บทวิเคราะห์ ทำไมภาษาไทย ถึงเป็น 1 ในภาษา ที่พูดช้าที่สุดในโลก

ถ้าหากว่าคุณเคยศึกษาภาษาอะไรสัก 1 ภาษา ไม่ว่าจะภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน อะไรก็ตาม แล้วละก็ คุณอาจจะเคยมีโมเมนต์นึงที่ มั่นใจสุดๆเลย พร้อมพูด แต่พอเจอเจ้าของภาษาพูดจริงๆ คุณกลับจับคำพูดเค้าไม่ได้ด้วยซ้ำเพราะมันช่างเร็วเสียกระไร
หรือแม้แต่ในหนัง โดยเฉพาะหนังญี่ปุ่นหนังจีนหนังเกาหลี ที่จะเห็นได้ว่าเค้าพูดเร็วอะไรขนาดนั้น
การที่คุณเกิดความรู้สึกได้ว่านั่นเร็วมาก มันเป็นเพราะปกติคุณพูดช้ากว่านั้น และนี่คือความจริงครับ


เราคุ้นเคยกับการพูดช้าจริงๆ

รูปแนบนี้ คือผลจากงานสำรวจ ให้ 10 คนจากแต่ละภาษาแม่รวม 17 ภาษา (ทั้งหมด 170 คน) มาอ่านบทความ

รูปซ้าย คือ จำนวนพยางค์ต่อวินาที หรือก็คือความเร็วในการพูด ซึ่งไทยช้าที่สุด ในขณะที่ภาษาที่พูดเร็วที่สุดคือญี่ปุ่น
รูปขวา คือ อัตราการส่งสาร พูดอีกแบบคือ ความสามารถของตัวภาษาเอง ในการที่ พูดน้อยต่อยหนัก สร้างไม่กี่พยางค์ มีความหมายไกลไปถึงนู่น ซึ่งน่าสนใจมาก
และภาษาไทยก็ยังคงรั้งท้าย มีอัตราการส่งสารที่ต่ำที่สุด

แต่ถ้าดูดีๆจะเห็นว่า ภาษาอื่นหลายภาษาก็ไม่ได้ต่างกันมากนัก
โดยเฉพาะญี่ปุ่น พูดไวแต่ส่งสารช้า ซึ่งไม่แปลกเลยนะครับ เพราะญี่ปุ่นหลักๆสร้างพยางค์ที่แตกต่างได้ไม่ถึง 200 พยางค์ด้วยซ้ำ
พอทรัพยากรน้อย มันจึงเกิดการเอามาใช้ซ้ำเยอะๆ สลับตำแหน่งพยางค์หน่อยความหมายเปลี่ยน เพื่อป้องกันปัญหา หลายๆสิ่งจึงเวิ่มเว้อมีพยางค์เฟ้อ แม้แต่ของธรรมดารอบตัว ก็มีถึง 5 พยางค์หรือมากกว่าได้ หรือแค่ยางลบ ก็เล่นไป 4 พยางค์แล้ว ทั้งๆที่นี่คือของที่เด็กๆใช้ทั่วไป

ในขณะที่ฝรั่งเศส ไม่ได้พูดไวอะไรมากมาย แต่การส่งสารนั้นทำได้ไวที่สุด
ซึ่งไม่ได้น่าสงสัยเลยครับในสิ่งนี้
เพราะภาษาฝรั่งเศส แทบจะเรียกได้ว่าเป็น ภาษาที่(เกือบจะ) ตายแล้ว ไม่ต่างกับละตินโรมัน
เป็นภาษาที่มีการผันเยอะขั้นสุด และเยอะอย่างมีมิติ
กล่าวคือ ถ้าคุณเจอคำนี้ คุณจะรู้ได้เลยว่าต่อไปจะเป็นคำประเภทไหน คือแต่ละคำมีกฎย่อยๆๆๆซึ่งกันและกัน ว่าถ้าจะใช้คำนี้ ต้องปูพรมด้วยคำนี้ก่อน
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่แทบจะต้องเปลี่ยนทั้งประโยค ถ้าหากเพียงคุณจะบิดความหมายไปสักนิด
ฝรั่งเศส จึงเป็นภาษากลางในทางกฎหมายของโลก ที่สากลยอมรับ

จะเห็นได้ว่าข้อมูลนี้บอกได้หลายอย่างมากๆ

ทีนี้กลับมาที่ไทย ทำไมถึงได้พูดช้าเต่าต้อย และส่งสารช้ามาก



เรื่องส่งสารนี่ไม่น่าสงสัยนะครับ
เพราะภาษาไทยเป็นภาษาที่ตรงไปตรงมามาก แปลความได้แบบคำต่อคำ
อ่าวแล้วภาษาอื่นไม่ได้เป็นงี้หรอ ครับไม่ได้เป็น

อาจจะงง ลองมาดูภาษาอังกฤษนะครับ
I will do it - ชั้นจะทำ
I am going to do it - ชั้นจะทำ

ความหมายมันก็คือจะทำ แค่นั้นนั่นแหละ
แต่ของภาษาอังกฤษมันเปิดให้เห็นบริบท เจตนา ในตัว
แบบบนคือ ตัดสินใจตอนพูด 
แบบล่างคือ ตัดสินใจวางแผนไว้แล้ว

John is in the hospital. I will come see him this evening.
พูดแค่นี้ก็เข้าใจได้ว่าคนฟังพึ่งรู้ และรู้ได้ด้วยว่าเป็นการคุย 2 คน ทั้งๆที่ไม่มีบอกในประโยค
John is in the hospital. I'm going to see him this evening.
พูดแค่นี้ก็เข้าใจได้ว่าไม่ใช่การพึ่งรู้ เป็นไปได้ 2 ทางคือ คนแรกบอกคนอื่นว่าจะไปนะ หรือ ถ้าเป็นการตอบจากคนหลัง ก็รู้ได้ว่าคนหลังรู้เรื่องมาก่อนแล้ว

John is in the hospital. I will have seen him this evening.
ชั้นคงไปหาเค้าเรียบร้อยแล้วล่ะ (ก่อนจะถึงเย็นนี้) สื่อโดยนัยย์ว่าจะไปไว

What did she do ? - เธอทำอะไรไปบ้างหรอ ?
What has she done ? - เธอทำอะไรลงไปเนี่ย !

He painted that bench - บอกเฉยๆว่าเค้าทำ ยกย่องให้เกียรติ สื่อโดยนัยย์ว่าทำเสร็จแล้ว (แห้งแล้ว)
He has painted that bench - เออ มันยังไม่แห้งนะ อย่าไปนั่งหละ

Peter has been there 7 times - ปีเตอร์ไปมาตั้ง 7 ครั้ง เออละปีเตอร์ยังไม่ตายนะเธอ !
Peter was there 7 times - ก่อนตาย ปีเตอร์เคยไปที่นั่น 7 ครั้ง

เพียงแค่เปลี่ยนเทนส์ แค่ผันกริยานิดหน่อย มีข้อมูลเพิ่มเติมมาอีกเลย ทั้งๆที่ประโยคไม่มีบอกไว้
นี่แหละครับคือสิ่งที่มีผลโดยตรงต่อความไวในการส่งสาร
ภาษาไทยเรา ไม่ได้มีลูกเล่นอะไรในส่วนนี้เลย เป็นภาษาคำต่อคำธรรมดาทื่อๆครับ



ทีนี้มาในเรื่อง ความเร็วในการพูด

ถ้าเป็นการพูด แบบพูดสนทนา มันคือเรื่องของกระบวนการคิด ซึ่งก็เหตุผลไม่ได้ต่างกันมากกับของ ความไวในการส่งสารครับ

ส่วนถ้าพูดถึง การพูด จากการอ่าน
อันนี้ต้องยอมรับเลยว่า ภาษาไทยเรา ออกแบบตัวเองมาให้อ่านได้ช้า อ่านได้ยาก เข้าใจความหมายที่ถูกได้ยาก จริงๆครับ

1. การไม่มี เว้นวรรค ระหว่างคำ หรือ พื้นที่อันชัดเจนสำหรับแต่ละพยางค์
ภาษาไทย เป็นไม่กี่ภาษาเอกในโลกนะครับ ที่ไม่มีเว้นวรรคระหว่างคำ มันทำให้เวลาเจอศัพท์ในบางที แล้วต้องใช้เวลาไปสักแปป เพื่อแกะว่ามันอ่านยังไง
เพื่อแยกส่วนให้ถูกต้อง โดยเฉพาะคำที่การสะกดอลังการ มีการันต์เว่อๆ
แม้แต่มะกี่ที่พึ่งอ่านไป สะกดอลังการ ถ้าจะอ่านว่า สะ-กะ-ดอ-ลัง-กาน มันก็ไม่ผิดหลักภาษาเลยด้วยซ้ำ
แล้วเราก็ไม่มีพื้นที่อันชัดเจนให้แต่ละพยางค์ เหมือนจีนหรือเกาหลี ที่ทำให้ ไม่ว่าจะแน่นจะเละยังไง มันก็มีพื้นที่เฉพาะของตัวเอง

2. เราสร้างภาษา โดยออกแบบให้หลายๆคำ มันอ่านได้หลายอย่าง ตีความได้หลายๆแบบ
ไม่ใช่เพียงแค่การอ่านออกเสียง เหมือนอย่าง สะ-กะ-ดอ-ลัง-กาน
หรือ ดอกเตอร์อาจองค์ ที่จะอ่านว่า อาด-อง หรือ อา-จอง ก็ได้
แต่ยังเพี้ยนความหมายได้หลากหลายด้วยครับ
อย่านอนตากลม จะเป็น นอน-ตาก-ลม หรือ นอน-ตา-กลม มันก็มีความหมายได้ทั้งนั้น
อบรมควัน มันก็คือ การอบทำอาหาร แต่ถ้ามองว่า น้องควันโดนอบรมสั่งสอน มันก็ไม่ผิดเลยใช่มั้ยล่ะ
อย่างบอกว่า ไส้กรอกอบรมควัน นี่ ไส้กรอก อาจจะเป็นชื่อพ่อแม่เลยก็ได้นะ
คำว่า สามารถ ถ้าใส่คำว่า ร้องเพลง เป็น สามารถร้องเพลง (can sing)
แต่ถ้าใส่คำว่า เมล์.. เป็น สามารถเมล์ (Khun Sa came to here by bus)
(จริงๆไม่ต้องมี to นะครับ แต่ถ้าไม่มี พันทิปแปลง เป็น อีหี้ 5555 ละเซนเซอร์ ยิ้ม
และมากมาย
ซึ่งนี่มันทำให้ใช้เวลาในการแกะครับ

3. คำหลายๆคำ มีจำนวนพยางค์ไม่เหมาะสมกับความยาวของคำ
เช่นคำว่า ศักยภาพ มี กอไก่ 1 ตัว แต่อ่าน สัก-กะ
มาตรฐาน อ่าน มาด-ตะ-ถาน ทั้งๆที่ไม่มี ต เพิ่มมา
ในขณะที่ สามารถ กลับอ่านแค่ว่า สา-มาด
คือ ถ มันก็แม่กดแหละ แต่จะมี รอเรือ รอรก มาทำไม ทั้งๆที่ไม่มีบทบาทอะไร
กรรไกร อ่าน กัน-ไกร เงี้ย ตรงคำว่า กรร ทำไมไม่แค่ทำว่า "กัน" ตรงตามภาษา
โดยธรรมชาติเราเจอคำยาวๆ เราจะคาดหวังหลายพยางค์อยู่แล้ว
เหมือนการที่เราเห็นโจ๊กเต็มชาม ถ้าตัดความรู้จากประสบการณ์ ว่ามันย่อยง่ายออกไป เราก็คงคิดว่ามันเยอะ กินแล้วอิ่มนาน

4. เราไม่มีพยัญชนะที่เป็นค่ากลางมาตรฐานสักตัวเดียวจบๆไปให้เป็นระบบ
สามารถ เอง จริงๆมาจากต้นทางคำว่า สมรฺถ แต่ภาษาต้นทาง เค้ามีระบบการใช้ ร แบบนั้นอยู่แล้วนะ
เราจะก้อปทั้งดุ้นทั้งๆที่นี่คือสิ่งแปลกปลอมต่อภาษาเราจริงๆทำไมกัน
เข้าใจนะครับว่า ด้วยความที่เอามาจากภาษาอื่น มันก็คงอยากจะเก็บความเป็นภาษานั้นไว้บ้างแหละ
ก็เหมือนภาษาญี่ปุ่น ที่เรียก ออสเตรเลีย (Australia) ว่า โอ-สึ-โทะ-ระ-ริ-อะ ก็คือตามอักษรอังกฤษเลย
ในขณะซึ่งชื่อจริงๆมันแค่ ออดส์-เทร๊-เหลี่ย และไทยเรียก อ๊อด-เต-เลีย คล้ายๆกัน
แต่คือภาษาอื่นเค้าทำให้มันมีคุณภาพใช้ได้จริงไง
ภาษาอื่นเอามาใช้ทรัพยากรตัวเองสร้างเสียงง่ายๆ
ถ้าต้นทางเสียง ส ก็ใช้อักษรที่เป็น ส ใส่แค่นั้น จบ
แต่ไทยเรามีทั้ง ส ศ ษ ทั้งๆที่เสียงเดียวกันเป๊ะ จะสร้างแบบนั้นทำบ้าอะไรก็ไม่เข้าใจ 
แทนที่จะสร้างอักษรกลางไว้ไปเลยคือ ส หรือ ซ
แถมศัพท์ภาษาเรา เอาตรงๆมันไม่ได้เยอะขนาดนั้น ส่วนใหญ่เรามีแต่คำประสม
ผมเคยลองคิดเล่นๆ แค่ตื่นมาบนเตียงในห้องนอน ลุกไปห้องน้ำเพื่อล้างหน้าแปรงฟันอาบน้ำ
เราจะเจอสิ่งของที่ชื่อเป็นคำประสม ได้มากถึง 14-17 อย่าง ในขณะที่ภาษาอังกฤษมีเพียง 4-6 อย่างแค่นั้น
เรามีแต่การใช้คำซ้ำๆ เจอแต่อักษรชุดซ้ำๆ เราคุ้นชินกันนะกับอะไรที่เจอบ่อย 
พอเจออักษรแปลกๆที่ไม่ชิน มันฝืนกระบวนการคิดครับ
พอฝืน เราก็ต้องใช้เวลาในการประมวลผลนิดหน่อย

5. เรามีวรรณยุกต์ เป็นไม่กี่ภาษาที่สรรสร้างนวัตกรรมนี้ แต่เรากลับสร้างขึ้นมาได้ไร้ความเป็นระบบมาก
ด่า ป่า ข่า เสียงกดลง
ม่า ร่า น่า เสียงดันขึ้นระดับต่ำ
ป้า ข้า บ้า เสียงดันขึ้นระดับต่ำ
น้า ค้า ล้า เสียงดันขึ้นระดับสูง
จะเห็นได้ว่ามันมีความเหลื่อมล้ำทางวรรณยุกต์อยู่
มันทำให้เราใช้เวลาในการประมวลครับ
ซึ่งตรงนี้อะ ถ้าเราออกบอกให้ดีจริงๆ เราสามารถรันภาษาแบบมีแค่ คอควาย ไม่มี ขอไข่ ได้ด้วยซ้ำ
คา 
คา + ดันขึ้นระดับต่ำ = ค่า, ข้า
คา + ดันขึ้นระดับสูง = ค้า, ข๊า, ค๊า (เอามันให้ครบ)
คา + กดลง = ข่า
คา + จัตวารูปแบบใหม่ = ขา, ค๋า

อาจจะเอ๊ะว่า อ่าวงี้ความหลากหลายของศัพท์ก็ลดลงสิ เช่น สร้างคำว่า มุข ไม่ได้
ก็สร้างคำอื่นสิ เรามีการสร้างคำได้แบบใช้ทรัพยากรทิ้งขว้างมากนะครับ
ตัวอย่างง่ายๆ ลองนึกถึงคำว่า กา + ตัวสะกดอะไรก็ได้ ควบกล้ำได้ เพิ่มการันต์ได้ แต่ต้องพยางค์เดียว
เราจะสร้างได้กี่คำกันเชียวครับ ทั้งๆที่มีตั้ง 44 อักษร

6. ภาษาไทย มีคำตายเยอะเกินไป และเราสร้างมันมาเยอะๆโดยไม่ใส่ตัวช่วยไว้เลย
คำตาย คือ คำที่มีเสียงสั้น หรือ สะกดด้วยแม่ กก กด กบ
ถ้าทั้งสั้นและสะกดด้วยแม่ดังกล่าว ก็ ซูเปอร์ตาย ไปเลย
ลองสังเกตดูดีๆว่า เวลาที่เราพูดคำตาย เราจะพูดพยางค์ต่อไปได้ยากขึ้นค่อนข้างมากนะครับ
ไม่เชื่อลอง เห็นพยางค์ไหน ให้พูดพยางค์นั้น และต่อด้วยคำว่า "ตาม" เช่นเห็นคำว่า ลม ก็พูดว่า "ลมตาม"
คำเป็น; จ่าย ซื้อ คน มา การ คราว จง เคย
คำตาย; กด จบ ศาสตร์ สัตว์ งก ครก
จะเห็นได้ชัดเจนว่า คำตาย เป็นอุปสรรคหนึ่งของการอ่านได้ไว โดยเฉพาะคำซูเปอร์ตาย ถ้าเราไม่ใส่ลูกเล่น (ซึ่งเราไม่ได้ใส่..)
ลูกเล่น ภาษาอังกฤษ คือการเชื่อมเสียง เช่น Put in อ่านว่า พึด-ดิ่น ก็ได้
Cross out อ่านว่า ขร่อด-เซาท์ ก็ได้

ภาษาเกาหลีนี่ยิ่งล้ำขั้นสุดเลยครับ
เกริ่นก่อนว่า ภาษาเกาหลี มีกิมมิคนึงนะ คือ เขียนยังไงไม่ได้อ่านแบบนั้น เช่น สะกดอยู่เต็มๆหน้าว่า ทัด-ฮี แต่ต้องอ่าน ทา-ชี่
ผมเห็นในกลุ่มเกาหลีหลายๆคนพยายามท่องกฎเยอะมาก ผมอยากจะบอกว่า ไม่ต้องท่อง ใช้ความเข้าใจ ใช้แค่นี้จริงๆ
คำที่เขียนว่า คุก-ซู ต้องอ่าน ขุก-ซู่ มันก็เมคเซ้นส์ คือเราเจอคำตายมา พยางค์ตามควรจะเสียงหนักขึ้นเพื่อช่วยให้การสร้างเสียงเรามันลื่นไหล
คำที่เขียนว่า ซึบ-นี ต้องอ่าน ซึม-นี มันก็เมคเซ้นส์
คราวนี้ไม่เป็น สึบ-นี่ เพราะ นอหนู ไม่มีรูปพยัญชนะซ้อน
(พยัญชนะซ้อนคือสิ่งที่ทำให้ ซา อ่าน ซ่า ได้ ซึ่งมีแค่ 5 ตัวคือ บ จ ท ก ซ) (เอาแบบนิดหน่อยพอนะ ไม่ลงลึก เพราะไม่ได้จะสอนเกาหลี)
ไม่มี นอหนู หนัก เลยเปลี่ยน บอใบไม้ เป็น มอม้า เพราะเสียงที่ออกทางเดียวกับ นอหนู ที่สุด คือ มอม้า
คำที่เขียนว่า คุก-มุล ต้องอ่าน คุง-มุล มันก็เมคเซ้นส์
เราไม่มี มอม้า ซ้อน เลยเปลี่ยนพยางค์แรก
และเสียงที่ออกทางเดียวกับ มอม้า ที่สุด คือ งองู
น ม ง โทน (บริเวณที่ใช้ในการสร้างเสียง) เดียวกัน และ อ้าปากกว้างขึ้นๆตามลำดับครับ

ในขณะที่ถ้าเราทำบ้าง ศักยภาพ เอามาอ่านว่า สัก-กย้า-ผาบ สังคมคงมองว่าบ้า
มันเป็นอะไรที่น่าเสียดายและน่าเศร้ามากๆนะครับ
เรารู้จักคำเป็นคำตาย เราถึงขั้นบัญญัติชื่อให้มัน และ ใส่ไปในหลักสูตรภาษาตั้งแต่ระดับประถม
แต่เรา กลับหยุดภูมิปัญญานี้ไว้แค่ที่การค้นพบ ไม่ได้เอามาพัฒนาเพื่อปรับใช้ต่อ



นี่หละครับ ทั้ง 6 ข้อดังกล่าว ล้วนเป็นปัจจัย ที่ทำให้การออกเสียงภาษาไทยทำได้ยากมาก

ไม่ได้บอกว่าภาษาอื่น ไม่มีข้อบกพร่องพวกนี้นะครับ มีอยู่แล้ว
อย่างอังกฤษเอง ที่ pour อ่าว พัวร์ แต่ sour อ่าน ซาว-เออร์
และ our อ่าน อาว-เวอร์ (ว มาแบบงงๆ) ไม่พอ your ก็ไม่ได้อ่านว่า ยาว-เออร์
แต่คือ มันไม่มีภาษาไหนมีมากขนาดนี้ อะครับ
พอรวมๆกันแล้ว ปัญหาทับถมหนักๆแล้ว มันเลยทำให้เราเป็น 1 ในภาษาเอกที่คนพูดช้าที่สุด

อย่าโกรธกันนะครับ ขอพูดในฐานะคนนึงที่ศึกษาภาษามามากพอสมควร
ภาษาไทย คือภาษาที่โครงสร้างห่วยที่สุดเท่าที่เจอมาครับ เราสร้างขึ้นเหมือนสร้างไปเรื่อยๆ ไม่ได้วางระบบอะไรที่มันเป็นระบบจริงๆ เลย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่