หนังไทบ้าน x BNK สะท้อนให้เห็นสังคมในหลายๆด้าน ไม่ใช่แค่ความเป็นอยู่ หรือ วิถีชีวิตของชาวอีสานเพียงอย่างเดียว
เนื้อเรื่องดังกล่าว ผมขอวิเคราะห์เป็น 2 หัวข้อใหญ่ๆ
#หัวข้อแรก คือ ความสัมพันธ์ 3 ช่วง
#ช่วงที่หนึ่งความสัมพันธ์แบบฉาบฉวย
.
เริ่มจากคุณจ๊อบ ได้เชิญชวนให้เจ๊ก้องมาเป็นโปรดิวเซอร์ ความสัมพันธ์ช่วงนี้เป็นความสัมพันธ์แบบฉาบฉวย คำนึงถึงผลประโยชน์เป็นหลัก เห็นได้ชัดจากการที่คุณก้องมีหนี้สิน และต้องการเงินมาชำระหนี้ ส่วนbnkนั้น อยู่ในช่วงตกต่ำซึ่งเจ๊ก้องมองว่านี่คือบ่อน้ำมันชั้นดีที่ตนจะสูบ และไม่ค้องกลัวอะไร น่อให้พังก็ได้เงินมาแล้ว
นอกจากเรื่องดังกล่าวความสัมพันธ์แบบฉาบฉวย ยังถูกใส่ไปในตอนที่น้องๆBNKไปอีสานอีกด้วย แม้จะมีการสอนและปลูกฝัง แต่น้องๆทุกคนก็ขาดความมุ่งมั่น ในช่วงนี้สังเกตได้เลยว่าทุกคนทำโปรเจคนี้โดยมีจุดหมายเพียงแค่ให้เสร็จเท่านั้น ไม่มีความทะเยอทะยานใดๆ
#ช่วงที่สองความสัมพันธ์แบบเพื่อน
.
เมื่อผลลัพธ์ช่วงแรกไม่ดี ผลงานถูกติ และท้ายที่สุดโปรเจคไม่หยุด แต่ต้องทำต่อ ซึ่งช่วงนี้ทาง อฟช.ไม่ใช่แค่ติเจ๊ก้องเพียงคนเดียว แต่อาจจะเข้าไปติตัวของน้องๆเองด้วยก็เป็นได้
การเข้าไปติจึงเป็นเหมือนการเชิงดูถูก สบประมาท และหากย้อนไปในอดีตตัวเจ๊ก้องก็โด่งดังแต่แค่มาเป็นหนี้ส่วนBNKก็ดังมากๆแต่ช่วงนี้เป็นขาลง การเข้ามาติของทาง อฟช.จึงเป็นการเติมเชื้อไฟให้ทั้ง 2 ฝ่ายมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ และเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน สิ่งที่ตามมาคือความสนิทโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยว่าอะไรทำให้เราสนิทตรงนี้หนังถ่ายทอดความเป็นอยู่ออกมาได้ดี เห็นได้ชัดถึงความมุ่งมั่นทั้ง 2 ฝ่าย
#ช่วงที่สามความสัมพันธ์แบบมิตรภาพ
.
ความสัมพันธ์แบบเพื่อนก็เป็นได้แค่เพื่อนเท่านั้น ดังนั้นหนังเลยใส่ความสัมพันธ์ที่เหนือกว่าคำว่าเพื่อนโดยเริ่มจากการทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายไม่มีช่องว่างระหว่างกัน จริงอยู่ที่การสนิทกันเป็นเรื่องที่ดี แต่บางครั้งสนิทมากไปมันกลายเป็นความเลยเถิด ขาดซึ่งความเกรงใจ
ความสัมพันธ์นี้เห็นได้ชัดในตอนที่เจ๊ก้องให้โมบายร้องเพลงจากใจผู้สาวคนนี้นำ แล้วเกิดปัญหา ปัญหาตรงนี้เกิดจากความสนิททำให้ทั้ง 2 ฝ่าย เออออกันเองว่าเข้าใจ และคิดว่าไม่ต้องเกรงใจกัน จึงก่อให้เกิดปัญหา และท้ายที่สุดเจ๊ก้องก็ต้องสบถคำว่า..."ผิดหวังว่ะ" ออกไป
คำนี้แหละครับ ถ้าคิดไม่ได้ความสัมพันธ์ของเพื่อนก็จะจบลง แต่ถ้ายอมรับและทำความเข้าใจ และกล้ารับผิด กล้าขอโทษ กล้าให้อภัย ก็จะก่อให้เกิดคำว่า...มิตรภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงไป
เหมือนกับคำพูดที่ว่า...ไม่เคยเถียงกัน ไม่เคยทะเลาะกัน ย่อมไม่มีวันเข้าใจความหมายคำว่า..."เพื่อนแท้"
เห็นใช่ไหมครับ ว่าทั้ง 3 ช่วงความสันพันธ์ ล้วนเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม และทุกคนต่างต้องเคยพบเจออยู่แล้ว
#หัวข้อที่สอง คือ การปลูกฝังแนวคิด
.
#แนวคิดแรก "ข้างนอกคือสิ่งใหม่ที่เราต้องเรียนรู้"
คือ ประโยคปรัชญาแรกที่เราได้ฟังจากหนังเรื่องนี้
ประโยคนี้แม้จะฟังเหมือนธรรมดา แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางและวิธีการที่จะทำให้เราทุกคนผ่าน Comford Zone หรือ Save Zone นั่นเอง และเมื่อประโยคนี้ถูกพูดในหนังบ่อยครั้งเข้า ความหมายก็ยิ่งถูกระดับเป็นการก้าวข้ามผ่านกำแพงที่เราคิดว่าไม่สามารถผ่านมันไปได้ พูดง่ายๆก็คือการปลูกฝังความกล้าให้ก้าวข้าทผ่านตัวเองนั่นเอง
#แนวคิดที่สอง "อย่าให้เสียงของคนอื่นมากลบเสียงในใจของเรา"
ประโยคนี้คือปรัชญาที่สองที่เราได้ฟังในเรื่อง ซึ่งเจ๊ก้องเป็นคนพูดสอนน้องๆ
แม้ประโยคจะดูเป็นประโยคธรรมดา แต่หนังก็ได้สร้างเนื้อเรื่องให้เห็นภาพของการทำตามใจตัวเอง ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก ตัวเองชอบ ในกรอบของความถูกต้องไม่ขัดค่อศีลธรรม เป็นสิ่งที่ควรทำ เนื้อเรื่องที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คงเป็นตอนน้องๆนั่งไลฟ์สดร้องเพลงจากใจผู้สาวคนนี้ในตู้ปลา และตอนเจ๊ก้องให้น้องๆอัดเพลงต่อ
แม้สุดท้ายตอนจบจะมีการย้อนถามคำถามปรัชญาแรกจากเนยต่อคุณจ๊อป และเมื่อขึ้นบนเวทีต่อให้เจ๊ก้องตะโกนประโยคปรัชญาที่สอง เนยก็ยังคงพูดตามสิ่งที่ตัวเองคิด ตรงนี้ผมเห็นว่าน้องๆไม่ได้แพ้นะครับ แต่เป็นการชนะใจของตัวเอง ทำให้รู้ว่าเสียงในใจของตัวเองเป็นเช่นไรมากกว่า ซึ่งคำตอบถูกคีย้อนกลับจากบรรดาแฟนคลับจนกลายเป็นชัยชนะที่สวยงาน เพราะแท้จริงแล้วเสียงของน้องๆทุกคนดังจนทำให้เสียงในใจของคนรอบข้างเป็นเสียงเดียวกัน
#แนวคิดที่สาม "คนอายุมากกว่าขอโทษคนอายุน้อยกว่า"
สังคมโดยทั่วไปผู้ใหญ่ต่อให้ผิดอย่างไรก็ไม่เคยยอมรับว่าตัวเองนั้นผิด สังคมไทยมักบอกว่าเด็กต้องเคารพผู้ใหญ่และการเคารพนั้นคือการไม่ไปหักหน้าผู้ใหญ่ แม้การกระทำดังกล่าวของผู้ใหญ่จะไม่ถูกต้องก็ตาม
แต่หนังเรื่องนี้กลับเขียนให้เจ๊ก้องซึ่งไม่ใช่แค่เป็นผู้ใหญ่กว่า แต่ยังเป็นถึงโปรดิวเซอร์ และยังดังกว่าอีก ยังต้องเอ่ยปากขอโทษน้องๆBNKก่อน
จริงอยู่ว่าเจ๊ก้องไม่ได้ทำอะไรผิด ถึงผิดก็แค่คำพูด แต่ฝ่ายที่ผิดเต็มๆคือ น้องๆBNK แต่กระนั้นเรื่องนี้ก็ยังเขียนให้เจ๊ก้องเอ่ยขอโทษก่อน ถือเป็นมิติใหม่ของสังคม และยังทำให้คนที่ถือทิฐิ หรือ เด็กรุ่นใหม่ที่มักจะอายกับการขอโทษอย่างน้องๆยอมอ่อนลงจนถึงขั้นยอมรับว่าตัวเองก็ผิด
#แนวคิดที่สี่ อุทาหรณ์คนทำตัวเด่นเพื่อให้คนยอมรับ
หนังหยิบเอาประเด็นคำว่าแหล่งข่าววงในมาเล่น และใช้มืดเป็นตัวเดินเรื่อง
จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ต้นเรื่องมืดเป็นคนเดียวที่รู้จักวงBNK และพยายามเข้าไปใกล้ๆตลอด เป็นการแสดงออกว่าตนเป็นแฟนคลับอย่างชัดเจน แต่ด้วยที่ตนอยู่พื้นที่ห่างไกลเมืองกรุง เรื่องไปEventเป็นเรื่องที่ยากมากๆ การที่คนที่ชอบมาอยู่ตรงหน้านั้น จึงเป็นตัวจุดความคิดให้มืดปล่อยคลิปโปรเจค
การกระทำของมืดเป็นเพียงการกระทำเพื่อให้คนทั้งหมดมองตัวเองเป็นคนวงใน หรือรู้สึกอยู่เหรือคนอื่นเท่านั้น ไม่ได้ต้องการที่จะดิสเครดิตหรืออะไร
ซึ่งนอกจากหนังจะใส่ให้โปรเจคโดนหยุดแล้ว ยังเพิ่มเติมให้ค้องยกเลิกคอนเสิร์ตอีก และยังตอกย้ำด้วยการที่มืดได้รับบัตรคอนเสิร์ตแล้วกำลังเดินทางไปกรุงเทพฯแต่ก็ต้องพบว่าคอนเสิร์ตถูกยกเลิกระหว่างการเดินทาง
ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้มืด และสังคมได้เห็นว่าการทำอะไรบนความสนุกของเรา ไม่ใช่แค่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนแต่มันจังทำให้ตัวของเราเองต้องสูญเสียสิ่งที่ตัวเองรักไปได้เลยก็เป็นไปได้ (นึกภาพตอนกินแตงโม)
นอกจากการสะท้อนจากหนังเรื่องนี้แล้ว ตัวหนังเองยังทำให้หนังเรื่องนี้ไม่จบเพียงแค่ในโรงหนังอีก เรื่องจากหนังได้พาคนทุกคนออกจากโรงหนังมาฟัง MV #จากใจผู้สาวคนนี้ อีกด้วย
MV นี้ไม่ได้มีความหมายอื่นใด นอกเสียจากการแสดงความขอบคุณค่อแฟนคลับที่อยู่ร่วมกันมา ตั้งแต่ต้น และที่ใช้โมบายร้องนั้น นอกจากเรื่องเสียงแล้ว โมบายนี่แหละคือคนที่ทำให้คนทั้งประเทศรู้ตัก BNK จากเพลงคุกกี้เสี่ยงทายดังนั้นการให้โมบายเป็นตัวแทนสื่อความรู้สึกของเพลงนี้จึงเป็นสิ่งที่ดหมาะสมที่สุด (ลองไปฟังครับมแล้วจะอิน สำหรับผมแล้วอยากได้ V.ผู้ชาย และ V.พี่สาว พี่ชาย มาขอบคุณน้องๆด้วยครับ)
#สรุปเรื่องนี้ผมขอให้ 8.5/10 คะแนน เรื่องจากหนังยังไม่สุด ไทอินโจ่งแจ้งมากไป โดดดิด่งยังไม่มีช่วงให้สื่อในหนังส่วนบรรยากาศในฮอลล์ และ MV จากใจผู้สาวคนนี้ อยากให้มีบรรยากาศตอนจับมือจริงๆ หรือเป็นการเซ็ตฉากให้เหมือนคอลเสิร์ตจริงๆมากกว่า ส่งนเรื่องการสื่อความเป็นอีสาน และจะก่อให้เกิดการท้องเที่ยว การดำเนินวิถีชีวิตนั้น ยังไม่เห็นภาพชัด แต่ก็เข้าใจว่าเวลาจำกัด ใส่มากกว่านี้ต้องมีสัก 3 ชม. แต่ถ้าหากเป็นไปได้ อยากจะให้สื่อความเป็นอีสานมากกว่าเรื่องภาษา อยากให้มีการต่อยอดเพื่อให้คนดูเกิดความคิดอยากลงไปพัฒนาท้องถิ่น ตรงนี้รัฐบาลควรเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการขยายเมือง ลดการกระจุกตัวในเมืองหลวง
[CR] รีวิว ไทบ้าน x BNK48
เนื้อเรื่องดังกล่าว ผมขอวิเคราะห์เป็น 2 หัวข้อใหญ่ๆ
#หัวข้อแรก คือ ความสัมพันธ์ 3 ช่วง
#ช่วงที่หนึ่งความสัมพันธ์แบบฉาบฉวย
.
เริ่มจากคุณจ๊อบ ได้เชิญชวนให้เจ๊ก้องมาเป็นโปรดิวเซอร์ ความสัมพันธ์ช่วงนี้เป็นความสัมพันธ์แบบฉาบฉวย คำนึงถึงผลประโยชน์เป็นหลัก เห็นได้ชัดจากการที่คุณก้องมีหนี้สิน และต้องการเงินมาชำระหนี้ ส่วนbnkนั้น อยู่ในช่วงตกต่ำซึ่งเจ๊ก้องมองว่านี่คือบ่อน้ำมันชั้นดีที่ตนจะสูบ และไม่ค้องกลัวอะไร น่อให้พังก็ได้เงินมาแล้ว
นอกจากเรื่องดังกล่าวความสัมพันธ์แบบฉาบฉวย ยังถูกใส่ไปในตอนที่น้องๆBNKไปอีสานอีกด้วย แม้จะมีการสอนและปลูกฝัง แต่น้องๆทุกคนก็ขาดความมุ่งมั่น ในช่วงนี้สังเกตได้เลยว่าทุกคนทำโปรเจคนี้โดยมีจุดหมายเพียงแค่ให้เสร็จเท่านั้น ไม่มีความทะเยอทะยานใดๆ
#ช่วงที่สองความสัมพันธ์แบบเพื่อน
.
เมื่อผลลัพธ์ช่วงแรกไม่ดี ผลงานถูกติ และท้ายที่สุดโปรเจคไม่หยุด แต่ต้องทำต่อ ซึ่งช่วงนี้ทาง อฟช.ไม่ใช่แค่ติเจ๊ก้องเพียงคนเดียว แต่อาจจะเข้าไปติตัวของน้องๆเองด้วยก็เป็นได้
การเข้าไปติจึงเป็นเหมือนการเชิงดูถูก สบประมาท และหากย้อนไปในอดีตตัวเจ๊ก้องก็โด่งดังแต่แค่มาเป็นหนี้ส่วนBNKก็ดังมากๆแต่ช่วงนี้เป็นขาลง การเข้ามาติของทาง อฟช.จึงเป็นการเติมเชื้อไฟให้ทั้ง 2 ฝ่ายมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ และเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน สิ่งที่ตามมาคือความสนิทโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยว่าอะไรทำให้เราสนิทตรงนี้หนังถ่ายทอดความเป็นอยู่ออกมาได้ดี เห็นได้ชัดถึงความมุ่งมั่นทั้ง 2 ฝ่าย
#ช่วงที่สามความสัมพันธ์แบบมิตรภาพ
.
ความสัมพันธ์แบบเพื่อนก็เป็นได้แค่เพื่อนเท่านั้น ดังนั้นหนังเลยใส่ความสัมพันธ์ที่เหนือกว่าคำว่าเพื่อนโดยเริ่มจากการทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายไม่มีช่องว่างระหว่างกัน จริงอยู่ที่การสนิทกันเป็นเรื่องที่ดี แต่บางครั้งสนิทมากไปมันกลายเป็นความเลยเถิด ขาดซึ่งความเกรงใจ
ความสัมพันธ์นี้เห็นได้ชัดในตอนที่เจ๊ก้องให้โมบายร้องเพลงจากใจผู้สาวคนนี้นำ แล้วเกิดปัญหา ปัญหาตรงนี้เกิดจากความสนิททำให้ทั้ง 2 ฝ่าย เออออกันเองว่าเข้าใจ และคิดว่าไม่ต้องเกรงใจกัน จึงก่อให้เกิดปัญหา และท้ายที่สุดเจ๊ก้องก็ต้องสบถคำว่า..."ผิดหวังว่ะ" ออกไป
คำนี้แหละครับ ถ้าคิดไม่ได้ความสัมพันธ์ของเพื่อนก็จะจบลง แต่ถ้ายอมรับและทำความเข้าใจ และกล้ารับผิด กล้าขอโทษ กล้าให้อภัย ก็จะก่อให้เกิดคำว่า...มิตรภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงไป
เหมือนกับคำพูดที่ว่า...ไม่เคยเถียงกัน ไม่เคยทะเลาะกัน ย่อมไม่มีวันเข้าใจความหมายคำว่า..."เพื่อนแท้"
เห็นใช่ไหมครับ ว่าทั้ง 3 ช่วงความสันพันธ์ ล้วนเป็นความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม และทุกคนต่างต้องเคยพบเจออยู่แล้ว
#หัวข้อที่สอง คือ การปลูกฝังแนวคิด
.
#แนวคิดแรก "ข้างนอกคือสิ่งใหม่ที่เราต้องเรียนรู้"
คือ ประโยคปรัชญาแรกที่เราได้ฟังจากหนังเรื่องนี้
ประโยคนี้แม้จะฟังเหมือนธรรมดา แต่มันสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางและวิธีการที่จะทำให้เราทุกคนผ่าน Comford Zone หรือ Save Zone นั่นเอง และเมื่อประโยคนี้ถูกพูดในหนังบ่อยครั้งเข้า ความหมายก็ยิ่งถูกระดับเป็นการก้าวข้ามผ่านกำแพงที่เราคิดว่าไม่สามารถผ่านมันไปได้ พูดง่ายๆก็คือการปลูกฝังความกล้าให้ก้าวข้าทผ่านตัวเองนั่นเอง
#แนวคิดที่สอง "อย่าให้เสียงของคนอื่นมากลบเสียงในใจของเรา"
ประโยคนี้คือปรัชญาที่สองที่เราได้ฟังในเรื่อง ซึ่งเจ๊ก้องเป็นคนพูดสอนน้องๆ
แม้ประโยคจะดูเป็นประโยคธรรมดา แต่หนังก็ได้สร้างเนื้อเรื่องให้เห็นภาพของการทำตามใจตัวเอง ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก ตัวเองชอบ ในกรอบของความถูกต้องไม่ขัดค่อศีลธรรม เป็นสิ่งที่ควรทำ เนื้อเรื่องที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คงเป็นตอนน้องๆนั่งไลฟ์สดร้องเพลงจากใจผู้สาวคนนี้ในตู้ปลา และตอนเจ๊ก้องให้น้องๆอัดเพลงต่อ
แม้สุดท้ายตอนจบจะมีการย้อนถามคำถามปรัชญาแรกจากเนยต่อคุณจ๊อป และเมื่อขึ้นบนเวทีต่อให้เจ๊ก้องตะโกนประโยคปรัชญาที่สอง เนยก็ยังคงพูดตามสิ่งที่ตัวเองคิด ตรงนี้ผมเห็นว่าน้องๆไม่ได้แพ้นะครับ แต่เป็นการชนะใจของตัวเอง ทำให้รู้ว่าเสียงในใจของตัวเองเป็นเช่นไรมากกว่า ซึ่งคำตอบถูกคีย้อนกลับจากบรรดาแฟนคลับจนกลายเป็นชัยชนะที่สวยงาน เพราะแท้จริงแล้วเสียงของน้องๆทุกคนดังจนทำให้เสียงในใจของคนรอบข้างเป็นเสียงเดียวกัน
#แนวคิดที่สาม "คนอายุมากกว่าขอโทษคนอายุน้อยกว่า"
สังคมโดยทั่วไปผู้ใหญ่ต่อให้ผิดอย่างไรก็ไม่เคยยอมรับว่าตัวเองนั้นผิด สังคมไทยมักบอกว่าเด็กต้องเคารพผู้ใหญ่และการเคารพนั้นคือการไม่ไปหักหน้าผู้ใหญ่ แม้การกระทำดังกล่าวของผู้ใหญ่จะไม่ถูกต้องก็ตาม
แต่หนังเรื่องนี้กลับเขียนให้เจ๊ก้องซึ่งไม่ใช่แค่เป็นผู้ใหญ่กว่า แต่ยังเป็นถึงโปรดิวเซอร์ และยังดังกว่าอีก ยังต้องเอ่ยปากขอโทษน้องๆBNKก่อน
จริงอยู่ว่าเจ๊ก้องไม่ได้ทำอะไรผิด ถึงผิดก็แค่คำพูด แต่ฝ่ายที่ผิดเต็มๆคือ น้องๆBNK แต่กระนั้นเรื่องนี้ก็ยังเขียนให้เจ๊ก้องเอ่ยขอโทษก่อน ถือเป็นมิติใหม่ของสังคม และยังทำให้คนที่ถือทิฐิ หรือ เด็กรุ่นใหม่ที่มักจะอายกับการขอโทษอย่างน้องๆยอมอ่อนลงจนถึงขั้นยอมรับว่าตัวเองก็ผิด
#แนวคิดที่สี่ อุทาหรณ์คนทำตัวเด่นเพื่อให้คนยอมรับ
หนังหยิบเอาประเด็นคำว่าแหล่งข่าววงในมาเล่น และใช้มืดเป็นตัวเดินเรื่อง
จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ต้นเรื่องมืดเป็นคนเดียวที่รู้จักวงBNK และพยายามเข้าไปใกล้ๆตลอด เป็นการแสดงออกว่าตนเป็นแฟนคลับอย่างชัดเจน แต่ด้วยที่ตนอยู่พื้นที่ห่างไกลเมืองกรุง เรื่องไปEventเป็นเรื่องที่ยากมากๆ การที่คนที่ชอบมาอยู่ตรงหน้านั้น จึงเป็นตัวจุดความคิดให้มืดปล่อยคลิปโปรเจค
การกระทำของมืดเป็นเพียงการกระทำเพื่อให้คนทั้งหมดมองตัวเองเป็นคนวงใน หรือรู้สึกอยู่เหรือคนอื่นเท่านั้น ไม่ได้ต้องการที่จะดิสเครดิตหรืออะไร
ซึ่งนอกจากหนังจะใส่ให้โปรเจคโดนหยุดแล้ว ยังเพิ่มเติมให้ค้องยกเลิกคอนเสิร์ตอีก และยังตอกย้ำด้วยการที่มืดได้รับบัตรคอนเสิร์ตแล้วกำลังเดินทางไปกรุงเทพฯแต่ก็ต้องพบว่าคอนเสิร์ตถูกยกเลิกระหว่างการเดินทาง
ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้มืด และสังคมได้เห็นว่าการทำอะไรบนความสนุกของเรา ไม่ใช่แค่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนแต่มันจังทำให้ตัวของเราเองต้องสูญเสียสิ่งที่ตัวเองรักไปได้เลยก็เป็นไปได้ (นึกภาพตอนกินแตงโม)
นอกจากการสะท้อนจากหนังเรื่องนี้แล้ว ตัวหนังเองยังทำให้หนังเรื่องนี้ไม่จบเพียงแค่ในโรงหนังอีก เรื่องจากหนังได้พาคนทุกคนออกจากโรงหนังมาฟัง MV #จากใจผู้สาวคนนี้ อีกด้วย
MV นี้ไม่ได้มีความหมายอื่นใด นอกเสียจากการแสดงความขอบคุณค่อแฟนคลับที่อยู่ร่วมกันมา ตั้งแต่ต้น และที่ใช้โมบายร้องนั้น นอกจากเรื่องเสียงแล้ว โมบายนี่แหละคือคนที่ทำให้คนทั้งประเทศรู้ตัก BNK จากเพลงคุกกี้เสี่ยงทายดังนั้นการให้โมบายเป็นตัวแทนสื่อความรู้สึกของเพลงนี้จึงเป็นสิ่งที่ดหมาะสมที่สุด (ลองไปฟังครับมแล้วจะอิน สำหรับผมแล้วอยากได้ V.ผู้ชาย และ V.พี่สาว พี่ชาย มาขอบคุณน้องๆด้วยครับ)
#สรุปเรื่องนี้ผมขอให้ 8.5/10 คะแนน เรื่องจากหนังยังไม่สุด ไทอินโจ่งแจ้งมากไป โดดดิด่งยังไม่มีช่วงให้สื่อในหนังส่วนบรรยากาศในฮอลล์ และ MV จากใจผู้สาวคนนี้ อยากให้มีบรรยากาศตอนจับมือจริงๆ หรือเป็นการเซ็ตฉากให้เหมือนคอลเสิร์ตจริงๆมากกว่า ส่งนเรื่องการสื่อความเป็นอีสาน และจะก่อให้เกิดการท้องเที่ยว การดำเนินวิถีชีวิตนั้น ยังไม่เห็นภาพชัด แต่ก็เข้าใจว่าเวลาจำกัด ใส่มากกว่านี้ต้องมีสัก 3 ชม. แต่ถ้าหากเป็นไปได้ อยากจะให้สื่อความเป็นอีสานมากกว่าเรื่องภาษา อยากให้มีการต่อยอดเพื่อให้คนดูเกิดความคิดอยากลงไปพัฒนาท้องถิ่น ตรงนี้รัฐบาลควรเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการขยายเมือง ลดการกระจุกตัวในเมืองหลวง
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้