รีวิว เปรียบเทียบภาษาเอเชียตะวันออกทั้ง 3 (จีน เกาหลี ญี่ปุ่น)

ผมเคยโพสต์อันนี้ลงไปในบางเว็บแล้วครับ แล้วก็คิดว่า เอามันมาแชร์ในนี้ด้วยดีกว่า

ผมเคยศึกษามาครบทั้ง 3 ภาษาแล้ว ส่วนตัวผมคิดว่าภาษาที่ง่ายที่สุดคือ เกาหลี ยากขึ้นมาคือ จีน และ โหดที่สุดคือ ญี่ปุ่น

เกาหลี


เกาหลี คือภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้มาก ถ้าหากใครกำลังตัดสินใจจะเรียนอะไรดี ถ้าไม่คำนึงถึงปัจจัยการเอาไปใช้ เช่น บางคนเรียนเพื่อการงานอาชีพ บางคนเรียนเพราะชอบดูการ์ตูน/ซีรีย์ ไรงี้ ผมแนะนำเกาหลี จากใจคนหนึ่งที่ อ่าน ได้มากกว่า 10 ภาษา ผมบอกได้ว่า เกาหลี คือภาษาที่มีอารยธรรมสูงสุด..

เกาหลีดึงเอาข้อดีจากทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยเข้ามาในตัวเอง เป็นที่รู้กันว่าทั้ง 3 ภาษาหลักแห่งเอเชียตะวันออกมีการทำให้พยางค์นึงเข้าไปอยู่ในสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเท่ากันหมด เช่น จีน 快乐 (ไคว่ เล่อ, ความสุข) หรือ ญี่ปุ่น おやすみ (โอะ ยะ สึ มิ, ราตรีสวัสดิ์) ภาษาเกาหลีก็เช่นเดียวกันแต่มันมีความเจริญความเป็นระบบที่สูงกว่า เกาหลีเป็นภาษาเดียวที่มีตัว พยัญชนะ สระ ตัวสะกด ชัดเจน และเอามารวมกันในพยางค์นึงอีกที เช่น 한 (ฮัน, หนึ่ง) มีตัว ฮ (ㅎ) พอจะสร้างคำใหม่ที่มี ฮ มันก็ยังมี ㅎ เช่น 해 (แฮ, พระอาทิตย์) ซึ่งต่างจากอีก 2 ภาษาที่ สิ่งที่อยู่ในกล่องเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แทนเสียงนั้นๆไปเลย อย่าง จีน 不 (ปู้, ไม่) และ 冰 (ปิง, น้ำแข็ง) จะเห็นว่ามันไม่มีเส้นซ้ำที่จะเข้าใจว่าคือ ป ได้เลย ซึ่งมันก็ไม่ใช่ มันไม่มีตัวระบุ ป จริงๆ

ภาษาเกาหลี ยังมีสิ่งที่ทำให้ง่ายขึ้น ด้วยการมีข้อดีจากทั้งแบบภาษาอังกฤษและไทย จากอังกฤษคือ มีการแบ่งส่วนอย่างชัดเจน คือ สระคั่นอยู่ตรงกลาง ถ้าไม่มีก็ว่าง เช่น Bed, Sword, Elm, Orb, No ภาษาไทยขาดความชัดเจนตรงนี้เพราะสระในคำไทยบางทีอยู่ข้างหน้าพยัญชนะต้น เช่น เลนส์ บางทีอยู่พร้อมกัน เช่น ที่ บางทีลดรูป เช่น หล่น บางทีอยู่ข้างหลัง เช่น มา แต่ภาษาเกาหลีก็มีข้อดีของภาษาไทยที่อังกฤษไม่มีคือ ความเป็นเอกลักษณ์ของสระ สระอา ของเรา ยังไงก็เป็นสระอา แต่ในอังกฤษตัว a พื้นฐานมันคือสระอา ก็เปลี่ยนแบบได้เกือบ 10 แบบ เช่น กลายเป็นสระออ ใน All เป็นสระแอใน Rat เป็นต้น

ภาษาเกาหลี 1 พยางค์เกิดจากองค์ประกอบ 2-4 อย่างรวมกัน คือ พยัญชนะ (ไม่บังคับ) สระ ตัวสะกด (ไม่บังคับ) ถ้าไม่มีพยัญชนะก็จะระบุด้วย ㅇ ให้รู้ว่าว่างเปล่า ถ้าไม่มีตัวสะกดก็ไม่ใส่ ตัวอย่างคำ 아침 (อา ชิม, อาหารเช้า) ก็เป็นการผสมองค์ประกอบได้อย่างง่ายๆ ㅏ คือ สระอะหรืออา ㅊ คือ ช เป็นต้น ดังนั้น ในเรื่องของระบบการเขียน ภาษาเกาหลีง่ายกว่าทั้งไทยและอังกฤษเลยครับ

ความยากของภาษาเกาหลีอยู่ที่ แกรมม่า และ การมีระดับภาษาที่หลากหลาย (มาก) ถ้าเทียบไทยก็คงเหมือนพูดปกติกับพูดราชาศัพท์ไปเลย และ การกร่อนเสียงเยอะมาก เขียนอย่างไร ไม่ได้อ่านอย่างนั้น เช่น 눈이 ทั้งที่ ㄴ คือ น, ㅜ คือ สระอุหรืออู และ ㅣ คือสระอิหรืออี แต่คำนี้กลับต้องอ่านว่า “นู นี” ไม่ใช่ “นุน อี” และคุณจะเจอกรณีเหล่านี้บ่อยเลยละ
และก็มี การเปลี่ยนพยัญชนะครับ เช่น มีเสียง บอ (ㅂ) แต่มันจะออกเสียง บอ ไม่ได้ในพยางค์แรก ถ้าอยู่ตำแหน่งแรกจะเป็นเสียง พอ อย่าง 비빔밥 แยกแต่ละองค์ประกอบ ㅁ คือ มㅣคือสระอิหรืออี ㅏ คือสระอะหรืออา คำนี้ควรจะอ่านว่า "บี บิม บับ" แต่ไม่ครับ ที่ถูกคือ "พี บิม บับ"
ภาษาเกาหลียังมีการใส่ ย ลงไปในสระ ด้วย เช่น 현대 (ฮยอน แด, ทันสมัย) แต่ก็มีบางข้อยกเว้นที่ทำให้ตัว ย ไม่ออกเสียง เช่น 혜성 (เฮ ซอง, ดาวหาง) ซึ่งการเขียนเขียนว่า ฮเย ซอง

แต่นี่ก็เป็นเพียงข้อจำกัดเล็กๆน้อยๆ ครับ อีก 2 ภาษา มีอะไรที่ยากกว่านี้มาก



จีน


จีน เพิ่มความยากขึ้นมา รายละเอียดสำหรับจีน ผมจะไม่ลงลึกมากเพราะไม่ค่อยมีอะไร ภาษาจีนยากที่ตัวอักษร ถึงแม้ว่าในการสื่อสารในชีวิตประจำวันทั่วไป รู้เพียง 3,000 ก็โอเคแล้ว และ การสื่อสารขั้นสูงต้องการประมาณ 8,000 ตัวก็จริง แต่ถ้าหากนับจริงๆภาษาจีนมีมากกว่า 20,000 ตัวอีกครับ ภาษาจีนมีคำพ้องเสียงเป็นภูเขา เสียงเพียงเสียงเดียวสามารถสร้างตัวได้มากกว่า 40 แบบ (ภาษารูปภาพ ครับ เขียนแบบหนึ่ง ความหมายแบบหนึ่ง) และมีเสียงน้อยแบบกว่ามากเมื่อเทียบกัน หากไม่นับโทนเสียง (วรรณยุกต์) ภาษาจีนสร้างคำได้ไม่ถึง 500 รูป ซึ่งจริงๆก็ไม่ควรเอาโทนมาพิจารณาเท่าไหร่หรอกนะครับ เพราะ แต่ละพยางค์ของจีน มีการปรับโทนให้กันและกันครับ อธิบายข้างล่าง

ภาษาจีนมีเสียงหลักๆ 4 แบบ กับ การห่อลิ้น เช่น 绿 (ลวี่, เขียว (สี)) และ การใส่ ย ในสระ เช่น 日本 (รยื่อ เปิ่น, ญี่ปุ่น)

ความยากภาษาจีนคือ ตัวอักษร การเรียงประโยคที่ค่อนข้างแปลก (แต่ก็ไม่ต่างจากไทยเท่าไหร่นัก ดังนั้นการเรียนรู้สำหรับคนไทยจะไม่ยากมาก) การออกเสียงก็เช่นเดียวกัน เวลาเขียนไม่มีปัญหา แต่เวลาอ่าน ถ้าคำที่เสียงวรรณยุกต์เหมือนกันอยู่ด้วยกัน มันก็จะต้องอ่านในอีก แบบ เช่น 你 (หนี, คุณ) กับ 好 (เหา, ดี) พอมารวมกันเป็นคำว่า สวัสดี ก็แปลงเสียง หนี + เหา = หนี ห่าว เป็นต้น
เพิ่มเติม คำว่า หนี ที่แปลว่าคุณ เขียนได้สองแบบนะครับ คือ 你 ผู้ชาย และ 妳 ผู้หญิง วิธีจำของผม จำว่า 亻 คือ ปลัดขิก และ 女 คือ ผู้หญิงนั่งพับเพียบ นี่หละครับ สิ่งที่ทำให้ภาษาจีนสนุก เพราะมันจินตนาการเป็นภาพควบคู่ อย่างคำที่แปลว่า อพยพ 跑 ผมก็จำว่า 囗 คือช่องเปิดสู่อิสรภาพ 止 คือการหยุด ตรวจ ตม. แท่งเตี้ยๆคือด่าน แท่งแฉกกิ่งไม้คือมือ ชูบอกให้หยุด ส่วนเส้นยาวๆ คือ พื้น  包 คือ กระเป๋าเป้สะพายหลัง เหมือนอยู่นะ เอาความหมายมาผสมกัน
ในความเป็นจริง มันคือ 3 ส่วนมารวมกันจริงๆนะครับ และ ความหมายก็ตามนั้นเลย 囗 แปลว่า การนำเข้า 止 แปลว่า หยุด 包 แปลว่า กระเป๋า



ญี่ปุ่น


ญี่ปุ่น ถึงแม้ภาษาญี่ปุ่นจะมีเสียงที่ง่ายไม่มีคำแปลกๆ และมีเพียงไม่กี่คำ สะดวกต่อการเรียนรู้ แต่นี่ก็เป็นเหมือนดาบสองคม ด้วยคำที่น้อยเกินไปนี่แหละ เพื่อป้องกันคำซ้ำ ทำให้ศัพท์บางคำมีจำนวนพยางค์ที่มากจนเกินไป และ ทำให้สับสนได้อย่างง่ายดาย และในขณะที่ผมมองว่า เกาหลี คือภาษาที่มีความเจริญสูงสุดในแง่ของภาษาในโลก ผมก็เห็นว่า ญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ความเจริญต่ำสุด (ไม่เกี่ยวว่ามีมาช้านานอะไรนั่นนะครับ พูดถึงตัวภาษาล้วนๆ) ด้วยเหตุผลเหล่านี้

เช่นเดียวกับภาษาจีน ตัวแบบนึงแทนคำนึง แต่ภาษาญี่ปุ่นไม่มีการพ้องเสียง แทบทุกตัวอ่านได้แบบเดียว แทบทุกเสียงเขียนได้รูปเดียว ดังนั้น ถ้าพูดให้ถูก ภาษาจีน คือ อักษรภาพ แต่ ภาษาญี่ปุ่น คือ สัญลักษณ์แทนเสียง ภาษาญี่ปุ่น(แท้) ไม่ใช่อักษรภาพ ตามที่หลายๆตำรากล่าวเอาไว้
เพื่อเพิ่มความหลากหลายเลยมีระบบที่ เสียงสั้นยาว ทำให้ความหมายเปลี่ยน เช่น เฮะยะ กับ เฮยะ มีระบบเสียงสูงต่ำ เช่น ฮานะ กับ ฮ่าหนะ ก็กลายเป็นคนละความหมาย
ในส่วนของตัวสะกดก็เช่นกัน เค้ามีตัว
1. อึ้น (ん สำหรับ ฮิรางานะ หรือ ン สำหรับ คาตากานะ (อธิบายข้างล่าง)) ซึ่ง อึ้น เนี่ย ถ้าอยู่ในพยางค์สุดท้าย จะเป็น น หรือ ง ก็ได้แล้วแต่บริบท เช่น タイじん, ไท จิน (คนไทย) หรือ ひろきさん, ฮิ โระ ขิ ซัง (นายฮิโรกิ) แต่ถ้ามีพยางค์ต่อ ก็ดูว่าพยางค์ที่มาต่อออกเสียง (พยัญชนะต้น) อะไร แล้ว ตัว อึ้น ก็จะขึ้นอยู่กับมัน ทำได้ 3 แบบคือเป็น น ง ม อันนี้จริงๆใช้ความเข้าใจได้ไม่ต้องจำ
เช่น เสียง น ลองพูด นอ เราปล่อยเสียงออกไปตรงๆ และ พยัญชนะต้นที่ออกเสียงแบบนี้ก็มี ซอ ทอ นอ รอ (จริงๆต้องเป็นสระ อา แต่ปรับเป็นแบบไทยซึ่งมีเบส สระออ จะได้เข้าใจง่ายๆ)
เสียง ง ลองพูด งอ เราดันเสียงขึ้นเพดานปาก ก็แบบเดียวกับ คอ ยอ วอ
เสียง ม ลองพูด มอ เรากดเสียงลง ก็แบบเดียวกับ มอ ฮอ
2. ซึเล็ก (っ สำหรับ ฮิรางานะ หรือ ツ สำหรับ คาตากานะ (อธิบายข้างล่าง)) อันนี้ก็คือบอกว่า เอาพยัญชนะต้นพยางค์ถัดไป มาเป็นตัวสะกดของพยางค์ก่อนหน้า
นี่คือเสียงสะกดที่เค้าทำได้ ก็มีเพียงแค่เท่านี้แหละครับ ด้วยความที่สร้างเสียงได้น้อยแบบมากๆ ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษา Convergent ก็คือ พูดมากความหมายกระจีดเดียว และนี่คือเหตุผลที่ผมมองญี่ปุ่นยากกว่าจีน

แต่เค้าก็มีมาตรการป้องกันการสับสนนะครับ คือ ระบุประเภทคำไปด้วย เช่น わたしはごはんを食べる อ่าน วะ ตะ ชิ วะ โกะ ฮัง โอ้ะ ท้ะ เบะ หรึ ซะยาว แปลออกมามีแค่ 3 คำ ฉันกินข้าว I eat rice การแยกประเภทคือ วะ ตะ ชิ แปลว่า ฉัน / วะ คือ บอกว่า นั่นเป็นประธาน / โกะ ฮัง แปลว่า ข้าว / โอ้ะ คือ บอกว่า นั่นเป็นกรรม / ท้ะ เบะ หรึ แปลว่า กิน

ความยากยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เพราะแกรมม่าญี่ปุ่นเองก็มีความ ประหลาด อย่างถึงที่สุด เช่น การปฏิเสธ การพูดคำว่า “ไม่” กลายเป็นการพูดทำร้ายจิตใจชาวญี่ปุ่นได้ ดังนั้นคุณจะต้องพูดวลีอื่นมาแทน สมมุติถามว่า “จะเอามั้ย ?” ถ้าเอาตอบ “เอา” แต่ถ้าไม่เอา คุณต้องพูดว่า “เอา เอ้ย ไม่ใช่แบบนั้นนะ” ก็เป็นอันเข้าใจได้ว่ามันคือการ “ไม่เอา”

เพื่อลดความง่ายลงไปอีก ภาษาญี่ปุ่นแบ่งตัวอักษรออกเป็น 2 ชุด คือ ฮิรากานะ (Hiragana) และ คาตาคานะ (Katakana) ฮิรา เป็นตัวที่มีความโค้ง เช่น ひらがな ส่วน คาตา เป็นตัวที่มีความเป็นเหลี่ยมมิติ เช่น カタカナ ฮิรา เอาไว้ใช้กับ คำญี่ปุ่นแท้ ส่วน คาตา เอาไว้ใช้กับการทับศัพท์ แต่ก็ไม่ถูก 100%  และ การใช้ก็สลับได้ เช่น ドラえもん (โดราเอม่อน) จะเห็นว่าคำว่า ドラ (โดระ) คือ คาตา และ えもん (เอะมอน) คือ ฮิรา

จากที่บอกก่อนหน้า ญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ความเจริญต่ำสุด คุณอาจจะมีข้อกังขาในใจ อ่าวภาษายุโรปก็มีบางภาษานะที่ แค่คำกริยาความหมายเดียว บางอัน ก็สร้างได้เป็น 10 แบบแล้ว อันนั้น ไม่ต่ำกว่าหรอ (หมายถึงอารยธรรมภาษา)

ยินดีต้อนรับสู่ ความน่าปวดหัวที่แท้จริง อีกแบบตัวอักษร คันจิ (Kanji) ครับ อันนี้เป็นของจีน มันคืออักษรจีน แต่กลับอ่านแบบญี่ปุ่น คือ ญี่ปุ่นกับจีน ประสบปัญหาเดียวกันครับ คือ จำนวนเสียงที่ออกได้มันน้อยเกินไป จีน แก้ปัญหาด้วยการ เพิ่มรูปตัวเขียนไปเรื่อย เลียนแบบสิ่งที่มีอยู่ในชีวิต เช่น 刀 (เตา) แปลว่ามีด รูปก็คล้ายใบมีดเลย ส่วน ญี่ปุ่น ไปขอก๊อปผลงานจากจีนมาใช้แต่สร้างคำของตัวเองลงไปแทน ซึ่ง คำศัพท์ทุกคำก็จะสามารถเขียนได้ 2 แบบคือ ฮิราหรือคาตา และ คันจิ ที่ยากก็คือ คำบางคำใช้ ฮิราหรือคาตา โดยที่ไม่เขียนแบบคันจิเลย คำบางคำเขียนด้วยคันจิ เช่น หัวใจ (อวัยวะ) ใช้ คันจิ 心臓 (ชินโจ) หัวใจ (สัญลักษณ์) ใช้ คาตา ハート (ฮาโตะ)
หรือ แม้แต่คำว่า กิน คำสุดเบสิค ญี่ปุ่นเรียก ท้ะ เบะ หรึ แล้วเขียนแบบ 食べる ก็ยังเป็น คันจิครึ่ง ฮิราครึ่ง

ดังนั้นกับภาษาญี่ปุ่น คุณต้องใช้ประสบการณ์และความเคยชินอย่างสูง
ต่างจากภาษาทางยุโรปเหล่านั้น เค้ามีแพทเทิร์นที่ชัดเจนกว่ามาก ในขณะที่ญี่ปุ่นค่อนข้างเป็นการ ทำตามอำเภอใจ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่