“การทำสมาธิ” หรือ “การนั่งสมาธิ” คือ การฝึกปฏิบัติที่ใช้ความตั้งมั่น จดจ่อ และแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติเกิดความสงบ เกิดความรู้สึกตัวหรือมีสติในการใช้ชีวิตมากขึ้น ซึ่งการทำสมาธินั้นปฏิบัติกันมานานนับพันปี โดยแรกเริ่มจะเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันทางศาสนา ตามหลักคำสอนหรือความเชื่อของแต่ละศาสนา และในปัจจุบันการทำสมาธินั้นได้แพร่หลายไปทั่วโลก โดยนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน เช่น ลดความเครียด หรือช่วยผ่อนคลายทั้งกายและใจ รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงาน
หลักการสำคัญเวลานั่งสมาธินั้น ควรหายใจแบบ “พญามังกรนอนในถ้ำน้ำแข็ง” คือ หายใจเข้าออกเบาๆ ช้าๆ ลึกๆ ละเอียดๆ โดยภายใน ๑ นาทีควรหายใจเข้าออกไม่เกิน ๕ ครั้ง เพื่อให้ลมหายใจได้ซึมซับไปทุกอณูขุมขนของร่างกาย
สมาธิมิใช่เรื่องของฤๅษีชีไพร หรือมิใช่เป็นเรื่องที่ประพฤติปฏิบัติได้เฉพาะผู้ที่เป็นนักบวชนักพรตเท่านั้น แต่สมาธิเป็นเรื่องของการฝึกฝนอบรมจิตใจ และเป็นการพัฒนาจิตใจให้มีความมั่นคง ตั้งมั่น และทำให้มีคุณภาพทางจิตใจที่ดีขึ้น ซึ่งในทางพระพุทธศาสนานั้น สมาธิสามารถประพฤติปฏิบัติได้ ทั้งเพื่อประโยชน์ต่อความมีชีวิตที่อยู่เป็นสุขในเพศภาวะของผู้ที่ยังครองเรือน และยังเป็นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้นสำหรับผู้ที่เป็นนักบวชอีกด้วย
*************************************
สมาธิกับคลื่นสมอง
จากการศึกษาคลื่นสมองของคนเราในอดีต เคยเชื่อกันว่าคลื่นสมองและสารที่หลั่งจากสมองนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถบังคับหรือควบคุมกระบวนการได้ แต่ปัจจุบันได้มีการทดลองและตรวจวัดคลื่นสมองด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ พบว่ามนุษย์สามารถควบคุมคลื่นสมองและสารที่หลั่งจากสมองได้หากมีการฝึกฝนทางจิตให้ควบคุมสภาวะทางอารมณ์และจิตใจ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องเหนือธรรมชาติหรือเร้นลับหาคำอธิบายไม่ได้ แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถฝึกฝนได้ในขณะที่เราดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ
พื้นฐานความเข้าใจเรื่องคลื่นสมองและกลไกการทำงานที่เกี่ยวข้องกันนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้เรียนรู้โลกภายในตัวเอง และมองเห็นประโยชน์ของการจัดการกับอารมณ์ ความรู้สึก และความคิดของเรา นับเป็นศิลปะในการดำรงชีวิตที่ทุกคนทำได้ ท่านทราบหรือไม่ว่าภาวะของคลื่นสมองที่เหมาะสมจะช่วยเปิดพื้นที่การเรียนรู้ในสมองของเรา ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และรับข้อมูลปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว ทำให้มนุษย์มีประสิทธิภาพสูงมากในการทำกิจกรรมหรือสร้างสรรค์ผลงาน จึงเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับแหล่งกำเนิดพลังงานชีวิตที่ธรรมชาติให้มาในตัวตนของพวกเราทุกคน
คลื่นสมองเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งได้มาจากการส่งสัญญาณเคมีทางชีวภาพในร่างกายของมนุษย์ การวัดพลังงานไฟฟ้าบริเวณสมองด้วยเครื่องมือ Electroencephalogram (EEG) ทำให้นักวิจัยทางประสาทวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ ได้ค้นพบ ความจริงว่า การเลือกตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกมีผลโดยตรงต่อสภาวะภายในที่เป็นคลื่นสมอง เราสามารถอ่านค่าผลของการวัด และแบ่งคลื่นสมองของมนุษย์ตามระดับความสั่นสะเทือน หรือความถี่ได้เป็น ๔ กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
๑.คลื่นเบต้า (Beta brainwave) มีความถี่ประมาณ ๑๔-๒๑ รอบต่อวินาที (Hz) เป็นช่วงคลื่นสมองที่เร็วที่สุด
- คลื่นเบต้า เกิดขึ้นในขณะที่สมองอยู่ในภาวะของการทำงานและควบคุมจิตใต้สำนึก (Conscious Mind) ในขณะตื่นและรู้ตัว เช่น การนั่ง ยืน เดิน ทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ ในกรณีที่จิตมีความคิดมากมายหลายอย่างจากภารกิจประจำวัน วุ่นวายใจ สับสนหรือฟุ้งซ่าน และสั่งการสมองอย่างไม่เป็นระเบียบ ความถี่ของคลื่นช่วงนี้อาจสูงขึ้นได้ถึง ๔๐ Hz โดยเฉพาะในคนที่มีความเครียดมาก อยู่ในภาวะเร่งรีบบีบคั้น ตื่นเต้นตกใจ อารมณ์ไม่ดี โกรธหรือดีใจมากๆ สมองจะมีการทำงานในช่วงคลื่นเบต้ามากเกินไป ในขณะที่หากไม่มีคลื่นเบต้าเกิดขึ้นเลย มนุษย์จะไม่สามารถเรียนรู้หรือทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ในโลกภายนอก
ปกติสมองคนเราจะมีเส้นทางอัตโนมัติในการรับรู้ความรู้สึก ที่ทำให้สั่งการได้โดยไม่ต้องใช้เวลาในการใคร่ครวญมากนัก ความเป็นอัตโนมัตินี้ส่วนใหญ่จะมีประโยชน์อยู่ในระดับหนึ่งและเป็นเรื่องกลางๆ สำหรับชีวิต ช่วยย่นย่อจดจำเรื่องราวจำเจที่ต้องทำซ้ำๆ เป็นประจำให้ดำเนินไปได้ บางส่วนเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อการรอดพ้นจากอันตรายในสถานการณ์คับขัน เช่น การดึงมือออกทันทีเมื่อบังเอิญไปสัมผัสของร้อนจัด แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ
“อารมณ์ของมนุษย์” ก็มีเส้นทางอัตโนมัติเช่นเดียวกัน แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ควบคุม และปล่อยให้ความเป็นอัตโนมัตินี้ทำงานมากเกินไปจากความเคยชินในการป้อนข้อมูลซ้ำๆ ของเราเอง ส่วนมากเป็นความอัตโนมัติในทางลบที่มีมากเกินไป ทำให้ข้อมูลเหล่านี้ถูกส่งผ่านเข้าไปสู่การทำงานของส่วนรับความรู้สึกในสมองที่เรียกว่า
“อะมิกดาลา” (Amygdala) ซึ่งเป็นสมองชั้นกลางใกล้กับก้านสมอง และมีความสามารถในการเก็บข้อมูลด้านอารมณ์จำนวนมากๆ ไว้ ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับว่าเราใส่ข้อมูลด้าน
“บวก” หรือ
“ลบ” มากน้อยแค่ไหน ก็จะทำให้สมองจดจำและตอบสนองในทิศทางนั้น หากเราปล่อยให้ความอัตโนมัตินี้ทำงานตามลำพังโดยไม่ฝึกกำหนดรู้ ก็จะทำให้เราติดกับดักของอารมณ์ที่ไม่ดีอยู่ตลอดเวลา สมองของเราจะทำงานอยู่แต่ในเฉพาะช่วงคลื่นเบต้า ซึ่งในโหมดนี้ถือว่าเป็นโหมดปกป้อง มีทั้งเบต้าอ่อนและแก่ โดยแก่หมายถึงความถี่สูง มีผลให้ความคิดถดถอยจากสภาวะปกติ และทำงานอยู่ในฐานความกลัว มีลักษณะต้านทานความเปลี่ยนแปลง บางคนจะหยุดและปิดการเรียนรู้เพราะเกิดความเครียด สภาวะนี้สมองจะหลั่งฮอร์โมนด้านลบออกมามากเกินไป นำไปสู่ปฏิกิริยาเคมีที่ทำร้ายส่วนอื่นๆ ของร่างกายเป็นลูกโซ่ต่อไปเรื่อยๆ เช่น อะดรีนาลีน คอร์ติซอล เป็นต้น
*************************************
๒.คลื่นอัลฟ่า (Alpha brainwave) มีความถี่ประมาณ ๗-๑๔ รอบต่อวินาที (Hz) เป็นความถี่ของคลื่นสมองที่ต่ำลงมาจากคลื่นเบต้า
- คลื่นอัลฟ่า เป็นคลื่นสมองที่ปรากฏบ่อยในเด็กที่มีความสุข และในผู้ใหญ่ที่มีการฝึกฝนตนเองให้สงบนิ่งมากขึ้น อาจหมายถึงสภาวะที่จิตสมดุล อยู่ในสภาวะสบายๆ มีการช้าลงด้วยการใคร่ครวญ ไม่ด่วนตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยอารมณ์อันรวดเร็ว เวลาที่ความถี่น้อยลง หมายถึงว่าเราจะคิดช้าลงเป็นจังหวะ เป็นท่วงทำนองคมชัด ให้เวลาแก่จิตในการไตร่ตรองและมีความคิดเป็นระบบขึ้น สภาวะที่สมองทำงานอยู่ในคลื่นอัลฟ่ายังพบอยู่ในหลายๆ รูปแบบ เช่น ขณะที่กล้ามเนื้อหรือร่างกายผ่อนคลาย ช่วงเวลาที่ง่วงนอน ก่อนหลับหรือหลับใหม่ๆ เวลาทำอะไรเพลินๆ จนลืมสิ่งรอบๆ ตัว เวลาสบายใจ เวลาอ่านหนังสือหรือจดจ่อกับกิจกรรมใดๆ อย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง และการเข้าสมาธิในระดับภวังค์ที่ไม่ลึกมาก
จากลักษณะดังกล่าว ช่วงคลื่นอัลฟ่าจะเป็นประตูไปสู่การทำสมาธิในระดับลึก และถือว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการป้อนข้อมูลให้แก่จิตใต้สำนึก สมองสามารถเปิดรับข้อมูลได้อย่างเต็มที่และเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นสภาวะที่จิตมีประสิทธิภาพสูง ในทางการแพทย์และจิตศาสตร์เองก็ถือว่าสภาวะนี้เป็นหัวใจของการสะกดจิตเพื่อการบำบัดโรค โดยหากจะตั้งโปรแกรมจิตใต้สำนึกก็ควรทำในช่วงที่คลื่นสมองเป็นอัลฟ่า ในคนทั่วไปเองก็ควรฝึกฝนตนเองให้สมองทำงานอยู่ในช่วงคลื่นอัลฟ่าเป็นประจำเช่นเดียวกัน เพราะจะช่วยสร้างความผ่อนคลาย ร่างกายจะไม่ทำงานอยู่บนฐานแห่งความกลัวหรือวิตกกังวล แต่จะมองชีวิตอย่างสนุกสนาน มีความรู้สึกอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรืออยากสำรวจโลกแบบเด็กๆ แต่คนส่วนใหญ่มักจะขาดการฝึกฝนให้ตนเองมีคลื่นสมองชนิดนี้ และมักปล่อยให้อารมณ์อัตโนมัติตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ อย่างรวดเร็ว ขาดการคิดใคร่ครวญด้วยระยะเวลาอันเหมาะสมก่อน หากเรามีการฝึกฝนจิตให้ตื่นรู้เช่นเดียวกันกับแนวทางการปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนา คลื่นอัลฟ่านี้จะถูกบ่มเพาะให้เข้มแข็งขึ้น สามารถรื้อโปรแกรมอัตโนมัติเก่า สร้างโปรแกรมอัตโนมัติใหม่ๆ ได้
*************************************
๓.คลื่นเธต้า (Theta brainwaves) มีคลื่นความถี่ประมาณ ๔-๑๑ รอบต่อวินาที (Hz) เป็นช่วงที่คลื่นสมองทำงานช้าลงมาก
- คลื่นเธต้า พบเป็นปกติในช่วงที่คนเราหลับ หรือมีความผ่อนคลายอย่างสูง แต่ในภาวะที่ไม่หลับคลื่นชนิดนี้ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน เช่น ขณะอยู่ในการภาวนาสมาธิที่ลึกในระดับหนึ่ง การเข้าสู่สภาวะนี้จะใกล้เคียงกับคลื่นสมองในสภาวะอัลฟ่า คือ มีความสุข สบาย ลืมความทุกข์ แต่จะมีความปิติสุขมากกว่า สภาวะนี้มีความเชื่อมโยงกับการเห็นภาพต่างๆ สมองในช่วงคลื่นเธต้าจะเปรียบเสมือนแหล่งเก็บแรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ที่อยู่ในจิตใจส่วนลึกของเรา จึงเป็นคลื่นสมองที่สะท้อนการทำงานของจิตใต้สำนึก (Subconscious Mind) อันเป็นการทำงานของเนื้อสมองส่วนใหญ่ของมนุษย์ ระดับพฤติกรรมภายใต้ความถี่ของของคลื่นเธต้าเป็นลักษณะที่บุคคลคิดคำนึงเพื่อแก้ปัญหา พบได้ทั้งลักษณะที่รู้สำนึกและไร้สำนึก ปรากฏออกมาเป็นความคิดสร้างสรรค์ เกิดความคิดหยั่งเห็น (Insight) มีความสงบทางจิต และมองโลกในแง่ดี เกิดสมาธิแน่วแน่และเกิดปัญญาญาณ มีศักยภาพสำหรับความจำระยะยาวและการระลึกรู้
*************************************
๔.คลื่นเดลต้า (Delta brainwaves) มีความถี่ประมาณ ๐-๔ รอบต่อวินาที (Hz) เป็นคลื่นสมองที่ช้าที่สุด
- คลื่นเดลต้า จะทำให้ร่างกายเกิดความผ่อนคลายในระดับที่สูงมาก เป็นคลื่นสมองที่ทำงานเชื่อมต่อกับส่วนที่เป็นจิตไร้สำนึก (Unconscious mind) เช่น ในขณะที่ร่างกายหลับลึกโดยไม่มีการฝัน หรือเกิดจากการเข้าสมาธิลึกๆ ในระดับ
“ฌาน” ในช่วงนี้คลื่นสมองแสดงให้เห็นว่าร่างกายกำลังดื่มด่ำกับการพักผ่อนลงลึกอย่างเต็มที่ เปรียบได้กับการประจุพลังงานเข้าสู่ร่างกายใหม่ ผู้ที่ผ่านการหลับลึกในช่วงเวลาที่พอเหมาะพอดีจะรู้สึกได้ถึงความสดชื่นกระปรี้กระเปร่ามากเป็นพิเศษเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่นอนหลับไม่ค่อยสนิท และสำหรับผู้ที่ทำสมาธิอยู่ในระดับฌานลึกๆ เมื่อออกจากสมาธิแล้ว ก็จะยังคงติดรสแห่งปิติสุข ทำให้เกิดความสุขใจ มีใบหน้าผ่องใสเต็มอิ่มไปด้วยความสุขสดชื่นเช่นเดียวกัน
*************************************
นอกจากนี้สมองยังแบ่งการทำงานออกเป็นซีกซ้ายและซีกขวา และคลื่นสมองทั้งสองด้านยังมีการขึ้นลงเป็นอิสระต่อกัน ทำให้ความถี่แตกต่างกัน แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า ในระหว่างการฝึกจิตทำสมาธิ จะส่งผลต่อการปรับความถี่ของสมองทั้งสองด้านให้ขึ้นลงเหมือนกัน กราฟของคลื่นสมองทั้งสองด้านมีรูปร่างคล้ายตุ๊กตา เป็นลักษณะที่เรียกว่า
“การประสาน” (Synchronization) ซึ่งการเกิด Synchronization นี้ จะทำให้เกิดพลังจิตที่เพิ่มขึ้นในมนุษย์ เป็นภาวะพิเศษแห่งการตื่นรู้ของจิต (Awakened Mind) นักวิชาการทางการแพทย์ และผู้ศึกษาและพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพกล่าวว่า
“เมื่อเราสามารถเข้าไปสู่ “จิตใต้สำนึก” หรือถึงระดับ “จิตไร้สำนึก” ได้บ่อยๆ โดยที่มี “จิตสำนึก” กำกับอยู่ ก็จะ “จำได้” และสามารถลงไปสู่แหล่งข้อมูลมหาศาลได้บ่อยมากขึ้นเร็วมากขึ้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จาก “จิตใต้สำนึก” และ “จิตไร้สำนึก” นั้น เป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ จะออกมาในลักษณะที่เรียกว่า “ญาณทัศนะ” (Intuition) หรือ “ปิ๊งแว๊บ” หรือ “ยูเรก้า” ซึ่งเป็นชุดภาษาอีกแบบหนึ่งที่อาจจะไม่ใช่คำพูด แต่มีความพอเหมาะพอดีแบบที่คาดไม่ถึง”
“มัชฌิมา” และ “ธรรมกาย” สุดยอดวิชชากรรมฐานแห่งสยามประเทศ
คลื่นสมองเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งได้มาจากการส่งสัญญาณเคมีทางชีวภาพในร่างกายของมนุษย์ การวัดพลังงานไฟฟ้าบริเวณสมองด้วยเครื่องมือ Electroencephalogram (EEG) ทำให้นักวิจัยทางประสาทวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ ได้ค้นพบ ความจริงว่า การเลือกตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกมีผลโดยตรงต่อสภาวะภายในที่เป็นคลื่นสมอง เราสามารถอ่านค่าผลของการวัด และแบ่งคลื่นสมองของมนุษย์ตามระดับความสั่นสะเทือน หรือความถี่ได้เป็น ๔ กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
- คลื่นเบต้า เกิดขึ้นในขณะที่สมองอยู่ในภาวะของการทำงานและควบคุมจิตใต้สำนึก (Conscious Mind) ในขณะตื่นและรู้ตัว เช่น การนั่ง ยืน เดิน ทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ ในกรณีที่จิตมีความคิดมากมายหลายอย่างจากภารกิจประจำวัน วุ่นวายใจ สับสนหรือฟุ้งซ่าน และสั่งการสมองอย่างไม่เป็นระเบียบ ความถี่ของคลื่นช่วงนี้อาจสูงขึ้นได้ถึง ๔๐ Hz โดยเฉพาะในคนที่มีความเครียดมาก อยู่ในภาวะเร่งรีบบีบคั้น ตื่นเต้นตกใจ อารมณ์ไม่ดี โกรธหรือดีใจมากๆ สมองจะมีการทำงานในช่วงคลื่นเบต้ามากเกินไป ในขณะที่หากไม่มีคลื่นเบต้าเกิดขึ้นเลย มนุษย์จะไม่สามารถเรียนรู้หรือทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ในโลกภายนอก
ปกติสมองคนเราจะมีเส้นทางอัตโนมัติในการรับรู้ความรู้สึก ที่ทำให้สั่งการได้โดยไม่ต้องใช้เวลาในการใคร่ครวญมากนัก ความเป็นอัตโนมัตินี้ส่วนใหญ่จะมีประโยชน์อยู่ในระดับหนึ่งและเป็นเรื่องกลางๆ สำหรับชีวิต ช่วยย่นย่อจดจำเรื่องราวจำเจที่ต้องทำซ้ำๆ เป็นประจำให้ดำเนินไปได้ บางส่วนเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อการรอดพ้นจากอันตรายในสถานการณ์คับขัน เช่น การดึงมือออกทันทีเมื่อบังเอิญไปสัมผัสของร้อนจัด แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ “อารมณ์ของมนุษย์” ก็มีเส้นทางอัตโนมัติเช่นเดียวกัน แต่คนส่วนใหญ่มักจะไม่ได้ควบคุม และปล่อยให้ความเป็นอัตโนมัตินี้ทำงานมากเกินไปจากความเคยชินในการป้อนข้อมูลซ้ำๆ ของเราเอง ส่วนมากเป็นความอัตโนมัติในทางลบที่มีมากเกินไป ทำให้ข้อมูลเหล่านี้ถูกส่งผ่านเข้าไปสู่การทำงานของส่วนรับความรู้สึกในสมองที่เรียกว่า “อะมิกดาลา” (Amygdala) ซึ่งเป็นสมองชั้นกลางใกล้กับก้านสมอง และมีความสามารถในการเก็บข้อมูลด้านอารมณ์จำนวนมากๆ ไว้ ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับว่าเราใส่ข้อมูลด้าน “บวก” หรือ “ลบ” มากน้อยแค่ไหน ก็จะทำให้สมองจดจำและตอบสนองในทิศทางนั้น หากเราปล่อยให้ความอัตโนมัตินี้ทำงานตามลำพังโดยไม่ฝึกกำหนดรู้ ก็จะทำให้เราติดกับดักของอารมณ์ที่ไม่ดีอยู่ตลอดเวลา สมองของเราจะทำงานอยู่แต่ในเฉพาะช่วงคลื่นเบต้า ซึ่งในโหมดนี้ถือว่าเป็นโหมดปกป้อง มีทั้งเบต้าอ่อนและแก่ โดยแก่หมายถึงความถี่สูง มีผลให้ความคิดถดถอยจากสภาวะปกติ และทำงานอยู่ในฐานความกลัว มีลักษณะต้านทานความเปลี่ยนแปลง บางคนจะหยุดและปิดการเรียนรู้เพราะเกิดความเครียด สภาวะนี้สมองจะหลั่งฮอร์โมนด้านลบออกมามากเกินไป นำไปสู่ปฏิกิริยาเคมีที่ทำร้ายส่วนอื่นๆ ของร่างกายเป็นลูกโซ่ต่อไปเรื่อยๆ เช่น อะดรีนาลีน คอร์ติซอล เป็นต้น
*************************************
๒.คลื่นอัลฟ่า (Alpha brainwave) มีความถี่ประมาณ ๗-๑๔ รอบต่อวินาที (Hz) เป็นความถี่ของคลื่นสมองที่ต่ำลงมาจากคลื่นเบต้า
- คลื่นอัลฟ่า เป็นคลื่นสมองที่ปรากฏบ่อยในเด็กที่มีความสุข และในผู้ใหญ่ที่มีการฝึกฝนตนเองให้สงบนิ่งมากขึ้น อาจหมายถึงสภาวะที่จิตสมดุล อยู่ในสภาวะสบายๆ มีการช้าลงด้วยการใคร่ครวญ ไม่ด่วนตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยอารมณ์อันรวดเร็ว เวลาที่ความถี่น้อยลง หมายถึงว่าเราจะคิดช้าลงเป็นจังหวะ เป็นท่วงทำนองคมชัด ให้เวลาแก่จิตในการไตร่ตรองและมีความคิดเป็นระบบขึ้น สภาวะที่สมองทำงานอยู่ในคลื่นอัลฟ่ายังพบอยู่ในหลายๆ รูปแบบ เช่น ขณะที่กล้ามเนื้อหรือร่างกายผ่อนคลาย ช่วงเวลาที่ง่วงนอน ก่อนหลับหรือหลับใหม่ๆ เวลาทำอะไรเพลินๆ จนลืมสิ่งรอบๆ ตัว เวลาสบายใจ เวลาอ่านหนังสือหรือจดจ่อกับกิจกรรมใดๆ อย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง และการเข้าสมาธิในระดับภวังค์ที่ไม่ลึกมาก
จากลักษณะดังกล่าว ช่วงคลื่นอัลฟ่าจะเป็นประตูไปสู่การทำสมาธิในระดับลึก และถือว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการป้อนข้อมูลให้แก่จิตใต้สำนึก สมองสามารถเปิดรับข้อมูลได้อย่างเต็มที่และเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นสภาวะที่จิตมีประสิทธิภาพสูง ในทางการแพทย์และจิตศาสตร์เองก็ถือว่าสภาวะนี้เป็นหัวใจของการสะกดจิตเพื่อการบำบัดโรค โดยหากจะตั้งโปรแกรมจิตใต้สำนึกก็ควรทำในช่วงที่คลื่นสมองเป็นอัลฟ่า ในคนทั่วไปเองก็ควรฝึกฝนตนเองให้สมองทำงานอยู่ในช่วงคลื่นอัลฟ่าเป็นประจำเช่นเดียวกัน เพราะจะช่วยสร้างความผ่อนคลาย ร่างกายจะไม่ทำงานอยู่บนฐานแห่งความกลัวหรือวิตกกังวล แต่จะมองชีวิตอย่างสนุกสนาน มีความรู้สึกอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรืออยากสำรวจโลกแบบเด็กๆ แต่คนส่วนใหญ่มักจะขาดการฝึกฝนให้ตนเองมีคลื่นสมองชนิดนี้ และมักปล่อยให้อารมณ์อัตโนมัติตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ อย่างรวดเร็ว ขาดการคิดใคร่ครวญด้วยระยะเวลาอันเหมาะสมก่อน หากเรามีการฝึกฝนจิตให้ตื่นรู้เช่นเดียวกันกับแนวทางการปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนา คลื่นอัลฟ่านี้จะถูกบ่มเพาะให้เข้มแข็งขึ้น สามารถรื้อโปรแกรมอัตโนมัติเก่า สร้างโปรแกรมอัตโนมัติใหม่ๆ ได้
*************************************
๓.คลื่นเธต้า (Theta brainwaves) มีคลื่นความถี่ประมาณ ๔-๑๑ รอบต่อวินาที (Hz) เป็นช่วงที่คลื่นสมองทำงานช้าลงมาก
- คลื่นเธต้า พบเป็นปกติในช่วงที่คนเราหลับ หรือมีความผ่อนคลายอย่างสูง แต่ในภาวะที่ไม่หลับคลื่นชนิดนี้ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน เช่น ขณะอยู่ในการภาวนาสมาธิที่ลึกในระดับหนึ่ง การเข้าสู่สภาวะนี้จะใกล้เคียงกับคลื่นสมองในสภาวะอัลฟ่า คือ มีความสุข สบาย ลืมความทุกข์ แต่จะมีความปิติสุขมากกว่า สภาวะนี้มีความเชื่อมโยงกับการเห็นภาพต่างๆ สมองในช่วงคลื่นเธต้าจะเปรียบเสมือนแหล่งเก็บแรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ที่อยู่ในจิตใจส่วนลึกของเรา จึงเป็นคลื่นสมองที่สะท้อนการทำงานของจิตใต้สำนึก (Subconscious Mind) อันเป็นการทำงานของเนื้อสมองส่วนใหญ่ของมนุษย์ ระดับพฤติกรรมภายใต้ความถี่ของของคลื่นเธต้าเป็นลักษณะที่บุคคลคิดคำนึงเพื่อแก้ปัญหา พบได้ทั้งลักษณะที่รู้สำนึกและไร้สำนึก ปรากฏออกมาเป็นความคิดสร้างสรรค์ เกิดความคิดหยั่งเห็น (Insight) มีความสงบทางจิต และมองโลกในแง่ดี เกิดสมาธิแน่วแน่และเกิดปัญญาญาณ มีศักยภาพสำหรับความจำระยะยาวและการระลึกรู้
*************************************
๔.คลื่นเดลต้า (Delta brainwaves) มีความถี่ประมาณ ๐-๔ รอบต่อวินาที (Hz) เป็นคลื่นสมองที่ช้าที่สุด
- คลื่นเดลต้า จะทำให้ร่างกายเกิดความผ่อนคลายในระดับที่สูงมาก เป็นคลื่นสมองที่ทำงานเชื่อมต่อกับส่วนที่เป็นจิตไร้สำนึก (Unconscious mind) เช่น ในขณะที่ร่างกายหลับลึกโดยไม่มีการฝัน หรือเกิดจากการเข้าสมาธิลึกๆ ในระดับ “ฌาน” ในช่วงนี้คลื่นสมองแสดงให้เห็นว่าร่างกายกำลังดื่มด่ำกับการพักผ่อนลงลึกอย่างเต็มที่ เปรียบได้กับการประจุพลังงานเข้าสู่ร่างกายใหม่ ผู้ที่ผ่านการหลับลึกในช่วงเวลาที่พอเหมาะพอดีจะรู้สึกได้ถึงความสดชื่นกระปรี้กระเปร่ามากเป็นพิเศษเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่นอนหลับไม่ค่อยสนิท และสำหรับผู้ที่ทำสมาธิอยู่ในระดับฌานลึกๆ เมื่อออกจากสมาธิแล้ว ก็จะยังคงติดรสแห่งปิติสุข ทำให้เกิดความสุขใจ มีใบหน้าผ่องใสเต็มอิ่มไปด้วยความสุขสดชื่นเช่นเดียวกัน
*************************************
นอกจากนี้สมองยังแบ่งการทำงานออกเป็นซีกซ้ายและซีกขวา และคลื่นสมองทั้งสองด้านยังมีการขึ้นลงเป็นอิสระต่อกัน ทำให้ความถี่แตกต่างกัน แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า ในระหว่างการฝึกจิตทำสมาธิ จะส่งผลต่อการปรับความถี่ของสมองทั้งสองด้านให้ขึ้นลงเหมือนกัน กราฟของคลื่นสมองทั้งสองด้านมีรูปร่างคล้ายตุ๊กตา เป็นลักษณะที่เรียกว่า “การประสาน” (Synchronization) ซึ่งการเกิด Synchronization นี้ จะทำให้เกิดพลังจิตที่เพิ่มขึ้นในมนุษย์ เป็นภาวะพิเศษแห่งการตื่นรู้ของจิต (Awakened Mind) นักวิชาการทางการแพทย์ และผู้ศึกษาและพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพกล่าวว่า “เมื่อเราสามารถเข้าไปสู่ “จิตใต้สำนึก” หรือถึงระดับ “จิตไร้สำนึก” ได้บ่อยๆ โดยที่มี “จิตสำนึก” กำกับอยู่ ก็จะ “จำได้” และสามารถลงไปสู่แหล่งข้อมูลมหาศาลได้บ่อยมากขึ้นเร็วมากขึ้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จาก “จิตใต้สำนึก” และ “จิตไร้สำนึก” นั้น เป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ จะออกมาในลักษณะที่เรียกว่า “ญาณทัศนะ” (Intuition) หรือ “ปิ๊งแว๊บ” หรือ “ยูเรก้า” ซึ่งเป็นชุดภาษาอีกแบบหนึ่งที่อาจจะไม่ใช่คำพูด แต่มีความพอเหมาะพอดีแบบที่คาดไม่ถึง”