News ไทย
BBC News บีบีซีไทย นาวิเกชัน
5 กุมภาพันธ์ 2019
NAOC
ภาพจำลองรูปทรงที่แท้จริงของกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งไม่เหมือนกับจานแบนเรียบเสียทีเดียว
แผนที่สามมิติล่าสุดของกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งมีความแม่นยำมากที่สุดในบรรดาแผนที่ของดาราจักรแห่งนี้ที่เคยจัดทำมา เผยให้เห็นว่ากาแล็กซีที่เราอาศัยอยู่นั้น ไม่ได้มีรูปทรงเป็นจานแบนเรียบเหมือนขนมแพนเค้กตามที่เคยเข้าใจกัน แต่มีสภาพโค้งงอบิดเบี้ยวที่บริเวณแถบริมขอบ จนดูคล้ายกับตัวอักษรเอส (S) ที่ถูกยืดให้ขยายตัวออก
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติจากมหาวิทยาลัยแม็กควอรีของออสเตรเลีย และหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน (NAOC) ร่วมกันตีพิมพ์เผยแพร่แผนที่สามมิติฉบับดังกล่าวในวารสาร Nature Astronomy โดยชี้ว่าขอบนอกของกาแล็กซีทางช้างเผือกบิดงอและโค้งมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากแรงเหวี่ยงมหาศาลของส่วนจานหมุนด้านในที่ใจกลางดาราจักร
อันที่จริงแล้ว การจะล่วงรู้ถึงรูปทรงที่แท้จริงของกาแล็กซีที่เราอาศัยอยู่ไม่ใช่เรื่องง่าย ทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้จัดทำแผนที่ฉบับล่าสุดบอกว่า เปรียบเสมือนคนที่อยู่ในเรือดำน้ำลำหนึ่งต้องการจะทราบถึงรูปทรงของมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ที่ล้อมรอบตนเองอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องยากพอกับการพยายามวัดระยะทางจากดวงอาทิตย์ออกไปยังขอบนอกของดาราจักรในหลายตำแหน่ง เพื่อให้ทราบถึงรูปร่างของกาแล็กซีทางช้างเผือกที่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม ทีมผู้วิจัยได้ใช้วิธีวัดระยะทางจากโลกไปยังดาวแปรแสงเซฟีด (Cepheid variable ) กว่า 1,300 ดวงทั่วกาแล็กซีทางช้างเผือก แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นแบบจำลองรูปทรงของดาราจักรขึ้น โดยดาวแปรแสงเซฟีดที่สว่างจ้ากว่าดวงอาทิตย์นับแสนเท่านั้นเป็นเสมือนเทียนมาตรฐาน (Standard candle) หรือประภาคารของจักรวาล โดยนักดาราศาสตร์ใช้ความสว่างและการกระพริบแสงในความถี่ที่แน่นอนของมันเป็นหลักเทียบวัด เพื่อคำนวณหาระยะทางในห้วงอวกาศได้อย่างแม่นยำ
NASA/ESA/STSCI
ดาวแปรแสงเซฟีดเป็นเสมือนเทียนมาตรฐาน (Standard candle) ของจักรวาล โดยใช้ความสว่างของมันเป็นหลักวัดระยะทางในห้วงอวกาศได้แม่นยำ
ส่วนข้อมูลการวัดระยะทางในห้วงอวกาศครั้งนี้มีความแม่นยำถึง 95% ซึ่งสูงกว่าในอดีต เนื่องจากใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศความยาวคลื่นอินฟราเรด WISE ขององค์การนาซา โดยรังสีอินฟราเรดจะช่วยขจัดการบดบังแสงดาวของกลุ่มฝุ่นและก๊าซในห้วงอวกาศลงได้มาก
ดร.ริชาร์ด เดอ กริจส์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมผู้วิจัยบอกว่า "การที่ดาราจักรรูปเกลียวเกิดการบิดเบี้ยวที่ขอบนอกนั้นผิดปกติอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งขอบนอกที่โค้งงอมีกลุ่มก๊าซของอะตอมไฮโดรเจนและมีดาวฤกษ์เกิดใหม่รวมอยู่ด้วย"
"เรื่องนี้แสดงถึงการมีกลไกหรือพลวัตรบางอย่างซ่อนเร้นอยู่ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดความผิดปกตินี้ขึ้น และอาจเกี่ยวข้องกับการกระจายตัวของสสารมืดก็เป็นได้"
(สสารมืดเป็นองค์ประกอบลึกลับที่มองไม่เห็น แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยยึดเหนี่ยวดาราจักรหรือกาแล็กซีต่าง ๆ ให้เกาะตัวเป็นกลุ่มเป็นก้อนอยู่ได้ ปัจจุบันนักดาราศาสตร์สามารถทำแผนที่การกระจายตัวของสสารมืดในแถบหนึ่งของจักรวาลซึ่งมีกาแล็กซีต่าง ๆ อยู่ราว 26 ล้านกาแล็กซีได้แล้ว)
BBC
แผนที่แสดงการกระจายตัวของสสารมืดในแถบหนึ่งของจักรวาล
กาแล็กซีทางช้างเผือกรูปทรงไม่เหมือนจานแบน แต่โค้งงอบิดเบี้ยวที่ริมขอบ
BBC News บีบีซีไทย นาวิเกชัน
5 กุมภาพันธ์ 2019
NAOC
ภาพจำลองรูปทรงที่แท้จริงของกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งไม่เหมือนกับจานแบนเรียบเสียทีเดียว
แผนที่สามมิติล่าสุดของกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งมีความแม่นยำมากที่สุดในบรรดาแผนที่ของดาราจักรแห่งนี้ที่เคยจัดทำมา เผยให้เห็นว่ากาแล็กซีที่เราอาศัยอยู่นั้น ไม่ได้มีรูปทรงเป็นจานแบนเรียบเหมือนขนมแพนเค้กตามที่เคยเข้าใจกัน แต่มีสภาพโค้งงอบิดเบี้ยวที่บริเวณแถบริมขอบ จนดูคล้ายกับตัวอักษรเอส (S) ที่ถูกยืดให้ขยายตัวออก
ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติจากมหาวิทยาลัยแม็กควอรีของออสเตรเลีย และหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน (NAOC) ร่วมกันตีพิมพ์เผยแพร่แผนที่สามมิติฉบับดังกล่าวในวารสาร Nature Astronomy โดยชี้ว่าขอบนอกของกาแล็กซีทางช้างเผือกบิดงอและโค้งมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากแรงเหวี่ยงมหาศาลของส่วนจานหมุนด้านในที่ใจกลางดาราจักร
อันที่จริงแล้ว การจะล่วงรู้ถึงรูปทรงที่แท้จริงของกาแล็กซีที่เราอาศัยอยู่ไม่ใช่เรื่องง่าย ทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้จัดทำแผนที่ฉบับล่าสุดบอกว่า เปรียบเสมือนคนที่อยู่ในเรือดำน้ำลำหนึ่งต้องการจะทราบถึงรูปทรงของมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ที่ล้อมรอบตนเองอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องยากพอกับการพยายามวัดระยะทางจากดวงอาทิตย์ออกไปยังขอบนอกของดาราจักรในหลายตำแหน่ง เพื่อให้ทราบถึงรูปร่างของกาแล็กซีทางช้างเผือกที่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม ทีมผู้วิจัยได้ใช้วิธีวัดระยะทางจากโลกไปยังดาวแปรแสงเซฟีด (Cepheid variable ) กว่า 1,300 ดวงทั่วกาแล็กซีทางช้างเผือก แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นแบบจำลองรูปทรงของดาราจักรขึ้น โดยดาวแปรแสงเซฟีดที่สว่างจ้ากว่าดวงอาทิตย์นับแสนเท่านั้นเป็นเสมือนเทียนมาตรฐาน (Standard candle) หรือประภาคารของจักรวาล โดยนักดาราศาสตร์ใช้ความสว่างและการกระพริบแสงในความถี่ที่แน่นอนของมันเป็นหลักเทียบวัด เพื่อคำนวณหาระยะทางในห้วงอวกาศได้อย่างแม่นยำ
NASA/ESA/STSCI
ดาวแปรแสงเซฟีดเป็นเสมือนเทียนมาตรฐาน (Standard candle) ของจักรวาล โดยใช้ความสว่างของมันเป็นหลักวัดระยะทางในห้วงอวกาศได้แม่นยำ
ส่วนข้อมูลการวัดระยะทางในห้วงอวกาศครั้งนี้มีความแม่นยำถึง 95% ซึ่งสูงกว่าในอดีต เนื่องจากใช้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศความยาวคลื่นอินฟราเรด WISE ขององค์การนาซา โดยรังสีอินฟราเรดจะช่วยขจัดการบดบังแสงดาวของกลุ่มฝุ่นและก๊าซในห้วงอวกาศลงได้มาก
ดร.ริชาร์ด เดอ กริจส์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมผู้วิจัยบอกว่า "การที่ดาราจักรรูปเกลียวเกิดการบิดเบี้ยวที่ขอบนอกนั้นผิดปกติอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งขอบนอกที่โค้งงอมีกลุ่มก๊าซของอะตอมไฮโดรเจนและมีดาวฤกษ์เกิดใหม่รวมอยู่ด้วย"
"เรื่องนี้แสดงถึงการมีกลไกหรือพลวัตรบางอย่างซ่อนเร้นอยู่ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดความผิดปกตินี้ขึ้น และอาจเกี่ยวข้องกับการกระจายตัวของสสารมืดก็เป็นได้"
(สสารมืดเป็นองค์ประกอบลึกลับที่มองไม่เห็น แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยยึดเหนี่ยวดาราจักรหรือกาแล็กซีต่าง ๆ ให้เกาะตัวเป็นกลุ่มเป็นก้อนอยู่ได้ ปัจจุบันนักดาราศาสตร์สามารถทำแผนที่การกระจายตัวของสสารมืดในแถบหนึ่งของจักรวาลซึ่งมีกาแล็กซีต่าง ๆ อยู่ราว 26 ล้านกาแล็กซีได้แล้ว)
แผนที่แสดงการกระจายตัวของสสารมืดในแถบหนึ่งของจักรวาล