'ทวี' อัด "รัฐรวมศูนย์" ใช้เงินนำหน้า ปัญญาตามหลัง แนะกระจายอำนาจแก้วิกฤตหมอกควัน
https://www.khaosod.co.th/politics/news_3443479
‘ทวี’ อัด “รัฐรวมศูนย์” ใช้เงินนำหน้า ปัญญาตามหลัง
แนะกระจายอำนาจแก้วิกฤตหมอกควัน
เมื่อวันที่ 22 ม.ค. พ.ต.อ.
ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ โพสต์ถึงกรณีปัญหาฝุ่น PM2.5 ว่า
การแก้ปัญหา วิกฤติ ‘หมอกควัน’ มุมมองที่แตกต่างไปจากรัฐบาล
อ่านโพสต์ ท่านอาจารย์ สามชาย ศรีสันต์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสนอมุมมองต่อสถานการณ์หมอกควันและการเผาในที่โล่ง ที่เกิดจากประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย
“แก้ปัญหาไฟป่า หมอกควัน ภาคเหนือ” ที่ท่านเป็นหัวหน้าโครงการการวิจัย ‘โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันการเผาในที่โล่งและลดหมอกควัน’ ถือเป็นมุมมองทางวิชาการที่มีงานวิจัยสนับสนุน ซึ่งอาจมีความแตกต่างจากความเข้าใจผู้คนทั่วไปส่วนใหญ่ และแตกต่างจากนโยบายรัฐบาลที่ดำเนินการแก้ปัญหาหมอกควันในปัจจุบัน อาจารย์สามชายฯได้วิเคราะห์จากความเป็นจริงและเสนอแนะไว้ 6 ข้อที่ประเด็นที่ดีทุกข้อ แต่จะขอยกตัวอย่างและวิพากษ์ ในข้อที่ 2 คือ
“..งบประมาณที่ใช้สำหรับการแก้ปัญหาหมอกควัน ส่งผ่านไปยังจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด จากนั้นจังหวัดจัดสรรงบประมาณลงไปยังหน่วยงานในระดับตำบลหรือเขตพื้นที่ เช่น พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ สำนักงานป่าไม้ การพิจารณางบประมาณจะพิจารณาจากพื้นที่ที่เกิดไฟ หรือจุดความร้อนซึ่งปรากฏบนภาพถ่ายดาวเทียม ยิ่งมีจุดความร้อน (hotspot) มากก็ยิ่งได้รับงบประมาณมาก ดังนั้น วิธีการที่จะให้ได้งบประมาณลงไปมากก็คือการทำให้เกิดจุดความร้อน การละเลยไม่สนใจเพื่อปล่อยให้เกิดไฟ เรื่องนี้แก้ไขได้โดยการสนับสนุนงบประมาณป้องกันในลักษณะถ้วนหน้าไปยังองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่โดยตรง หรืออย่างน้อยก็ผ่านไปยัง อบต. เทศบาลที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่า..”
ส่วนตัวมีความเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว ซึ่งการแก้ปัญหาและการบริหารของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่ผ่านมามักจะตั้งอยู่ในหลักการ “รัฐรวมศูนย์” ที่ใช้ “เงินนำหน้า ความรู้และปัญญาตามหลัง” ดังนั้น จะพบได้จากการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาส่วนใหญ่รัฐบาลจะสั่งการจากบนลงล่าง มักจะไม่ให้ความสำคัญความรู้ที่เกิดจากการศึกษาวิจัย และผู้มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญเพื่อนำไปใช้ให้เกิดผลต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งที่ผ่านมา 5 ปี รัฐบาลจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาสูงเกือบ 100,000 ล้านบาท (ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 28,082.2 ล้านบาท) ก็ตาม
เงิน แม้มีความสำคัญแต่ไม่ควรใช้เงินเป็นสิ่งเริ่มต้นในการแก้ปัญหาและการพัฒนาควรเริ่มต้นที่ ‘ความรู้และปัญญา’ ก่อน และที่สำคัญต้องเชื่อมั่นในประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย คือต้องการกระจายอำนาจกระจายงบประมาณไปสู่องค์กรชุมชนและท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา ที่เรียกว่า “สันติสุข หรือชัยชนะอยู่ที่หมู่บ้าน” นั้นเอง
ในหลักการ “นักวิชาการ” คือบุคคลซึ่งทำการค้นคว้าหาข้อมูล วิจัยวิเคราะห์ประเด็นปัญหาต่าง ๆ การแสดงความคิดเห็น การเสนอทางออกในฐานะนักวิชาการ จึงเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และหลายฝ่ายควรรับฟัง
https://www.facebook.com/TaweeSodsongOfficial/photos/a.2640485059300453/3330700176945601/
งง!'ปารีณา'คัดค้าน ทั้งที่ประชาคมเห็นด้วยสร้างโรงงาน
https://www.dailynews.co.th/politics/753373
ชาวบ้านโชว์หลักฐานภาพถ่ายวันทำประชาคม ทุกคนยกมือเห็นด้วยกับโรงงานอาหารสัตว์ที่จะก่อสร้าง สงสัย "ปารีณา" อ้างชาวบ้านเดือดร้อนมาคัดค้านได้งัย แม้กลุ่มคนที่เดินทางมากับส.ส.เอง ก็เคยยกมือเห็นด้วยมาก่อน
หลังจากที่โซเชียลมีการแชร์คลิป
เอ๋ ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ ได้โต้คารมปะทะเดือดกับเจ้าของโรงงานอาหารสัตว์ โดยเหตุเกิดเมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่บริเวณโครงการก่อสร้างโรงงานอาหารสัตว์ ชื่อ บริษัทสตาร์ฟู๊ด อาหารสัตว์ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านพุลุ้ง หมู่ที่ 9 ต.เขาชะงุ้ม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี นั้น
ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 22 ม.ค. ผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อกับทางผู้ประกอบการโรงงานเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง แต่ทางผู้ประกอบกิจการนั้นติดธุระ ไม่สามารถมาให้ข้อมูลได้ อย่างไรก็ตาม ได้รับการเปิดเผยจาก นาย
กิตติศักดิ์ คำป๋อ อายุ 49 ปี ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงานอาหารสัตว์ บอกว่า โดยส่วนตัวคิดว่าการที่มีโรงงานอาหารสัตว์มาตั้งก็อาจจะทำให้ชาวบ้านมีอาชีพ และการที่โรงงานมาตั้งก็มีการทำประชาคมผ่านไปแล้ว ซึ่งชาวบ้านก็ยกมือยินยอมให้มีการก่อสร้าง
ส่วนที่มีชาวบ้านพร้อมกับ ส.ส.
ปารีณา เข้าไปประท้วงนั้น ไม่ทราบว่ามาได้อย่างไร และทำไมถึงไปประท้วง เพราะในวันนั้นไม่ได้ไปเข้าร่วมด้วย ซึ่งในพื้นที่นั้นก็มีทั้งโรงงานและฟาร์มไก่ ฟาร์มหมู ฟาร์มเป็ดอยู่แล้ว ซึ่งถ้าจะมีผลกระทบกับชาวบ้าน ก็คงจะไม่ใช่แค่โรงงานที่กำลังก่อสร้าง แต่ทุกโรงงานก็มีผลกระทบอยู่แล้ว ซึ่งจะมีเพิ่มอีกสักโรงงานก็คงจะไม่เป็นไร ซึ่งในวันที่ทำประชาพิจารณ์ที่บ้านของผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 นั้น ก็ไม่มีชาวบ้านคนไหนยกมือคัดค้าน จึงไม่ทราบว่า ใครที่ไปร่วมกับ ส.ส.คัดค้านบ้าง
นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านออกมาให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้าที่โรงงานจะซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงงานดังกล่าว ได้มีการจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อก่อสร้างโรงงานก่อนที่จะซื้อที่ดิน ซึ่งการทำประชาพิจารณ์ในครั้งนั้นก็มีกลุ่มคน 10 กว่าคน ที่มาร้องเรียกเข้าร่วมประชุมด้วย และก็ได้ยกมือเห็นด้วยที่จะยอมให้ทางโรงงานก่อสร้างได้ ทางโรงงานถึงยอมซื้อที่ดินดังกล่าว และเอาประชาพิจารณ์ไปขออนุญาตก่อสร้างโรงงาน แต่พอภายหลังคนกลุ่มนั้นกลับมาเรียกร้องไม่ยอมให้มีการก่อสร้างโรงงาน ซึ่งที่ทางน.ส.
ปารีณา ออกมาพูดว่า ชาวบ้านเขาไม่เอาโรงงาน เพราะชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนนั้นไม่จริง เพราะทางโรงงานยังไม่ได้ก่อสร้าง ยังอยู่ในขั้นตอนของการก่อสร้างแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ชาวบ้านเขาได้รับความเดือดร้อน
ที่ผ่านมา น.ส.
ปารีณาได้ฟังความเพียงคำพูดของชาวบ้านที่ออกมาเรียกร้อง แต่ไม่เคยมาสอบถามชาวบ้านอีก 100 กว่าคน ในหมู่บ้านว่าเขาได้รับความเดือดร้อนหรือไม่ และถ้าชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจริงทำไมโดยรอบโรงเรียนและวัดก็มีฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ ล้อมรอบอยู่หลายโรง ก็ยังอยู่กันมาได้ เพราะชาวบ้านและเจ้าของฟาร์มร่วมด้วยช่วยกันในการแก้ไปปัญหาเพื่อที่จะให้สามารถอยู่ด้วยกันได้ ส่วนที่ น.ส.
ปารีณา พูดว่า เจ้าของโรงงานไม่ใช่คนที่นี้ เป็นคนกาญจนบุรี แล้วมาสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านทุกคนรู้ดีกันว่า เจ้าของโรงงานเป็นคนราชบุรี และก็ไม่เคยมาสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน อย่างที่ น.ส.
ปารีณา ให้สัมภาษณ์
JJNY : ทวีอัด รัฐรวมศูนย์ ใช้เงินนำหน้า ปัญญาตามหลัง/งง!ปารีณาค้าน ประชาคมเห็นด้วยสร้างรง./แอตต้าจี้แก้บาทแข็ง-ฝุ่นพิษ
https://www.khaosod.co.th/politics/news_3443479
การแก้ปัญหา วิกฤติ ‘หมอกควัน’ มุมมองที่แตกต่างไปจากรัฐบาล
อ่านโพสต์ ท่านอาจารย์ สามชาย ศรีสันต์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เสนอมุมมองต่อสถานการณ์หมอกควันและการเผาในที่โล่ง ที่เกิดจากประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาวิจัย
“แก้ปัญหาไฟป่า หมอกควัน ภาคเหนือ” ที่ท่านเป็นหัวหน้าโครงการการวิจัย ‘โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายเฝ้าระวังและป้องกันการเผาในที่โล่งและลดหมอกควัน’ ถือเป็นมุมมองทางวิชาการที่มีงานวิจัยสนับสนุน ซึ่งอาจมีความแตกต่างจากความเข้าใจผู้คนทั่วไปส่วนใหญ่ และแตกต่างจากนโยบายรัฐบาลที่ดำเนินการแก้ปัญหาหมอกควันในปัจจุบัน อาจารย์สามชายฯได้วิเคราะห์จากความเป็นจริงและเสนอแนะไว้ 6 ข้อที่ประเด็นที่ดีทุกข้อ แต่จะขอยกตัวอย่างและวิพากษ์ ในข้อที่ 2 คือ
“..งบประมาณที่ใช้สำหรับการแก้ปัญหาหมอกควัน ส่งผ่านไปยังจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด จากนั้นจังหวัดจัดสรรงบประมาณลงไปยังหน่วยงานในระดับตำบลหรือเขตพื้นที่ เช่น พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ สำนักงานป่าไม้ การพิจารณางบประมาณจะพิจารณาจากพื้นที่ที่เกิดไฟ หรือจุดความร้อนซึ่งปรากฏบนภาพถ่ายดาวเทียม ยิ่งมีจุดความร้อน (hotspot) มากก็ยิ่งได้รับงบประมาณมาก ดังนั้น วิธีการที่จะให้ได้งบประมาณลงไปมากก็คือการทำให้เกิดจุดความร้อน การละเลยไม่สนใจเพื่อปล่อยให้เกิดไฟ เรื่องนี้แก้ไขได้โดยการสนับสนุนงบประมาณป้องกันในลักษณะถ้วนหน้าไปยังองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่โดยตรง หรืออย่างน้อยก็ผ่านไปยัง อบต. เทศบาลที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่า..”
ส่วนตัวมีความเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว ซึ่งการแก้ปัญหาและการบริหารของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่ผ่านมามักจะตั้งอยู่ในหลักการ “รัฐรวมศูนย์” ที่ใช้ “เงินนำหน้า ความรู้และปัญญาตามหลัง” ดังนั้น จะพบได้จากการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาส่วนใหญ่รัฐบาลจะสั่งการจากบนลงล่าง มักจะไม่ให้ความสำคัญความรู้ที่เกิดจากการศึกษาวิจัย และผู้มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญเพื่อนำไปใช้ให้เกิดผลต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งที่ผ่านมา 5 ปี รัฐบาลจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาสูงเกือบ 100,000 ล้านบาท (ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 28,082.2 ล้านบาท) ก็ตาม
เงิน แม้มีความสำคัญแต่ไม่ควรใช้เงินเป็นสิ่งเริ่มต้นในการแก้ปัญหาและการพัฒนาควรเริ่มต้นที่ ‘ความรู้และปัญญา’ ก่อน และที่สำคัญต้องเชื่อมั่นในประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย คือต้องการกระจายอำนาจกระจายงบประมาณไปสู่องค์กรชุมชนและท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา ที่เรียกว่า “สันติสุข หรือชัยชนะอยู่ที่หมู่บ้าน” นั้นเอง
ในหลักการ “นักวิชาการ” คือบุคคลซึ่งทำการค้นคว้าหาข้อมูล วิจัยวิเคราะห์ประเด็นปัญหาต่าง ๆ การแสดงความคิดเห็น การเสนอทางออกในฐานะนักวิชาการ จึงเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และหลายฝ่ายควรรับฟัง
https://www.facebook.com/TaweeSodsongOfficial/photos/a.2640485059300453/3330700176945601/
งง!'ปารีณา'คัดค้าน ทั้งที่ประชาคมเห็นด้วยสร้างโรงงาน
https://www.dailynews.co.th/politics/753373
ชาวบ้านโชว์หลักฐานภาพถ่ายวันทำประชาคม ทุกคนยกมือเห็นด้วยกับโรงงานอาหารสัตว์ที่จะก่อสร้าง สงสัย "ปารีณา" อ้างชาวบ้านเดือดร้อนมาคัดค้านได้งัย แม้กลุ่มคนที่เดินทางมากับส.ส.เอง ก็เคยยกมือเห็นด้วยมาก่อน
หลังจากที่โซเชียลมีการแชร์คลิป เอ๋ ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี เขต 3 พรรคพลังประชารัฐ ได้โต้คารมปะทะเดือดกับเจ้าของโรงงานอาหารสัตว์ โดยเหตุเกิดเมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมา ที่บริเวณโครงการก่อสร้างโรงงานอาหารสัตว์ ชื่อ บริษัทสตาร์ฟู๊ด อาหารสัตว์ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านพุลุ้ง หมู่ที่ 9 ต.เขาชะงุ้ม อ.โพธาราม จ.ราชบุรี นั้น
ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 22 ม.ค. ผู้สื่อข่าวได้พยายามติดต่อกับทางผู้ประกอบการโรงงานเพื่อสอบถามข้อเท็จจริง แต่ทางผู้ประกอบกิจการนั้นติดธุระ ไม่สามารถมาให้ข้อมูลได้ อย่างไรก็ตาม ได้รับการเปิดเผยจาก นายกิตติศักดิ์ คำป๋อ อายุ 49 ปี ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงานอาหารสัตว์ บอกว่า โดยส่วนตัวคิดว่าการที่มีโรงงานอาหารสัตว์มาตั้งก็อาจจะทำให้ชาวบ้านมีอาชีพ และการที่โรงงานมาตั้งก็มีการทำประชาคมผ่านไปแล้ว ซึ่งชาวบ้านก็ยกมือยินยอมให้มีการก่อสร้าง
ส่วนที่มีชาวบ้านพร้อมกับ ส.ส.ปารีณา เข้าไปประท้วงนั้น ไม่ทราบว่ามาได้อย่างไร และทำไมถึงไปประท้วง เพราะในวันนั้นไม่ได้ไปเข้าร่วมด้วย ซึ่งในพื้นที่นั้นก็มีทั้งโรงงานและฟาร์มไก่ ฟาร์มหมู ฟาร์มเป็ดอยู่แล้ว ซึ่งถ้าจะมีผลกระทบกับชาวบ้าน ก็คงจะไม่ใช่แค่โรงงานที่กำลังก่อสร้าง แต่ทุกโรงงานก็มีผลกระทบอยู่แล้ว ซึ่งจะมีเพิ่มอีกสักโรงงานก็คงจะไม่เป็นไร ซึ่งในวันที่ทำประชาพิจารณ์ที่บ้านของผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 นั้น ก็ไม่มีชาวบ้านคนไหนยกมือคัดค้าน จึงไม่ทราบว่า ใครที่ไปร่วมกับ ส.ส.คัดค้านบ้าง
นอกจากนี้ยังมีชาวบ้านออกมาให้ข้อมูลว่า ก่อนหน้าที่โรงงานจะซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงงานดังกล่าว ได้มีการจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อก่อสร้างโรงงานก่อนที่จะซื้อที่ดิน ซึ่งการทำประชาพิจารณ์ในครั้งนั้นก็มีกลุ่มคน 10 กว่าคน ที่มาร้องเรียกเข้าร่วมประชุมด้วย และก็ได้ยกมือเห็นด้วยที่จะยอมให้ทางโรงงานก่อสร้างได้ ทางโรงงานถึงยอมซื้อที่ดินดังกล่าว และเอาประชาพิจารณ์ไปขออนุญาตก่อสร้างโรงงาน แต่พอภายหลังคนกลุ่มนั้นกลับมาเรียกร้องไม่ยอมให้มีการก่อสร้างโรงงาน ซึ่งที่ทางน.ส.ปารีณา ออกมาพูดว่า ชาวบ้านเขาไม่เอาโรงงาน เพราะชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนนั้นไม่จริง เพราะทางโรงงานยังไม่ได้ก่อสร้าง ยังอยู่ในขั้นตอนของการก่อสร้างแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ชาวบ้านเขาได้รับความเดือดร้อน
ที่ผ่านมา น.ส.ปารีณาได้ฟังความเพียงคำพูดของชาวบ้านที่ออกมาเรียกร้อง แต่ไม่เคยมาสอบถามชาวบ้านอีก 100 กว่าคน ในหมู่บ้านว่าเขาได้รับความเดือดร้อนหรือไม่ และถ้าชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนจริงทำไมโดยรอบโรงเรียนและวัดก็มีฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ ล้อมรอบอยู่หลายโรง ก็ยังอยู่กันมาได้ เพราะชาวบ้านและเจ้าของฟาร์มร่วมด้วยช่วยกันในการแก้ไปปัญหาเพื่อที่จะให้สามารถอยู่ด้วยกันได้ ส่วนที่ น.ส.ปารีณา พูดว่า เจ้าของโรงงานไม่ใช่คนที่นี้ เป็นคนกาญจนบุรี แล้วมาสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน ซึ่งชาวบ้านทุกคนรู้ดีกันว่า เจ้าของโรงงานเป็นคนราชบุรี และก็ไม่เคยมาสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน อย่างที่ น.ส.ปารีณา ให้สัมภาษณ์