ผู้ที่บอกว่าการนั่งสมาธิแบบธรรมกายนั้น ไม่ใช่แนวทางของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท แสดงว่าไม่เคยศึกษาประวัติการนั่งสมาธิ
ของเถรวาทมาก่อนเลย เพราะการนั่งสมาธิแบบธรรมกายมีความคล้ายคลึงกับการนั่งสมาธิแบบ "มัชฌิมาแบบลำดับ"
ของพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) มากที่สุด การนั่งสมาธิแบบมัชฌิมานี้สอนกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และสืบต่อขึ้นไปอีกตั้งแต่อดีต
เป็นการสอนสมาธิที่ให้กำหนดฐานตั้งจิตเป็นทางเดินของจิตไปตามฐานต่างๆ คล้ายคลึงกับของธรรมกายมาก (ดูรูป)
ตามประวัติก็มีพูดว่าหลวงพ่อสดและหลวงปู่โต๊ะ (วัดประดู่ฉิมพลี) ก็เคยไปศึกษาการนั่งสมาธิของวัดพลับที่สอนการนั่งแบบมัชฌิมานี้
ซึ่งพระสังฆราชสุกท่านก็เป็นพระสังฆราชองค์แรกของไทยในยุครัตนโกสินทร์สมัย ร.1 และเป็นพระอาจารย์ของ ร.2 อีกด้วย
ผมได้คัดประวัติการนั่งสมาธิแบบ "มัชฌิมาแบบลำดับ" มาให้ดูว่ามีมาตั้งแต่อยุธยา สืบค้นไปถึงสุโขทัย ศรีวิชัย ......
ดังนั้นขอให้เลิกพูดเสียทีว่าการนั่งสมาธิแบบธรรมกายไม่ใช่เถรวาท เพราะนั่งสมาธิลักษณะแนวแบบนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วครับ
คัดมาจาก
https://somdechsuk.org/node/7
การสถาปนา วัดป่าแก้ว สถาปนาตำแหน่งพระพนรัตน ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนาวัดป่าแก้ว เมื่อปีพระพุทธศํกราช ๑๙๙๐–๑๙๐๗ เป็นที่สถิตของพระพนรัตน พระสังฆราชฝ่ายซ้าย คณะอรัญวาสี
เมื่อสถาปนาวัดป่าแก้วแล้ว ตำแหน่งพระเทพมุนี ตำแหน่งพระธรรมภาวนาเถร จึงย้ายจากวัดพุทไธศวรรย์ มาสถิตวัดป่าแก้ว อันเป็นคณะอรัญวาสี
ต่อมาปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงสถาปนาวัดกุฎีดาว จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายตำแหน่งพระเทพมุนี พระราชาคณะอรัญวาสี ซึ่งเคยสถิตวัดป่าแก้ว ย้ายมาสถิตวัดกุฎีดาว ตำแหน่งพระธรรมภาวนาเถร มาสถิตวัดราชาวาส
คณะสงฆ์วัดป่าแก้ว ศึกษาหนักไปในทางสมถะ-วิปัสสนาธุระมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ภายในวัดป่าแก้วก็ศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์ด้วย ศึกษาควบคู่กันไป
วัดป่าแก้ว เดิมเป็นวัดราษฎร์เล็กๆมีนามเดิมว่า วัดชายทุ่ง หลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทองที่ ๓) ทรงครองราชสมบัติแล้ว ๑๕ ปี คือตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๑๘๙๓–๑๙๐๗ หลังจากถวายพระเพลิงพระศพเจ้าแก้ว และเจ้าไทย ซึ่งทิวงคตด้วยอหิวาตกโรคจึงทรงสถาปนาวัดชายทุ่ง ให้วัฒนาถาวรดีขึ้นกว่าเก่า ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง แล้วพระราชทานขนานนามพระอารามใหม่ว่า วัดป่าแก้ว การสถาปนาวัดป่าแก้วนั้น สถาปนาก่อนสวรรคต ๕ ปี วัดป่าแก้วเป็นวัดพระกรรมฐานหลัก วัดพระกรรมฐานใหญ่ เป็นแม่แบบพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่ศึกษากันมาจนทุกวันนี้
ผู้ที่บอกว่าการนั่งสมาธิแบบธรรมกายนั้น ไม่ใช่แนวทางของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท แสดงว่าไม่เคยศึกษาประวัติการนั่งสมาธิ
ของเถรวาทมาก่อนเลย เพราะการนั่งสมาธิแบบธรรมกายมีความคล้ายคลึงกับการนั่งสมาธิแบบ "มัชฌิมาแบบลำดับ"
ของพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) มากที่สุด การนั่งสมาธิแบบมัชฌิมานี้สอนกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และสืบต่อขึ้นไปอีกตั้งแต่อดีต
เป็นการสอนสมาธิที่ให้กำหนดฐานตั้งจิตเป็นทางเดินของจิตไปตามฐานต่างๆ คล้ายคลึงกับของธรรมกายมาก (ดูรูป)
ตามประวัติก็มีพูดว่าหลวงพ่อสดและหลวงปู่โต๊ะ (วัดประดู่ฉิมพลี) ก็เคยไปศึกษาการนั่งสมาธิของวัดพลับที่สอนการนั่งแบบมัชฌิมานี้
ซึ่งพระสังฆราชสุกท่านก็เป็นพระสังฆราชองค์แรกของไทยในยุครัตนโกสินทร์สมัย ร.1 และเป็นพระอาจารย์ของ ร.2 อีกด้วย
ผมได้คัดประวัติการนั่งสมาธิแบบ "มัชฌิมาแบบลำดับ" มาให้ดูว่ามีมาตั้งแต่อยุธยา สืบค้นไปถึงสุโขทัย ศรีวิชัย ......
ดังนั้นขอให้เลิกพูดเสียทีว่าการนั่งสมาธิแบบธรรมกายไม่ใช่เถรวาท เพราะนั่งสมาธิลักษณะแนวแบบนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้วครับ
คัดมาจาก https://somdechsuk.org/node/7
การสถาปนา วัดป่าแก้ว สถาปนาตำแหน่งพระพนรัตน ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนาวัดป่าแก้ว เมื่อปีพระพุทธศํกราช ๑๙๙๐–๑๙๐๗ เป็นที่สถิตของพระพนรัตน พระสังฆราชฝ่ายซ้าย คณะอรัญวาสี
เมื่อสถาปนาวัดป่าแก้วแล้ว ตำแหน่งพระเทพมุนี ตำแหน่งพระธรรมภาวนาเถร จึงย้ายจากวัดพุทไธศวรรย์ มาสถิตวัดป่าแก้ว อันเป็นคณะอรัญวาสี
ต่อมาปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงสถาปนาวัดกุฎีดาว จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายตำแหน่งพระเทพมุนี พระราชาคณะอรัญวาสี ซึ่งเคยสถิตวัดป่าแก้ว ย้ายมาสถิตวัดกุฎีดาว ตำแหน่งพระธรรมภาวนาเถร มาสถิตวัดราชาวาส
คณะสงฆ์วัดป่าแก้ว ศึกษาหนักไปในทางสมถะ-วิปัสสนาธุระมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ภายในวัดป่าแก้วก็ศึกษาพระบาลีมูลกัจจายน์ด้วย ศึกษาควบคู่กันไป
วัดป่าแก้ว เดิมเป็นวัดราษฎร์เล็กๆมีนามเดิมว่า วัดชายทุ่ง หลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทองที่ ๓) ทรงครองราชสมบัติแล้ว ๑๕ ปี คือตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๑๘๙๓–๑๙๐๗ หลังจากถวายพระเพลิงพระศพเจ้าแก้ว และเจ้าไทย ซึ่งทิวงคตด้วยอหิวาตกโรคจึงทรงสถาปนาวัดชายทุ่ง ให้วัฒนาถาวรดีขึ้นกว่าเก่า ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง แล้วพระราชทานขนานนามพระอารามใหม่ว่า วัดป่าแก้ว การสถาปนาวัดป่าแก้วนั้น สถาปนาก่อนสวรรคต ๕ ปี วัดป่าแก้วเป็นวัดพระกรรมฐานหลัก วัดพระกรรมฐานใหญ่ เป็นแม่แบบพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่ศึกษากันมาจนทุกวันนี้