รู้ประจักษ์ซึ้งในกิเลส

รู้ประจักษ์ซึ้งในกิเลส  กิเลส (Kilesa : defilments; impurities; impairments) แปลว่า เอามาสนองตัวตัณหา หมายความว่า สิ่งที่ใคว่คว้าหาสิ่งต่างๆ มาสนองตัณหา ตามที่ตัณหาต้องการ เครื่องมือที่ใคว่คว้านี่แหละเป็นกิเลส

  ความต้องการต่างๆ สุดแล้วแต่ว่าเราจะเอาอะไรไปบวกกับกิเลส ถ้าเราเอามิจฉาเป็นบวกกับกิเลส ก็เป็นกิเลสมิจฉา กิเลสที่ไม่ดี ถ้าเป็นกิเลสสัมมา คือ กิเลสดี เช่น เราตั้งใจจะทำความดี ตั้งใจไหว้พระให้ดี ก็คือกิเลส แต่เป็นกิเลสทางดี กิเลสก็คือความสนองความต้องการ

  ยกตัวอย่าง "กิเลส" เป็นการเอาอาหารมากิน แต่เราเอาอะไรไปบวกกับกิเลส เอาละโมบไปบวกกับกิเลสก็จะกลายเป็นว่า เอาเยอะๆ กินเยอะ แต่ถ้าเอาความคิดที่สัมมาไปบวกกับกิเลส มันก็เอาความพอดี ความพอดี คือ ความนโดษ สันโดษ (Santutthi; Santosa : contemtment; satisfaction with whatever is one's own) แปลว่า "พอดีแก่เหตุ" เหมือนกับในหลวงบอกว่า ให้พอเพียง ไม่ใช่ว่าไม่ให้ใช้ แต่ใช้ให้พอเพียงก็พอแล้ว ไม่ใช่ให้เอาจนเกินเลยมากไป
  พยาบาทก็เป็นกิเลส เราอยากทำบุญก็เป็นกิเลส เพียงแต่เราเอาอะไรไปบวก

  ถ้าเราเอาความพยาบาทไปบวกกับกิเลสตัวนี้ อันนี้กลายเป็นว่ากิเลสพยาบาท สมมติว่านั้นเป็นกิเลสจะไปทำกุศล ก็กลายเป็นกิเลสกุศล กิเลสก็เหมือนกับจิต อยู่ที่เราเอาอะไรไปปรุง

  เพราะว่า เราแปลตัวกิเลส แปลว่า เอามาสนองตัวตัณหา ไม่ได้แปลว่า "กิเลสทำให้จิตเศร้าหมอง"

  ถ้า กิเลส แปลว่า ทำให้จิตเศร้าหมอง เป็นด้านเดียว ตัวกิเลสทำให้จิตใจสดชื่นก็เยอะ ก็เราไปทำบุญแล้วจิตใจเราเกิดปิติไหม? ก็เกิดปิติแล้วจะเศร้าหมองตนไหน ถ้าหากว่าจะแปลว่า เศร้าหมอง นั่นคือบาป

  บาปนั้นเป็นส่วนย่อยส่วนหนึ่งของกระบวนการกิเลส

  บุญก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกิเลส

  เราต้องดูว่าเราเอาอะไรไปบวก เหตุอะไรมันจะเกิด บอกแล้วว่ากิเลสเป็นกลางๆ มันอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว 

^_^  ..._/\_...  ^_^ 
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่