จาตุรนต์วิเคราะห์ 4 สัญญาณ การเมืองปี'63 'รัฐบาลล้มยาก แต่สภาพทรุดหนัก'
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1863543
จาตุรนต์วิเคราะห์ 4 สัญญาณ การเมืองปี’63 ‘รัฐบาลล้มยาก แต่สภาพทรุดหนัก’
เมื่อวันที่ 4 มกราคม นาย
จาตุรนต์ ฉายแสง นักเศรษฐศาสตร์และนักการเมืองผู้คร่ำหวอด โพสต์คลิปวิดีโอวิเคราะห์การเมืองไทยปี 2563
นาย
จาตุรนต์มองว่า เพียงระยะเวลาไม่ถึง 1 ปีที่รัฐบาลเข้ามาบริหารอยู่ในสภาพเสื่อมลงอย่างรวดเร็วเกินคาด ซึ่งจากขึ้นหลายกรณี อาทิ ถวายสัตย์ไม่ครบและยังไม่ชัดเจน รัฐมนตรีขาดคุณสมบัติแต่ยังอยู่ในคณะรัฐมนตรีได้ ใช้กฎหมายแบบเลือกปฏิบัติระหว่าง ส.ส.ของรัฐบาลกับประชาชนทั่วไป รวมถึงประชาชนเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจอย่างมาก จนทำให้เกิดหลายกิจกรรมซึ่งคาดว่าจะลุกลามมากขึ้น
นาย
จาตุรนต์วิเคราะห์ 4 สัญญาณการเมืองไทย ปี 2563 ดังนี้
1. อภิปรายไม่ไว้วางใจ ฝ่ายค้านเตรียมยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ เตรียมวางขุนพลแล้ว ถ้าดูจากข่าวคราวที่สะสมมา เรื่องที่ฝ่ายค้านแย้มๆ ออกมา ก็คิดว่าอาจจะเขย่ารัฐบาลนี้ได้มาก เปิดแผลหรือทำให้คนเห็นปัญหาของรัฐบาลมากขึ้น โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี ที่ไม่สามารถตอบคำถามในรัฐสภาด้วยตนเอง รัฐบาลจะอยู่ในสภาพลำบาก แต่ไม่ถึงขั้นเปลี่ยนนายกฯ ปีที่แล้วเขาทำให้เห็นแล้ว จากการแก้ปัญหาเสียงปริ่มน้ำ ด้วยการซื้องูเห่าเข้ามา การอภิปรายนี้ เราจะได้เห็นงูเห่าเปิดเผยตัวกันมากยิ่งขึ้น
“
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลจากฝ่ายค้านนั้น น่าจะทำให้ประชาชนรับข้อมูลมาก และอาจเป็นการเขย่าหรือเปิดแผลรัฐบาลได้มาก โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ซึ่งจะทำให้รัฐบาลอยู่ในสภาพลำบากและเสื่อมทรุดไปอีก แต่อาจไม่ถึงขั้นทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ได้หรือต้องเปลี่ยนตัวนายกฯ”
2. เสถียรภาพรัฐบาล ช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีปัญหาสะสม คาดว่าปีนี้จะมีการชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหา แล้วนำไปสู่ความไม่พอใจรัฐบาลสูงขึ้น ก็จะไปโยงกระแสไล่ลุง กระแสเบื่อนายกฯ และไม่ต้องการให้รัฐบาลนี้อยู่ต่อไป แต่ผมคิดว่าไม่น่าไปสู่ความวุ่นวายทางการเมือง และการชุมนุมไปสู่การล้มรัฐบาล ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นง่ายๆ ขึ้นอยู่กับเสียงในสภา ของรัฐบาลผสม ที่ดูแล้วพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังอยากเป็นรัฐบาลกันทั้ง และก็รู้อยู่แล้วว่าถ้าเลือกนายกฯใหม่ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังเป็นนายกฯอยู่ดี เพราะมีเสียง ส.ว.สนับสนุนถึง 250 เสียง
“
ปีนี้จะมีการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาต่างๆ จนนำไปสู่ความไม่พอใจรัฐบาลสูงขึ้น แต่ไม่ถึงขั้นการนำไปสู่ความวุ่นวายในบ้านเมือง หรือล้มรัฐบาลได้โดยง่าย”
3. ยุบพรรคฝ่ายค้าน ฝ่ายค้านถูกทำลายอย่างหนัก เพราะรัฐบาลมีเสียงปริ่มน้ำ เคยทำลายตั้งแต่กติกาเลือกตั้ง จนถึงการซื้อตัวฝ่ายค้าน เร็วๆ นี้ ก็ยังไม่ทราบว่า พรรคอนาคตใหม่จะถูกยุบหรือไม่ ผมเคยวิเคราะห์เรื่องนี้ไว้แล้วว่าการยุบพรรคการเมืองในอดีต เป็นการยุบที่ไม่เป็นเหตุเป็นผลเลย เป็นการยุบเพื่อแก้ปัญหาหรือจัดการปัญหาการเมืองของผู้มีอำนาจ ทั้งๆ ที่พรรคการเมืองไม่ได้ผิด หรือผิดน้อย คราวนี้มีแนวโน้มว่าหากเกิดอะไรขึ้นกับพรรคอนาคตใหม่ อาจแก้ปัญหาเสียงปริ่มน้ำของรัฐบาล
และ 4. แก้รัฐธรรมนูญ เรื่องนี้เห็นแตกต่างกันไป บางส่วนอาจคิดว่ารัฐธรรมนูญเพิ่งมี จะไปรีบแก้ทำไม หรือคนที่เห็นปัญหา ก็คิดว่าจำเป็นต้องแก้ และจะต้องมีความพยายามต่อเนื่อง การตั้ง กมธ.วิสามัญศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญ ดูจะมีความหวังน้อย เพราะการวางคนใน กมธ.วิสามัญฯ ของรัฐบาล ค่อนข้างวางคนที่ไม่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญเสียเลย มันก็จะยาก
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาตั้งแต่ต้น ไม่เป็นประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เราได้รัฐบาลอย่างนี้ เป็นรัฐบาลที่แก้ปัญหาไม่ได้ ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ตรวจสอบผู้มีอำนาจไม่ได้ กลไกต่างๆ พร้อมจะอยู่เหนือรัฐบาล โดยเฉพาะถ้ามีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งเมื่อไหร่ กลไกเหล่านี้จะอยู่เหนือรัฐบาลนั้น เวลานี้ร่วมกันได้กับรัฐบาล เพราะเป็นรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจนั่นเอง
https://www.facebook.com/Chaturon.FanPage/videos/549694235761201/
เตรียมรับมือภาวะเศรษฐกิจดิ่งเหว ปิดกิจการ-คนตกงานเพียบ
https://www.dailynews.co.th/economic/750053
ในช่วงรอบปี 2562 วิกฤตเลิกจ้างกลายเป็นประเด็นร้อนแรง หลังจากเศรษฐกิจไทยชะลอตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งปีหลัง มีทั้งโรงงานปิดตัว เลิกจ้างพนักงาน และลดชั่วโมงการทำงาน
ปัญหาสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลต่อประเทศต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เว้นแต่ประเทศไทยที่โดนพิษเศรษฐกิจเล่นงานจนอ่วม ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายที่ทางออกไม่เจอก็ต้องตัดสินใจใช้ทางเลือกด้วยการฆ่าตัวตาย แต่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหลายรายก็มีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ไม่ว่าจะเป็นการเลิกจ้าง ลดชั่วโมงการทำงาน หรือแม้กระทั่งการปิดตัว "
เดลินิวส์ออนไลน์" ขอย้อนไทม์ไลน์ตั้งแต่ต้นปี 2562 มีบริษัทไหนที่เจอกับวิกฤตจากพิษเศรษฐกิจบ้าง
20 ก.พ.2562
เครือบางกอกโพสต์ประกาศปิดตัวสื่อสิ่งพิมพ์ 2 ฉบับ "โพสต์ทูเดย์-เอ็มทูเอฟ ฟรีเปเปอร์" ในเดือน มี.ค.2562 และผันตัวไปเป็นสื่อดิจิทัล หลังขาดทุนต่อเนื่อง เลิกจ้างพนักงานกว่า 200 คน
21 มิ.ย.2562
โรงแรมด่านนอก อ.สะเดา จ.สงขลา ประกาศเลิกจ้างพนักงานกว่า 100 คน หลังขาดทุนต่อเนื่อง จากผลกระทบค่าเงินริงกิตตกต่ำและปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาพักน้อยลง
12 ก.ค.2562
สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ขอคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัลกับ กสทช.จำนวน 2 ช่อง คือช่อง 13 แฟมิลี่ และช่อง 28 SD ทำให้มีการเลิกจ้างพนักงานมากถึง154 คน
19 ก.ค.2562 บริซัท
ซันโย เอ็นจิเนียริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ ประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงาน จากปัญหาเศรษฐกิจและขาดทุนสะสมมานาน และมีผลตั้งแต่ 31 ส.ค.2562
29 ส.ค.2562 บริษัท
เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตรถยนต์กระบะเชฟโรเลตในนิคมฯ อีสเทิร์นซีบอร์ด จ.ระยอง ประกาศเลิกจ้างพนักงานประจำและชั่วคราวกว่า 300 คน เพื่อปรับองค์กรรองรับการรุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้า
22 ก.ย.2562 บริษัท
เอเพ็กซ์ เซอร์คิต (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมฯ สินสาคร อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ประกาศเลิกจ้างพนักงานไม่ผ่านทดลองงาน 140 คน จากสภาวะเศรษฐกิจโลก และสงครามการค้า
21 ต.ค.2562 บริษัท
ไทยซัมมิท แหลมฉบัง ออโตพาร์ท จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประกาศให้มีการหยุดงานชั่วคราวบางส่วน ตั้งแต่ 26 ต.ค. - 25 ธ.ค.62 แต่ยังจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับพนักงาน 75% ของค่าจ้างปกติ
25 ต.ค.2562 บริษัท
เอสอาร์เอฟ อินดัสทรี้ส์ (ไทยแลนด์) จำกัด โรงงานผลิตผ้าใบยางรถยนต์ในนิคมฯ มาบตาพุด จ.ระยอง ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 400 คน จากความต้องการตลาดลดลงและได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่า
31 ต.ค.2562 บริษัท
นิปปอนสตีล สตีล โพรเซสซิ่ง (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม NIPPON STEEL จากญี่ปุ่น ประกาศแจ้งพนักงานหยุดงานชั่วคราว 9 พ.ย.2562 โดยจะจ่ายเงินให้ 75% เนื่องจากกำลังสั่งซื้อสินค้ามีน้อย
1 พ.ย.2562 บริษัท
ไฮเทรนด์อุตสาหกรรม (กรุงเทพ) จำกัด โรงงานผลิตกระเป๋าตั้งอยู่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประกาศปิดปิจการ ทำให้พนักงานหลายร้อยคนตกงานทันที
8 พ.ย.2562 สายการบิน "
ไทยแอร์เอเชีย" มีนโยบายให้ลูกเรือหยุดทำงาน 3 เดือน โดยไม่รับเงินเดือนในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว หรือไฮซีซัน และอาจจะต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวและอุตสาหกรรมการบินแข่งขันสูง และในวันเดียวกัน บริษัท นิตพอยน์ จำกัด โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างกว่า 200 คน ซึ่งให้มีผลตั้งแต่ 9 พ.ย.2562 เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจและขาดทุนสะสมมานาน โดยค้างค่าแรงลูกจ้างกว่า 2 เดือน
23 ธ.ค.2562 บริษัท
พงศ์พาราโคดันรับเบอร์ จำกัด จ.สมุทรสาคร ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 997 คน โดยไม่บอกล่วงหน้า ยินยอมจ่ายค่าชดเชยเงินกว่า 114 ล้านบาท อ้างขาดสภาพคล่อง
แม้ว่าช่วงปลายปี 2562 พนักงานและลูกจ้างได้รับข่าวดีจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรับเทศกาลปีใหม่ 5-6 บาท มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.2563 แต่ข่าวดีดังกล่าวอาจจะมาพร้อมความหวั่นใจในอนาคตของใครหลายคน เพราะกระทรวงแรงงานได้คาดการณ์ไว้ว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 จะมีคนตกงานอีกประมาณ 50,000 คนทีเดียว
JJNY : จาตุรนต์วิเคราะห์ รบ.ล้มยากแต่ทรุดหนัก/เตรียมรับมือศก.ดิ่งเหว/แนะชาวกทม.ซื้อน้ำขวดกิน/แล้งเชียงใหม่-พิษณุโลกวิกฤต
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1863543
จาตุรนต์วิเคราะห์ 4 สัญญาณ การเมืองปี’63 ‘รัฐบาลล้มยาก แต่สภาพทรุดหนัก’
เมื่อวันที่ 4 มกราคม นายจาตุรนต์ ฉายแสง นักเศรษฐศาสตร์และนักการเมืองผู้คร่ำหวอด โพสต์คลิปวิดีโอวิเคราะห์การเมืองไทยปี 2563
นายจาตุรนต์มองว่า เพียงระยะเวลาไม่ถึง 1 ปีที่รัฐบาลเข้ามาบริหารอยู่ในสภาพเสื่อมลงอย่างรวดเร็วเกินคาด ซึ่งจากขึ้นหลายกรณี อาทิ ถวายสัตย์ไม่ครบและยังไม่ชัดเจน รัฐมนตรีขาดคุณสมบัติแต่ยังอยู่ในคณะรัฐมนตรีได้ ใช้กฎหมายแบบเลือกปฏิบัติระหว่าง ส.ส.ของรัฐบาลกับประชาชนทั่วไป รวมถึงประชาชนเดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจอย่างมาก จนทำให้เกิดหลายกิจกรรมซึ่งคาดว่าจะลุกลามมากขึ้น
นายจาตุรนต์วิเคราะห์ 4 สัญญาณการเมืองไทย ปี 2563 ดังนี้
1. อภิปรายไม่ไว้วางใจ ฝ่ายค้านเตรียมยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ เตรียมวางขุนพลแล้ว ถ้าดูจากข่าวคราวที่สะสมมา เรื่องที่ฝ่ายค้านแย้มๆ ออกมา ก็คิดว่าอาจจะเขย่ารัฐบาลนี้ได้มาก เปิดแผลหรือทำให้คนเห็นปัญหาของรัฐบาลมากขึ้น โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี ที่ไม่สามารถตอบคำถามในรัฐสภาด้วยตนเอง รัฐบาลจะอยู่ในสภาพลำบาก แต่ไม่ถึงขั้นเปลี่ยนนายกฯ ปีที่แล้วเขาทำให้เห็นแล้ว จากการแก้ปัญหาเสียงปริ่มน้ำ ด้วยการซื้องูเห่าเข้ามา การอภิปรายนี้ เราจะได้เห็นงูเห่าเปิดเผยตัวกันมากยิ่งขึ้น
“การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลจากฝ่ายค้านนั้น น่าจะทำให้ประชาชนรับข้อมูลมาก และอาจเป็นการเขย่าหรือเปิดแผลรัฐบาลได้มาก โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ซึ่งจะทำให้รัฐบาลอยู่ในสภาพลำบากและเสื่อมทรุดไปอีก แต่อาจไม่ถึงขั้นทำให้รัฐบาลอยู่ไม่ได้หรือต้องเปลี่ยนตัวนายกฯ”
2. เสถียรภาพรัฐบาล ช่วงที่ผ่านมาเริ่มมีปัญหาสะสม คาดว่าปีนี้จะมีการชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหา แล้วนำไปสู่ความไม่พอใจรัฐบาลสูงขึ้น ก็จะไปโยงกระแสไล่ลุง กระแสเบื่อนายกฯ และไม่ต้องการให้รัฐบาลนี้อยู่ต่อไป แต่ผมคิดว่าไม่น่าไปสู่ความวุ่นวายทางการเมือง และการชุมนุมไปสู่การล้มรัฐบาล ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นง่ายๆ ขึ้นอยู่กับเสียงในสภา ของรัฐบาลผสม ที่ดูแล้วพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังอยากเป็นรัฐบาลกันทั้ง และก็รู้อยู่แล้วว่าถ้าเลือกนายกฯใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ยังเป็นนายกฯอยู่ดี เพราะมีเสียง ส.ว.สนับสนุนถึง 250 เสียง
“ปีนี้จะมีการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาต่างๆ จนนำไปสู่ความไม่พอใจรัฐบาลสูงขึ้น แต่ไม่ถึงขั้นการนำไปสู่ความวุ่นวายในบ้านเมือง หรือล้มรัฐบาลได้โดยง่าย”
3. ยุบพรรคฝ่ายค้าน ฝ่ายค้านถูกทำลายอย่างหนัก เพราะรัฐบาลมีเสียงปริ่มน้ำ เคยทำลายตั้งแต่กติกาเลือกตั้ง จนถึงการซื้อตัวฝ่ายค้าน เร็วๆ นี้ ก็ยังไม่ทราบว่า พรรคอนาคตใหม่จะถูกยุบหรือไม่ ผมเคยวิเคราะห์เรื่องนี้ไว้แล้วว่าการยุบพรรคการเมืองในอดีต เป็นการยุบที่ไม่เป็นเหตุเป็นผลเลย เป็นการยุบเพื่อแก้ปัญหาหรือจัดการปัญหาการเมืองของผู้มีอำนาจ ทั้งๆ ที่พรรคการเมืองไม่ได้ผิด หรือผิดน้อย คราวนี้มีแนวโน้มว่าหากเกิดอะไรขึ้นกับพรรคอนาคตใหม่ อาจแก้ปัญหาเสียงปริ่มน้ำของรัฐบาล
และ 4. แก้รัฐธรรมนูญ เรื่องนี้เห็นแตกต่างกันไป บางส่วนอาจคิดว่ารัฐธรรมนูญเพิ่งมี จะไปรีบแก้ทำไม หรือคนที่เห็นปัญหา ก็คิดว่าจำเป็นต้องแก้ และจะต้องมีความพยายามต่อเนื่อง การตั้ง กมธ.วิสามัญศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญ ดูจะมีความหวังน้อย เพราะการวางคนใน กมธ.วิสามัญฯ ของรัฐบาล ค่อนข้างวางคนที่ไม่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญเสียเลย มันก็จะยาก
ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาตั้งแต่ต้น ไม่เป็นประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เราได้รัฐบาลอย่างนี้ เป็นรัฐบาลที่แก้ปัญหาไม่ได้ ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ตรวจสอบผู้มีอำนาจไม่ได้ กลไกต่างๆ พร้อมจะอยู่เหนือรัฐบาล โดยเฉพาะถ้ามีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งเมื่อไหร่ กลไกเหล่านี้จะอยู่เหนือรัฐบาลนั้น เวลานี้ร่วมกันได้กับรัฐบาล เพราะเป็นรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจนั่นเอง
https://www.facebook.com/Chaturon.FanPage/videos/549694235761201/
เตรียมรับมือภาวะเศรษฐกิจดิ่งเหว ปิดกิจการ-คนตกงานเพียบ
https://www.dailynews.co.th/economic/750053
ในช่วงรอบปี 2562 วิกฤตเลิกจ้างกลายเป็นประเด็นร้อนแรง หลังจากเศรษฐกิจไทยชะลอตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงครึ่งปีหลัง มีทั้งโรงงานปิดตัว เลิกจ้างพนักงาน และลดชั่วโมงการทำงาน
ปัญหาสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลต่อประเทศต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่เว้นแต่ประเทศไทยที่โดนพิษเศรษฐกิจเล่นงานจนอ่วม ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายที่ทางออกไม่เจอก็ต้องตัดสินใจใช้ทางเลือกด้วยการฆ่าตัวตาย แต่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมหลายรายก็มีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ไม่ว่าจะเป็นการเลิกจ้าง ลดชั่วโมงการทำงาน หรือแม้กระทั่งการปิดตัว "เดลินิวส์ออนไลน์" ขอย้อนไทม์ไลน์ตั้งแต่ต้นปี 2562 มีบริษัทไหนที่เจอกับวิกฤตจากพิษเศรษฐกิจบ้าง
20 ก.พ.2562 เครือบางกอกโพสต์ประกาศปิดตัวสื่อสิ่งพิมพ์ 2 ฉบับ "โพสต์ทูเดย์-เอ็มทูเอฟ ฟรีเปเปอร์" ในเดือน มี.ค.2562 และผันตัวไปเป็นสื่อดิจิทัล หลังขาดทุนต่อเนื่อง เลิกจ้างพนักงานกว่า 200 คน
21 มิ.ย.2562 โรงแรมด่านนอก อ.สะเดา จ.สงขลา ประกาศเลิกจ้างพนักงานกว่า 100 คน หลังขาดทุนต่อเนื่อง จากผลกระทบค่าเงินริงกิตตกต่ำและปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาพักน้อยลง
12 ก.ค.2562 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ขอคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัลกับ กสทช.จำนวน 2 ช่อง คือช่อง 13 แฟมิลี่ และช่อง 28 SD ทำให้มีการเลิกจ้างพนักงานมากถึง154 คน
19 ก.ค.2562 บริซัท ซันโย เอ็นจิเนียริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ ประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงาน จากปัญหาเศรษฐกิจและขาดทุนสะสมมานาน และมีผลตั้งแต่ 31 ส.ค.2562
29 ส.ค.2562 บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตรถยนต์กระบะเชฟโรเลตในนิคมฯ อีสเทิร์นซีบอร์ด จ.ระยอง ประกาศเลิกจ้างพนักงานประจำและชั่วคราวกว่า 300 คน เพื่อปรับองค์กรรองรับการรุกตลาดรถยนต์ไฟฟ้า
22 ก.ย.2562 บริษัท เอเพ็กซ์ เซอร์คิต (ไทยแลนด์) จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในนิคมฯ สินสาคร อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ประกาศเลิกจ้างพนักงานไม่ผ่านทดลองงาน 140 คน จากสภาวะเศรษฐกิจโลก และสงครามการค้า
21 ต.ค.2562 บริษัท ไทยซัมมิท แหลมฉบัง ออโตพาร์ท จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประกาศให้มีการหยุดงานชั่วคราวบางส่วน ตั้งแต่ 26 ต.ค. - 25 ธ.ค.62 แต่ยังจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับพนักงาน 75% ของค่าจ้างปกติ
25 ต.ค.2562 บริษัท เอสอาร์เอฟ อินดัสทรี้ส์ (ไทยแลนด์) จำกัด โรงงานผลิตผ้าใบยางรถยนต์ในนิคมฯ มาบตาพุด จ.ระยอง ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 400 คน จากความต้องการตลาดลดลงและได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่า
31 ต.ค.2562 บริษัท นิปปอนสตีล สตีล โพรเซสซิ่ง (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม NIPPON STEEL จากญี่ปุ่น ประกาศแจ้งพนักงานหยุดงานชั่วคราว 9 พ.ย.2562 โดยจะจ่ายเงินให้ 75% เนื่องจากกำลังสั่งซื้อสินค้ามีน้อย
1 พ.ย.2562 บริษัท ไฮเทรนด์อุตสาหกรรม (กรุงเทพ) จำกัด โรงงานผลิตกระเป๋าตั้งอยู่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ประกาศปิดปิจการ ทำให้พนักงานหลายร้อยคนตกงานทันที
8 พ.ย.2562 สายการบิน "ไทยแอร์เอเชีย" มีนโยบายให้ลูกเรือหยุดทำงาน 3 เดือน โดยไม่รับเงินเดือนในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว หรือไฮซีซัน และอาจจะต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจชะลอตัวและอุตสาหกรรมการบินแข่งขันสูง และในวันเดียวกัน บริษัท นิตพอยน์ จำกัด โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป ประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างกว่า 200 คน ซึ่งให้มีผลตั้งแต่ 9 พ.ย.2562 เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจและขาดทุนสะสมมานาน โดยค้างค่าแรงลูกจ้างกว่า 2 เดือน
23 ธ.ค.2562 บริษัท พงศ์พาราโคดันรับเบอร์ จำกัด จ.สมุทรสาคร ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 997 คน โดยไม่บอกล่วงหน้า ยินยอมจ่ายค่าชดเชยเงินกว่า 114 ล้านบาท อ้างขาดสภาพคล่อง
แม้ว่าช่วงปลายปี 2562 พนักงานและลูกจ้างได้รับข่าวดีจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรับเทศกาลปีใหม่ 5-6 บาท มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค.2563 แต่ข่าวดีดังกล่าวอาจจะมาพร้อมความหวั่นใจในอนาคตของใครหลายคน เพราะกระทรวงแรงงานได้คาดการณ์ไว้ว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 จะมีคนตกงานอีกประมาณ 50,000 คนทีเดียว