“ผู้ไม่รู้จักเรียนรู้จากอดีต จะไม่เข้าใจในปัจจุบัน และมองไม่เห็นอนาคต”
โครงการเพื่อพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกที่พึ่งเปิดซองราคา (ซองที่ 3) ของกลุ่มธนโฮลดิ้ง และพันธมิตรเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา
ผลปรากฏว่า มีข่าวหลุดจากวงในถึงซองราคาทั้ง 3 กลุ่ม ดังนี้
• กลุ่ม BBS = 305,555 ล้านบาท
• กลุ่ม CP = 102,217 ล้านบาท
• กลุ่ม Grand Consortium = 100,903 ล้านบาท
ซึ่งหากเมื่อเราย้อนเวลากลับไปช่วงเดือนมีนาคม 2559 กับการประมูล 4G ครั้งประวัติศาสตร์ ที่ราคาสูงเป็นประวัติการณ์ เมื่อบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด - JAS ที่เบียดชนะบริษัทสื่อสารยักษ์ใหญ่จนเอาชนะการประมูลคลื่น 4G ความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ไปได้ด้วยเม็ดเงินที่สูงกว่า 75,654 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า เมื่อครั้งนั้นการประมูลดุเดือดจนต้องให้ผู้เข้าร่วมประมูลต้องประมูลข้ามวันข้ามคืนกัน จนได้ผู้ชนะการประมูลคลื่น 4G ราคาสูงลิ่ว ซึ่งคณะกรรมการเน้นเรื่องราคาสูงเป็นนัยสำคัญเพียงอย่างเดียว เมื่อถึงเวลาจ่ายเงิน “แจส - JAS” ก็เบี้ยวไม่โผล่มาจ่ายค่าประมูลคลื่น 4G งวดแรก 8 พันกว่าล้านบาท
ทำให้คณะกรรมการทำได้เพียงยึดหลักทรัพย์ค้ำประกัน 644 ล้านบาท และ ค่าเสียหายที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในการประมูล 4G วงเงิน 160 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนคลื่นที่ประมูลแล้วไม่จ่ายในราคา 75,654 ล้านบาท ก็มี AIS เข้ามาประมูลเอาไปได้
เรื่องครั้งนั้น ได้สอนบทเรียนอะไรให้กับคนไทยบ้าง??
ในต่างประเทศ เมื่อมีการประมูลราคาที่สูงเกินความเป็นจริง ทางคณะกรรมการจะสั่งให้หยุดการประมูล เพราะเมื่อมีการประเมิน IRR (Internal Rate of Returen - อัตราผลตอบแทน) สูงเกินความเป็นจริง และไม่น่าจะหาแหล่งเงินกู้ได้ เป็นต้น
ทางคณะกรรมการจัดการประมูลก็ทำได้เพียงแค่
... จะสร้างความเชื่อมั่นในการประมูลครั้งต่อไปเพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ และกรณีที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ น่าจะทำให้ผู้ที่จะสนใจเตรียมความพร้อมให้รัดกุมมากขึ้น และคำนึงถึงความเป็นไปได้ทางการเงินมากขึ้น ไม่ใช่เพียงเสนอราคาเพื่อให้ชนะการประมูลไปก่อนแล้วเกิดปัญหาทีหลัง ....
??????????????????????????????????
สำหรับกรณีงานประมูลของรัฐล่าสุด - ตัวเลขของการประมูลสนามบินอู่ตะเภาที่แต่ละรายเสนอกันมาในระดับที่ห่างกันหลาย แสน .... ล้านบาท
ถึงแม้ว่าทางคณะกรรมการย้ำว่า จะสามารถเปิดเผยตัวเลขของผ็ร่วมประมูลแต่ละกลุ่มได้หลังจากที่ทางครม. อนุมัติ เพื่อให้เป็นไปตาม RFP แต่ก็มีตัวเลขทั้งหลุด และเล็ดลอดออกมาจนถึงหูนักข่าวในแต่ละสื่อ ให้นักวิเคราะห์ได้พิจารณาความเป็นไปได้ทางการเงิน (ไฟแนนเชียลโมเดล) ก่อนการตัดสิน เหตุที่กองทัพเรือยังไม่ประกาศผู้ชนะ เพราะการประมูลครั้งนี้ ผู้ที่เสนอราคาสูงสุดยัง “ไม่ใช่ผู้ชนะ”
ดังนั้น การประมูลครั้งนี้จึงไม่สามารถปล่อยผ่านได้ เพื่อป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอยการประมูล 4G และต้องตอบข้อสงสัยที่ทั้งสื่อ และนักวิเคราะห์หลายท่านได้ให้ว่า
"ทำไมผู้ประมูลเสนอผลตอบแทนให้ภาครัฐแตกต่างกันมากมาย
รายหนึ่งให้กว่า 3 แสนล้านบาท อีก 2 รายให้กว่า 1 แสนล้านบาท
และคำถามถามที่ว่า ข้อเสนอผลตอบแทนให้รัฐสูงเช่นนั้น จะเกิดขึ้นจริงได้หรือไม่?"
หากทางคณะกรรมการฯ ไม่มั่นใจในตัวเลขโมเดลทางการเงินก็ควรให้ธนาคารออกมารับรอง และค้ำประกันราคากับความเป็นไปได้โครงการ
ก็จบข่าวไปแล้ว
**************************************
เมื่อโครงการอู่ตะเภา อาจจะซ้ำรอย JAS-4G
โครงการเพื่อพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกที่พึ่งเปิดซองราคา (ซองที่ 3) ของกลุ่มธนโฮลดิ้ง และพันธมิตรเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา
ผลปรากฏว่า มีข่าวหลุดจากวงในถึงซองราคาทั้ง 3 กลุ่ม ดังนี้
• กลุ่ม BBS = 305,555 ล้านบาท
• กลุ่ม CP = 102,217 ล้านบาท
• กลุ่ม Grand Consortium = 100,903 ล้านบาท
ซึ่งหากเมื่อเราย้อนเวลากลับไปช่วงเดือนมีนาคม 2559 กับการประมูล 4G ครั้งประวัติศาสตร์ ที่ราคาสูงเป็นประวัติการณ์ เมื่อบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด - JAS ที่เบียดชนะบริษัทสื่อสารยักษ์ใหญ่จนเอาชนะการประมูลคลื่น 4G ความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ไปได้ด้วยเม็ดเงินที่สูงกว่า 75,654 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่า เมื่อครั้งนั้นการประมูลดุเดือดจนต้องให้ผู้เข้าร่วมประมูลต้องประมูลข้ามวันข้ามคืนกัน จนได้ผู้ชนะการประมูลคลื่น 4G ราคาสูงลิ่ว ซึ่งคณะกรรมการเน้นเรื่องราคาสูงเป็นนัยสำคัญเพียงอย่างเดียว เมื่อถึงเวลาจ่ายเงิน “แจส - JAS” ก็เบี้ยวไม่โผล่มาจ่ายค่าประมูลคลื่น 4G งวดแรก 8 พันกว่าล้านบาท
ทำให้คณะกรรมการทำได้เพียงยึดหลักทรัพย์ค้ำประกัน 644 ล้านบาท และ ค่าเสียหายที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในการประมูล 4G วงเงิน 160 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนคลื่นที่ประมูลแล้วไม่จ่ายในราคา 75,654 ล้านบาท ก็มี AIS เข้ามาประมูลเอาไปได้
ในต่างประเทศ เมื่อมีการประมูลราคาที่สูงเกินความเป็นจริง ทางคณะกรรมการจะสั่งให้หยุดการประมูล เพราะเมื่อมีการประเมิน IRR (Internal Rate of Returen - อัตราผลตอบแทน) สูงเกินความเป็นจริง และไม่น่าจะหาแหล่งเงินกู้ได้ เป็นต้น
สำหรับกรณีงานประมูลของรัฐล่าสุด - ตัวเลขของการประมูลสนามบินอู่ตะเภาที่แต่ละรายเสนอกันมาในระดับที่ห่างกันหลาย แสน .... ล้านบาท
ถึงแม้ว่าทางคณะกรรมการย้ำว่า จะสามารถเปิดเผยตัวเลขของผ็ร่วมประมูลแต่ละกลุ่มได้หลังจากที่ทางครม. อนุมัติ เพื่อให้เป็นไปตาม RFP แต่ก็มีตัวเลขทั้งหลุด และเล็ดลอดออกมาจนถึงหูนักข่าวในแต่ละสื่อ ให้นักวิเคราะห์ได้พิจารณาความเป็นไปได้ทางการเงิน (ไฟแนนเชียลโมเดล) ก่อนการตัดสิน เหตุที่กองทัพเรือยังไม่ประกาศผู้ชนะ เพราะการประมูลครั้งนี้ ผู้ที่เสนอราคาสูงสุดยัง “ไม่ใช่ผู้ชนะ”
ดังนั้น การประมูลครั้งนี้จึงไม่สามารถปล่อยผ่านได้ เพื่อป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอยการประมูล 4G และต้องตอบข้อสงสัยที่ทั้งสื่อ และนักวิเคราะห์หลายท่านได้ให้ว่า
หากทางคณะกรรมการฯ ไม่มั่นใจในตัวเลขโมเดลทางการเงินก็ควรให้ธนาคารออกมารับรอง และค้ำประกันราคากับความเป็นไปได้โครงการ