ที่มาของข่าว :-
https://mgronline.com/science/detail/9670000112796
ขออนุญาตและขอขอบคุณ
นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ Very Large Telescope Interferometer (VLTI) ของ หอสังเกตการณ์ซีกโลกใต้แห่งยุโรป (ESO) ติดตามและถ่ายภาพ ดาวฤกษ์ยักษ์ WOH G64 ใน "กาแล็กซีเมฆแมกเจลแลนใหญ่" ซึ่งเป็นกาแล็กซีแคระบริวารของกาแล็กซีทางช้างเผือก
ทีมงานนักดาราศาสตร์ ได้เผยว่า ได้รู้ถึงการมีอยู่ของดาวฤกษ์ดวงนี้มาระยะหนึ่งแล้ว และได้ขนานนามมันว่า "ดาวยักษ์" เนื่องจากมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ถึง 2,000 เท่า โดยมีชื่อว่า WOH G64 มีตำแหน่งอยู่ในกาแล็กซีเมฆแมกเจลแลนใหญ่ และอยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 160,000 ปีแสง
ด้วยประสิทธิภาพของกล้อง VLTI ทำให้สามารถมองเห็นดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลออกไปนี้ได้อย่างละเอียดจนเผยให้เห็นก๊าซและฝุ่นที่อยู่รอบๆ การไหลของสสารเหล่านี้ บ่งชี้ว่า WOH G64 กำลังจะตายในช่วงสุดท้ายของชีวิตดาวฤกษ์ ซึ่งจะนำไปสู่การระเบิดของซูเปอร์โนวาครั้งใหญ่ ข้อมูลนี้สอดคล้องกับการที่ความสว่างของดาวฤกษ์ลดลงอย่างรวดเร็ว ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
Keiichi Ohnaka นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยอังเดรส์ เบลโล หัวหน้าทีมผู้ศึกษาดาวฤกษ์ดวงนี้ กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพดาวฤกษ์ที่กำลังจะดับในกาแล็กซีนอกกาแล็กซีนอกทางช้างเผือก และยังได้ค้นพบรังไหมรูปร่างคล้ายไข่ที่อยู่รอบดาวฤกษ์อย่างใกล้ชิด และเรารู้สึกตื่นเต้นเพราะสิ่งนี้อาจเกี่ยวข้องกับการพุ่งของสสารออกจากดาวฤกษ์ ที่กำลังจะดับอย่างรุนแรงก่อนการระเบิดของซูเปอร์โนวา
ในปัจจุบันนักดาราศาสตร์ทั่วโลกสามารถถ่ายภาพดาวฤกษ์ในกาแล็กซีทางช้างเผือกได้ แต่การจะถ่ายภาพดาวฤกษ์อื่นนอกกาแล็กซีได้ในระดับรายละเอียด ยังต้องใช้เวลาพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตข้างหน้า เนื่องจากความระยะห่างของแต่ละกาแล้กซีนั้นไกลมาก และจักรวาลก็กว้างใหญ่ไพศาลมาก
หอสังเกตการณ์ซีกโลกใต้แห่งยุโรป เผย ภาพดาวฤกษ์ความละเอียดสูงรูปแรกนอกทางช้างเผือก ใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ถึง 2,000 เท่า
ขออนุญาตและขอขอบคุณ
นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ Very Large Telescope Interferometer (VLTI) ของ หอสังเกตการณ์ซีกโลกใต้แห่งยุโรป (ESO) ติดตามและถ่ายภาพ ดาวฤกษ์ยักษ์ WOH G64 ใน "กาแล็กซีเมฆแมกเจลแลนใหญ่" ซึ่งเป็นกาแล็กซีแคระบริวารของกาแล็กซีทางช้างเผือก
ทีมงานนักดาราศาสตร์ ได้เผยว่า ได้รู้ถึงการมีอยู่ของดาวฤกษ์ดวงนี้มาระยะหนึ่งแล้ว และได้ขนานนามมันว่า "ดาวยักษ์" เนื่องจากมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ถึง 2,000 เท่า โดยมีชื่อว่า WOH G64 มีตำแหน่งอยู่ในกาแล็กซีเมฆแมกเจลแลนใหญ่ และอยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 160,000 ปีแสง
ด้วยประสิทธิภาพของกล้อง VLTI ทำให้สามารถมองเห็นดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลออกไปนี้ได้อย่างละเอียดจนเผยให้เห็นก๊าซและฝุ่นที่อยู่รอบๆ การไหลของสสารเหล่านี้ บ่งชี้ว่า WOH G64 กำลังจะตายในช่วงสุดท้ายของชีวิตดาวฤกษ์ ซึ่งจะนำไปสู่การระเบิดของซูเปอร์โนวาครั้งใหญ่ ข้อมูลนี้สอดคล้องกับการที่ความสว่างของดาวฤกษ์ลดลงอย่างรวดเร็ว ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
Keiichi Ohnaka นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยอังเดรส์ เบลโล หัวหน้าทีมผู้ศึกษาดาวฤกษ์ดวงนี้ กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพดาวฤกษ์ที่กำลังจะดับในกาแล็กซีนอกกาแล็กซีนอกทางช้างเผือก และยังได้ค้นพบรังไหมรูปร่างคล้ายไข่ที่อยู่รอบดาวฤกษ์อย่างใกล้ชิด และเรารู้สึกตื่นเต้นเพราะสิ่งนี้อาจเกี่ยวข้องกับการพุ่งของสสารออกจากดาวฤกษ์ ที่กำลังจะดับอย่างรุนแรงก่อนการระเบิดของซูเปอร์โนวา
ในปัจจุบันนักดาราศาสตร์ทั่วโลกสามารถถ่ายภาพดาวฤกษ์ในกาแล็กซีทางช้างเผือกได้ แต่การจะถ่ายภาพดาวฤกษ์อื่นนอกกาแล็กซีได้ในระดับรายละเอียด ยังต้องใช้เวลาพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตข้างหน้า เนื่องจากความระยะห่างของแต่ละกาแล้กซีนั้นไกลมาก และจักรวาลก็กว้างใหญ่ไพศาลมาก