ภาพวาดของพระนาง Hetpet
กรมโบราณคดีของประเทศอียิปต์ ได้ประกาศการค้นพบสุสานของนักบวชโบราณ และภาพเขียนฝาผนังอายุเกือบ 5,000 ปี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2018 ที่ผ่านมา การค้นพบดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างการขุดสำรวจสุสานทางด้านทิศตะวันตกของเมืองกีซา ประเทศอียิปต์ ซึ่งคาดการณ์ว่าสุสานดังกล่าวน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงอาณาจักรโบราณของอียิปต์ หรือประมาณ 2465-2323 ปีก่อนคริสต์กาล จากข้อมูลเผยว่า สุสานโบราณนี้เป็นของพระนาง Hetpet ผู้มีตำแหน่งสูงสุดในระหว่างช่วงราชวงศ์ที่ 5 ของอียิปต์จนกระทั่งถึงช่วงสิ้นราชวงศ์
ภายในสุสานแห่งนี้เต็มไปด้วยภาพวาดที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์มากมาย นอกจากนี้ยังมีภาพวาดของพระนาง Hetpet ในท่าทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกล่าสัตว์ ตกปลา หรือนั่งรอรับการถวายอาหารจากลูกๆ ของเธอ ท่าทางการเต้นของพระองค์ ร่วมถึงภาพของช่างโลหะและคนงาน นอกจากนั้นในภาพแรกยังเห็นลิงตัวหนึ่งกำลังเก็บผลไม้อยู่ ภาพที่สองลิงที่กำลังเต้นอยู่หน้าวงดนตรี
นอกจากในในสุสานโบราณของราชวงศ์ที่ 12 อย่าง Khnoum Hetep ที่ 2 ในพื้นที่ Beni Hassan และสุสานของอาณาจักรโบราณ Ka-Iber ที่ Saqqara เองก็พบภาพฝาผนังที่เป็นรูปลิงด้วยเช่นกัน
การค้นพบสุสานในครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในภารกิจของทีมนักโบราณคดีอียิปต์ ที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 1842 แต่อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการขุดพบโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพระนาง Hetpet อย่างไรก็ตามขณะนี้ทางนักโบราณคดี กำลังทำการขุดสำรวจในพื้นที่แห่งนี้อย่างต่อเนื่อง และพวกเขาหวังว่าจะเจอโบราณวัตถุที่มีความสำคัญอีกมากมาย
ที่มา mymodernmet, Ministry of Antiquities وزارة الآثار
Cr.
https://www.catdumb.com/egypts-ministry-007/ By เหมียวเวจจี้
วัตถุพิศวง บนศีรษะของชาวไอยคุปต์
หนึ่งในปริศนาที่นักอียิปต์วิทยาทั่วทุกมุมโลกยังคงถกเถียงกันมาจนถึงปัจจุบันก็คือ ภาพของวัตถุลึกลับทรงโคนที่ปรากฏอยู่บนศีรษะของชาวอียิปต์โบราณตามผนังสุสานของเหล่าชนชั้นสูงในสมัยราชอาณาจักรใหม่ (New Kingdom)
สิ่งที่นักอียิปต์วิทยาค้นพบก็คือภาพวัตถุทรงโคนลึกลับนี้มักจะปรากฏบนวิกผมที่สวมอยู่บนศีรษะของชาวอียิปต์โบราณที่กำลังอยู่ในงานสังสรรค์และงานเลี้ยงรื่นเริงที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน โคนที่อยู่บนศีรษะก็มักจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดูเหมือนกับหมวกทรงสูงที่ปลายด้านบนของโคนตกแต่งด้วยสีเหลืองอ่อน ส่วนด้านล่างตกแต่งด้วยสีขาว
ชาวไอยคุปต์ทั้งชนชั้นสูงและเหล่าคนรับใช้ที่คอยให้บริการก็มักจะมีภาพของโคนชนิดนี้ประดับไว้บนศีรษะ และที่น่าสนใจก็คือภาพของโคนปริศนาที่ว่านี้ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดเป็นพิเศษในสมัยราชอาณาจักรใหม่ โดยเฉพาะราชวงศ์ที่ 18 หรือในช่วงประมาณ 1,550 ถึงราว 1,300 ปีก่อนคริสตกาล
สิ่งที่นักอียิปต์วิทยายุคแรกพยายามให้คำตอบกับเจ้าวัตถุลึกลับทรงโคนบนศีรษะของชาวอียิปต์โบราณก็คือมันเป็น “น้ำหอม” ชนิดหนึ่งที่ทำจากขี้ผึ้งและไขมันสัตว์ ปั้นขึ้นรูปให้มีลักษณะคล้ายหมวกทรงสูง เพื่อวางเอาไว้บนศีรษะให้น้ำหอมทรงโคนนี้ค่อยๆละลายและปลดปล่อยกลิ่นหอมอ่อนๆออกมาระหว่างที่พวกเขากำลังสนุกสนานกับงานรื่นเริง ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่แตกต่างจากการทำอโรมาเธอราพี (Aromatherapy) หรือการบำบัดด้วยน้ำมันหอมระเหยที่สกัดมาจากพืชในปัจจุบัน
หนึ่งในหลักฐานที่นักอียิปต์วิทยาค้นพบและพอจะนำมาใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนได้ว่าชาวอียิปต์โบราณอาจจะเคยมีการชโลมน้ำหอมบนศีรษะก็คือหลักฐานของยางไม้หอม (Resin) ที่ยังคงหลงเหลือบนศีรษะของมัมมี่ที่ทำการตรวจสอบเมื่อปี ค.ศ.2014
แต่นักอียิปต์วิทยาก็ยังไม่สามารถฟันธงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่ายางไม้หอมนั้นจะละลายออกมาจากโคนน้ำหอมที่วางไว้บนศีรษะของมัมมี่ร่างนี้ด้วยหรือไม่ เพราะหนึ่งในอุปสรรคใหญ่ของกลุ่มนักอียิปต์วิทยาที่เชื่อถึงการมีตัวตนอยู่จริงของโคนน้ำหอมก็คือก่อนหน้านี้พวกเขาไม่เคยค้นพบน้ำหอมทรงโคนของจริงที่ไหนมาก่อน
เรื่อง ทีมงานนิตยสารต่วย'ตูน โดย : สืบ สิบสาม
(อ่านเพิ่มเติมได้ที่)
Cr.
https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/abroad/1744990
เทพแห่งความตายของชาวอียิปต์
อานูบิส (Anubis) เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งของอียิปต์ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของชาวอียิปต์ เพราะอานูบิสเป็นเทพแห่งความตาย และเป็นเทพของการทำมัมมี่ ดังนั้นทั้งในพิธีกรรมการทำศพแบบอียิปต์โบราณและเรื่องราวในโลกหลังความตายของมนุษย์เทพองค์นี้จึงมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอย่างมาก
อานูบิสเป็นเทพที่มีลักษณะลำตัวเป็นคน แต่ส่วนหัวจนถึงคอเป็นลักษณะศีรษะของหมาในสีดำ ในมือถือคทา บางครั้งเทพองค์นี้ก็เรียกกันว่า Anpu (อันปุ) พิธีกรรมการนับถือเทพอานูบิสนี้เชื่อกันว่ามีมานานมากแล้วและบางครั้งก็มีการสร้างรูปปั้นหมาในสีดำ หรือสีทองเป็นตัวแทนของเทพองค์นี้ก็มี
ลักษณะของเทพอานูบิสที่มีใบหน้าเป็นหมาในก็สันนิษฐานได้ว่า เป็นเพราะสัตว์ชนิดนี้มักจะออกหากินในตอนกลางคืน และพบมากในบริเวณสุสานของคนตาย จากสิ่งนี้เองจึงทำให้คาแรทเตอร์ของเทพอานูบิสมีใบหน้าเป็นหมาในซึ่งชาวอียิปต์นับถือกันในนามเทพผู้พิทักษ์คนตายและสุสาน
หน้าที่ของเทพองค์นี้ก็คือการนำดวงวิญญาณของคนตายสู่ยมโลกเพื่อทำการตัดสินผลกรรมที่ได้ทำมาก่อนตาย ต่อหน้าองค์เทพโอซิริส (Osiris) โดยเทพอานูบิสจะนำหัวใจของผู้ตายไปวางไว้บนตาชั่งข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างหนึ่งของตาชั่งจะเป็นขนนกที่ได้รับมาจากเทพ (มูอาท) Muat
หากหัวใจของผู้ตายเบากว่าขนนกแสดงว่าในขณะที่คนผู้นั้นมีชีวิตอยู่ได้กระทำการอันเป็นกุศล จึงสมควรได้รับพรจากเทพโอชิริสให้มีชีวิตอันเป็นนิรันดร์แล้วจะได้อยู่ในดินแดนที่เรียกว่า “Fields of the Reed” หรือสวรรค์ของชาวอียิปต์นั่นเอง ส่วนคนที่ไม่ผ่านการทดสอบนั่นก็คือหัวใจมีน้ำหนักมากกว่าขนนก สัตว์อสูรที่ชื่อ Ammut (อัมมุท) ที่นอนรออยู่ใต้ตาชั่งก็จะกินหัวใจของดวงวิญญาณดวงนั้นทันที แล้วดวงวิญญาณนั้นก็จะสูญสลายตลอดไป
Cr.
https://sites.google.com/site/wittawat63874/link8
มนุษย์อวกาศบนผนังถ้ำ Tassili n’Ajjerแห่งแอลจีเรีย
Tassili n’Ajjer คือถ้ำหินที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับทะเลทรายซาฮาร่า ในประเทศแอลจีเรีย เป็นหนึ่งในสถานที่ปรากฏภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่เก่าแก่ที่สุดแห่งและมีจำนวนมากที่สุดในภูมิภาคอาหรับ โดยครอบคลุมบริเวณถึง 72,000 ตารางกิโลเมตร ผลงานภาพวาดและ ภาพเขียนสีและภาพสลักบนผนังถ้ำมีทั้งหมดกว่า 15,000 ชิ้น
นักวิจัยคาดการณ์ว่าภาพวาดที่ปรากฏเหล่านี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 8,000-10,000 ปี ก่อนคริสตกาล ภาพเหล่านี้แสดงถึงวิถีชีวิตในประจำนวนของผู้คนที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาก่อน และบอกได้ว่าว่าทะเลทรายซาฮาร่านั้นเคยเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ เช่น ยีราฟ นกกระจอกเทศ ฮิปโปโปเตมัส รวมถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกหลายชนิด ต่างจากปัจจุบันที่กลายเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือภาพว่าของสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างคล้ายกับมนุษย์ที่สวมหมวกกันน็อก ถุงมือ และเครื่องแต่งกายที่คลายกับชุดสูท ที่ปรากฏอยู่ตามผนังถ้ำหลายรูป
กลุ่มนักยูเอฟโอวิทยาตั้งสมมติฐานว่า นี่เป็นหลักฐานการปรากฏตัวของมนุษย์ต่างดาวในยุคโบราณ เพราะภาพส่วนใหญ่นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างคล้ายกับมนุษย์ แต่มีหัวที่กลม รวมถึงยังมีสิ่งที่คล้ายหมวกกันน็อกสวมอยู่ขณะที่ทำท่าทางเหมือนกำลังอยู่ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ซึ่งมีความเป็นไปได้มากว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มาจากนอกโลก
มันยังเป็นคำถามที่นักวิจัยยังคงหาคำตอบไม่ได้ จึงมักจะถูกเชื่อมโยงกับมนุษย์ต่างดาวในอดีต ซึ่งน่าเสียดายอย่างมากที่ภาพวาดทั้งหมดในถ้ำแห่งนี้หลงเหลือให้เห็นได้ชัดๆ เพียง 20 เปอร์เซ็นต์ จากการเสี่อมสภาพไปตามกาลเวลา
สถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโกในปี 1972 ก่อนกลายเป็นอุทยาแห่งชาติ Tassili n’Ajjer และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของแอลจีเรียมาจนปัจจุบัน
Cr.
https://starsmanman.blogspot.com/2018/06/tassili-najjer.html / By menmen
ภาพวาดสีโบราณ 3,000 ปี
ภาพวาดสีโบราณ 3,000 ปี ตั้งอยู่บนยอดผาแดง บ้านด่านแม่แฉลบ ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ภาพวาดเหล่านี้อยู่บนภูเขาหินปูนที่เรียกกันว่า ผาแดง ซึ่งเป็นภูเขาลูกเดียวในอำเภอศรีสวัสดิ์ ตลอดแนวหน้าผายาว 60 เมตร ปรากฎภาพเขียนสีเป็นกลุ่มๆเป็นระยะๆ เป็นภาพคน สัตว์และสิ่งของ เขียนด้วยสีแดงคล้ำแบบเงาทึบ และแบบเค้าโครงรอบนอก
ภาพเขียนสีนี้ น่าจะเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อบ่งชี้ถึงการพยายามเล่าเรื่องเหตุการณ์หรือพิธีกรรมแห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งกลุ่มคนเจ้าของภาพได้ร่วมกันสนุกสนาน อาจมีการร้องรำทำเพลงด้วยเครื่องดนตรีรูปน้ำเต้า และเต้นรำร่วมกันด้วยความเคารพบูชาในสิ่งที่มีความเชื่อร่วมกัน ดังนั้นชุมชนที่วาดภาพเหล่านี้คงมีชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ และทำการเกษตรกรรมเมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว และใช้สถานที่ถ้ำผาแดงนี้บอกเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้น
ภาพเขียนกระจายเป็น 2 ชุด ชุดแรกเป็นกลุ่มคนประมาณ 5 คนกำลังทำกิจกรรมบางอย่าง อีก 1 ชุดเป็นภาพวาดของคน คนเดียว ยืนโดดเดี่ยว
จุดที่ 2 ภาพจุดนี้มีความสมบูรณ์ กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่เป็นภาพของกลุ่มคนที่กำลังทำกิจกรรม รื่นเริง บันเทิง บางอย่าง มีการนำใบไม้มาเป็นเครื่องนุ่งห่มปกปิด ช่วงส่วนล่างของร่างกาย ในมือถือภาชนะดินเอา ภาพในจุดนี้ ไม่มีร่องรอยของการขูดขีด เขียน เพิ่มเติม เนื่องจากภาพชุดนี้ สูงจากพื้นประมาณ 5- 10 เมตร
จุดที่ 3 เป็นภาพของคนอีกเช่นเคย ความสมบูรณ์ของภาพอยู่ที่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจาก บางส่วนของภาพได้มีการหลุดลอก ออกบางส่วน แต่เมื่อชมครบทั้ง 3 จุดแล้ว ถือได้ว่าเป็นภาพเขียนสีที่มีความสมบูรณ์มาก
เรื่องโดย นงลักษณ์ สุวรรณพรรณ
Cr.
https://woodychannel.com/ancient-picture.html
กระซิบรักบันลือโลก "ปู่ม่านย่าม่าน"
ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน "ปู่ม่านย่าม่าน หรือ หนุ่มกระซิบ" อันเป็นผลงานของหนานบัวผัน จิตรกรพื้นถิ่นเชื้อสายไทลื้อ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานที่ปราณีตและเป็นภาพที่โดดเด่นประจำวัดภูมินทร์ โดยเป็นภาพชายหญิงคู่หนึ่งกำลังกระซิบสนทนา และมีชื่อเสียงว่าเป็นภาพ "กระซิบรักบันลือโลก"
ซึ่งหนานบัวผันได้ตั้งชื่อภาพดังกล่าวตามเจตนารมณ์ด้วยการกำกับชื่อด้านบนของภาพว่า "ปู่ม่านย่าม่าน" และ วินัย ปราบริปู ศิลปินและเจ้าของหอศิลป์ริมน่าน ได้ค้นคว้าเกี่ยวกับที่มาของชื่อ "ปู่ม่านย่าม่าน"
โดย หนานบัวผัน เป็นศิลปินผู้เขียนจิตรกรรมประวัติศาสตร์ทั้งที่ วัดหนองบัว และ วัดภูมินทร์ ภาพ "ปู่ม่านย่าม่าน" เป็นหนึ่งในงานจิตรกรรมฝาผนังถูกวาดขึ้นช่วงปี พ.ศ. 2410-2417 ระหว่างการบูรณะซ่อมแซมวัดภูมินทร์ในสมัยเจ้าอนันตฤทธิวรเดชครองเมืองน่าน
ซึ่งตรงกับปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งภาพจิตรกรรมส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวในชาดก และแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวน่านในอดีต ภาพ "ปู่ม่านย่าม่าน" เป็นหนึ่งในภาพที่มีชื่อเสียงของงานจิตรกรรมฝาผนังดังกล่าว ด้วยได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุดทั้งด้านองค์ประกอบและอารมณ์
ข้อมูล :wikipedia
ภาพ :wikipedia , IG bo_achi
Cr.
https://www.sanook.com/horoscope/127389/
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
เรื่องราวผ่านผนังศิลปะโบราณ
กรมโบราณคดีของประเทศอียิปต์ ได้ประกาศการค้นพบสุสานของนักบวชโบราณ และภาพเขียนฝาผนังอายุเกือบ 5,000 ปี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2018 ที่ผ่านมา การค้นพบดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างการขุดสำรวจสุสานทางด้านทิศตะวันตกของเมืองกีซา ประเทศอียิปต์ ซึ่งคาดการณ์ว่าสุสานดังกล่าวน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงอาณาจักรโบราณของอียิปต์ หรือประมาณ 2465-2323 ปีก่อนคริสต์กาล จากข้อมูลเผยว่า สุสานโบราณนี้เป็นของพระนาง Hetpet ผู้มีตำแหน่งสูงสุดในระหว่างช่วงราชวงศ์ที่ 5 ของอียิปต์จนกระทั่งถึงช่วงสิ้นราชวงศ์
ภายในสุสานแห่งนี้เต็มไปด้วยภาพวาดที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์มากมาย นอกจากนี้ยังมีภาพวาดของพระนาง Hetpet ในท่าทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกล่าสัตว์ ตกปลา หรือนั่งรอรับการถวายอาหารจากลูกๆ ของเธอ ท่าทางการเต้นของพระองค์ ร่วมถึงภาพของช่างโลหะและคนงาน นอกจากนั้นในภาพแรกยังเห็นลิงตัวหนึ่งกำลังเก็บผลไม้อยู่ ภาพที่สองลิงที่กำลังเต้นอยู่หน้าวงดนตรี
นอกจากในในสุสานโบราณของราชวงศ์ที่ 12 อย่าง Khnoum Hetep ที่ 2 ในพื้นที่ Beni Hassan และสุสานของอาณาจักรโบราณ Ka-Iber ที่ Saqqara เองก็พบภาพฝาผนังที่เป็นรูปลิงด้วยเช่นกัน
การค้นพบสุสานในครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในภารกิจของทีมนักโบราณคดีอียิปต์ ที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี 1842 แต่อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการขุดพบโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพระนาง Hetpet อย่างไรก็ตามขณะนี้ทางนักโบราณคดี กำลังทำการขุดสำรวจในพื้นที่แห่งนี้อย่างต่อเนื่อง และพวกเขาหวังว่าจะเจอโบราณวัตถุที่มีความสำคัญอีกมากมาย
ที่มา mymodernmet, Ministry of Antiquities وزارة الآثار
Cr. https://www.catdumb.com/egypts-ministry-007/ By เหมียวเวจจี้
วัตถุพิศวง บนศีรษะของชาวไอยคุปต์
หนึ่งในปริศนาที่นักอียิปต์วิทยาทั่วทุกมุมโลกยังคงถกเถียงกันมาจนถึงปัจจุบันก็คือ ภาพของวัตถุลึกลับทรงโคนที่ปรากฏอยู่บนศีรษะของชาวอียิปต์โบราณตามผนังสุสานของเหล่าชนชั้นสูงในสมัยราชอาณาจักรใหม่ (New Kingdom)
สิ่งที่นักอียิปต์วิทยาค้นพบก็คือภาพวัตถุทรงโคนลึกลับนี้มักจะปรากฏบนวิกผมที่สวมอยู่บนศีรษะของชาวอียิปต์โบราณที่กำลังอยู่ในงานสังสรรค์และงานเลี้ยงรื่นเริงที่เต็มไปด้วยความสนุกสนาน โคนที่อยู่บนศีรษะก็มักจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดูเหมือนกับหมวกทรงสูงที่ปลายด้านบนของโคนตกแต่งด้วยสีเหลืองอ่อน ส่วนด้านล่างตกแต่งด้วยสีขาว
ชาวไอยคุปต์ทั้งชนชั้นสูงและเหล่าคนรับใช้ที่คอยให้บริการก็มักจะมีภาพของโคนชนิดนี้ประดับไว้บนศีรษะ และที่น่าสนใจก็คือภาพของโคนปริศนาที่ว่านี้ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดเป็นพิเศษในสมัยราชอาณาจักรใหม่ โดยเฉพาะราชวงศ์ที่ 18 หรือในช่วงประมาณ 1,550 ถึงราว 1,300 ปีก่อนคริสตกาล
สิ่งที่นักอียิปต์วิทยายุคแรกพยายามให้คำตอบกับเจ้าวัตถุลึกลับทรงโคนบนศีรษะของชาวอียิปต์โบราณก็คือมันเป็น “น้ำหอม” ชนิดหนึ่งที่ทำจากขี้ผึ้งและไขมันสัตว์ ปั้นขึ้นรูปให้มีลักษณะคล้ายหมวกทรงสูง เพื่อวางเอาไว้บนศีรษะให้น้ำหอมทรงโคนนี้ค่อยๆละลายและปลดปล่อยกลิ่นหอมอ่อนๆออกมาระหว่างที่พวกเขากำลังสนุกสนานกับงานรื่นเริง ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่แตกต่างจากการทำอโรมาเธอราพี (Aromatherapy) หรือการบำบัดด้วยน้ำมันหอมระเหยที่สกัดมาจากพืชในปัจจุบัน
หนึ่งในหลักฐานที่นักอียิปต์วิทยาค้นพบและพอจะนำมาใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนได้ว่าชาวอียิปต์โบราณอาจจะเคยมีการชโลมน้ำหอมบนศีรษะก็คือหลักฐานของยางไม้หอม (Resin) ที่ยังคงหลงเหลือบนศีรษะของมัมมี่ที่ทำการตรวจสอบเมื่อปี ค.ศ.2014
แต่นักอียิปต์วิทยาก็ยังไม่สามารถฟันธงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่ายางไม้หอมนั้นจะละลายออกมาจากโคนน้ำหอมที่วางไว้บนศีรษะของมัมมี่ร่างนี้ด้วยหรือไม่ เพราะหนึ่งในอุปสรรคใหญ่ของกลุ่มนักอียิปต์วิทยาที่เชื่อถึงการมีตัวตนอยู่จริงของโคนน้ำหอมก็คือก่อนหน้านี้พวกเขาไม่เคยค้นพบน้ำหอมทรงโคนของจริงที่ไหนมาก่อน
เรื่อง ทีมงานนิตยสารต่วย'ตูน โดย : สืบ สิบสาม
(อ่านเพิ่มเติมได้ที่)
Cr.https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/abroad/1744990
เทพแห่งความตายของชาวอียิปต์
อานูบิส (Anubis) เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งของอียิปต์ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของชาวอียิปต์ เพราะอานูบิสเป็นเทพแห่งความตาย และเป็นเทพของการทำมัมมี่ ดังนั้นทั้งในพิธีกรรมการทำศพแบบอียิปต์โบราณและเรื่องราวในโลกหลังความตายของมนุษย์เทพองค์นี้จึงมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอย่างมาก
อานูบิสเป็นเทพที่มีลักษณะลำตัวเป็นคน แต่ส่วนหัวจนถึงคอเป็นลักษณะศีรษะของหมาในสีดำ ในมือถือคทา บางครั้งเทพองค์นี้ก็เรียกกันว่า Anpu (อันปุ) พิธีกรรมการนับถือเทพอานูบิสนี้เชื่อกันว่ามีมานานมากแล้วและบางครั้งก็มีการสร้างรูปปั้นหมาในสีดำ หรือสีทองเป็นตัวแทนของเทพองค์นี้ก็มี
ลักษณะของเทพอานูบิสที่มีใบหน้าเป็นหมาในก็สันนิษฐานได้ว่า เป็นเพราะสัตว์ชนิดนี้มักจะออกหากินในตอนกลางคืน และพบมากในบริเวณสุสานของคนตาย จากสิ่งนี้เองจึงทำให้คาแรทเตอร์ของเทพอานูบิสมีใบหน้าเป็นหมาในซึ่งชาวอียิปต์นับถือกันในนามเทพผู้พิทักษ์คนตายและสุสาน
หน้าที่ของเทพองค์นี้ก็คือการนำดวงวิญญาณของคนตายสู่ยมโลกเพื่อทำการตัดสินผลกรรมที่ได้ทำมาก่อนตาย ต่อหน้าองค์เทพโอซิริส (Osiris) โดยเทพอานูบิสจะนำหัวใจของผู้ตายไปวางไว้บนตาชั่งข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างหนึ่งของตาชั่งจะเป็นขนนกที่ได้รับมาจากเทพ (มูอาท) Muat
หากหัวใจของผู้ตายเบากว่าขนนกแสดงว่าในขณะที่คนผู้นั้นมีชีวิตอยู่ได้กระทำการอันเป็นกุศล จึงสมควรได้รับพรจากเทพโอชิริสให้มีชีวิตอันเป็นนิรันดร์แล้วจะได้อยู่ในดินแดนที่เรียกว่า “Fields of the Reed” หรือสวรรค์ของชาวอียิปต์นั่นเอง ส่วนคนที่ไม่ผ่านการทดสอบนั่นก็คือหัวใจมีน้ำหนักมากกว่าขนนก สัตว์อสูรที่ชื่อ Ammut (อัมมุท) ที่นอนรออยู่ใต้ตาชั่งก็จะกินหัวใจของดวงวิญญาณดวงนั้นทันที แล้วดวงวิญญาณนั้นก็จะสูญสลายตลอดไป
Cr.https://sites.google.com/site/wittawat63874/link8
มนุษย์อวกาศบนผนังถ้ำ Tassili n’Ajjerแห่งแอลจีเรีย
Tassili n’Ajjer คือถ้ำหินที่ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับทะเลทรายซาฮาร่า ในประเทศแอลจีเรีย เป็นหนึ่งในสถานที่ปรากฏภาพเขียนสีบนผนังถ้ำที่เก่าแก่ที่สุดแห่งและมีจำนวนมากที่สุดในภูมิภาคอาหรับ โดยครอบคลุมบริเวณถึง 72,000 ตารางกิโลเมตร ผลงานภาพวาดและ ภาพเขียนสีและภาพสลักบนผนังถ้ำมีทั้งหมดกว่า 15,000 ชิ้น
นักวิจัยคาดการณ์ว่าภาพวาดที่ปรากฏเหล่านี้มีอายุไม่ต่ำกว่า 8,000-10,000 ปี ก่อนคริสตกาล ภาพเหล่านี้แสดงถึงวิถีชีวิตในประจำนวนของผู้คนที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาก่อน และบอกได้ว่าว่าทะเลทรายซาฮาร่านั้นเคยเต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ เช่น ยีราฟ นกกระจอกเทศ ฮิปโปโปเตมัส รวมถึงสัตว์ที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกหลายชนิด ต่างจากปัจจุบันที่กลายเป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคือภาพว่าของสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างคล้ายกับมนุษย์ที่สวมหมวกกันน็อก ถุงมือ และเครื่องแต่งกายที่คลายกับชุดสูท ที่ปรากฏอยู่ตามผนังถ้ำหลายรูป
กลุ่มนักยูเอฟโอวิทยาตั้งสมมติฐานว่า นี่เป็นหลักฐานการปรากฏตัวของมนุษย์ต่างดาวในยุคโบราณ เพราะภาพส่วนใหญ่นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างคล้ายกับมนุษย์ แต่มีหัวที่กลม รวมถึงยังมีสิ่งที่คล้ายหมวกกันน็อกสวมอยู่ขณะที่ทำท่าทางเหมือนกำลังอยู่ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ซึ่งมีความเป็นไปได้มากว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มาจากนอกโลก
มันยังเป็นคำถามที่นักวิจัยยังคงหาคำตอบไม่ได้ จึงมักจะถูกเชื่อมโยงกับมนุษย์ต่างดาวในอดีต ซึ่งน่าเสียดายอย่างมากที่ภาพวาดทั้งหมดในถ้ำแห่งนี้หลงเหลือให้เห็นได้ชัดๆ เพียง 20 เปอร์เซ็นต์ จากการเสี่อมสภาพไปตามกาลเวลา
สถานที่แห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโกในปี 1972 ก่อนกลายเป็นอุทยาแห่งชาติ Tassili n’Ajjer และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของแอลจีเรียมาจนปัจจุบัน
Cr. https://starsmanman.blogspot.com/2018/06/tassili-najjer.html / By menmen
ภาพวาดสีโบราณ 3,000 ปี
ภาพวาดสีโบราณ 3,000 ปี ตั้งอยู่บนยอดผาแดง บ้านด่านแม่แฉลบ ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ภาพวาดเหล่านี้อยู่บนภูเขาหินปูนที่เรียกกันว่า ผาแดง ซึ่งเป็นภูเขาลูกเดียวในอำเภอศรีสวัสดิ์ ตลอดแนวหน้าผายาว 60 เมตร ปรากฎภาพเขียนสีเป็นกลุ่มๆเป็นระยะๆ เป็นภาพคน สัตว์และสิ่งของ เขียนด้วยสีแดงคล้ำแบบเงาทึบ และแบบเค้าโครงรอบนอก
ภาพเขียนสีนี้ น่าจะเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อบ่งชี้ถึงการพยายามเล่าเรื่องเหตุการณ์หรือพิธีกรรมแห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งกลุ่มคนเจ้าของภาพได้ร่วมกันสนุกสนาน อาจมีการร้องรำทำเพลงด้วยเครื่องดนตรีรูปน้ำเต้า และเต้นรำร่วมกันด้วยความเคารพบูชาในสิ่งที่มีความเชื่อร่วมกัน ดังนั้นชุมชนที่วาดภาพเหล่านี้คงมีชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ และทำการเกษตรกรรมเมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว และใช้สถานที่ถ้ำผาแดงนี้บอกเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้น
ภาพเขียนกระจายเป็น 2 ชุด ชุดแรกเป็นกลุ่มคนประมาณ 5 คนกำลังทำกิจกรรมบางอย่าง อีก 1 ชุดเป็นภาพวาดของคน คนเดียว ยืนโดดเดี่ยว
จุดที่ 2 ภาพจุดนี้มีความสมบูรณ์ กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่เป็นภาพของกลุ่มคนที่กำลังทำกิจกรรม รื่นเริง บันเทิง บางอย่าง มีการนำใบไม้มาเป็นเครื่องนุ่งห่มปกปิด ช่วงส่วนล่างของร่างกาย ในมือถือภาชนะดินเอา ภาพในจุดนี้ ไม่มีร่องรอยของการขูดขีด เขียน เพิ่มเติม เนื่องจากภาพชุดนี้ สูงจากพื้นประมาณ 5- 10 เมตร
จุดที่ 3 เป็นภาพของคนอีกเช่นเคย ความสมบูรณ์ของภาพอยู่ที่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจาก บางส่วนของภาพได้มีการหลุดลอก ออกบางส่วน แต่เมื่อชมครบทั้ง 3 จุดแล้ว ถือได้ว่าเป็นภาพเขียนสีที่มีความสมบูรณ์มาก
เรื่องโดย นงลักษณ์ สุวรรณพรรณ
Cr.https://woodychannel.com/ancient-picture.html
กระซิบรักบันลือโลก "ปู่ม่านย่าม่าน"
ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน "ปู่ม่านย่าม่าน หรือ หนุ่มกระซิบ" อันเป็นผลงานของหนานบัวผัน จิตรกรพื้นถิ่นเชื้อสายไทลื้อ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานที่ปราณีตและเป็นภาพที่โดดเด่นประจำวัดภูมินทร์ โดยเป็นภาพชายหญิงคู่หนึ่งกำลังกระซิบสนทนา และมีชื่อเสียงว่าเป็นภาพ "กระซิบรักบันลือโลก"
ซึ่งหนานบัวผันได้ตั้งชื่อภาพดังกล่าวตามเจตนารมณ์ด้วยการกำกับชื่อด้านบนของภาพว่า "ปู่ม่านย่าม่าน" และ วินัย ปราบริปู ศิลปินและเจ้าของหอศิลป์ริมน่าน ได้ค้นคว้าเกี่ยวกับที่มาของชื่อ "ปู่ม่านย่าม่าน"
โดย หนานบัวผัน เป็นศิลปินผู้เขียนจิตรกรรมประวัติศาสตร์ทั้งที่ วัดหนองบัว และ วัดภูมินทร์ ภาพ "ปู่ม่านย่าม่าน" เป็นหนึ่งในงานจิตรกรรมฝาผนังถูกวาดขึ้นช่วงปี พ.ศ. 2410-2417 ระหว่างการบูรณะซ่อมแซมวัดภูมินทร์ในสมัยเจ้าอนันตฤทธิวรเดชครองเมืองน่าน
ซึ่งตรงกับปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งภาพจิตรกรรมส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวในชาดก และแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวน่านในอดีต ภาพ "ปู่ม่านย่าม่าน" เป็นหนึ่งในภาพที่มีชื่อเสียงของงานจิตรกรรมฝาผนังดังกล่าว ด้วยได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุดทั้งด้านองค์ประกอบและอารมณ์
ข้อมูล :wikipedia
ภาพ :wikipedia , IG bo_achi
Cr.https://www.sanook.com/horoscope/127389/
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)