ผมพบว่ามีคนจำนวนไม่น้อย (รวมทั้งตัวผมเอง) มีวิธีคิดที่ผิดเวลาถกเถียงกันเพื่อแก้ปัญหาอะไรบางอย่าง ทำให้รังแต่จะทะเลาะกันและไม่นำไปสู่ทางออกของปัญหา
เพื่อให้เข้าใจผมจะขออธิบายจากภาพนี้ครับ
1. เริ่มจากมีคน (ฝ่ายเสนอ) เสนอว่าสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีปัญหาต่างๆ (เช่นปัญหาการเกณฑ์ทหาร ปัญหาเกี่ยวกับกฎการบังคับแต่งเครื่องแบบนักเรียนนักศึกษา เป็นต้น)
2. คนที่ไม่เห็นด้วย (ฝ่ายค้าน) ก็จะมี mindset ยึดติดกับ solution หนึ่งๆ เป็นพิเศษ (ซึ่งอาจจะมโนขึ้นเอง หรือเป็น solution ที่ฝ่ายเสนอยกตัวอย่างขึ้นมา) แล้วก็หยิบยกเองปัญหาที่เกิดจาก solution ดังกล่าวมาเป็นข้อโต้แย้ง โดยมักจะละเลยการพิจารณาว่าสิ่งที่ฝ่ายเสนอกล่าวมานั้น "เป็นปัญหาจริงหรือไม่"
3. ผลลัพธ์จบลงที่ทั้งสองฝ่ายทะเลาะกันไม่สิ้นสุด
4. หรืออย่างดีขึ้นมาหน่อย ก็คือไม่ได้ทะเลาะกันตรงๆ แต่ก็แตกแยกแบ่งฝ่ายกันอยู่ดี (ซึ่งก็มักจะกลับไม่สู่ข้อ 3 ในที่สุด)
5. เรามักไม่ค่อยมาถึงจุดนี้ คือฝ่ายค้านยอมรับว่าสิ่งที่ฝ่ายเสนอกล่าวนั้น "เป็นปัญหาจริง" และทั้งสองฝ่ายไม่ยิดตึดกับ solution ใดๆ เป็นพิเศษ แต่ร่วมกันถกเถียงว่าแต่ละ solution มีข้อดีข้อเสียอย่างไร
ทำอย่างไรจึงจะนำไปสู่ข้อ 5 ได้
1. ฝ่ายเสนอ จะต้องอธิบายโดยแยกให้ชัดระหว่าง "ปัญหา" กับ "solution" (อย่าเอามาปนกัน) โดยต้องเน้นว่า solution ที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ฝ่ายเสนอไม่ควรยึดติดกับ solution ของตัวเอง และควรมุ่งนั้นโปรโมตให้คนอื่นเข้าใจถึง "ปัญหา" มากกว่าที่จะมุ่งเน้นโปรโมตตัว "solution"
2. ฝ่ายค้านต้องเริ่มจากพิจารณาก่อนว่า "ปัญหา" ของฝ่ายเสนอนั้น "เป็นปัญหาจริงหรือไม่" ถ้าคิดว่ามันไม่ใช่ปัญหาจริง ก็ควรมุ่งนั้นโปรโมตให้คนอื่นเข้าใจว่าทำไม่มันจึงไม่ใช่ปัญหา -- ไม่ควรนอกเรื่อง นำปัญหาอื่นๆ มากลบเกลื่อน และอย่ามโนไปเองว่าคุณมองเห็นทุก solution ที่เป็นไปได้หมดแล้ว
3. ถ้าฝ่ายค้านพิจารณาแล้วว่ามันเป็นปัญหาจริงๆ สิ่งแรกที่ควรพูดออกมาให้ชัดก่อนสิ่งอื่นใด ก็คือคุณ "เห็นด้วยว่ามันเป็นปัญหาจริง" -- แต่เราควรจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่หรือไม่ และเปลี่ยนอย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่ยังสรุปไม่ได้ ต้องคุยกันต่อไป
4. หลังจากยอมรับปัญหาแล้ว หากฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับตัวอย่าง solution ของฝ่ายเสนอ ค่อยหยิบยกข้อดีข้อเสียของ solution นั้นขึ้นมาถกเถียง -- และถ้าเป็นไปได้ก็เสนอ solution ใหม่ หรือขอให้ฝ่ายเสนอไปคิดหา solution มาใหม่ก็ได้
ตัวอย่างการถกเถียง 1
ฝ่ายเสนอ : เราควรยกเลิกการเกณฑ์ทหารเพราะมันทำให้บุคคลากรที่เป็นคนหนุ่มเสียโอกาสในบุกเบิกหรือเก็บเกี่ยวประสบการในการทำงาน <-- ไม่ดีเพราะนำปัญหา และ solution มาปนกัน และนำเสนอโดยยึดติดกับ solution การยกเลิกเกณฑ์ทหาร
ฝ่ายค้าน : ถ้ายกเลิกการเกณทหารแล้วในอนาคตมีทหารไม่พอใครจะรับผิดชอบ <-- ไม่ดีเพราะละเลยการพิจารณาปัญหา "คนหนุ่มเสียโอกาสในบุกเบิกหรือเก็บเกี่ยวประสบการในการทำงาน"
ผลลัพธ์ : เถียงกันไม่รู้จบ และปัญหา "คนหนุ่มเสียโอกาสในบุกเบิกหรือเก็บเกี่ยวประสบการในการทำงาน" ก็ไม่ได้รับการแก้ไข
ตัวอย่างการถกเถียง 2
ฝ่ายเสนอ : การบังคับให้นักเรียนนักศึกษาแต่งเครื่องแบบ เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการเลือกเครื่องแต่งกาย ซึ่งแต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน บางคนไม่สะดวกใจที่จะใส่เครื่องแบบ ขอเสนอให้มีการพิจาณาหาทางแก้ไขปัญหานี้ โดย solution อาจใช้วิธียกเลิกกฎการบังคับแต่เครื่องแบบ <-- ดีเพราะมีการแยกแยะพูดถึงปัญหาอย่างชัดเจน และมีการยกตัวอย่าง solution โดยไม่ยึดติด
ฝ่ายค้าน : แล้วให้นักเรียนแต่ชุดนอนมาเรียนนี้เหมาะสมหรอ? <-- ไม่ดีเพราะเป็นการมโนไปเองว่า solution มีเพียงหนึงเดียวและจะทำให้นักเรียนสามารถใส่ชุดนอนมาเรียนได้ และละเลยการพิจารณาปัญหา "บางคนไม่สะดวกใจที่จะใส่เครื่องแบบ"
ผลลัพธ์ : เถียงกันไม่รู้จบ (ปัญหานี้เถียงกันมาหลายปีแล้ว แต่วนอยู่ในอ่าง)
--------------------------------
สำนวนไว้ใช้เพื่อเตือนสติ
"หมาลอบกินไก่ชาวบ้าน ป่าวประกาศให้ชาวบ้านฆ่าหมา" - ใช้กับฝ่ายเสนอที่ไม่แยกแยะปัญหากับ solution ออกจากกันให้ดี เปรียบเหมือนกับการทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าการจะแก้ปัญหาหมาจรจัดมาลอบกินไก่ที่ชาวบ้านเลี่ยงไว้นั้น ต้องฆ่าหมาทิ้งเท่านั้น
"เถียงกันเรื่องช้างตาย เอาเรื่องหมาขี้มากลบเกลื่อน" - ใช้กับฝ่ายค้านที่ยังไม่ได้ยอมรับปัญหา แต่กลับค้านไม่ให้มีการแก้ไข โดยหยิบปัญหาอื่นมาเป็นเหตุผล
หรือคนไทยเถียงเพื่อเอาชนะ ไม่ได้เถียงเพื่อหาทางแก้ปัญหา?
เพื่อให้เข้าใจผมจะขออธิบายจากภาพนี้ครับ
1. เริ่มจากมีคน (ฝ่ายเสนอ) เสนอว่าสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีปัญหาต่างๆ (เช่นปัญหาการเกณฑ์ทหาร ปัญหาเกี่ยวกับกฎการบังคับแต่งเครื่องแบบนักเรียนนักศึกษา เป็นต้น)
2. คนที่ไม่เห็นด้วย (ฝ่ายค้าน) ก็จะมี mindset ยึดติดกับ solution หนึ่งๆ เป็นพิเศษ (ซึ่งอาจจะมโนขึ้นเอง หรือเป็น solution ที่ฝ่ายเสนอยกตัวอย่างขึ้นมา) แล้วก็หยิบยกเองปัญหาที่เกิดจาก solution ดังกล่าวมาเป็นข้อโต้แย้ง โดยมักจะละเลยการพิจารณาว่าสิ่งที่ฝ่ายเสนอกล่าวมานั้น "เป็นปัญหาจริงหรือไม่"
3. ผลลัพธ์จบลงที่ทั้งสองฝ่ายทะเลาะกันไม่สิ้นสุด
4. หรืออย่างดีขึ้นมาหน่อย ก็คือไม่ได้ทะเลาะกันตรงๆ แต่ก็แตกแยกแบ่งฝ่ายกันอยู่ดี (ซึ่งก็มักจะกลับไม่สู่ข้อ 3 ในที่สุด)
5. เรามักไม่ค่อยมาถึงจุดนี้ คือฝ่ายค้านยอมรับว่าสิ่งที่ฝ่ายเสนอกล่าวนั้น "เป็นปัญหาจริง" และทั้งสองฝ่ายไม่ยิดตึดกับ solution ใดๆ เป็นพิเศษ แต่ร่วมกันถกเถียงว่าแต่ละ solution มีข้อดีข้อเสียอย่างไร
ทำอย่างไรจึงจะนำไปสู่ข้อ 5 ได้
1. ฝ่ายเสนอ จะต้องอธิบายโดยแยกให้ชัดระหว่าง "ปัญหา" กับ "solution" (อย่าเอามาปนกัน) โดยต้องเน้นว่า solution ที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ฝ่ายเสนอไม่ควรยึดติดกับ solution ของตัวเอง และควรมุ่งนั้นโปรโมตให้คนอื่นเข้าใจถึง "ปัญหา" มากกว่าที่จะมุ่งเน้นโปรโมตตัว "solution"
2. ฝ่ายค้านต้องเริ่มจากพิจารณาก่อนว่า "ปัญหา" ของฝ่ายเสนอนั้น "เป็นปัญหาจริงหรือไม่" ถ้าคิดว่ามันไม่ใช่ปัญหาจริง ก็ควรมุ่งนั้นโปรโมตให้คนอื่นเข้าใจว่าทำไม่มันจึงไม่ใช่ปัญหา -- ไม่ควรนอกเรื่อง นำปัญหาอื่นๆ มากลบเกลื่อน และอย่ามโนไปเองว่าคุณมองเห็นทุก solution ที่เป็นไปได้หมดแล้ว
3. ถ้าฝ่ายค้านพิจารณาแล้วว่ามันเป็นปัญหาจริงๆ สิ่งแรกที่ควรพูดออกมาให้ชัดก่อนสิ่งอื่นใด ก็คือคุณ "เห็นด้วยว่ามันเป็นปัญหาจริง" -- แต่เราควรจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่หรือไม่ และเปลี่ยนอย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่ยังสรุปไม่ได้ ต้องคุยกันต่อไป
4. หลังจากยอมรับปัญหาแล้ว หากฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับตัวอย่าง solution ของฝ่ายเสนอ ค่อยหยิบยกข้อดีข้อเสียของ solution นั้นขึ้นมาถกเถียง -- และถ้าเป็นไปได้ก็เสนอ solution ใหม่ หรือขอให้ฝ่ายเสนอไปคิดหา solution มาใหม่ก็ได้
ตัวอย่างการถกเถียง 1
ฝ่ายเสนอ : เราควรยกเลิกการเกณฑ์ทหารเพราะมันทำให้บุคคลากรที่เป็นคนหนุ่มเสียโอกาสในบุกเบิกหรือเก็บเกี่ยวประสบการในการทำงาน <-- ไม่ดีเพราะนำปัญหา และ solution มาปนกัน และนำเสนอโดยยึดติดกับ solution การยกเลิกเกณฑ์ทหาร
ฝ่ายค้าน : ถ้ายกเลิกการเกณทหารแล้วในอนาคตมีทหารไม่พอใครจะรับผิดชอบ <-- ไม่ดีเพราะละเลยการพิจารณาปัญหา "คนหนุ่มเสียโอกาสในบุกเบิกหรือเก็บเกี่ยวประสบการในการทำงาน"
ผลลัพธ์ : เถียงกันไม่รู้จบ และปัญหา "คนหนุ่มเสียโอกาสในบุกเบิกหรือเก็บเกี่ยวประสบการในการทำงาน" ก็ไม่ได้รับการแก้ไข
ตัวอย่างการถกเถียง 2
ฝ่ายเสนอ : การบังคับให้นักเรียนนักศึกษาแต่งเครื่องแบบ เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการเลือกเครื่องแต่งกาย ซึ่งแต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน บางคนไม่สะดวกใจที่จะใส่เครื่องแบบ ขอเสนอให้มีการพิจาณาหาทางแก้ไขปัญหานี้ โดย solution อาจใช้วิธียกเลิกกฎการบังคับแต่เครื่องแบบ <-- ดีเพราะมีการแยกแยะพูดถึงปัญหาอย่างชัดเจน และมีการยกตัวอย่าง solution โดยไม่ยึดติด
ฝ่ายค้าน : แล้วให้นักเรียนแต่ชุดนอนมาเรียนนี้เหมาะสมหรอ? <-- ไม่ดีเพราะเป็นการมโนไปเองว่า solution มีเพียงหนึงเดียวและจะทำให้นักเรียนสามารถใส่ชุดนอนมาเรียนได้ และละเลยการพิจารณาปัญหา "บางคนไม่สะดวกใจที่จะใส่เครื่องแบบ"
ผลลัพธ์ : เถียงกันไม่รู้จบ (ปัญหานี้เถียงกันมาหลายปีแล้ว แต่วนอยู่ในอ่าง)
--------------------------------
สำนวนไว้ใช้เพื่อเตือนสติ
"หมาลอบกินไก่ชาวบ้าน ป่าวประกาศให้ชาวบ้านฆ่าหมา" - ใช้กับฝ่ายเสนอที่ไม่แยกแยะปัญหากับ solution ออกจากกันให้ดี เปรียบเหมือนกับการทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าการจะแก้ปัญหาหมาจรจัดมาลอบกินไก่ที่ชาวบ้านเลี่ยงไว้นั้น ต้องฆ่าหมาทิ้งเท่านั้น
"เถียงกันเรื่องช้างตาย เอาเรื่องหมาขี้มากลบเกลื่อน" - ใช้กับฝ่ายค้านที่ยังไม่ได้ยอมรับปัญหา แต่กลับค้านไม่ให้มีการแก้ไข โดยหยิบปัญหาอื่นมาเป็นเหตุผล