เรียนรู้วิธีการเขียนอักษรยาวีแบบพอสังเขป

เนื่องจากช่วงนี้ งานค่อนข้างเยอะ เลยไม่ค่อยมีเวลามาเขียนกระทู้ความรู้เท่าไร ตอนนี้เลยนำกระทู้สาระเกี่ยวกับการเขียน-อ่านอักษรยาวีมาให้เล็กน้อย
อักษรยาวี จริงๆ มันก็คือ อักษรอาหรับ-เปอร์เซีย ผสมกับเสียงที่ไม่มีใช้ใน 2 ภาษานี้ไปอีกนิดหน่อย เป็นอักษรที่เขียนกันมานานตั้งแต่เริ่มรับอิสลามมา
โลกมลายู ตั้งแต่ปัตตานี สงขลา ลงไปถึงยะโฮร์ สุมาตรา ที่ใดมีชาวมลายู ที่นั้นใช้อักษรยาวีในการเขียนจดบันทึกเอกสาร เรื่องราวต่างๆ ทั่วโลกมลายู
แต่พอมาถึงในช่วงยุคอาณานิคม ทั้งอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ ต่างประกาศให้ใช้อักษรรูมีในการเขียนแทน เขียนต่างกันจนเพิ่งปรับแบบเดียวกันไม่กี่ปี
อักษรยาวีที่ใช้ในปัจจุบัน ค่อนข้างหลากหลายกว่ายุคก่อน และใช้ต่างกับยุคก่อน แต่ในกระทู้นี้ จะอธิบายกันพอสังเขปว่าใช้อย่างไร .. เผื่ออาจจะรู้ทัน

อักษรยาวี เนื่องจากใช้อักษรอาหรับ-เปอร์เซีย การเขียนก็เลยคล้ายกัน อย่างคำว่า "جاوي" ก็จะเขียนต่อกันโดยถอดเป็นรูมีว่า "J-a-w-i" หรือ จาวิ ครับ
หากสมมติ ต้องการเขียนชื่อสมชายเป็นอักษรยาวี ก็จะเขียนได้ว่า "سومجاي" หรือ "Somjai" (หลักอักษรมลายู ช = J เหมือนกับภาษาในประเทศอินเดีย)
อักษรมลายู สามารถใช้อักษรเขียนได้ทั้งพยัญชนะต้น สระ และตัวสะกด คล้ายกับภาษาอังกฤษ แต่จะมีหลักการที่ซับซ้อนพอสมควรในเรื่องตัวสระ
เช่น ตัว ا หรือ อะลีฟ หากอยู่นำหน้า ก็ต้องดูว่าใช้เป็นเสียงอะไร เพราะสามารถกลายเป็นทั้งสระอะ อิ/เอ หรือ อุ/โอ ไปได้ ขึ้นอยู่กับบริบทการใช้
หรืออย่างคำว่า Pantip หากเป็น "ڤانتيف" ก็จะอ่านออกเสียงว่า ปันติฟ แต่หากไม่มีสระอะ กลายเป็น "ڤنتيف" ในภาษามลายู จะกลายเป็นเปินตีฟไปทันที

การเขียนนั้นจะเขียนอย่างไร ผมยกตัวอย่างชื่อประเทศในภาษามลายูของบรูไนมาครับ "نڬارا بروني دارالسلام‎" หรือ Negara Brunei Darussalam
การเขียนตัวอักษรแบบถอดมาเป๊ะๆ นั้น จะเขียนว่า "N-g-a-r-a B-r-u-n-i D-a-r-u-l-s-l-a-m" หรือแบบไทยๆ ก็ นกรา บรูนี ดารุลสลาม นั้นเอง
คำว่า นกรา/เนอะกะริ ก็คือคำว่า รัฐ/ประเทศ บรูนี ก็คือ บรูไน ส่วนดารุสสลามนั้น จริงๆ ควรเป็น ดารุลสลาม แต่อ่านเปลี่ยนไปเป็น ดารุสสลาม ไปด้วย
อย่างไรก็ตาม บางคำในภาษามลายู ไม่ต้องอ่านแบบอาหรับตาม เพราะหลักการในอักษรยาวีสำหรับเรื่องทั่วๆ ไปคือ เขียนเป็นภาษามลายู 
ในกระทู้นี้ ไม่ค่อยมีเนื้อหามาก เพราะเขียนในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ดังนั้น หากมีข้อสงสัยอะไร ถามมาได้ครับ แต่ก็อาจจะไม่ค่อยสะดวกมากนักหลังจากนี้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่