นพบแผ่นดินรูปรอยเท้าของมนุษย์ พบภาพวาดปูนปลาสเตอร์สีจาง ๆ บนกำแพง พบประตูทางเข้าขนาดยักษ์ รวมถึงชิ้นส่วนไม้ที่ถูกเผา เพื่อที่จะทำให้เห็นภาพรวมของสถานที่ได้ชัดเจนขึ้น นักโบราณคดีจึงใช้อุปกรณ์เลเซอร์มาช่วยสร้างแผนที่ และสามารถสร้างแบบจำลอง 3 มิติของสถานที่ดังกล่าวได้สำเร็จ จนพบว่ามันมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมแบบจีน
ภายในโบราณสถานแห่งนี้ประกอบไปด้วยกำแพงภายนอกที่สูง 10 เมตร มีประตูขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้า ภายในมีลานกว้าง 2 ส่วนที่ถูกกั้นไว้ด้วยประตูอีกบาน สำหรับกำแพงที่อยู่ภายในมีขนาดความสูงเพียง 1 เมตร ซึ่งนักโบราณคดี อิริน่า อาร์ซานเซวา ได้ตีพิมพ์รายงานใน The European Archaeologist แสดงความเห็นว่าสิ่งปลูกสร้างในที่แห่งนี้ มีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมจีนสมัยราชวงศ์ถัง
แต่แม้จะได้ข้อมูลเรื่องลักษณะสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนสามารถระบุอายุคร่าว ๆ ของสถานที่แห่งนี้ได้ ก็ยังคงไม่มีคำตอบที่แน่ชัดว่าเหตุใดพวกเขาถึงเลือกที่จะสร้างมันขึ้นบนเกาะที่อยู่โดดเดี่ยว เพราะจุดดังกล่าวนั้นอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 2,299 เมตร ต้องเผชิญต่อสภาพอากาศที่สุดขั้วของไซบีเรีย ทั้งยังตั้งอยู่ห่างไกลจากเส้นทางการค้าหลัก ๆ
ภาพจาก
Por-Bajin Cultural Foundation, por-bajin.ru
ข้อมูลจาก
dailymail.co.uk, siberiantimes.com
Cr.
https://travel.kapook.com/view168593.html
โบราณสถานที่ถูกแผ่นไหว จนกลายเป็นสองซีก
“เจดีย์วัด Gan-Ying” เป็นเจดีย์ที่อยู่ในเขต Quwo มณฑลซานซี ประเทศจีน มันถูกสร้างขึ้นในช่วงราชวงศ์ซ่ง ค.ศ. 1165 โดยที่เอกลักษณ์ของเจดีย์คือมันถูกแบ่งเป็นสองฝั่ง เพราะตรงกลางของเจดีย์นั้นได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวในปี ค.ศ. 1303
Gan-Ying มีรูปทรงแปดเหลี่ยม และตามรูปร่างเดิมของมันแล้วจะมีทั้งหมด 12 ชั้น แต่ว่าเนื่องจากแผ่นดินไหว ได้ทำให้ห้าชั้นข้างบนรวมถึงช่วงกลางของเจดีย์พังทลายลง ดังนั้นตอนนี้มันจึงเหลือเพียงแค่เจ็ดชั้นเท่านั้น
หลังจากที่เกินแผ่นดินไหว ชั้นบนๆ และส่วนกลางของเจดีย์ได้พังลง แต่ว่าส่วนที่เหลือก็ยังทนทานถึงแม้ว่าจะผ่านมาแล้วถึง 700 ปี และเมื่อเวลาผ่านไปแน่นอนว่าพื้นที่รอบๆ ก็ได้เปลี่ยนไปตาม ตอนนี้มันกลายเป็นย่านที่พักอาศัยของชาวเมือง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทิ้งขยะเรี่ยราด ซึ่งเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก
ที่มา Hubgold, Medium
Cr.
https://www.catdumb.com/ganying-temple-pagoda/ By เหมียวโคบี้
ปริศนาหินตัว H แห่งโบลิเวีย
หนึ่งในชนชาติโบราณที่ขึ้นชื่อเรื่องการก่อสร้างอย่าง ชาวอินคา นั้นมีซากสิ่งก่อสร้างปริศนา อย่างเช่นหินทรงตัว H ที่ Puma Punku แม้แต่ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์ยังหาคำตอบไม่ได้ บางคนเชื่อว่า มันถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยกว่าที่มนุษย์ยุคนั้นจะมี ราวกับว่าเป็นฝีมือมนุษย์ต่างดาว
พูมาพันกู (Puma Punku) ซากปรักหักพังของกำแพงขนาดใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหารขนาดมหึมา ติวานากู (Tiwanaku) ในประเทศโบลิเวีย คาดกันว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยของกษัตริย์ ไอมารา (Aymara) ก่อสร้างเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของอาณาจักรอินคา
พูมาพันกู มีความหมายว่า ประตูแห่งเสือพูม่า เป็นแนวกำแพงหินขนาดใหญ่ ลักษณะการสร้างคือใช้หินบล็อกมาวางต่อๆ กัน กำแพงฝั่งทิศเหนือ-ใต้ มีความยาว 167.36 เมตร ฝั่งทิศตะวันออก-ตะวันตก ยาว 116.7 เมตร หินแต่ละก้อนไม่มีชิ้นไหนหนักน้อยกว่า 1 ตัน และก้อนที่ใหญ่ที่สุดนั้นมีน้ำหนักถึง 131 ตัน ก้อนหินทรงตัว H มีรอยตัดที่ราบเรียบราวกับถูกตัดด้วยของมีคม ไม่มีกระทั่งรอยแตกรอยร้าว และการวางสลักหินแต่ละก้อนยังเข้ากันได้อย่างแม่นยำ
เคยมีการทดลองตัดหินให้เรียบได้เหมือนกันนี้ขึ้น ด้วยการใช้ความร้อน และน้ำ พบว่ารอยตัดที่ทำได้ก็ยังไม่เรียบเนียนเท่ากับที่ชาวอินคาทำไว้ นักวิทยาศาสตร์ลงความเห็นกันว่าคงต้องใช้เทคโนโลยีเลเซอร์เท่านั้น ถึงจะตัดหินได้เนี้ยบ และสัดส่วนเที่ยงตรงได้ขนาดนี้ ทีนี้เลยเข้าทางเหล่านักทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับเรื่องมนุษย์ต่างดาว อาจนำวิทยาการที่ทันสมัยมาช่วยคนโบราณสร้างมันขึ้นมาก็เป็นได้
ข้อเท็จจริง 8 ข้อ ของพูมาพันกูน่า
1. พูมาพันกู เป็นอารยธรรมโบราณที่สร้างความฉงนให้นักโบราณคดีมากที่สุด เพราะแทบจะหาคำตอบอะไรไม่ได้ ขนาดที่ที่มหึมาอย่างมหาพีระมิดแห่งกิซา เองยังพอจะบอกได้ว่าสร้างมาเพื่ออะไร สร้างอย่างไร ฯลฯ
2. การแกะสลักลวดลายในหินแต่ละก้อน ทำได้เนียนเหมือนมีแม่พิมพ์ออกมาจากบล็อคเดียวกัน ดูดีเกินกว่าจะใช้การแกะสลักทั่วๆ ไป
3. หินส่วนใหญ่ถูกตัดออกมาจากเหมืองที่อยู่ห่างจากวิหารไปราว 60 ไมล์ เทียบเป็นกิโลเมตรจะเท่ากับ 96 กิโลเมตร ซึ่งยังไม่มีใครรู้ว่าขนกันมาด้วยวิธีไหน
4. พูมาพันกู นั้นอยู่บนพื้นที่สูง 12,800 ฟุต ไม่มีต้นไม้ใหญ่ในแถบนั้นที่จะถูกตัดเพื่อเอามาทำล้อเลื่อนในการขนย้ายก้อนหินได้เลย
5. นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เมืองโบราณ เทียฮัวนาโค (Tiahuanaco) ที่อยู่ห่างออกไปจากพูมาพันกูไม่ไกลนักน่าจะเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมในแถบนี้ มีประชากรราว 40,000 คน
6. จากการขุดสำรวจโครงกระดูกของชาวเทียฮัวนาโค พบว่าสภาพกระโหลกนั้นมีหลายรูปแบบ อาจของคนหลากหลายเชื้อชาติมารวมกัน ทั้งกะโหลกที่มีผ้าโพกหัว กะโหลกแบบที่มีความยาวมากกว่าปกติ แบบที่มีโครงจมูกกว้าง แบบที่มีจมูกบาง แบบที่มีปากหนา ฯลฯ
7. วัตถุโบราณอีกชนิดที่พบในเทียฮัวนาโค และพูมาพันกู ก็คือชามโบราณ Fuente Magna ที่มีตัวอักษรรูปลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยเมโสโปเตเมีย ในยุคหลายพันปีก่อนคริสตกาล
8. พูมาพันกู เป็นหนึ่งใน Megalith ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (Megalith เป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งก่อสร้างด้วยก้อนหินขนาดใหญ่ เช่น สโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ, โมอาย เกาะอีสเตอร์ , หรือ นาบตา พลายา อียิปต์ เป็นต้น)
Cr.
https://travel.trueid.net/detail/ObngkBD7gJO / โดย แมวหง่าว
“The Kailasa Temple” วิหารแห่งศรัทธา
The Kailasa Temple วิหารในอินเดีย ที่สร้างขึ้นจากหินยักษ์เพียงก้อนเดียว ตั้งอยู่ในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย กล่าวกันว่าเป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นเพื่อให้คล้ายคลึงกับเขาไกรลาส ซึ่งตามความเชื่อชาวฮินดูถือว่าเป็นที่อยู่ของพระศิวะ เป็นวัดที่แกะสลักขึ้นในศตวรรษที่ 8 กษัตริย์คริชนะที่ 1 ทรงสั่งสร้างวิหารแห่งนี้ขึ้นมาโดยผสมผสานศิลปะของวัฒนธรรมปัลลวะ และศิลปะจากราชวงศ์จาลุกยะเข้าด้วยกัน
สถาปัตยกรรมที่งดงามแห่งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าเมื่อ 1,300 ปีที่ผ่านมามนุษย์มีความคิดที่ก้าวล้ำมากแค่ไหน นักโบราณคดีเคยกล่าวไว้ว่า การแกะสลักลวดลายที่มากมายขนาดนี้ต้องใช้แรงงานมนุษย์ไปจนอีกหลายศตวรรตเพื่อให้ดำเนินการแล้วเสร็จ แต่ทว่าวัดแห่งนี้สร้างเสร็จภายในเวลาไม่ถึง 18 ปี
ตัวมหาวิหารถือเป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับทัชมาฮาล อนุสรณ์สถานของอินเดีย
ที่มา: boredpanda
Cr.
https://www.wegointer.com/2018/10/temple-is-carved-out-of-one-rock/ By arisjk
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา )
โบราณสถานเก่าแก่ที่ยังเป็นปริศนา
ลึกเข้าไปในผืนแผ่นดินใหญ่ของรัสเซีย นักโบราณคดีและทีมสำรวจ ได้ทำการค้นพบสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่จากยุคน้ำแข็งแห่งหนึ่ง ซึ่งสร้างขึ้นมาจากกระดูกของช้างแมมมอธกว่า 60 ตัว
โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ ภายในแหล่งโบราณคดีนามว่า Kostenki 11 ใกล้ๆ กับแม่น้ำดอนของเมืองโวโรเนจ โดยมันมีขนาดความกว้างถึง 12.5 เมตร และมีอายุได้มากถึง 25,000 ปี ทำให้โบราณสถานแห่งนี้กลายเป็นโบราณสถานจากกระดูกช้างแมมมอธที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุด เท่าที่เคยพบมา
อ้างอิงจากรายงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Antiquity เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 2020 ที่ผ่านมา โบราณสถานที่ถูกพบในครั้งนี้ เป็นโบราณสถานที่ถูกสร้างเป็นวงกลมรูป ซึ่งล้อมรอบด้วยหลุมขนาดใหญ่ และในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าคนสมัยก่อนใช้งานมันเพื่ออะไร
เป็นไปได้ว่าหลุมที่อยู่กับตัวโบราณสถานนั้น อาจจะเคยเป็นหลุมที่มีไว้เพื่อใส่อาหาร เชื้อเพลิง หรือแม้แต่เป็นหลุมทิ้งขยะ และเหมืองหิน ในขณะที่ตัวอาคารที่ทำจากกระดูกแมมมอธเองก็อาจจะถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมอะไรบางอย่าง
“นอกเหนือจากการถูกอธิบายว่าเป็นที่อยู่อาศัย โบราณสถานประเภทนี้ก็มักจะกตีความว่ามีความสำคัญทางพิธีกรรมเสมอ” คุณ Alexander Pryor นักเขียนหลักของงานวิจัยกล่าว
“อย่างไรก็ตามพิธีกรรมดังกล่าวจะเป็นอย่างไรนั้น ในปัจจุบันยังคงเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายได้ด้วยความรู้ด้านโบราณคดีเพียงอย่างเดียว”
ในความเป็นจริงแล้ว โบราณสถานในรูปแบบนี้ เป็นแบบเดียวกับที่พบได้บ่อยๆ ในทางยุโรปตะวันออก โดยมันเคยถูกพบมาแล้วทั้งในช่วงปี 1950 ช่วงปี 1960 และในปี 2013 อย่างไรก็ตามโบราณสถานทั้งสามแห่งนี้ ไม่มีแห่งไหนเลยที่จะใหญ่และเก่าแก่ เท่ากับโบราณสถานที่ถูกพบในครั้งนี้
“การตรวจสอบกระดูกแมมมอธจำนวนมาก จากแมมมอธกว่า 60 ตัวเช่นนี้นับว่าเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งเลย” คุณ Alexander กล่าว “สิ่งเหล่านี้อาจจะถูกรวบรวมจากการสังหารได้ไม่นาน หรือรวบรวมมาจากซากกระดูกของแมมมอธที่ตายไปนานแล้วในพื้นที่ก็ได้”
“ไม่ว่าจะทางไหนกระดูกแมมมอธก็ถือว่าเป็นสิ่งที่หนักมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันยังมีความสดใหม่อยู่ ดังนั้นการจะแบกกระดูกเหล่านี้ไปๆ มาๆ เช่นนี้ มันจึงน่าจะต้องใช้แรงงานจำนวนมหาศาลเลยทีเดียว”
และด้วยสิ่งที่ Alexander กล่าวมานี้เอง ซึ่งทำให้โบราณสถานแห่งนี้ ถูกนับว่าเป็นหนึ่งในโบราณสถานที่มีความมหัศจรรย์สูงอย่างไม่น่าเชื่อ
ที่มา gizmodo, smithsonianmag, cnn
Cr.https://www.catdumb.tv/60-mammoths-structure-378/ By เหมียวศรัทธา
ยังคงมีอีกหลายพื้นที่ในโลกที่เปี่ยมไปด้วยความลึกลับ ยากที่จะค้นหาความจริงที่ซุกซ่อนอยู่เบื้องหลังสิ่งปลูกสร้างจากอดีต แม้จะมีวิทยาการสมัยใหม่มาช่วยเหล่านักโบราณคดี ในการค้นคว้าและแสวงหาเรื่องราวความเป็นมาก็ตาม เช่นเดียวกับ ปอร์-บาจิน (Por-Bajin) เมืองโบราณแห่งไซบีเรีย ซึ่งได้รับการยกให้เป็นโบราณสถานที่ลึกลับที่สุดในรัสเซีย
สำหรับความลึกลับของโบราณสถานที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 1,300 ปี แห่งนี้ ไม่ได้มีเพียงตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งอยู่บนเกาะเล็ก ๆ กลางทะเลสาบ Tere-Khol บนเทือกเขาทางตอนใต้ของไซบีเรียใกล้กับพรมแดนมองโกเลีย ห่างจากกรุงมอสโกถึง 3,800 กิโลเมตร แต่ยังมีปริศนาที่นักโบราณคดีหาคำตอบไม่ได้ว่า ใครเป็นผู้สร้าง และเหตุใดละทิ้งสถานที่แห่งนี้
ชื่อ Por-Bajin เป็นภาษาตูวันซึ่งหมายถึง "บ้านโคลน" สถานที่แห่งนี้มีลักษณะคล้ายป้อมปราการขนาดใหญ่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ครอบคุลมเนื้อที่ 35,000 ตารางเมตร คาดว่าถูกสร้างขึ้นในช่วงระหว่าง ค.ศ. 744-840 (พ.ศ. 1287-1383) มันถูกค้นพบและกลายมาเป็นที่รู้จักของสังคมโลกในปี ค.ศ. 1891 (พ.ศ. 2434) แต่เพิ่งจะมีการเริ่มลงพื้นที่ศึกษาค้นคว้าหาความเป็นมาของที่แห่งนี้อย่างจริงจังเมื่อ ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550)
จากการวิจัยเชิงลึก กลุ่มนักโบราณคดีได้ค้นพบแผ่นดินรูปรอยเท้าของมนุษย์ พบภาพวาดปูนปลาสเตอร์สีจาง ๆ บนกำแพง พบประตูทางเข้าขนาดยักษ์ รวมถึงชิ้นส่วนไม้ที่ถูกเผา เพื่อที่จะทำให้เห็นภาพรวมของสถานที่ได้ชัดเจนขึ้น นักโบราณคดีจึงใช้อุปกรณ์เลเซอร์มาช่วยสร้างแผนที่ และสามารถสร้างแบบจำลอง 3 มิติของสถานที่ดังกล่าวได้สำเร็จ จนพบว่ามันมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับสถาปัตยกรรมแบบจีน
ภายในโบราณสถานแห่งนี้ประกอบไปด้วยกำแพงภายนอกที่สูง 10 เมตร มีประตูขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้า ภายในมีลานกว้าง 2 ส่วนที่ถูกกั้นไว้ด้วยประตูอีกบาน สำหรับกำแพงที่อยู่ภายในมีขนาดความสูงเพียง 1 เมตร ซึ่งนักโบราณคดี อิริน่า อาร์ซานเซวา ได้ตีพิมพ์รายงานใน The European Archaeologist แสดงความเห็นว่าสิ่งปลูกสร้างในที่แห่งนี้ มีลักษณะคล้ายสถาปัตยกรรมจีนสมัยราชวงศ์ถัง
แต่แม้จะได้ข้อมูลเรื่องลักษณะสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนสามารถระบุอายุคร่าว ๆ ของสถานที่แห่งนี้ได้ ก็ยังคงไม่มีคำตอบที่แน่ชัดว่าเหตุใดพวกเขาถึงเลือกที่จะสร้างมันขึ้นบนเกาะที่อยู่โดดเดี่ยว เพราะจุดดังกล่าวนั้นอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 2,299 เมตร ต้องเผชิญต่อสภาพอากาศที่สุดขั้วของไซบีเรีย ทั้งยังตั้งอยู่ห่างไกลจากเส้นทางการค้าหลัก ๆ
ภาพจาก
Por-Bajin Cultural Foundation, por-bajin.ru
ข้อมูลจาก
dailymail.co.uk, siberiantimes.com
Cr.https://travel.kapook.com/view168593.html
“เจดีย์วัด Gan-Ying” เป็นเจดีย์ที่อยู่ในเขต Quwo มณฑลซานซี ประเทศจีน มันถูกสร้างขึ้นในช่วงราชวงศ์ซ่ง ค.ศ. 1165 โดยที่เอกลักษณ์ของเจดีย์คือมันถูกแบ่งเป็นสองฝั่ง เพราะตรงกลางของเจดีย์นั้นได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวในปี ค.ศ. 1303
Gan-Ying มีรูปทรงแปดเหลี่ยม และตามรูปร่างเดิมของมันแล้วจะมีทั้งหมด 12 ชั้น แต่ว่าเนื่องจากแผ่นดินไหว ได้ทำให้ห้าชั้นข้างบนรวมถึงช่วงกลางของเจดีย์พังทลายลง ดังนั้นตอนนี้มันจึงเหลือเพียงแค่เจ็ดชั้นเท่านั้น
หลังจากที่เกินแผ่นดินไหว ชั้นบนๆ และส่วนกลางของเจดีย์ได้พังลง แต่ว่าส่วนที่เหลือก็ยังทนทานถึงแม้ว่าจะผ่านมาแล้วถึง 700 ปี และเมื่อเวลาผ่านไปแน่นอนว่าพื้นที่รอบๆ ก็ได้เปลี่ยนไปตาม ตอนนี้มันกลายเป็นย่านที่พักอาศัยของชาวเมือง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาทิ้งขยะเรี่ยราด ซึ่งเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก
ที่มา Hubgold, Medium
Cr. https://www.catdumb.com/ganying-temple-pagoda/ By เหมียวโคบี้
พูมาพันกู (Puma Punku) ซากปรักหักพังของกำแพงขนาดใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิหารขนาดมหึมา ติวานากู (Tiwanaku) ในประเทศโบลิเวีย คาดกันว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยของกษัตริย์ ไอมารา (Aymara) ก่อสร้างเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของอาณาจักรอินคา
พูมาพันกู มีความหมายว่า ประตูแห่งเสือพูม่า เป็นแนวกำแพงหินขนาดใหญ่ ลักษณะการสร้างคือใช้หินบล็อกมาวางต่อๆ กัน กำแพงฝั่งทิศเหนือ-ใต้ มีความยาว 167.36 เมตร ฝั่งทิศตะวันออก-ตะวันตก ยาว 116.7 เมตร หินแต่ละก้อนไม่มีชิ้นไหนหนักน้อยกว่า 1 ตัน และก้อนที่ใหญ่ที่สุดนั้นมีน้ำหนักถึง 131 ตัน ก้อนหินทรงตัว H มีรอยตัดที่ราบเรียบราวกับถูกตัดด้วยของมีคม ไม่มีกระทั่งรอยแตกรอยร้าว และการวางสลักหินแต่ละก้อนยังเข้ากันได้อย่างแม่นยำ
เคยมีการทดลองตัดหินให้เรียบได้เหมือนกันนี้ขึ้น ด้วยการใช้ความร้อน และน้ำ พบว่ารอยตัดที่ทำได้ก็ยังไม่เรียบเนียนเท่ากับที่ชาวอินคาทำไว้ นักวิทยาศาสตร์ลงความเห็นกันว่าคงต้องใช้เทคโนโลยีเลเซอร์เท่านั้น ถึงจะตัดหินได้เนี้ยบ และสัดส่วนเที่ยงตรงได้ขนาดนี้ ทีนี้เลยเข้าทางเหล่านักทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับเรื่องมนุษย์ต่างดาว อาจนำวิทยาการที่ทันสมัยมาช่วยคนโบราณสร้างมันขึ้นมาก็เป็นได้
2. การแกะสลักลวดลายในหินแต่ละก้อน ทำได้เนียนเหมือนมีแม่พิมพ์ออกมาจากบล็อคเดียวกัน ดูดีเกินกว่าจะใช้การแกะสลักทั่วๆ ไป
3. หินส่วนใหญ่ถูกตัดออกมาจากเหมืองที่อยู่ห่างจากวิหารไปราว 60 ไมล์ เทียบเป็นกิโลเมตรจะเท่ากับ 96 กิโลเมตร ซึ่งยังไม่มีใครรู้ว่าขนกันมาด้วยวิธีไหน
4. พูมาพันกู นั้นอยู่บนพื้นที่สูง 12,800 ฟุต ไม่มีต้นไม้ใหญ่ในแถบนั้นที่จะถูกตัดเพื่อเอามาทำล้อเลื่อนในการขนย้ายก้อนหินได้เลย
5. นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เมืองโบราณ เทียฮัวนาโค (Tiahuanaco) ที่อยู่ห่างออกไปจากพูมาพันกูไม่ไกลนักน่าจะเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมในแถบนี้ มีประชากรราว 40,000 คน
6. จากการขุดสำรวจโครงกระดูกของชาวเทียฮัวนาโค พบว่าสภาพกระโหลกนั้นมีหลายรูปแบบ อาจของคนหลากหลายเชื้อชาติมารวมกัน ทั้งกะโหลกที่มีผ้าโพกหัว กะโหลกแบบที่มีความยาวมากกว่าปกติ แบบที่มีโครงจมูกกว้าง แบบที่มีจมูกบาง แบบที่มีปากหนา ฯลฯ
7. วัตถุโบราณอีกชนิดที่พบในเทียฮัวนาโค และพูมาพันกู ก็คือชามโบราณ Fuente Magna ที่มีตัวอักษรรูปลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยเมโสโปเตเมีย ในยุคหลายพันปีก่อนคริสตกาล
8. พูมาพันกู เป็นหนึ่งใน Megalith ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (Megalith เป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งก่อสร้างด้วยก้อนหินขนาดใหญ่ เช่น สโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ, โมอาย เกาะอีสเตอร์ , หรือ นาบตา พลายา อียิปต์ เป็นต้น)
Cr.https://travel.trueid.net/detail/ObngkBD7gJO / โดย แมวหง่าว
สถาปัตยกรรมที่งดงามแห่งนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าเมื่อ 1,300 ปีที่ผ่านมามนุษย์มีความคิดที่ก้าวล้ำมากแค่ไหน นักโบราณคดีเคยกล่าวไว้ว่า การแกะสลักลวดลายที่มากมายขนาดนี้ต้องใช้แรงงานมนุษย์ไปจนอีกหลายศตวรรตเพื่อให้ดำเนินการแล้วเสร็จ แต่ทว่าวัดแห่งนี้สร้างเสร็จภายในเวลาไม่ถึง 18 ปี
ตัวมหาวิหารถือเป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกับทัชมาฮาล อนุสรณ์สถานของอินเดีย
ที่มา: boredpanda
Cr.https://www.wegointer.com/2018/10/temple-is-carved-out-of-one-rock/ By arisjk
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา )