เราคงเห็นข่าวอัพเดตอยู่เนืองๆ เกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ Eastern Economic Corridor (EEC) และ เราใช้เวลาคิดตกผลึกพอสมควรเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ดูใกล้ตัวและมีผลต่ออนาคตของคนไทย
ขอแบ่งเป็น 2 ตอน
ตอนที่ 1: EEC พิเศษอย่างไร
เรามีความคุ้นเคยกับจังหวัด 1 ใน 3 ที่เป็นส่วนหนึ่งของงานโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก Eastern Economic Corridor (EEC) เป็นอย่างดี ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะจังหวัดชลบุรีตั้งแต่สมัยยังเด็กมาถึงทุกวันนี้
EEC เป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ครอบคลุม 3 จังหวัดด้านตะวันออกของไทย (ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา)ถือเป็นเป็นแผนยุทธศาสตร์ของ Thailand 4.0 ที่ประกาศตั้งแต่ปี 2016
EEC ตั้งใจส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมเด่นๆ เช่น ยานยนต์ ปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์ เป็นประตูสู่อาเซียน จีน อินเดีย และเป็นเขตการค้าเสรี ระหว่างเศรษฐกิจอาเซียน และ 5 ประเทศคู่ค้า จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาหลี
• Timeline
สังเกตดูจากตารางเวลา ขณะนี้เราอยู่ในเฟส 3 ของโครงการ EEC ซึ่งกําลังเข้าใกล้ความเป็นจริงในปี2021
โครงการโครงสร้างพื้นฐานถึง 5 โครงการเป็นการร่วมมือของรัฐและเอกชน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา),โครงการสนามบินอู่ตะเภา, โครงการพัฒนาท่าเรือ แหลมฉบัง, ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และ รถไฟรางคู่
• ข้อพึงระวังของ EEC
รัฐบาลไทยได้ตั้งงบ $43 พันล้าน สําหรับการพัฒนา EEC ในอีก 5 ปีข้างหน้า และให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI ให้สิทธิประโยชน์ที่ให้กับผู้ลงทุนในเขตนี้ เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ยังมีปัญหาอีกหลายจุดที่ยังแก้ไม่ตก
👉 กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: เปิดโอกาสให้ต่างชาติมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือห้องชุด หรือบ้านจัดสรร ในโซนอีอีซี ทั้งที่จากประมวลกฎหมายที่ดินปกติแล้ว จะไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ได้โดยตรง ปัจจุบันนี้อสังหาริมทรัพย์ในบางโซน เช่น พัทยาก็มีปัญหาเรื่องการถือครองอยู่แล้ว เราไม่อยากคิดเลยว่า หากกระบวนการไม่เข้มพอ ปัญหาอาจหนักขึ้นกว่าเดิม
👉 การแข่งขันที่รุนแรงและการเข้ามามีบทบาทในไทยของธุรกิจจีน เนื่องจากจีนเลี่ยงพิษสงครามการค้ากับสหรัฐ และโยกมาลงทุนในไทย
การให้สิทธิบริษัทไทยที่มีขนาดใหญ่ร่วมกับบริษัทต่างชาติในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ควรตั้งกฏให้รัดกุมเพื่อไม่ให้ EEC เป็นที่ครหาว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ทางการค้าระหว่างบริษัท
ทางด้านอีคอมเมอร์ซ บริษัทต่างชาติอาจใช้เป็นฐาน ขนกําไรกลับประเทศตน บริษัทไทยเล็กๆ ธุรกิจ SME จะต้องปรับตัวและต่อสู้แข่งขันและอาจอยู่ไม่ได้ เราคิดว่าควรตระหนักในจุดเหล่านี้ให้มาก จริงอยู่ว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะช่วยกระตุ้น GDP ของประเทศอย่างที่เคยเห็นในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนมาแล้ว แต่การให้สิทธิประโยชน์ ควรเป็นไปอย่างรัดกุมเพื่อให้ฝ่ายที่ควรได้รับผลประโยชน์ไม่ถูกละเลย และเป็นเครื่องมือแสวงหากำไรของกลุ่มทุน
อย่าพลาดตอนที่ 2 ที่เราจะมาพูดถึงหุ้นที่ได้รับผลกระทบจาก EEC ในครั้งหน้านะครับ
หากชอบบทความนี้ ช่วยกดไลค์ Facebook: @BarracudaStocks เป็นกําลังใจให้ด้วยครับ 😊
ที่มา
https://www.eeco.or.th/en/content/eecd-eeci
http://www.xinhuanet.com/english/2020-01/07/c_138685847.htm
https://www.thailand-business-news.com/…/75517-ptt-to-inves…
#เขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ
#ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก
#EasternEconomicCorridor
#EEC
“เจาะลึก EEC” ความเสี่ยงที่มาพร้อมโอกาส
ขอแบ่งเป็น 2 ตอน
ตอนที่ 1: EEC พิเศษอย่างไร
เรามีความคุ้นเคยกับจังหวัด 1 ใน 3 ที่เป็นส่วนหนึ่งของงานโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก Eastern Economic Corridor (EEC) เป็นอย่างดี ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะจังหวัดชลบุรีตั้งแต่สมัยยังเด็กมาถึงทุกวันนี้
EEC เป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ครอบคลุม 3 จังหวัดด้านตะวันออกของไทย (ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา)ถือเป็นเป็นแผนยุทธศาสตร์ของ Thailand 4.0 ที่ประกาศตั้งแต่ปี 2016
EEC ตั้งใจส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมเด่นๆ เช่น ยานยนต์ ปิโตรเคมี อิเล็กทรอนิกส์ เป็นประตูสู่อาเซียน จีน อินเดีย และเป็นเขตการค้าเสรี ระหว่างเศรษฐกิจอาเซียน และ 5 ประเทศคู่ค้า จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาหลี
• Timeline
สังเกตดูจากตารางเวลา ขณะนี้เราอยู่ในเฟส 3 ของโครงการ EEC ซึ่งกําลังเข้าใกล้ความเป็นจริงในปี2021
โครงการโครงสร้างพื้นฐานถึง 5 โครงการเป็นการร่วมมือของรัฐและเอกชน เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา),โครงการสนามบินอู่ตะเภา, โครงการพัฒนาท่าเรือ แหลมฉบัง, ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และ รถไฟรางคู่
• ข้อพึงระวังของ EEC
รัฐบาลไทยได้ตั้งงบ $43 พันล้าน สําหรับการพัฒนา EEC ในอีก 5 ปีข้างหน้า และให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI ให้สิทธิประโยชน์ที่ให้กับผู้ลงทุนในเขตนี้ เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ยังมีปัญหาอีกหลายจุดที่ยังแก้ไม่ตก
👉 กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: เปิดโอกาสให้ต่างชาติมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือห้องชุด หรือบ้านจัดสรร ในโซนอีอีซี ทั้งที่จากประมวลกฎหมายที่ดินปกติแล้ว จะไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ได้โดยตรง ปัจจุบันนี้อสังหาริมทรัพย์ในบางโซน เช่น พัทยาก็มีปัญหาเรื่องการถือครองอยู่แล้ว เราไม่อยากคิดเลยว่า หากกระบวนการไม่เข้มพอ ปัญหาอาจหนักขึ้นกว่าเดิม
👉 การแข่งขันที่รุนแรงและการเข้ามามีบทบาทในไทยของธุรกิจจีน เนื่องจากจีนเลี่ยงพิษสงครามการค้ากับสหรัฐ และโยกมาลงทุนในไทย
การให้สิทธิบริษัทไทยที่มีขนาดใหญ่ร่วมกับบริษัทต่างชาติในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ควรตั้งกฏให้รัดกุมเพื่อไม่ให้ EEC เป็นที่ครหาว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ทางการค้าระหว่างบริษัท
ทางด้านอีคอมเมอร์ซ บริษัทต่างชาติอาจใช้เป็นฐาน ขนกําไรกลับประเทศตน บริษัทไทยเล็กๆ ธุรกิจ SME จะต้องปรับตัวและต่อสู้แข่งขันและอาจอยู่ไม่ได้ เราคิดว่าควรตระหนักในจุดเหล่านี้ให้มาก จริงอยู่ว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะช่วยกระตุ้น GDP ของประเทศอย่างที่เคยเห็นในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนมาแล้ว แต่การให้สิทธิประโยชน์ ควรเป็นไปอย่างรัดกุมเพื่อให้ฝ่ายที่ควรได้รับผลประโยชน์ไม่ถูกละเลย และเป็นเครื่องมือแสวงหากำไรของกลุ่มทุน
อย่าพลาดตอนที่ 2 ที่เราจะมาพูดถึงหุ้นที่ได้รับผลกระทบจาก EEC ในครั้งหน้านะครับ
หากชอบบทความนี้ ช่วยกดไลค์ Facebook: @BarracudaStocks เป็นกําลังใจให้ด้วยครับ 😊
ที่มา
https://www.eeco.or.th/en/content/eecd-eeci
http://www.xinhuanet.com/english/2020-01/07/c_138685847.htm
https://www.thailand-business-news.com/…/75517-ptt-to-inves…
#เขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ
#ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก
#EasternEconomicCorridor
#EEC