ประเทศสิงคโปร์ เป็นรัฐเพียงแห่งเดียวที่มีชาวจีนโพ้นทะเลเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แต่คนสิงคโปร์ส่วนใหญ่มีทั้งจีน มลายู อินเดีย
สิงคโปร์ รวมกับมาเลเซียเป็นระยะเวลาสั้นๆ ในปี 1963 ก่อนที่ในปี 1965 จะก่อตั้งประเทศและพัฒนาอย่างรวดเร็วจนเจริญรุ่งเรืองอย่างในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าที่สิงคโปร์จะก่อกำเนิดในฐานะรัฐของคนจีนนั้น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็เคยมีรัฐของคนจีนมาก่อนหน้านี้แล้ว
รัฐนี้ชื่อว่า สาธาณรัฐหลันฟัง (Lanfang Republic) ความจริง ไม่น่าจะเป็นสาธารณรัฐเต็มตัว แต่น่าจะเรียกว่ารัฐกงสีมากกว่า
สาธารณรัฐหลันฟัง ก่อตั้งโดย ล่อฟั่งปัก หรือสำเนียงจีนกลางว่า หลัว ฟังป๋อ (羅芳伯) โดยพื้นที่ของรัฐ อยู่บริเวณทางบอร์เนียวตะวันตกในปัจจุบัน
แต่เดิม สาธารณรัฐหลันฟัง ไม่ได้ตั้งใจถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสถาปนาเป็นรัฐโดยตั้งใจ แต่เดิมเป็นเพียงแค่บริษัทกงสี ที่ทำหน้าที่เพียงแค่ขุดเหมืองแร่
ทว่า ด้วยการรุกรานของดัตช์ ทำให้ต้องก่อตั้งรัฐกงสีขึ้นมาเพื่อป้องกันการรุกราน โดยก่อตั้งในปี 1777 หลังการสถาปนาสหรัฐอเมริกาเพียง 1 ปี!!
หลัว ฟังป๋อ ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนแรก ด้วยเสียงจากคนส่วนใหญ่ และได้เริ่มวางรากฐานโดยการใช้ระบบที่คล้ายกับของทางแบบยุโรป
สันนิษฐานว่า หลัว ฟังป๋อ น่าจะใช้การแบ่งแยกอำนาจตามแบบประเทศยุโรปอย่างอังกฤษและดัตช์ในเวลานั้น มาใช้กับรัฐกงสีของเขาเอง
นอกจากนี้ ยังมีการใช้ระบบเกณฑ์ทหารเมื่อต้องทำการสู้รบกันด้วย แต่ไม่ได้มีทหารประจำการหรือเป็นอาชีพแต่อย่างใดโดยเฉพาะในยามสงบ
แม้ว่าหลัว ฟังป๋อ จะไม่เป็นกษัตริย์หรือสืบทอดอำนาจ แต่เขาก็ยังนิยมแนวทางแบบจีนโบราณบางส่วน เช่น การจัดตั้งปีก่อตั้งเป็นปีแรกของสาธารณรัฐ
หลัว ฟังป๋อ ยังได้ส่งสาส์นไปยังฮ๋องเต้ราชวงศ์ชิง ถวายทูลว่าเขาได้ก่อตั้งสาธารณรัฐในบอร์เนียวขึ้นและจะส่งจิ้มก้องไปให้ในฐานะรัฐบรรณาการ
นอกจานกี้ หลัว ฟังป๋อ ยังมีสัมพันธไมตรีอันดีกับชารีฟ อับดุร์ระห์มัน อัลกาดรี สุลต่านองค์แรกแห่งรัฐสุลต่านโปนตีอานะก์ และเกื้อกูลกันตลอด
หลัว ฟังป๋อ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐหลันฟังจนถึงปี 1795 จึงได้เสียชีวิต เสียงส่วนใหญ่ลงมติให้ เจียง อู่ป๋อ ดำรงตำแหน่งต่อ
ผู้นำของสาธารณรัฐหลันฟังหลังจากนั้น ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเกษตรกรรม เหมืองแร่ การศึกษา และการทหาร จนทำให้ชาวพื้นเมืองยอมรับ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะหลังนั้น ดัตช์เริ่มพยายามขยายอำนาจ ยึดครองดินแดนในเกาะบอร์เนียว โดยมีผลกระทบต่อรัฐกงสีต่างๆ ในเกาะอย่างมาก
ชาวจีนที่ได้รับผลกระทบ ต่างพยายามก่อกบฏและสู้รบกับดัตช์ แต่ก็ถูกปราบปรามโดยง่ายดาย โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1822 ครั้งที่สองในปี 1850
ครั้งสุดท้ายนั้น เกิดขึ้นโดยชาวหลันฟังพร้อมกับชนพื้นเมืองที่สู้รบต่อต้านกับดัตช์เอง โดยเกิดขึ้นในปี 1884 นำโดย ลินอาซิน ผู้นำคนสุดท้าย
บันทึกของดัตช์ เรียกการกบฏว่าเป็นการก่อกำเริบของพวกอั้งยี่ อย่างไรก็ตาม กว่าที่ดัตช์จะสามารถเอาชนะกบฏได้ ก็ต้องสูญเสียทหารมากมาย
ดัตช์ได้สร้างอนุสรณ์เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น การสูญเสียส่วนหนึ่ง เกิดจากสภาพแวดล้อมที่โหดหินของเกาะบอร์เนียวในเวลานั้นด้วย
ส่วนลูกหลานชาวหลันฟัง ต่างได้อพยพหนีไปยังสุมาตราหรือสิงคโปร์ ส่วนสาธารณรัฐหลันฟัง ได้สิ้นสุดลงแต่นั้น รวมเวลาประมาณ 107 ปี
แม้ว่าโดยพฤตินัยนั้น สาธารณรัฐหลันฟัง จะถูกจัดให้อยู่ในฐานะรัฐกงสี มากกว่าจะเป็นสาธารณรัฐแบบอย่างในยุคปัจจุบัน แต่ก็ถือว่าไม่เชิง
สาธารณรัฐหลันฟัง มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ถือเสียงข้างมาก และใช้ระบบแยกอำนาจ ซึ่งมีมาก่อนที่จะเกิดปฏิวัติซินไห่หลายร้อยปี
สำหรับชาวจีนในอินโดนีเซียนั้น ในปัจจุบันก็ถือว่ากลมกลืนกับชาวอินโดนีเซียทั่วไป ไม่ต่างกับในไทยหรือกัมพูชา แต่การกระทบกระทั่งก็เคยเกิด
มีช่วงระยะหนึ่ง ที่เกิดการต่อต้านชาวจีนอย่างรุนแรง จนถึงขั้นมีการทารุณกรรมกันในเดือนพฤษภาคม 1998 ช่วงการต่อต้านซูฮาร์โตซึ่งสนับสนุนจีน
ปัจจุบัน อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรเชื้อสายจีนค่อนข้างมากโดยเฉพาะในกรุงจาการ์ตา มีร้านอาหารจีนขายอยู่ทั่วเมืองไม่แพ้เมืองไทยครับ
รัฐ 'จีนโพ้นทะเล' แห่งแรก ที่เกิดก่อนสิงคโปร์ร้อยกว่าปี
สิงคโปร์ รวมกับมาเลเซียเป็นระยะเวลาสั้นๆ ในปี 1963 ก่อนที่ในปี 1965 จะก่อตั้งประเทศและพัฒนาอย่างรวดเร็วจนเจริญรุ่งเรืองอย่างในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าที่สิงคโปร์จะก่อกำเนิดในฐานะรัฐของคนจีนนั้น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็เคยมีรัฐของคนจีนมาก่อนหน้านี้แล้ว
รัฐนี้ชื่อว่า สาธาณรัฐหลันฟัง (Lanfang Republic) ความจริง ไม่น่าจะเป็นสาธารณรัฐเต็มตัว แต่น่าจะเรียกว่ารัฐกงสีมากกว่า
สาธารณรัฐหลันฟัง ก่อตั้งโดย ล่อฟั่งปัก หรือสำเนียงจีนกลางว่า หลัว ฟังป๋อ (羅芳伯) โดยพื้นที่ของรัฐ อยู่บริเวณทางบอร์เนียวตะวันตกในปัจจุบัน
แต่เดิม สาธารณรัฐหลันฟัง ไม่ได้ตั้งใจถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสถาปนาเป็นรัฐโดยตั้งใจ แต่เดิมเป็นเพียงแค่บริษัทกงสี ที่ทำหน้าที่เพียงแค่ขุดเหมืองแร่
ทว่า ด้วยการรุกรานของดัตช์ ทำให้ต้องก่อตั้งรัฐกงสีขึ้นมาเพื่อป้องกันการรุกราน โดยก่อตั้งในปี 1777 หลังการสถาปนาสหรัฐอเมริกาเพียง 1 ปี!!
หลัว ฟังป๋อ ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีคนแรก ด้วยเสียงจากคนส่วนใหญ่ และได้เริ่มวางรากฐานโดยการใช้ระบบที่คล้ายกับของทางแบบยุโรป
สันนิษฐานว่า หลัว ฟังป๋อ น่าจะใช้การแบ่งแยกอำนาจตามแบบประเทศยุโรปอย่างอังกฤษและดัตช์ในเวลานั้น มาใช้กับรัฐกงสีของเขาเอง
นอกจากนี้ ยังมีการใช้ระบบเกณฑ์ทหารเมื่อต้องทำการสู้รบกันด้วย แต่ไม่ได้มีทหารประจำการหรือเป็นอาชีพแต่อย่างใดโดยเฉพาะในยามสงบ
แม้ว่าหลัว ฟังป๋อ จะไม่เป็นกษัตริย์หรือสืบทอดอำนาจ แต่เขาก็ยังนิยมแนวทางแบบจีนโบราณบางส่วน เช่น การจัดตั้งปีก่อตั้งเป็นปีแรกของสาธารณรัฐ
หลัว ฟังป๋อ ยังได้ส่งสาส์นไปยังฮ๋องเต้ราชวงศ์ชิง ถวายทูลว่าเขาได้ก่อตั้งสาธารณรัฐในบอร์เนียวขึ้นและจะส่งจิ้มก้องไปให้ในฐานะรัฐบรรณาการ
นอกจานกี้ หลัว ฟังป๋อ ยังมีสัมพันธไมตรีอันดีกับชารีฟ อับดุร์ระห์มัน อัลกาดรี สุลต่านองค์แรกแห่งรัฐสุลต่านโปนตีอานะก์ และเกื้อกูลกันตลอด
หลัว ฟังป๋อ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐหลันฟังจนถึงปี 1795 จึงได้เสียชีวิต เสียงส่วนใหญ่ลงมติให้ เจียง อู่ป๋อ ดำรงตำแหน่งต่อ
ผู้นำของสาธารณรัฐหลันฟังหลังจากนั้น ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเกษตรกรรม เหมืองแร่ การศึกษา และการทหาร จนทำให้ชาวพื้นเมืองยอมรับ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะหลังนั้น ดัตช์เริ่มพยายามขยายอำนาจ ยึดครองดินแดนในเกาะบอร์เนียว โดยมีผลกระทบต่อรัฐกงสีต่างๆ ในเกาะอย่างมาก
ชาวจีนที่ได้รับผลกระทบ ต่างพยายามก่อกบฏและสู้รบกับดัตช์ แต่ก็ถูกปราบปรามโดยง่ายดาย โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1822 ครั้งที่สองในปี 1850
ครั้งสุดท้ายนั้น เกิดขึ้นโดยชาวหลันฟังพร้อมกับชนพื้นเมืองที่สู้รบต่อต้านกับดัตช์เอง โดยเกิดขึ้นในปี 1884 นำโดย ลินอาซิน ผู้นำคนสุดท้าย
บันทึกของดัตช์ เรียกการกบฏว่าเป็นการก่อกำเริบของพวกอั้งยี่ อย่างไรก็ตาม กว่าที่ดัตช์จะสามารถเอาชนะกบฏได้ ก็ต้องสูญเสียทหารมากมาย
ดัตช์ได้สร้างอนุสรณ์เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น การสูญเสียส่วนหนึ่ง เกิดจากสภาพแวดล้อมที่โหดหินของเกาะบอร์เนียวในเวลานั้นด้วย
ส่วนลูกหลานชาวหลันฟัง ต่างได้อพยพหนีไปยังสุมาตราหรือสิงคโปร์ ส่วนสาธารณรัฐหลันฟัง ได้สิ้นสุดลงแต่นั้น รวมเวลาประมาณ 107 ปี
แม้ว่าโดยพฤตินัยนั้น สาธารณรัฐหลันฟัง จะถูกจัดให้อยู่ในฐานะรัฐกงสี มากกว่าจะเป็นสาธารณรัฐแบบอย่างในยุคปัจจุบัน แต่ก็ถือว่าไม่เชิง
สาธารณรัฐหลันฟัง มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ถือเสียงข้างมาก และใช้ระบบแยกอำนาจ ซึ่งมีมาก่อนที่จะเกิดปฏิวัติซินไห่หลายร้อยปี
สำหรับชาวจีนในอินโดนีเซียนั้น ในปัจจุบันก็ถือว่ากลมกลืนกับชาวอินโดนีเซียทั่วไป ไม่ต่างกับในไทยหรือกัมพูชา แต่การกระทบกระทั่งก็เคยเกิด
มีช่วงระยะหนึ่ง ที่เกิดการต่อต้านชาวจีนอย่างรุนแรง จนถึงขั้นมีการทารุณกรรมกันในเดือนพฤษภาคม 1998 ช่วงการต่อต้านซูฮาร์โตซึ่งสนับสนุนจีน
ปัจจุบัน อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรเชื้อสายจีนค่อนข้างมากโดยเฉพาะในกรุงจาการ์ตา มีร้านอาหารจีนขายอยู่ทั่วเมืองไม่แพ้เมืองไทยครับ