๑๖ ญาณแห่งความจริงแท้ในธรรม
ญาณ (Nana : insight; real knowledge; wisdom) แปลว่า ญาณ ก็คือ ข้อมูล ความรู้ ทักษะความชำนาญ ความเชี่ยวชาญต่างๆ ที่ผ่านมา แล้วเราเรียนรู้สะสมขึ้นมาเรื่อยๆ ญาณนี้เป็นปัญญาเหนือปัญญาออกมาให้เห็นชัดเจน
ทุกคนสามารถพัฒนาขึ้นมาได้จากความรู้พัฒนาขึ้นมาเป็นญาณ
ปัญญาญาณ คือ เขาเรียกกันให้ครบชื่อ เพราะว่าญาณเป็นปัญญาญาณ บางคนเป็นวิทยาญาณ ศาสตร์ญาณ ก็มี เช่นคนนี้เขาทำขนมปังเก่ง เก่งจนเขามองเห็นรู้เลยว่าอะไรเป็นอะไร เพราะเขามีญาณ เช่น เขามองเห็นเขาไม่เป็นเป็นต้องไปจับขนมปังเลย เขาก็รู้แล้วว่าขนมปังนี้อร่อยหรือไม่อร่อย หรือทำผิดพลาดยังไง ขนมปังอ่อน นุ่มหรือแข็ง
ญาณที่ ๑ รู้ประจักษ์ซึ้งในอัตตา (Atta : self; soul; ego; personal entity) อัตตา แปลว่า ตัวตน หมายความว่า มีอยู่ของมัน ไม่มีอยู่คงที่ เป็นอนิจจัง เป็นไปตามปัจจัยเหตุ เคลื่อนที่ไปตามปัจจัยเหตุ มีอัตตา ไม่ใช่ตายตัว ไม่ใช่ว่าคนนี้มีอัตตาแล้วตายตัวแล้ว ไม่มีแล้ว ตายตัวเป็นตายตัวไม่ใช่
คำว่า "อัตตา" คือ สิ่งที่เป็นปัจจัยเหตุ ณ ภาวะธรรมนั้นขึ้นมา แล้วก็ไปตามกฎแห่งอนิจจัง แต่สลายไป แต่อัตตายังคงอยู่
แต่ไม่ใช่นายแดง นายดำ เราต้องตีความให้ถูก อัตตานี่มีตัวตน
แม้ว่าพลังก็เป็นอัตตาก็เช่นเดียวกัน
ญาณที่ ๒ รู้ประจักษ์ซึ้งในตัณหา (Tanha: craving; desire; thirst) ตัณหา คือ ตัวที่ต้องการ (นาม) รูปในนาม ตัณหามี ๓ อย่างคือ
กิเลสก็คือ กิเลสเป็นตัวหาสนองความอยาก ความต้องการ
ส่วนตัวตัณหา หมายความว่า เรามีความต้องการอยากกินกาแฟ กิเลสเป็นตัวหาเสาะหากาแฟมากิน
ตัวต้นตอของกิเลสก็คือตัณหา คือตัวอยาก ตัวทำให้คนเกิด ทำให้โลกหมุน ทำให้จักรวาลอยู่ได้
ตัณหานั้นมี ๓ อย่างคือ
๑. กามตัณหา (craving for sensual pleasures; sensual craving) คือ ความทะยานอยากในสิ่งที่มากระทบ จุงอารมณ์ให้อารมณ์เป็นไป คือ ความพึงพอใจ อยากให้มี อยากให้เป็น ความทะยานอยากในกาม หมายความว่า ความต้องการอยากดี อยากเป็นนั้นเป็นนี่ฯลฯ
๒. ภวตัณหา (craving for existence) คือ ความอยากเป็นนั่น เป็นนี่ ความอยากในภพ หมายถึง เราก็ยึดมั่นถือมั่นในภพในชาติต่างๆ
เวลานี้เราเป็นพระเอกแล้วเราอยากเป็นพระเอกต่อใช่ไหม? เวลานี้เราเป็นคนแล้วอยากเป็นคนต่อไหม? ไม่อยากเป็นอย่างอื่น เรามีเงินเราก็ไม่อยากสูญเสียเงินไป เวลานี้เป็นกษัตริย์ก็ไม่อยากหลุดจากความเป็นกษัตริย์ สรุป เรามีสิ่งใดเราก็ไม่อยากหลุดจากสิ่งนั้น เราอยากได้สิ่งใดก็ไม่อยากหลุดจากสิ่งนั้น ตรงนี้ดีแล้วก็ไม่อยากหลุดจากดีตรงนี้ ไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง พอเราอยู่ดีแล้วไม่อยากเปลี่ยนนี่แหละ เป็นตัณหาเหมือนกัน
๓. วิภวตัณหา (craving for non-existence; craving for self-annihilation) คือ ไม่อยากเป็นนั้นเป็นนี่ มีก็ได้ ไม่อยากมีก็ได้ ใจไม่ปรารถนา
ยกตัวอย่างตัณหาเช่นเกี่ยวกับจมูกของเรา
ตัวที่ ๑ จมูกแบน ไม่เอา อยากจะเอาแหลมๆ โด่งๆ
ตัวที่ ๒ จะเอาจมูกสวยๆ เอาอย่างนี้
ตัวที่ ๓ อยากยังไงก็ได้ จมูกโด่งก็ได้ ไม่โด่งก็ได้ ปล่อยไปเถอะ ก็เป็นกิเลสตัณหาเหมือนกัน หรือจะบอกว่า (อยาก) ไม่เป็นไร
๓ สายนี้ขึ้นพร้อมกัน ลงพร้อมกัน เพียงแต่ว่าข้อไหนเป็นประธาน แต่ละข้อมีหมดเลย
เราไปเสาะแสวงหาที่จะไปนิพพาน ใช้วิธีการต่างๆ ก็เป็นกิเลส
เราปรารถนาอยากนิพพาน ก็เป็นตัณหา เราไปเสาะแสวงหาวิธีการต่างที่จะไปนิพพาน นี่ก็เป็นกิเลส
แล้วกิเลสของเราที่มีมันสันโดษ มีความพอดีสมกับเหตุไหม? ถ้าไม่พอดีก็ทุกข์ แม้พระพุทธเจ้าก็เคยทุกข์มาแล้ว ตอนที่บำเพ็ญทุกรกิริยา อดอาหาร ไม่กินข้าว อยากได้นิพพาน ท่านก็ทุกข์มาแล้ว สุดท้ายต้องหันกลับมากินข้าว
เราอยากได้นิพพานแล้ว เรามีตัณหา นี่เป็นกิเลสตัณหาทั้งดีและไม่ดี พอเราจะเข้าไปถึงนิพพาน รูเข็มเล็กแค่ไหน มีกี่รู เรามีปมกี่ปมเราต้องวางข้างนอกหมด ถ้าไม่วางก็เข้าสู่นิพพานไม่ได้
ตัณหานี้วางไว้ข้างนอกแล้ว ไม่เป็นตัณหาโลกิยะ แต่เป็นตัณหาโลกุตตระ เข้าสู่ตัณหาปรมัตถ์แล้ว เป็นตัณหาขาว เป็นกิเลสขาว เป็นตัณหาดำรงแห่งความเป็นพุทธะ
แล้วพระโสดาบันกระแสแห่งพระนิพพานได้อย่างไร ก็ต้องชิมได้ แม้แต่สุนัขก็ยังชิมรสแห่งนิพพานได้แล้ว เช่น พระพุทธเจ้าก็เคยเป็นควายมาก่อน เป็นเต่าก็ยังเคย
ถ้าเราจะชิมรสนิพพานได้อย่างไร เช่นเมื่อเราโดนใครหยิก เราก็เจ็บ เราก็ทุกข์ แล้วเราหายเจ็บทุกข์ ก็ให้เราดำรงปิติแห่งสุขนี้ไว้ แล้วเราก็สอนใจตนเองว่า เราอย่าไปสร้างเหตุที่มันเจ็บทุกข์ เราก็ไม่เจ็บ นี่แหละนิพพาน เพราะเราไม่เอาเอง เพราะมัวแต่ไปคว้าหาที่อื่นเอง
ยกตัวอย่าง เมื่อใครมาหยิกเรา เราก็เจ็บ เขาปล่อยเราก็หายเจ็บ นี่แหละ เมื่อเหตุเปลี่ยน ผลก็ย่อมเปลี่ยน เราก็มีความสุข นี่แหละมันก็เป็นปกติสุขเช่นนี้เอง ก็เป็นตถตา นี่แหละมีตัณหาทั้ง ๓ ตัว แต่ตัณหานี้เกี่ยวเราไม่ได้
ญาณที่ ๓ รู้ประจักษ์ซึ้งในกิเลส กิเลส (Kilesa : defilments; impurities; impairments) แปลว่า เอามาสนองตัวตัณหา หมายความว่า สิ่งที่ใคว่คว้าหาสิ่งต่างๆ มาสนองตัณหา ตามที่ตัณหาต้องการ เครื่องมือที่ใคว่คว้านี่แหละเป็นกิเลส
ความต้องการต่างๆ สุดแล้วแต่ว่าเราจะเอาอะไรไปบวกกับกิเลส ถ้าเราเอามิจฉาเป็นบวกกับกิเลส ก็เป็นกิเลสมิจฉา กิเลสที่ไม่ดี ถ้าเป็นกิเลสสัมมา คือ กิเลสดี เช่น เราตั้งใจจะทำความดี ตั้งใจไหว้พระให้ดี ก็คือกิเลส แต่เป็นกิเลสทางดี กิเลสก็คือความสนองความต้องการ
ยกตัวอย่าง "กิเลส" เป็นการเอาอาหารมากิน แต่เราเอาอะไรไปบวกกับกิเลส เอาละโมบไปบวกกับกิเลสก็จะกลายเป็นว่า เอาเยอะๆ กินเยอะ แต่ถ้าเอาความคิดที่สัมมาไปบวกกับกิเลส มันก็เอาความพอดี ความพอดี คือ ความสันโดษ สันโดษ (Santutthi; Santosa : contemtment; satisfaction with whatever is one's own) แปลว่า "พอดีแก่เหตุ" เหมือนกับในหลวงบอกว่า ให้พอเพียง ไม่ใช่ว่าไม่ให้ใช้ แต่ใช้ให้พอเพียงก็พอแล้ว ไม่ใช่ให้เอาจนเกินเลยมากไป
พยาบาทก็เป็นกิเลส เราอยากทำบุญก็เป็นกิเลส เพียงแต่เราเอาอะไรไปบวก
ถ้าเราเอาความพยาบาทไปบวกกับกิเลสตัวนี้ อันนี้กลายเป็นว่ากิเลสพยาบาท สมมติว่านั้นเป็นกิเลสจะไปทำกุศล ก็กลายเป็นกิเลสกุศล กิเลสก็เหมือนกับจิต อยู่ที่เราเอาอะไรไปปรุง
เพราะว่า เราแปลตัวกิเลส แปลว่า เอามาสนองตัวตัณหา ไม่ได้แปลว่า "กิเลสทำให้จิตเศร้าหมอง"
ถ้า กิเลส แปลว่า ทำให้จิตเศร้าหมอง เป็นด้านเดียว ตัวกิเลสทำให้จิตใจสดชื่นก็เยอะ ก็เราไปทำบุญแล้วจิตใจเราเกิดปิติไหม? ก็เกิดปิติแล้วจะเศร้าหมองตนไหน ถ้าหากว่าจะแปลว่า เศร้าหมอง นั่นคือบาป
บาปนั้นเป็นส่วนย่อยส่วนหนึ่งของกระบวนการกิเลส
บุญก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกิเลส
เราต้องดูว่าเราเอาอะไรไปบวก เหตุอะไรมันจะเกิด บอกแล้วว่ากิเลสเป็นกลางๆ มันอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว
ญาณที่ ๔ รู้ใช้วิธีถูกหรือผิด มิจฉาหรือสัมมา เป็นกรรมแล้ว กรรมตรงนี้เป็นวิบากไหม? ใช้กิเลสเป็นไปในทางสัมมาหรือมิจฉา
ญาณที่ ๕ กระทำกรรม คือ ได้ลงมือกระทำ เป็นผลของกรรมแล้ว
ญาณที่ ๖ แก้วิบากกรรม คือ เราจะแก้วิบากนี้ยังไง หาปัญญามาแก้ไขวิบากกรรม
ญาณที่ ๗ เส้นทางการดำเนิน วิถีปฏิบัติ วิธีแก้ไขปัญหาอันเป็นสัมมาทิฏฐิพร้อมที่จะลงมือทำ ขั้นนี้จะเข้าสู่คำว่า อริยสัจ เพราะเรามีตัณหาความต้องการ เป็นคำถามว่าเพราะเราใช้วิธีการผิด ต่อไปเราจะใช้วิธีการที่ถูกจะทำยังไง เป็นแนวคิด ขั้นนิโรธ หาตัวที่เป็นสัมมาทิฏฐิ
ญาณที่ ๘ ปฏิบัติ ลงมือทำ เริ่มเกิดมรรคแล้ว
ญาณที่ ๙ พิสูจน์ว่าสิ่งที่เราทำถูกต้องไหม? เพราะว่าสิ่งที่เราทำออกมาแล้ว ผลออกมาใช่หรือเปล่า? ถ้าเกิดเราทำผิดแล้ว ผลปรากฏออกมาแล้วโมเมทำไปเรื่อย เวลานี้คนเป็นอย่างนี้กันเยอะ ผิดในข้อนี้ มักง่าย ผิดแล้วก็ยังทำอยู่เรื่อย
ยกตัวอย่าง การทำวิจัย ผิดแล้วก็แก้ไขใหม่ จนกว่าจะถูกต้อง เหมือนกับทอมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) เป็นนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า เขาลองผิดลองถูก จนถูกต้อง
ถ้าเราผิด ทำต่อไปก็จะยุ่ง ถ้าผิดแล้วแก้ไข ทำแล้วตรวจสอบๆ ก็จะดีขึ้นไปเรื่อยๆ
ญาณที่ ๑๐ สรุปว่าถูกหรือผิด
ญาณที่ ๑๑ วิเคราะห์ว่า ถูกเพราะอะไร ผิดเพราะอะไร
ญาณที่ ๑๒ เริ่มต้นทำอย่างจริงจัง ทุ่มเต็มที่ อย่างตั้งอกตั้งใจ เต็มใจ จริงจัง จริงใจ เด็ดขาด
๑๒ ข้อนี้ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระได้ ในการสำเร็จงานเป็นขั้นตอนอย่างนี้ อันนี้เป็นญาณนำไปถึงอะไร
เพิ่มเติมอีก ๔ ข้อ จะเข้าสู่หนทางแห่งความหลุดพ้น ซึ่งเป็นโลกุตตระ
ญาณที่ ๑๓ พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วเข้าสู่ภาวะอนัตตา ซึ่งเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นว่าจะไม่เปลี่ยนแปลง เราก็จะทุกข์มาก เราก็จะหลุดพ้นไม่ได้ พอเราเข้าใจแล้ว ก็จะเห็นความเป็นอนัตตา
เราทำให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็จะมาเห็นปรากฏว่าเป็นภาวะอนัตตา
ญาณที่ ๑๔ อนัตตา (Anatta : soullessness; not-self) อนัตตานี้ประกอบด้วยอะไร จะประกอบด้วยสุญญตา ทุกสิ่งทุกอย่างเราควบคุมไม่ได้ เป็นไปตามวิถีแห่งธรรม เขาเรียกว่า สุญญตา
ตอนท้ายจะเป็นสุญญตา ว่าตอนท้ายตัวอนัตตาจะมาจากไหนเนี่ย ก็เพราะว่า ทั้งหมดนี้เราไม่สามารถควบคุมได้ เราไม่สามารถไปบ่งการได้ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามธรรม ภาวะตามธรรมนี้เราควบคุมไม่ได้ เขาเรียกว่าสุญญตา
ทำไมถึงเรียกว่าเป็นอนัตตา เพราะว่าเราไม่สามารถควบคุมได้ มันจึงเป็นอนิจจัง ถ้าควบคุมได้มันก็ไม่ใช่อนิจจัง นี่แหละต้องมาหาเหตุ อันนั้นเป็นผลแล้ว แต่เรามาหาเหตุว่าทำไมถึงเกิด
ญาณที่ ๑๕ สุญญตา (Sunnata) พิจารณาว่าสุญญตามาจากไหน เราก็จะมาคิดว่า ทำไมเราจึงควบคุมไม่ได้ สิ่งต่างๆ เราต้องยอมรับความจริงว่า ทุกสิ่งเป็นไปตามภาวะแห่งธรรม เพราะธรรมเป็นผู้ดำเนินการต่างๆ เราไม่สามารถไปควบคุม บังคับธรรมได้
ญาณที่ ๑๖ ตถตา (Tathata) หมายความว่า ทำไมทุกสิ่งจึงเป็นอนัตตา แล้วเราไม่สามารถบังคับควบคุมธรรมนี้ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างมีพลังอะไร?เป็นพลังแห่งตถตา เป็นปกติในธรรมเช่นนี้เอง
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
๑๖ ญาณแห่งความจริงแท้ในธรรม
ญาณ (Nana : insight; real knowledge; wisdom) แปลว่า ญาณ ก็คือ ข้อมูล ความรู้ ทักษะความชำนาญ ความเชี่ยวชาญต่างๆ ที่ผ่านมา แล้วเราเรียนรู้สะสมขึ้นมาเรื่อยๆ ญาณนี้เป็นปัญญาเหนือปัญญาออกมาให้เห็นชัดเจน
ทุกคนสามารถพัฒนาขึ้นมาได้จากความรู้พัฒนาขึ้นมาเป็นญาณ
ปัญญาญาณ คือ เขาเรียกกันให้ครบชื่อ เพราะว่าญาณเป็นปัญญาญาณ บางคนเป็นวิทยาญาณ ศาสตร์ญาณ ก็มี เช่นคนนี้เขาทำขนมปังเก่ง เก่งจนเขามองเห็นรู้เลยว่าอะไรเป็นอะไร เพราะเขามีญาณ เช่น เขามองเห็นเขาไม่เป็นเป็นต้องไปจับขนมปังเลย เขาก็รู้แล้วว่าขนมปังนี้อร่อยหรือไม่อร่อย หรือทำผิดพลาดยังไง ขนมปังอ่อน นุ่มหรือแข็ง
ญาณที่ ๑ รู้ประจักษ์ซึ้งในอัตตา (Atta : self; soul; ego; personal entity) อัตตา แปลว่า ตัวตน หมายความว่า มีอยู่ของมัน ไม่มีอยู่คงที่ เป็นอนิจจัง เป็นไปตามปัจจัยเหตุ เคลื่อนที่ไปตามปัจจัยเหตุ มีอัตตา ไม่ใช่ตายตัว ไม่ใช่ว่าคนนี้มีอัตตาแล้วตายตัวแล้ว ไม่มีแล้ว ตายตัวเป็นตายตัวไม่ใช่
คำว่า "อัตตา" คือ สิ่งที่เป็นปัจจัยเหตุ ณ ภาวะธรรมนั้นขึ้นมา แล้วก็ไปตามกฎแห่งอนิจจัง แต่สลายไป แต่อัตตายังคงอยู่
แต่ไม่ใช่นายแดง นายดำ เราต้องตีความให้ถูก อัตตานี่มีตัวตน
แม้ว่าพลังก็เป็นอัตตาก็เช่นเดียวกัน
ญาณที่ ๒ รู้ประจักษ์ซึ้งในตัณหา (Tanha: craving; desire; thirst) ตัณหา คือ ตัวที่ต้องการ (นาม) รูปในนาม ตัณหามี ๓ อย่างคือ
กิเลสก็คือ กิเลสเป็นตัวหาสนองความอยาก ความต้องการ
ส่วนตัวตัณหา หมายความว่า เรามีความต้องการอยากกินกาแฟ กิเลสเป็นตัวหาเสาะหากาแฟมากิน
ตัวต้นตอของกิเลสก็คือตัณหา คือตัวอยาก ตัวทำให้คนเกิด ทำให้โลกหมุน ทำให้จักรวาลอยู่ได้
ตัณหานั้นมี ๓ อย่างคือ
๑. กามตัณหา (craving for sensual pleasures; sensual craving) คือ ความทะยานอยากในสิ่งที่มากระทบ จุงอารมณ์ให้อารมณ์เป็นไป คือ ความพึงพอใจ อยากให้มี อยากให้เป็น ความทะยานอยากในกาม หมายความว่า ความต้องการอยากดี อยากเป็นนั้นเป็นนี่ฯลฯ
๒. ภวตัณหา (craving for existence) คือ ความอยากเป็นนั่น เป็นนี่ ความอยากในภพ หมายถึง เราก็ยึดมั่นถือมั่นในภพในชาติต่างๆ
เวลานี้เราเป็นพระเอกแล้วเราอยากเป็นพระเอกต่อใช่ไหม? เวลานี้เราเป็นคนแล้วอยากเป็นคนต่อไหม? ไม่อยากเป็นอย่างอื่น เรามีเงินเราก็ไม่อยากสูญเสียเงินไป เวลานี้เป็นกษัตริย์ก็ไม่อยากหลุดจากความเป็นกษัตริย์ สรุป เรามีสิ่งใดเราก็ไม่อยากหลุดจากสิ่งนั้น เราอยากได้สิ่งใดก็ไม่อยากหลุดจากสิ่งนั้น ตรงนี้ดีแล้วก็ไม่อยากหลุดจากดีตรงนี้ ไม่อยากให้เปลี่ยนแปลง พอเราอยู่ดีแล้วไม่อยากเปลี่ยนนี่แหละ เป็นตัณหาเหมือนกัน
๓. วิภวตัณหา (craving for non-existence; craving for self-annihilation) คือ ไม่อยากเป็นนั้นเป็นนี่ มีก็ได้ ไม่อยากมีก็ได้ ใจไม่ปรารถนา
ยกตัวอย่างตัณหาเช่นเกี่ยวกับจมูกของเรา
ตัวที่ ๑ จมูกแบน ไม่เอา อยากจะเอาแหลมๆ โด่งๆ
ตัวที่ ๒ จะเอาจมูกสวยๆ เอาอย่างนี้
ตัวที่ ๓ อยากยังไงก็ได้ จมูกโด่งก็ได้ ไม่โด่งก็ได้ ปล่อยไปเถอะ ก็เป็นกิเลสตัณหาเหมือนกัน หรือจะบอกว่า (อยาก) ไม่เป็นไร
๓ สายนี้ขึ้นพร้อมกัน ลงพร้อมกัน เพียงแต่ว่าข้อไหนเป็นประธาน แต่ละข้อมีหมดเลย
เราไปเสาะแสวงหาที่จะไปนิพพาน ใช้วิธีการต่างๆ ก็เป็นกิเลส
เราปรารถนาอยากนิพพาน ก็เป็นตัณหา เราไปเสาะแสวงหาวิธีการต่างที่จะไปนิพพาน นี่ก็เป็นกิเลส
แล้วกิเลสของเราที่มีมันสันโดษ มีความพอดีสมกับเหตุไหม? ถ้าไม่พอดีก็ทุกข์ แม้พระพุทธเจ้าก็เคยทุกข์มาแล้ว ตอนที่บำเพ็ญทุกรกิริยา อดอาหาร ไม่กินข้าว อยากได้นิพพาน ท่านก็ทุกข์มาแล้ว สุดท้ายต้องหันกลับมากินข้าว
เราอยากได้นิพพานแล้ว เรามีตัณหา นี่เป็นกิเลสตัณหาทั้งดีและไม่ดี พอเราจะเข้าไปถึงนิพพาน รูเข็มเล็กแค่ไหน มีกี่รู เรามีปมกี่ปมเราต้องวางข้างนอกหมด ถ้าไม่วางก็เข้าสู่นิพพานไม่ได้
ตัณหานี้วางไว้ข้างนอกแล้ว ไม่เป็นตัณหาโลกิยะ แต่เป็นตัณหาโลกุตตระ เข้าสู่ตัณหาปรมัตถ์แล้ว เป็นตัณหาขาว เป็นกิเลสขาว เป็นตัณหาดำรงแห่งความเป็นพุทธะ
แล้วพระโสดาบันกระแสแห่งพระนิพพานได้อย่างไร ก็ต้องชิมได้ แม้แต่สุนัขก็ยังชิมรสแห่งนิพพานได้แล้ว เช่น พระพุทธเจ้าก็เคยเป็นควายมาก่อน เป็นเต่าก็ยังเคย
ถ้าเราจะชิมรสนิพพานได้อย่างไร เช่นเมื่อเราโดนใครหยิก เราก็เจ็บ เราก็ทุกข์ แล้วเราหายเจ็บทุกข์ ก็ให้เราดำรงปิติแห่งสุขนี้ไว้ แล้วเราก็สอนใจตนเองว่า เราอย่าไปสร้างเหตุที่มันเจ็บทุกข์ เราก็ไม่เจ็บ นี่แหละนิพพาน เพราะเราไม่เอาเอง เพราะมัวแต่ไปคว้าหาที่อื่นเอง
ยกตัวอย่าง เมื่อใครมาหยิกเรา เราก็เจ็บ เขาปล่อยเราก็หายเจ็บ นี่แหละ เมื่อเหตุเปลี่ยน ผลก็ย่อมเปลี่ยน เราก็มีความสุข นี่แหละมันก็เป็นปกติสุขเช่นนี้เอง ก็เป็นตถตา นี่แหละมีตัณหาทั้ง ๓ ตัว แต่ตัณหานี้เกี่ยวเราไม่ได้
ญาณที่ ๓ รู้ประจักษ์ซึ้งในกิเลส กิเลส (Kilesa : defilments; impurities; impairments) แปลว่า เอามาสนองตัวตัณหา หมายความว่า สิ่งที่ใคว่คว้าหาสิ่งต่างๆ มาสนองตัณหา ตามที่ตัณหาต้องการ เครื่องมือที่ใคว่คว้านี่แหละเป็นกิเลส
ความต้องการต่างๆ สุดแล้วแต่ว่าเราจะเอาอะไรไปบวกกับกิเลส ถ้าเราเอามิจฉาเป็นบวกกับกิเลส ก็เป็นกิเลสมิจฉา กิเลสที่ไม่ดี ถ้าเป็นกิเลสสัมมา คือ กิเลสดี เช่น เราตั้งใจจะทำความดี ตั้งใจไหว้พระให้ดี ก็คือกิเลส แต่เป็นกิเลสทางดี กิเลสก็คือความสนองความต้องการ
ยกตัวอย่าง "กิเลส" เป็นการเอาอาหารมากิน แต่เราเอาอะไรไปบวกกับกิเลส เอาละโมบไปบวกกับกิเลสก็จะกลายเป็นว่า เอาเยอะๆ กินเยอะ แต่ถ้าเอาความคิดที่สัมมาไปบวกกับกิเลส มันก็เอาความพอดี ความพอดี คือ ความสันโดษ สันโดษ (Santutthi; Santosa : contemtment; satisfaction with whatever is one's own) แปลว่า "พอดีแก่เหตุ" เหมือนกับในหลวงบอกว่า ให้พอเพียง ไม่ใช่ว่าไม่ให้ใช้ แต่ใช้ให้พอเพียงก็พอแล้ว ไม่ใช่ให้เอาจนเกินเลยมากไป
พยาบาทก็เป็นกิเลส เราอยากทำบุญก็เป็นกิเลส เพียงแต่เราเอาอะไรไปบวก
ถ้าเราเอาความพยาบาทไปบวกกับกิเลสตัวนี้ อันนี้กลายเป็นว่ากิเลสพยาบาท สมมติว่านั้นเป็นกิเลสจะไปทำกุศล ก็กลายเป็นกิเลสกุศล กิเลสก็เหมือนกับจิต อยู่ที่เราเอาอะไรไปปรุง
เพราะว่า เราแปลตัวกิเลส แปลว่า เอามาสนองตัวตัณหา ไม่ได้แปลว่า "กิเลสทำให้จิตเศร้าหมอง"
ถ้า กิเลส แปลว่า ทำให้จิตเศร้าหมอง เป็นด้านเดียว ตัวกิเลสทำให้จิตใจสดชื่นก็เยอะ ก็เราไปทำบุญแล้วจิตใจเราเกิดปิติไหม? ก็เกิดปิติแล้วจะเศร้าหมองตนไหน ถ้าหากว่าจะแปลว่า เศร้าหมอง นั่นคือบาป
บาปนั้นเป็นส่วนย่อยส่วนหนึ่งของกระบวนการกิเลส
บุญก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกิเลส
เราต้องดูว่าเราเอาอะไรไปบวก เหตุอะไรมันจะเกิด บอกแล้วว่ากิเลสเป็นกลางๆ มันอยู่ในธรรมชาติอยู่แล้ว
ญาณที่ ๔ รู้ใช้วิธีถูกหรือผิด มิจฉาหรือสัมมา เป็นกรรมแล้ว กรรมตรงนี้เป็นวิบากไหม? ใช้กิเลสเป็นไปในทางสัมมาหรือมิจฉา
ญาณที่ ๕ กระทำกรรม คือ ได้ลงมือกระทำ เป็นผลของกรรมแล้ว
ญาณที่ ๖ แก้วิบากกรรม คือ เราจะแก้วิบากนี้ยังไง หาปัญญามาแก้ไขวิบากกรรม
ญาณที่ ๗ เส้นทางการดำเนิน วิถีปฏิบัติ วิธีแก้ไขปัญหาอันเป็นสัมมาทิฏฐิพร้อมที่จะลงมือทำ ขั้นนี้จะเข้าสู่คำว่า อริยสัจ เพราะเรามีตัณหาความต้องการ เป็นคำถามว่าเพราะเราใช้วิธีการผิด ต่อไปเราจะใช้วิธีการที่ถูกจะทำยังไง เป็นแนวคิด ขั้นนิโรธ หาตัวที่เป็นสัมมาทิฏฐิ
ญาณที่ ๘ ปฏิบัติ ลงมือทำ เริ่มเกิดมรรคแล้ว
ญาณที่ ๙ พิสูจน์ว่าสิ่งที่เราทำถูกต้องไหม? เพราะว่าสิ่งที่เราทำออกมาแล้ว ผลออกมาใช่หรือเปล่า? ถ้าเกิดเราทำผิดแล้ว ผลปรากฏออกมาแล้วโมเมทำไปเรื่อย เวลานี้คนเป็นอย่างนี้กันเยอะ ผิดในข้อนี้ มักง่าย ผิดแล้วก็ยังทำอยู่เรื่อย
ยกตัวอย่าง การทำวิจัย ผิดแล้วก็แก้ไขใหม่ จนกว่าจะถูกต้อง เหมือนกับทอมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) เป็นนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า เขาลองผิดลองถูก จนถูกต้อง
ถ้าเราผิด ทำต่อไปก็จะยุ่ง ถ้าผิดแล้วแก้ไข ทำแล้วตรวจสอบๆ ก็จะดีขึ้นไปเรื่อยๆ
ญาณที่ ๑๐ สรุปว่าถูกหรือผิด
ญาณที่ ๑๑ วิเคราะห์ว่า ถูกเพราะอะไร ผิดเพราะอะไร
ญาณที่ ๑๒ เริ่มต้นทำอย่างจริงจัง ทุ่มเต็มที่ อย่างตั้งอกตั้งใจ เต็มใจ จริงจัง จริงใจ เด็ดขาด
๑๒ ข้อนี้ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระได้ ในการสำเร็จงานเป็นขั้นตอนอย่างนี้ อันนี้เป็นญาณนำไปถึงอะไร
เพิ่มเติมอีก ๔ ข้อ จะเข้าสู่หนทางแห่งความหลุดพ้น ซึ่งเป็นโลกุตตระ
ญาณที่ ๑๓ พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วเข้าสู่ภาวะอนัตตา ซึ่งเหล่านี้จะต้องเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นว่าจะไม่เปลี่ยนแปลง เราก็จะทุกข์มาก เราก็จะหลุดพ้นไม่ได้ พอเราเข้าใจแล้ว ก็จะเห็นความเป็นอนัตตา
เราทำให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็จะมาเห็นปรากฏว่าเป็นภาวะอนัตตา
ญาณที่ ๑๔ อนัตตา (Anatta : soullessness; not-self) อนัตตานี้ประกอบด้วยอะไร จะประกอบด้วยสุญญตา ทุกสิ่งทุกอย่างเราควบคุมไม่ได้ เป็นไปตามวิถีแห่งธรรม เขาเรียกว่า สุญญตา
ตอนท้ายจะเป็นสุญญตา ว่าตอนท้ายตัวอนัตตาจะมาจากไหนเนี่ย ก็เพราะว่า ทั้งหมดนี้เราไม่สามารถควบคุมได้ เราไม่สามารถไปบ่งการได้ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามธรรม ภาวะตามธรรมนี้เราควบคุมไม่ได้ เขาเรียกว่าสุญญตา
ทำไมถึงเรียกว่าเป็นอนัตตา เพราะว่าเราไม่สามารถควบคุมได้ มันจึงเป็นอนิจจัง ถ้าควบคุมได้มันก็ไม่ใช่อนิจจัง นี่แหละต้องมาหาเหตุ อันนั้นเป็นผลแล้ว แต่เรามาหาเหตุว่าทำไมถึงเกิด
ญาณที่ ๑๕ สุญญตา (Sunnata) พิจารณาว่าสุญญตามาจากไหน เราก็จะมาคิดว่า ทำไมเราจึงควบคุมไม่ได้ สิ่งต่างๆ เราต้องยอมรับความจริงว่า ทุกสิ่งเป็นไปตามภาวะแห่งธรรม เพราะธรรมเป็นผู้ดำเนินการต่างๆ เราไม่สามารถไปควบคุม บังคับธรรมได้
ญาณที่ ๑๖ ตถตา (Tathata) หมายความว่า ทำไมทุกสิ่งจึงเป็นอนัตตา แล้วเราไม่สามารถบังคับควบคุมธรรมนี้ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างมีพลังอะไร?เป็นพลังแห่งตถตา เป็นปกติในธรรมเช่นนี้เอง
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์