คนเราทำไมถึงชอบขัดแย้งทางการเมือง
การเมืองก็คือผลประโยชน์ ที่รวมของผลประโยชน์ เช่น ผลประโยชน์ ๑ ก้อนแล้วจะแบ่งกันยังไง ในเมื่อมีสิ่งที่เป็นผลประโยชน์แล้วแบ่งย่อมต้องขัดแย้งแน่นอนโดยธรรมชาติ
ฉะนั้น ทำไมต้องมีการเมือง เพราะการเมืองจะมาดูแลบริหารความขัดแย้งให้ลงตัว
ถ้าการเมืองอยุติธรรม ก็จะไม่ให้ความยุติธรรม ผลประโยชน์ก็จะไม่ยุติธรรม ก็จะเกิดกลียุค
เหมือนกับเทวดาและอสูรรบกันเรื่อย ก็เพราะตัวนี้ ตราบใด ถ้าเทวดาให้เกียรติและเคารพในความเป็นอสูร อสูรเคารพในความเป็นเทวดา ช่วงนั้นก็สันติสุข
ฉะนั้น การเมืองก็คือการจัดสรรผลประโยชน์ให้เกิดความยุติธรรม
ทีนี้ ความยุติธรรมต่างคนก็ต่างตีความหมาย จึงเกิดความขัดแย้ง ก็ต้องมีกติกากลางไว้ แล้วก็จะมีกลุ่มหนึ่งที่เป็นตรงกลาง ก็คือประชาชนต่างคนต่างเลือกเข้าไปในสภา แล้วก็จะประชุม แล้วก็จะออกมาเป็นมติที่ประชุมสของสภา ก็ถือว่าเป็นกลาง
แต่ถ้าหากว่าเป็นกลาง แต่ว่าวางตัวไม่เป็นกลาง ก็จะเกิดกลียุค เกิดการปฏิวัติ แต่ถ้าให้ความยุติธรรม อยู่ในเส้นแห่งความยุติธรรม (ไม่ใช่ยุติธรรมเป๊ะๆ) ยุติธรรมเป๊ะๆ จะยากมาก เพราะว่าทุกคนมีจริตของตัวเอง เข้ากลุ่มของตัวเองบ้างนิดหน่อย แต่ต้องอยู่ในเส้นยุติธรรม เช่น ๕๐ : ๕๐ บ้างก็จะเหลื่อมล้ำ ๖๐ : ๔๐ แต่ถ้าเกิน ๖๐ เมื่อไหร่ก็จะเกิดเรื่องละ แต่ถ้าไปถึง ๗๐ ก็จะก่อหวอดได้
ฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุดของการเมืองเลยคือ จัดสรรให้ยุติธรรม
ถ้าใครมาบอกว่าการเมืองไม่มีผลประโยชน์ แสดงว่าเขาคนนั้นไม่เข้าใจการเมือง เพราะการเมืองไว้จัดสรรผลประโยชน์โดยเฉพาะ
แต่ถ้าเราจัดสรรผลประโยชน์ ๔๐: ๖๐ ฝ่ายที่เสียได้ ๔๐ เราต้องมีคำอธิบายให้เขา
๑. คำอธิบาย
๒. สิ่งชดเชย ถ้าเขาไม่ได้สิ่งนั้น เขาก็จะต้องได้อีกสิ่งหนึ่งเป็นการตอบแทน
ทุกคนต้องการตรงนี้ เป็นธรรมดาของภูมิ
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
คนเราทำไมถึงชอบขัดแย้งทางการเมือง
การเมืองก็คือผลประโยชน์ ที่รวมของผลประโยชน์ เช่น ผลประโยชน์ ๑ ก้อนแล้วจะแบ่งกันยังไง ในเมื่อมีสิ่งที่เป็นผลประโยชน์แล้วแบ่งย่อมต้องขัดแย้งแน่นอนโดยธรรมชาติ
ฉะนั้น ทำไมต้องมีการเมือง เพราะการเมืองจะมาดูแลบริหารความขัดแย้งให้ลงตัว
ถ้าการเมืองอยุติธรรม ก็จะไม่ให้ความยุติธรรม ผลประโยชน์ก็จะไม่ยุติธรรม ก็จะเกิดกลียุค
เหมือนกับเทวดาและอสูรรบกันเรื่อย ก็เพราะตัวนี้ ตราบใด ถ้าเทวดาให้เกียรติและเคารพในความเป็นอสูร อสูรเคารพในความเป็นเทวดา ช่วงนั้นก็สันติสุข
ฉะนั้น การเมืองก็คือการจัดสรรผลประโยชน์ให้เกิดความยุติธรรม
ทีนี้ ความยุติธรรมต่างคนก็ต่างตีความหมาย จึงเกิดความขัดแย้ง ก็ต้องมีกติกากลางไว้ แล้วก็จะมีกลุ่มหนึ่งที่เป็นตรงกลาง ก็คือประชาชนต่างคนต่างเลือกเข้าไปในสภา แล้วก็จะประชุม แล้วก็จะออกมาเป็นมติที่ประชุมสของสภา ก็ถือว่าเป็นกลาง
แต่ถ้าหากว่าเป็นกลาง แต่ว่าวางตัวไม่เป็นกลาง ก็จะเกิดกลียุค เกิดการปฏิวัติ แต่ถ้าให้ความยุติธรรม อยู่ในเส้นแห่งความยุติธรรม (ไม่ใช่ยุติธรรมเป๊ะๆ) ยุติธรรมเป๊ะๆ จะยากมาก เพราะว่าทุกคนมีจริตของตัวเอง เข้ากลุ่มของตัวเองบ้างนิดหน่อย แต่ต้องอยู่ในเส้นยุติธรรม เช่น ๕๐ : ๕๐ บ้างก็จะเหลื่อมล้ำ ๖๐ : ๔๐ แต่ถ้าเกิน ๖๐ เมื่อไหร่ก็จะเกิดเรื่องละ แต่ถ้าไปถึง ๗๐ ก็จะก่อหวอดได้
ฉะนั้น สิ่งสำคัญที่สุดของการเมืองเลยคือ จัดสรรให้ยุติธรรม
ถ้าใครมาบอกว่าการเมืองไม่มีผลประโยชน์ แสดงว่าเขาคนนั้นไม่เข้าใจการเมือง เพราะการเมืองไว้จัดสรรผลประโยชน์โดยเฉพาะ
แต่ถ้าเราจัดสรรผลประโยชน์ ๔๐: ๖๐ ฝ่ายที่เสียได้ ๔๐ เราต้องมีคำอธิบายให้เขา
๑. คำอธิบาย
๒. สิ่งชดเชย ถ้าเขาไม่ได้สิ่งนั้น เขาก็จะต้องได้อีกสิ่งหนึ่งเป็นการตอบแทน
ทุกคนต้องการตรงนี้ เป็นธรรมดาของภูมิ
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต