“ซูเปอร์คลัสเตอร์”
กาแล็กซีไม่ได้กระจายทั่วไปเท่าๆ กันในจักรวาล หากแต่อยู่รวมกันเป็น "กระจุกกาแล็กซี" (Galactic cluster) กระจุกกาแล็กซีที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ กระจุกเวอร์โก (Virgo Cluster) อยู่ห่างจากกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 50 ล้านปีแสง มีจำนวนกาแล็กซีมากกว่า 2,000 กาแล็กซี กาแล็กซีส่วนใหญ่เป็นกาแล็กซีขนาดใหญ่ โดยเพียงกาแล็กซีเดียวอาจมีขนาดใหญ่เท่ากับกลุ่มท้องถิ่น (Local Group) ของเราทั้งกลุ่ม
เช่นกระจุกเวอร์โกที่มีประชากรกาแล็กซีหลายประเภทอยู่อย่างหนาแน่น มีทั้งกาแลกซีรี กาแล็กซีกังหัน กาแล็กซีไม่มีรูปแบบ รวมทั้งแอ็คทีฟกาแล็กซี กระจุกกาแล็กซีอื่นๆ ที่อยู่ถัดออกไปได้แก่ กระจุกโคมา (Coma Cluster) มีประชากรกาแล็กซีประมาณ 10,000 กาแล็กซี อยู่ห่างออกไป 300 ล้านปีแสง และกระจุกเฮอร์คิวลิส (Hercules Cluster) ซึ่งอยู่ห่างออกไป 500 ล้านปีแสง
นักดาราศาสตร์พยายามรวบรวมข้อมูลตำแหน่งของกาแล็กซีทั้งหลายเพื่อทำแผนที่เอกภพ แต่สสารซึ่งมีอยู่อย่างหนาแน่นในกาแล็กซีของเราเป็นอุปสรรค ทำให้นักดาราศาสตร์ไม่สามารถถ่ายภาพเก็บข้อมูลรอบทิศทางในระนาบของทางช้างเผือกได้
ขอบคุณที่มา ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์
Cr.
http://www.lesa.biz/astronomy/galaxy/galactic-cluster
ซูเปอร์โนวา (Supernova)
คำว่า “โนวา” มาจากภาษาลาติน แปลว่าใหม่ หมายถึงการเกิดใหม่ของดาวดวงใหม่ส่องแสงสว่างในท้องฟ้า ส่วนคำว่า “ซูเปอร์” จำแนกมหานวดาราออกจาก โนวา ธรรมดา ต่างกันที่ความสว่างที่สว่างกว่า ขนาดและทางกลที่ต่างกันด้วย คำว่ามหานวดาราใช้ครั้งแรกในหนังสือ Merriam-Webster's Collegiate Dictionary ตีพิมพ์เมื่อปี 1926
ผลการศึกษาพบว่า มหานวดารา หรือ ซูเปอร์โนวา (supernova) เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ระเบิดที่มีพลังมากที่สุดที่รู้จัก นั่นคือเป็นการระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากเมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว จะเปล่งแสงสว่างมหาศาลและระเบิดออกรัศมีสว่างวาบเป็นรัศมีเพียงชั่วครู่ ก่อนจะเลือนจางลงในเวลาสัปดาห์หรือเดือนเท่านั้น
ระหว่างช่วงเวลาสั้นๆ ที่เกิดมหานวดารานี้ มันจะปลดปล่อยพลังงานมหาศาลขนาดเท่ากับพลังงานของดวงอาทิตย์ดวงหนึ่งสามารถปลดปล่อยได้ทั้งชีวิตทีเดียว การระเบิดจะขับไล่ดวงดาวและวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้ให้กระเด็นออกไปไกลด้วยความเร็ว 10% ของความเร็วแสง(3,000 กิโลเมตร/วินาที) และเกิดคลื่นกระแทกแผ่ออกไปโดยรอบตรงช่องว่างระหว่างดวงดาว การกระแทกนี้ได้กวาดเหล่าแก๊สและฝุ่นละอองออกไปอย่างรวดเร็ว เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการเกิดซากมหานวดารา และหลังจากเกิดซูเปอร์โนวาแล้ว เศษเล็กเศษน้อยที่แตกตัวออกมานี้ก็อาจจะหลอมรวมกันเป็นดาวดวงเล็ก ๆ ดวงใหม่ต่อไป
ความถี่ของการเกิดซูเปอร์โนวาในกาแล็กซีของเราหรือกาแล็กซีที่มีขนาดใกล้เคียงกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 50 ปีต่อการเกิดซูเปอร์โนวา 1 ครั้ง ส่วนกาแลกซีอื่น ๆ ยังไม่สามารถประเมินความถี่การเกิดซูเปอร์โนวาได้แม่ยำนัก
ครั้งแรกที่มีรายงานการบันทึกของการเกิดซูเปอร์โนวาคือ SN 185 ที่ถูกค้นพบในปีพ.ศ. 728 โดยนักดาราศาสตร์ชาวจีน ซึ่งหลังจากมีการพัฒนากล้องดูดาวก็มีการค้นพบซูเปอร์โนวาจากกาแล็กซีอื่น ๆ อีกมากมาย เริ่มจากปีพ.ศ. 2428 ที่มีการค้นพบ S Andromedae ในกาแล็กซีแอนโดรเมดา ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้ส่งผลให้เกิดความรู้สำคัญด้านดาราจักรวิทยามากมาย และในช่วงศตวรรษที่ 20 ก็เกิดแบบจำลองซูเปอร์โนวา ที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจวงจรชีวิตของดวงดาวยิ่งขึ้น
ที่มา kapok.com
Cr.
http://www.4dthai.com/ซูเปอร์โนวา/ The Author มิติที่4
Cr.
https://sites.google.com/site/khimtuckpim38/-supernova
ซูเปอร์สตาร์ดวงใหม่
(จากซ้ายไปขวา: ดาวแคระแดงดวงอาทิตย์, ดาวลำดับหลักชนิด B และ R136a1) (ภาพจาก ESO/M. Kornmesser)
นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวฤกษ์ที่ใหญ่ที่สุดและหนักที่สุดเท่าที่เคยรู้จัก ซึ่งหนักกว่าดวงอาทิตย์ถึง 300 เท่า และสว่างกว่าดวงอาทิตย์ถึง 10 ล้านเท่า
ในบรรดาดาวฤกษ์นับล้านที่อยู่บนท้องฟ้า มีมวลมากน้อยต่างกัน บางดวงอาจมีมวลเพียงเสี้ยวของดวงอาทิตย์ แต่บางดวงอาจมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์หลายเท่า
นักดาราศาสตร์ระบุขีดจำกัดล่างของมวลดาวฤกษ์ได้ค่อนข้างชัดเจนว่าอยู่ที่ประมาณ 0.1 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ แต่ขีดจำกัดสูงสุดของมวลดาวฤกษ์ยังเป็นตัวเลขที่คลุมเครือ เหตุหนึ่งเพราะดาวฤกษ์มวลสูงมาก ๆ มีจำนวนน้อย เดิมทีนักดาราศาสตร์คะเนคร่าว ๆ ว่าดาวฤกษ์มีมวลสูงสุดได้ราว 150 เท่าของดวงอาทิตย์
คณะนักดาราศาสตร์ที่นำโดย พอล ครอวเทอร์ จากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ในอังกฤษ ได้ค้นพบดาวดวงนี้ในขณะที่กำลังศึกษากระจุกดาวฤกษ์กระจุกหนึ่ง ดาวดวงนี้มีชื่อว่า อาร์เอ็มซี 136 เอ (RMC 136a) หรือ อาร์ 136 เอ (R 136a) อยู่ในเนบิวลาบึ้ง (Tarantula Nebula) ดาราจักรเมฆมาเจลันใหญ่ และวัดมวลของดาวดวงนี้ได้ว่ามีมวลถึง 265 เท่าของดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ปกติจะมีมวลลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้นเมื่อนักดาราศาสตร์คำนวณย้อนหลังเพื่อหามวลแรกเกิดของมัน ก็พบว่ามีมวลมากถึง 320 เท่าของดวงอาทิตย์
อาร์เอ็มซี 136 เอ 1 ไม่เพียงแต่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์เท่านั้น แต่ยังมีอุณหภูมิพื้นผิวสูงถึงกว่า 40,000 องศาเซลเซียส เปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิพื้นผิว 6,000 องศาเซลเซียส และยังมีความสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์หลายล้านเท่าอีกด้วย หากเอาดาวดวงนี้มาวางที่ตำแหน่งแทนดวงอาทิตย์ แน่นอนว่าไม่เพียงแต่คนบนโลกจะอยู่ไม่ได้ แต่โลกทั้งใบจะต้องถูกเผาเกรียมไปด้วย
นักดาราศาสตร์ผู้ค้นพบไม่แน่ใจนักว่า ดาวดวงนี้มีต้นกำเนิดและมีขนาดใหญ่โตอย่างนี้ได้อย่างไร มันอาจจะเป็นดาวยักษ์มาตั้งแต่แรก หรืออาจเกิดจากดาวมากกว่าหนึ่งดวงมาหลอมรวมกันจนเป็นดาวยักษ์ก็เป็นได้
หากนึกถึงวาระสุดท้ายของดาวดวงนี้แล้ว นักดาราศาสตร์ก็ยังนึกภาพไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไร โดยปกติ ดาวฤกษ์ที่มีมวล 8 ถึง 150 เท่าของดวงอาทิตย์ใช้พลังงานไปจนหมด จะระเบิดออกเป็นซูเปอร์โนวา แล้วกลายเป็นหลุมดำหรือดาวนิวตรอน แต่สำหรับดาวที่มีมวลสูงกว่านั้นมากอย่างอาร์ 136 เอ จะมีจุดจบอย่างไร ก็ยากจะจินตนาการ
ทฤษฎีที่ยอมรับโดยทั่วไปในปัจจุบันกล่าวว่า เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่า 150 เท่าของดวงอาทิตย์ใช้พลังงานไปจนหมด จะระเบิดออกอย่างรุนแรงยิ่งกว่าจนไม่เหลือซาก ไม่เหลือแม้แต่หลุมดำหรือดาวนิวตรอน
ที่มา: Freak star breaks limit for size - cosmosmagazine.com
ขอบคุณภาพจาก
https://www.sciways.co/top-list-of-largest-stars-01/
Cr.
http://thaiastro.nectec.or.th/news/47/ รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
"ซูเปอร์มัม คอสมิค"
เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2555 ว่า กล้องโทรทัศน์"จันทรา"ของนาซา สามารถจับภาพพิเศษ เป็นภาพกาแล๊คซี่ที่ให้กำเนิดดวงดาวจำนวนมาก หรือราว 740 ดวงในรอบปี ซึ่งมากกว่าทางช้างเผือกให้กำเนิดดาวฤกษ์ต่าง ๆ ในรอบ 1 ปี
โดยนักดาราศาสตร์ได้เรียกว่า"ซูเปอร์มัม คอสมิค"โดยกาแล็คซี่นี้ มีศูนย์กลางที่มีกระจุกแกแล็คซี่ที่มีแสงสว่างจ้าที่นักดาราศาสตร์สามารถมองเห็น อยู่ห่างจากโลกราว 5.7 พันล้านปีแสง ขณะที่ทางช้างเผือกสามารถสร้างดวงดาวได้ราว 1 ดวงต่อ 1 ปี
ด้านนักดาราศาสตร์กล่าวว่า กาแล๊คซี่นี้มีลักษณะแปลก โดยมีอายุกว่า 6 พันล้านปี ซึ่งปกติแล้วกาแล๊คซี่ที่มีลักษณะและอายุมากเช่นนี้ จะไม่สามารถผลิตดวงดาวได้มากขนาดนี้ และถือเป็นแหล่งสร้างดวงดาวใหญ่ที่สุดที่นักดาราศาตร์สามารถเห็นได้ในกาแล๊คซี่ และเหนือกว่ากาแล๊คซี่ที่เกิดการชนกันที่สามารถสร้างดวงดาวได้เป็นจำนวนมากด้วย
ขอบคุณที่มา Matichon Online
Cr.
https://www.kroobannok.com/52402 โดย ครูบ้านนอก.คอม
"ซูเปอร์เอิร์ธ"
(Artist’s impression of the super-Earth exoplanet LHS 1140b)
ดาวฤกษ์เเคระสีเเดงดวงใหม่ที่นักดาราศาสตร์ค้นพบนี้มีชื่อเรียกว่า LHS1140b สร้างความตื่นเต้นเเก่วงการดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก
เมื่อพบว่าดวงสีเเดงดวงเล็กดวงนี้มีดาวเคราะห์ที่เหมือนโลกโคจรอยู่รอบๆ
Jason Dittmann ผู้เชี่ยวชาญเเห่งศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ Harvard-Smithsonian เป็นผู้ร่างรายงานเกี่ยวกับการค้นพบดังกล่าวซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature เรียกดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์เเคระสีเเดงว่า "Super Earth" เพราะว่าขนาดของดาวเคราะห์ดังกล่าวอยู่ระหว่างขนาดของโลกเรากับขนาดของดาวเคราะห์เนปจูน
LHS1140b โคจรรอบดาวฤกษ์ซึ่งตั้งอยู่ในโซนที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้เพราะเป็นพื้นที่ในอวกาศที่มีน้ำในรูปของเหลวอยู่บนผิวหน้า และอยู่ใกล้กับดาวฤกษ์มากกว่าที่โลกเราอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ถึง 10 เท่าตัว แต่มีขนาดเล็กกว่าและเย็นกว่าดวงอาทิตย์อย่างมาก Dittmann กล่าวว่า "ที่พิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือดาวเคราะห์ดวงนี้มีอายุราว 5 พันล้านปี ซึ่งยาวนานพอที่สิ่งมีชีวิตสามารถเกิดขึ้นเเละพัฒนาได้ หากมีความเป็นไปได้"
อย่างไรก็ตาม Nicola Astudillo-Defru หนึ่งในสมาชิกทีมนักดาราศาสตร์กล่าวว่า "ดวงดาวเเคระสีเเดง LHS 1140 หมุนรอบตัวเองช้ากว่า และปล่อยรังสีที่มีพลังงานสูงออกมาน้อยกว่าดวงดาวที่มีมวลต่ำเหมือนกัน ซึ่งถือเป็นข่าวดี เพราะดาวเคราะห์เหมือนโลกดวงใหม่นี้มีอายุมากเเละมีขนาดใหญ่ ทำให้มีโอกาสสูงที่จะมีชั้นบรรยากาศเหลืออยู่"
(รายงานโดย Kevin Enochs / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)
Cr.
https://www.voathai.com/a/new-earthlike-exoplanet-tk/3835617.html
ภาพวาดจากการคาดเดาขณะดาวเคราะห์บาร์นาร์ดส์สตาร์บี (หน้า) โคจรรอบดาวฤกษ์บาร์นาร์ดส์สตาร์ ซึ่งเป็นดาวแคระแดง (หลัง) HANDOUT / EUROPEAN SOUTHERN OBSERVATORY / AFP
นักวิทยาศาสตร์พบ “ซูเปอร์เอิร์ธ” ดาวเคราะห์คล้ายโลกอีกดวง โคจรรอบดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดแค่ 6 ปีแสง ดาวเคราะห์ดังกล่าวซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าโลกอย่างน้อย 3.2 เท่านั้น มีชื่อว่า “บาร์นาร์ดส์สตาร์บี” (Barnard's Star b) ซึ่งนับเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดเป็นอันดับ 2 และโคจรรอบดาวฤกษ์ของตัวเองรอบละ 233 วัน สำหรับดาวบาร์นาร์ดส์สตาร์นั้นเป็นดาวแคระแดง ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่เล็กและหนาวเย็น
Cr.
https://mgronline.com/science/detail/9610000114307 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ด้วยการใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ "เคปเลอร์” ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือนาซา ทำให้เจ้าหน้าที่ฝึกงาน 2 คนของนาซา และทีมนักดาราศาสตร์สมัครเล่น ค้นพบ ซูเปอร์เอิร์ธ ดาวเคราะห์คล้ายโลก แต่มีมวลมากกว่าโลก ดวงใหม่
ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโลกมนุษย์ประมาณ 2 เท่า รู้จักกันในชื่อ ดาว K2-288Bb อยู่ห่างจากโลกไกลออกไปประมาณ 226 ปีแสง ในกลุ่มดาว “ทอรัส” พื้นผิวอาจเต็มไปด้วยก้อนหิน หรือแก๊ซ คล้ายดาวเนปจูน และที่สำคัญมันอยู่ในเขตดวงดาวที่สามารถอยู่อาศัยได้ ทำให้เพิ่มความหวังของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ที่กำลังค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก
ซูเปอร์เอิร์ธนี้ อยู่ในระบบดวงดาวที่รู้จักกันในชื่อ เค2-288 ซึ่งรวมถึงดาวคู่แสงสลัวอากาศเย็น 2 ดวง อยู่ห่างจากกันประมาณ 8,200 ล้านกิโลเมตร หรือประมาณ 6 เท่าของระยะทางระหว่างดาวเสาร์กับดวงอาทิตย์ ดาวดวงที่มีแสงสว่างกว่า มีขนาดใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์ ส่วนอีกดวงมีขนาดและมวลน้อยกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 1 ใน 3 โดยโคจรรอบดาวดวงเล็กและแสงสว่างน้อยกว่า ทุก ๆ 31.3 วัน
Cr.
https://www.newtv.co.th/news/27315
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา
ซูเปอร์สตาร์ในแกแลกซี่
กาแล็กซีไม่ได้กระจายทั่วไปเท่าๆ กันในจักรวาล หากแต่อยู่รวมกันเป็น "กระจุกกาแล็กซี" (Galactic cluster) กระจุกกาแล็กซีที่อยู่ใกล้ที่สุดคือ กระจุกเวอร์โก (Virgo Cluster) อยู่ห่างจากกาแล็กซีทางช้างเผือกประมาณ 50 ล้านปีแสง มีจำนวนกาแล็กซีมากกว่า 2,000 กาแล็กซี กาแล็กซีส่วนใหญ่เป็นกาแล็กซีขนาดใหญ่ โดยเพียงกาแล็กซีเดียวอาจมีขนาดใหญ่เท่ากับกลุ่มท้องถิ่น (Local Group) ของเราทั้งกลุ่ม
เช่นกระจุกเวอร์โกที่มีประชากรกาแล็กซีหลายประเภทอยู่อย่างหนาแน่น มีทั้งกาแลกซีรี กาแล็กซีกังหัน กาแล็กซีไม่มีรูปแบบ รวมทั้งแอ็คทีฟกาแล็กซี กระจุกกาแล็กซีอื่นๆ ที่อยู่ถัดออกไปได้แก่ กระจุกโคมา (Coma Cluster) มีประชากรกาแล็กซีประมาณ 10,000 กาแล็กซี อยู่ห่างออกไป 300 ล้านปีแสง และกระจุกเฮอร์คิวลิส (Hercules Cluster) ซึ่งอยู่ห่างออกไป 500 ล้านปีแสง
นักดาราศาสตร์พยายามรวบรวมข้อมูลตำแหน่งของกาแล็กซีทั้งหลายเพื่อทำแผนที่เอกภพ แต่สสารซึ่งมีอยู่อย่างหนาแน่นในกาแล็กซีของเราเป็นอุปสรรค ทำให้นักดาราศาสตร์ไม่สามารถถ่ายภาพเก็บข้อมูลรอบทิศทางในระนาบของทางช้างเผือกได้
ขอบคุณที่มา ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์
Cr.http://www.lesa.biz/astronomy/galaxy/galactic-cluster
ซูเปอร์โนวา (Supernova)
คำว่า “โนวา” มาจากภาษาลาติน แปลว่าใหม่ หมายถึงการเกิดใหม่ของดาวดวงใหม่ส่องแสงสว่างในท้องฟ้า ส่วนคำว่า “ซูเปอร์” จำแนกมหานวดาราออกจาก โนวา ธรรมดา ต่างกันที่ความสว่างที่สว่างกว่า ขนาดและทางกลที่ต่างกันด้วย คำว่ามหานวดาราใช้ครั้งแรกในหนังสือ Merriam-Webster's Collegiate Dictionary ตีพิมพ์เมื่อปี 1926
ผลการศึกษาพบว่า มหานวดารา หรือ ซูเปอร์โนวา (supernova) เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ระเบิดที่มีพลังมากที่สุดที่รู้จัก นั่นคือเป็นการระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากเมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว จะเปล่งแสงสว่างมหาศาลและระเบิดออกรัศมีสว่างวาบเป็นรัศมีเพียงชั่วครู่ ก่อนจะเลือนจางลงในเวลาสัปดาห์หรือเดือนเท่านั้น
ระหว่างช่วงเวลาสั้นๆ ที่เกิดมหานวดารานี้ มันจะปลดปล่อยพลังงานมหาศาลขนาดเท่ากับพลังงานของดวงอาทิตย์ดวงหนึ่งสามารถปลดปล่อยได้ทั้งชีวิตทีเดียว การระเบิดจะขับไล่ดวงดาวและวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้ให้กระเด็นออกไปไกลด้วยความเร็ว 10% ของความเร็วแสง(3,000 กิโลเมตร/วินาที) และเกิดคลื่นกระแทกแผ่ออกไปโดยรอบตรงช่องว่างระหว่างดวงดาว การกระแทกนี้ได้กวาดเหล่าแก๊สและฝุ่นละอองออกไปอย่างรวดเร็ว เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าการเกิดซากมหานวดารา และหลังจากเกิดซูเปอร์โนวาแล้ว เศษเล็กเศษน้อยที่แตกตัวออกมานี้ก็อาจจะหลอมรวมกันเป็นดาวดวงเล็ก ๆ ดวงใหม่ต่อไป
ความถี่ของการเกิดซูเปอร์โนวาในกาแล็กซีของเราหรือกาแล็กซีที่มีขนาดใกล้เคียงกัน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 50 ปีต่อการเกิดซูเปอร์โนวา 1 ครั้ง ส่วนกาแลกซีอื่น ๆ ยังไม่สามารถประเมินความถี่การเกิดซูเปอร์โนวาได้แม่ยำนัก
ครั้งแรกที่มีรายงานการบันทึกของการเกิดซูเปอร์โนวาคือ SN 185 ที่ถูกค้นพบในปีพ.ศ. 728 โดยนักดาราศาสตร์ชาวจีน ซึ่งหลังจากมีการพัฒนากล้องดูดาวก็มีการค้นพบซูเปอร์โนวาจากกาแล็กซีอื่น ๆ อีกมากมาย เริ่มจากปีพ.ศ. 2428 ที่มีการค้นพบ S Andromedae ในกาแล็กซีแอนโดรเมดา ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้ส่งผลให้เกิดความรู้สำคัญด้านดาราจักรวิทยามากมาย และในช่วงศตวรรษที่ 20 ก็เกิดแบบจำลองซูเปอร์โนวา ที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจวงจรชีวิตของดวงดาวยิ่งขึ้น
ที่มา kapok.com
Cr.http://www.4dthai.com/ซูเปอร์โนวา/ The Author มิติที่4
Cr.https://sites.google.com/site/khimtuckpim38/-supernova
ซูเปอร์สตาร์ดวงใหม่
(จากซ้ายไปขวา: ดาวแคระแดงดวงอาทิตย์, ดาวลำดับหลักชนิด B และ R136a1) (ภาพจาก ESO/M. Kornmesser)
นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวฤกษ์ที่ใหญ่ที่สุดและหนักที่สุดเท่าที่เคยรู้จัก ซึ่งหนักกว่าดวงอาทิตย์ถึง 300 เท่า และสว่างกว่าดวงอาทิตย์ถึง 10 ล้านเท่า
ในบรรดาดาวฤกษ์นับล้านที่อยู่บนท้องฟ้า มีมวลมากน้อยต่างกัน บางดวงอาจมีมวลเพียงเสี้ยวของดวงอาทิตย์ แต่บางดวงอาจมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์หลายเท่า
นักดาราศาสตร์ระบุขีดจำกัดล่างของมวลดาวฤกษ์ได้ค่อนข้างชัดเจนว่าอยู่ที่ประมาณ 0.1 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ แต่ขีดจำกัดสูงสุดของมวลดาวฤกษ์ยังเป็นตัวเลขที่คลุมเครือ เหตุหนึ่งเพราะดาวฤกษ์มวลสูงมาก ๆ มีจำนวนน้อย เดิมทีนักดาราศาสตร์คะเนคร่าว ๆ ว่าดาวฤกษ์มีมวลสูงสุดได้ราว 150 เท่าของดวงอาทิตย์
คณะนักดาราศาสตร์ที่นำโดย พอล ครอวเทอร์ จากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ในอังกฤษ ได้ค้นพบดาวดวงนี้ในขณะที่กำลังศึกษากระจุกดาวฤกษ์กระจุกหนึ่ง ดาวดวงนี้มีชื่อว่า อาร์เอ็มซี 136 เอ (RMC 136a) หรือ อาร์ 136 เอ (R 136a) อยู่ในเนบิวลาบึ้ง (Tarantula Nebula) ดาราจักรเมฆมาเจลันใหญ่ และวัดมวลของดาวดวงนี้ได้ว่ามีมวลถึง 265 เท่าของดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ปกติจะมีมวลลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้นเมื่อนักดาราศาสตร์คำนวณย้อนหลังเพื่อหามวลแรกเกิดของมัน ก็พบว่ามีมวลมากถึง 320 เท่าของดวงอาทิตย์
อาร์เอ็มซี 136 เอ 1 ไม่เพียงแต่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์เท่านั้น แต่ยังมีอุณหภูมิพื้นผิวสูงถึงกว่า 40,000 องศาเซลเซียส เปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิพื้นผิว 6,000 องศาเซลเซียส และยังมีความสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์หลายล้านเท่าอีกด้วย หากเอาดาวดวงนี้มาวางที่ตำแหน่งแทนดวงอาทิตย์ แน่นอนว่าไม่เพียงแต่คนบนโลกจะอยู่ไม่ได้ แต่โลกทั้งใบจะต้องถูกเผาเกรียมไปด้วย
นักดาราศาสตร์ผู้ค้นพบไม่แน่ใจนักว่า ดาวดวงนี้มีต้นกำเนิดและมีขนาดใหญ่โตอย่างนี้ได้อย่างไร มันอาจจะเป็นดาวยักษ์มาตั้งแต่แรก หรืออาจเกิดจากดาวมากกว่าหนึ่งดวงมาหลอมรวมกันจนเป็นดาวยักษ์ก็เป็นได้
หากนึกถึงวาระสุดท้ายของดาวดวงนี้แล้ว นักดาราศาสตร์ก็ยังนึกภาพไม่ออกว่าจะเป็นอย่างไร โดยปกติ ดาวฤกษ์ที่มีมวล 8 ถึง 150 เท่าของดวงอาทิตย์ใช้พลังงานไปจนหมด จะระเบิดออกเป็นซูเปอร์โนวา แล้วกลายเป็นหลุมดำหรือดาวนิวตรอน แต่สำหรับดาวที่มีมวลสูงกว่านั้นมากอย่างอาร์ 136 เอ จะมีจุดจบอย่างไร ก็ยากจะจินตนาการ
ทฤษฎีที่ยอมรับโดยทั่วไปในปัจจุบันกล่าวว่า เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมากกว่า 150 เท่าของดวงอาทิตย์ใช้พลังงานไปจนหมด จะระเบิดออกอย่างรุนแรงยิ่งกว่าจนไม่เหลือซาก ไม่เหลือแม้แต่หลุมดำหรือดาวนิวตรอน
ที่มา: Freak star breaks limit for size - cosmosmagazine.com
ขอบคุณภาพจาก https://www.sciways.co/top-list-of-largest-stars-01/
Cr.http://thaiastro.nectec.or.th/news/47/ รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
"ซูเปอร์มัม คอสมิค"
เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2555 ว่า กล้องโทรทัศน์"จันทรา"ของนาซา สามารถจับภาพพิเศษ เป็นภาพกาแล๊คซี่ที่ให้กำเนิดดวงดาวจำนวนมาก หรือราว 740 ดวงในรอบปี ซึ่งมากกว่าทางช้างเผือกให้กำเนิดดาวฤกษ์ต่าง ๆ ในรอบ 1 ปี
โดยนักดาราศาสตร์ได้เรียกว่า"ซูเปอร์มัม คอสมิค"โดยกาแล็คซี่นี้ มีศูนย์กลางที่มีกระจุกแกแล็คซี่ที่มีแสงสว่างจ้าที่นักดาราศาสตร์สามารถมองเห็น อยู่ห่างจากโลกราว 5.7 พันล้านปีแสง ขณะที่ทางช้างเผือกสามารถสร้างดวงดาวได้ราว 1 ดวงต่อ 1 ปี
ด้านนักดาราศาสตร์กล่าวว่า กาแล๊คซี่นี้มีลักษณะแปลก โดยมีอายุกว่า 6 พันล้านปี ซึ่งปกติแล้วกาแล๊คซี่ที่มีลักษณะและอายุมากเช่นนี้ จะไม่สามารถผลิตดวงดาวได้มากขนาดนี้ และถือเป็นแหล่งสร้างดวงดาวใหญ่ที่สุดที่นักดาราศาตร์สามารถเห็นได้ในกาแล๊คซี่ และเหนือกว่ากาแล๊คซี่ที่เกิดการชนกันที่สามารถสร้างดวงดาวได้เป็นจำนวนมากด้วย
ขอบคุณที่มา Matichon Online
Cr.https://www.kroobannok.com/52402 โดย ครูบ้านนอก.คอม
"ซูเปอร์เอิร์ธ"
(Artist’s impression of the super-Earth exoplanet LHS 1140b)
ดาวฤกษ์เเคระสีเเดงดวงใหม่ที่นักดาราศาสตร์ค้นพบนี้มีชื่อเรียกว่า LHS1140b สร้างความตื่นเต้นเเก่วงการดาราศาสตร์เป็นอย่างมาก
เมื่อพบว่าดวงสีเเดงดวงเล็กดวงนี้มีดาวเคราะห์ที่เหมือนโลกโคจรอยู่รอบๆ
Jason Dittmann ผู้เชี่ยวชาญเเห่งศูนย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ Harvard-Smithsonian เป็นผู้ร่างรายงานเกี่ยวกับการค้นพบดังกล่าวซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature เรียกดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์เเคระสีเเดงว่า "Super Earth" เพราะว่าขนาดของดาวเคราะห์ดังกล่าวอยู่ระหว่างขนาดของโลกเรากับขนาดของดาวเคราะห์เนปจูน
LHS1140b โคจรรอบดาวฤกษ์ซึ่งตั้งอยู่ในโซนที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้เพราะเป็นพื้นที่ในอวกาศที่มีน้ำในรูปของเหลวอยู่บนผิวหน้า และอยู่ใกล้กับดาวฤกษ์มากกว่าที่โลกเราอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ถึง 10 เท่าตัว แต่มีขนาดเล็กกว่าและเย็นกว่าดวงอาทิตย์อย่างมาก Dittmann กล่าวว่า "ที่พิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือดาวเคราะห์ดวงนี้มีอายุราว 5 พันล้านปี ซึ่งยาวนานพอที่สิ่งมีชีวิตสามารถเกิดขึ้นเเละพัฒนาได้ หากมีความเป็นไปได้"
อย่างไรก็ตาม Nicola Astudillo-Defru หนึ่งในสมาชิกทีมนักดาราศาสตร์กล่าวว่า "ดวงดาวเเคระสีเเดง LHS 1140 หมุนรอบตัวเองช้ากว่า และปล่อยรังสีที่มีพลังงานสูงออกมาน้อยกว่าดวงดาวที่มีมวลต่ำเหมือนกัน ซึ่งถือเป็นข่าวดี เพราะดาวเคราะห์เหมือนโลกดวงใหม่นี้มีอายุมากเเละมีขนาดใหญ่ ทำให้มีโอกาสสูงที่จะมีชั้นบรรยากาศเหลืออยู่"
(รายงานโดย Kevin Enochs / เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว)
Cr.https://www.voathai.com/a/new-earthlike-exoplanet-tk/3835617.html
ภาพวาดจากการคาดเดาขณะดาวเคราะห์บาร์นาร์ดส์สตาร์บี (หน้า) โคจรรอบดาวฤกษ์บาร์นาร์ดส์สตาร์ ซึ่งเป็นดาวแคระแดง (หลัง) HANDOUT / EUROPEAN SOUTHERN OBSERVATORY / AFP
นักวิทยาศาสตร์พบ “ซูเปอร์เอิร์ธ” ดาวเคราะห์คล้ายโลกอีกดวง โคจรรอบดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดแค่ 6 ปีแสง ดาวเคราะห์ดังกล่าวซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าโลกอย่างน้อย 3.2 เท่านั้น มีชื่อว่า “บาร์นาร์ดส์สตาร์บี” (Barnard's Star b) ซึ่งนับเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดเป็นอันดับ 2 และโคจรรอบดาวฤกษ์ของตัวเองรอบละ 233 วัน สำหรับดาวบาร์นาร์ดส์สตาร์นั้นเป็นดาวแคระแดง ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่เล็กและหนาวเย็น
Cr.https://mgronline.com/science/detail/9610000114307 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ด้วยการใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศ "เคปเลอร์” ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือนาซา ทำให้เจ้าหน้าที่ฝึกงาน 2 คนของนาซา และทีมนักดาราศาสตร์สมัครเล่น ค้นพบ ซูเปอร์เอิร์ธ ดาวเคราะห์คล้ายโลก แต่มีมวลมากกว่าโลก ดวงใหม่
ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโลกมนุษย์ประมาณ 2 เท่า รู้จักกันในชื่อ ดาว K2-288Bb อยู่ห่างจากโลกไกลออกไปประมาณ 226 ปีแสง ในกลุ่มดาว “ทอรัส” พื้นผิวอาจเต็มไปด้วยก้อนหิน หรือแก๊ซ คล้ายดาวเนปจูน และที่สำคัญมันอยู่ในเขตดวงดาวที่สามารถอยู่อาศัยได้ ทำให้เพิ่มความหวังของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ ที่กำลังค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก
ซูเปอร์เอิร์ธนี้ อยู่ในระบบดวงดาวที่รู้จักกันในชื่อ เค2-288 ซึ่งรวมถึงดาวคู่แสงสลัวอากาศเย็น 2 ดวง อยู่ห่างจากกันประมาณ 8,200 ล้านกิโลเมตร หรือประมาณ 6 เท่าของระยะทางระหว่างดาวเสาร์กับดวงอาทิตย์ ดาวดวงที่มีแสงสว่างกว่า มีขนาดใหญ่ประมาณครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์ ส่วนอีกดวงมีขนาดและมวลน้อยกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 1 ใน 3 โดยโคจรรอบดาวดวงเล็กและแสงสว่างน้อยกว่า ทุก ๆ 31.3 วัน
Cr.https://www.newtv.co.th/news/27315
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา