นักธุรกิจเค้าไม่ได้โง่นะครับ แปลว่าเค้าต้องมีเงื่อนไขอะไรที่ทำให้สามารถให้ผลตอบแทนได้ในราคานั้น

จากกรณีที่ทางสื่อต่างๆ ได้ออกมาวิเคราะห์ และวิจารณ์จากที่ทางศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้กลุ่มซีพีฯ กลับเข้ามาร่วมการประมูลโครงการสนามบินอู่ตะเภาได้อีกครั้ง

ก็เริ่มจะมีการวิเคราะห์ถึงตัวเลขที่ทั้งทางกลุ่ม CP และกลุ่ม BTS ได้ให้ราคาไว้ ว่าอาจจะสูงกว่าที่รัฐกำหนดไว้เท่าไหร่กันแน่ 

หากใครตามข่าวเรื่องการประมูลสนามบินอู่ตะเภาฯ อย่างต่อเนื่อง และอ่านสื่อหลายๆ กลุ่ม จะเห็นว่าทางนักข่าวได้คาดการณ์ตัวเลขที่ทาง 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม BBS และกลุ่ม Grand ไว้ที่ 3.05 แสนล้านบาท และ 1.2 แสนล้านบาท ตามลำดับ (เปิดซองข้อเสนอราคาซอง 3 กลุ่ม BBS เสนอราคาสูงกว่ากลุ่ม Grand แสนกว่าล้าน ; นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ; วันที่ 6 พ.ย. 2562)

ล่าสุดทาง นสพ.ข่าวสด ได้วิเคราะห์ และประเมินจำนวนผู้โดยสารโดยอ้างอิงกับซองข้อเสนอราคา (ซอง 3) ของทั้ง 3 ผู้เข้าร่วมประมูล (คาดการณ์ว่าของกลุ่ม CP อาจจะประมาณ 3.51 แสนล้านบาท ; นสพ.ข่าวสด ; วันที่ 15 ม.ค. 2563) ทำให้สามารถคาดการณ์ปริมาณจำนวนผู้โดยสารว่าแต่ละเอกชนอาจจะประมาณการณ์ผู้โดยสารสูงเกินจริง ซึ่งอาจจะทำให้โครงการนี้มีโอกาสล่ม หรือต้องมีการทิ้งการประมูลไป แล้วใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ???

ซึ่งทางบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เปิดเผยข้อมูล ปริมาณการจราจรทางอากาศของปี 61/62 (1 ต.ค.61-30 ก.ย.62) สนามบินที่มีจำนวนผู้โดยสารสูงสุด คือ สนามบินสุวรรณภูมิ มีปริมาณผู้โดยสารที่ไปใช้บริการ 64.71 ล้านคน นสพ.ข่าวหุ้น ; วันที่ 1 พ.ย. 2562

ยิ่งอ่าน ก็ยิ่งเห็นได้เลยว่า บางทีสื่อของไทยเองก็อาจจะประเมินความสามารถของเอกชนไทยต่ำไปหรือเปล่าครับ ทั้งซีพี บีทีเอส ชิโนไทย หรือแม้แต่บางกอกแอร์เวย์ ถือได้ว่าเป็นอภิมหาเศรษฐีระดับต้นๆ ของประเทศไทย ถ้าไม่มีใครทำได้ ในประเทศนี้ก็คงไม่มีใครมีความสามารถทำได้แล้วล่ะครับ

อย่างไรแล้ว วันพรุ่งนี้ได้ข่าวว่าจะมีการเปิดซองราคาของทางกลุ่มซีพี ก็หวังว่าราคาจะเป็นไปตามที่สื่อคาดการณ์ไว้ เพราะอย่างน้อยการมีสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ จะเพิ่มศักยภาพของประเทศไทยในภูมิภาคให้สูงขึ้นอย่างแน่นอนครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่