JJNY : นักวิชาการ-จับสัญญาณ│PDPAกระทบภาคธุรกิจ!│มองช่องโหว่‘ภูมิรัฐศาสตร์’ไทยก้าวช้า!│เกาหลีใต้-สหรัฐจี้โสมแดงหยุดยั่วยุ

นักวิชาการ-จับสัญญาณ อีกมรสุม‘ศึกซักฟอก’
https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_3384349
 
 
หมายเหตุ – ความเห็นนักวิชาการเกี่ยวกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่กำลังจะมาถึง จะมีผลต่อการหาเสียงเลือกตั้งครั้งหน้าหรือไม่
 
พนัส ทัศนียานนท์
อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กอภิปรายไม่ไว้วางใจ คาดว่าจะยื่นญัตติในวันที่ 15 มิ.ย. คนจะโดนพุ่งเป้านอกจาก 3 ป. คือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ส่วนคนอื่นๆ นอกจาก 3 ป. พรรคร่วมรัฐบาลจะโดนด้วยคือพรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาธิปัตย์ เชื่อว่าต้องมีคนโดน เพราะมีเหตุยกขึ้นมาได้
 
การอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ จะแตกต่างจากครั้งก่อนอย่างไร ต้องดูตัวแปรพรรคเศรษฐกิจไทยจะเป็นตัวชี้สำคัญว่าลงมติเรื่อง พ.ร.บ.งบประมาณชัดเจนว่าลงมติข้างรัฐบาล จะเห็นว่าเขาไม่เปลี่ยนแต่กลุ่มนี้เป็นกลุ่มน่าสนใจคือ การออกไปตั้งพรรคของตัวเองขึ้นมาใหม่ ถือเป็นการสร้างอำนาจต่อรองขึ้นมาเพราะไม่จำเป็นต้องผูกมัดโดยพรรคพลังประชารัฐ เคยอยู่มาแต่เดิมหรือพรรคอื่น เหมือนกับกลุ่ม 16 ในอดีต จึงเป็นกลุ่มที่กลายเป็นตัวแปรที่สำคัญ
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ดูคะแนนขณะนี้ เดิมทีอ้างว่ามี 18 ตอนนี้เหลือ 16 ถึงแม้จะพลิกมาอยู่ข้างฝ่ายค้านแต่คิดว่าจะต้องคำนวณว่า ทำให้ชนะรัฐบาลได้หรือไม่ ถ้าคะแนนยังเอาชนะไม่ได้ เพราะแทนที่รัฐบาลจะคะแนนน้อยลง หรือจำนวนมือยกให้น้อยลงกลายเป็นว่าเพิ่มขึ้น ดูจากการลงมติ พ.ร.บ.งบประมาณคราวนี้ พรรคเพื่อไทยก็ออกมาประกาศชัดเจนว่ามีงูเห่าออกไป ยิ่งทำให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจคราวนี้ รัฐบาลยังคุมเสียงได้อยู่ ถ้าคุมเสียงไม่อยู่ แม้ว่ากลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ส.ส.พะเยา หรือพรรคเศรษฐกิจไทยเอง มาลงมติกับทางฝ่ายค้านก็ยังเอาชนะไม่ได้
 
ส่วนตัวคิดว่ารัฐบาลไม่สนใจ เพราะฉะนั้นคุณอยู่ตรงไหนก็ไม่สนใจ หากไม่มีกลุ่มธรรมนัสหรือพรรคเศรษฐกิจไทย คะแนนก็ยังชนะฝ่ายค้านอยู่เขาไม่แคร์คุณ เพราะฉะนั้นต้องดูว่าเขาดูดเสียงออกไปได้มากแค่ไหน พวกงูเห่าไม่ใช่แค่เพื่อไทย แต่พรรคอื่นๆ ด้วย เป็นพรรคฝ่ายค้าน เช่น ก้าวไกลเอาไปกี่คนต้องดูให้หมดตรงนี้ ถึงจะเห็นภาพรวมทั้งหมดได้ แต่อย่างน้อยการลงมติ พ.ร.บ.งบประมาณเป็นตัวบ่งชี้ค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้วว่าสุดท้ายแล้วรัฐบาลยังควบคุมเสียงข้างมากได้อยู่ การอภิปรายไม่ไว้วางใจคราวนี้ คงจะเอาชนะเขาไม่ได้ ผมฟันธงอย่างนั้น ผมหวังว่าผมจะทำนายผิด
 
ศึกซักฟอกครั้งนี้จะส่งผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปบ้าง แต่ไม่ได้เป็นตัวชี้ขาด เพราะการเลือกตั้งครั้งต่อไปฝ่ายที่ชนะโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายรัฐบาลหรือ 3 ป. ถ้าเขาชนะ และอยู่ต่อจนกระทั่งครบเทอมและมีการเลือกตั้งทั่วไปใหม่อีกครั้ง ถ้าสมมุติอยู่ไปได้ถึงตรงนั้นปี 2566 ณ เวลานั้นต้องดูอีกทีว่าเงื่อนไขต่างๆ เป็นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ ถ้าแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ อย่างน้อยทำให้ปัญหาข้าวยากหมากแพงบรรเทาลงได้ ก็สามารถมาเป็นคะแนนการหาเสียงได้ เขาคงยังไม่กลัวอยู่ดี ยังต้องสู้กันอยู่ดี
 
ส่วนเพื่อไทยบอกว่าจะแลนด์สไลด์ก็อาจจะมีปัญหาได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเขาแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ ยิ่งดำดิ่งไปมากยิ่งขึ้น เชื่อว่าทางฝั่งพรรคฝ่ายค้านจะสามารถเอาชนะได้ เศรษฐกิจจะเป็นตัวชี้วัดในการเลือกตั้งครั้งหน้า

ปิยณัฐ สร้อยคำ
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
 
จากการตั้งท่าทีของฟากฝ่ายค้านเพื่อล็อกเป้าซักฟอกรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กลางเดือนมิถุนายนนี้ เชื่อว่าถือเป็นจังหวะที่ดี และอาจเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมของฝ่ายค้านในการงัดไม้เด็ดเดินเกมอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรี เนื่องจากสถานะของรัฐบาลตอนนี้เองก็สะบักสะบอมจากการผ่านร่างงบประมาณแผ่นดินปี 2566 ขณะเดียวกันกระแสสังคมอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงก็มีมากขึ้น ไม่นับรวมกับเสถียรภาพจากพรรคเล็กร่วมรัฐบาลผูกกันด้วยผลประโยชน์ หากยาหอมหมด รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ก็อาจถูกลอยแพได้เช่นกัน
 
ด้วยเหตุนี้ จึงมองว่าการซักฟอกคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะ 3 ป.พล.อ.ประยุทธ์ พล.อ.ประวิตร และ พล.อ.อนุพงษ์ ที่จะเกิดขึ้น ย่อมสร้างบาดแผลให้กับรัฐบาลไม่น้อย โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ ปมการอยู่ในวาระครบ 8 ปีนั้น อาจถูกฝ่ายค้านนำมาเป็นประเด็นหลักของการอภิปรายเพื่อเตรียมการยื่นฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ สาระสำคัญคงจะอยู่ที่ 8 ปีที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ยกระดับการพัฒนาให้ประเทศอย่างไรบ้าง เมื่อเทียบกับเวลาที่ประเทศต้องเสียไป รวมถึงปัญหาการบริหารราชการแผ่นดินไร้ประสิทธิภาพ ขณะที่อีก 2 ป. แม้ประเด็นการอภิปรายยังไม่ชัดเจนมากนัก แต่ พล.อ.ประวิตรคงต้องเตรียมรับมือกับการตอบคำถามเรื่องเรือดำน้ำไร้เครื่องยนต์ การคอร์รัปชั่น และการค้ามนุษย์ ส่วน พล.อ.อนุพงษ์คงต้องรับแรงกระแทกจากคลื่นมหาดไทยและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น จากกระแสการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ย่อมส่งผลให้สังคมต้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาภูมิภาคให้เพิ่มมากขึ้น การตั้งเป้ารับมือกับปัญหาของการรวมศูนย์อำนาจอาจเป็นโจทย์มาแรงขณะนี้
 
ขณะที่รัฐมนตรีคนอื่นๆ เชื่อว่าพรรคฝ่ายค้านคงกำลังทำการบ้านอย่างหนัก เพื่อกำหนดประเด็นในการอภิปราย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐมนตรีรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจ สังคม และการสาธารณสุข ต้องชี้แจงให้ได้ว่าในห้วงเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลมีแนวทางจัดการหนี้สาธารณะ การเพิ่มขีดความสามารถด้านรายได้ การดำเนินตามนโยบายที่ให้ไว้อย่างไร นอกจากนี้คงต้องตอบคำถามกับค่าครองชีพและราคาสินค้ากำลังทะยานสูงมากขึ้น สวนทางกับรายได้ของประชาชนที่ลดน้อยลง
 
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข่าวการตอบแทนแจกโบนัส เพิ่มเก้าอี้กรรมาธิการต่างๆ ให้กับพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อแลกกับการโหวตไว้วางใจ รวมไปถึงกระแสงูเห่าหรือ ส.ส.ของฝ่ายค้านโหวตสวนกระแสนั้น แต่ตนกลับไม่ได้มองว่าจะมีผลต่อศึกซักฟอกครั้งนี้ เพราะแม้การอภิปรายครั้งนี้จะไม่สามารถล้มรัฐบาล หรือนำมาซึ่งการยุบสภาได้ แต่ข้อมูลถูกนำมาเสนอระหว่างการอภิปรายนั้น จะสร้างการรับรู้ทางการเมืองให้กับประชาชนในวงกว้างมากขึ้น และเมื่อถึงเวลาต้องตัดสินผู้นำประเทศผ่านการเลือกตั้งอีกครั้ง ประชาชนจะเรียนรู้และเลือกรัฐบาลที่สามารถสร้างอนาคตที่ดีให้กับประเทศได้

วีระ หวังสัจจะโชค
อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 
ขณะนี้เราเลยเรื่อง พ.ร.บ.งบประมาณมาแล้ว ประเมินได้แล้วว่าฝ่ายรัฐบาลเหนียวแน่นระดับหนึ่ง เพราะได้ไปถึง 270 กว่าเสียง กลุ่มเศรษฐกิจไทย (ศท.) และกลุ่มพรรคเล็กก็ไม่ได้แตกแถวออกมา กลุ่มแตกแถวกลับเป็นพรรคฝ่ายค้าน แสดงให้เห็นว่าเมื่อรัฐบาลเข้มแข็งขนาดนี้ การอภิปรายก็ต้องกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ เพราะก่อนหน้านี้หากย้อนไป แผนเก่าของ พท.คือเปิดอภิปรายทันทีที่เปิดสภา เพื่อเล่นงานเรื่องท่อส่งน้ำอีอีซี โดยการจับมือกับกลุ่มพรรคเล็กเพื่อไปเล่นงานนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลังและเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เพื่อดึงให้ พล.อ.ประวิตรแตกกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ แต่วันนี้เราพบว่า 3 ป.ค่อนข้างแน่น แม้จะมีรอยร้าว แต่จะรวมเสียงในสภาได้ มีความเข้มแข็ง 270 กว่าเสียง ถือว่าเข้มแข็งมาก
 
ทำให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจต้องเป็นการอภิปรายเชิงยุทธศาสตร์ ไม่สามารถหว่านแหเล่นรัฐมนตรีทุกคนที่มีปัญหาได้ ฝ่ายค้านน่าจะจับเป้าหลักไปที่กลุ่ม 3 ป.และกลุ่มรัฐมนตรีฝั่ง พปชร. แล้วกำหนดยุทธศาสตร์ว่าเล่นเฉพาะกลุ่มนี้ไปเลย เพราะขณะนี้ปัญหาภายในรัฐบาลจริงๆ ไม่ได้มาจากภูมิใจไทย (ภท.) หรือประชาธิปัตย์ (ปชป.) แต่มาจาก พปชร.กับพรรคเล็ก การอภิปรายต้องจำกัดอยู่ทำอย่างไรก็ตามให้การต่อรองระหว่างกลุ่ม ศท. กลุ่มพรรคเล็ก และ พปชร. เจออุปสรรคมากที่สุด
  
ถ้าฝ่ายค้านไปอภิปรายทุกกลุ่มจะผิดเป้าหมายไปสักหน่อย เพราะการอภิปรายวันนี้คือการเตรียมพร้อมการเลือกตั้งครั้งต่อไป และจากกระแสสังคมถ้าจะเปลี่ยนเสียงคนสนับสนุนได้ในลักษณะเดียวกันกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. คือใช้กระแสตัวบุคคลไปประกอบกับกระแสพรรคลุงตู่แล้วให้ไปทางเดียวกัน
การอภิปรายครั้งนี้ไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และการเจรจาต่อรองในกลุ่มรัฐบาลอาจจะเหลือน้อยหน่อย เพราะการเจรจาต่อรองจริงๆ อยู่ที่ชั้นกรรมาธิการ (กมธ.) งบประมาณ อย่างกลุ่มพรรคเล็ก และกลุ่ม ศท. โวยวายที่ผ่านมา ก็เพื่อขอที่นั่งใน กมธ.งบประมาณ อย่างกลุ่มพรรคเล็กชัดเจนว่าไม่มีโควต้า ดังนั้น การอภิปรายครั้งนี้จึงไม่ได้อยู่ในการเจรจาต่อรอง การปรับ ครม.ก็ไม่น่าเกิดในช่วงท้ายขนาดนี้ เพราะอยู่ในตำแหน่งได้ไม่กี่เดือนจะเลือกตั้งใหม่ปีหน้า การอภิปรายรอบนี้เพื่อเตรียมความพร้อมสู่สนามเลือกตั้ง เป้าคือการชี้ให้เห็นว่า แต่ละกลุ่ม แต่ละพรรค เตรียมพร้อมในลงสนามเลือกตั้งครั้งหน้ามากน้อยแค่ไหน
 
ดังนั้น กระแสสังคมที่เกิดขึ้นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรอบนี้ จะทำให้เห็นภาพระดับหนึ่งว่า การเลือกตั้งในอนาคตจะออกมาลักษณะอย่างไร ถ้ากระแสสังคมเห็นไปในทางฝ่ายค้าน การยุบสภาจะถูกหยิบยกขึ้นมาพูดอีกครั้ง อาจจะยุบก่อนเอเปคก็ได้ แต่ถ้าไม่มีปัญหาอะไรก็อาจจะได้อยู่ครบเทอม ฝ่ายค้านเองต้องใช้เวทีนี้ชี้เป้า เพื่อลดทอนคะแนนเสียงของรัฐบาล พยายามสร้างกระแสเป็นประเด็นต่อสังคมให้ได้มากที่สุด
 
ส่วนฝ่ายค้านควรอภิปรายรัฐมนตรีจากพรรค ภท.หรือไม่ เพื่อลดทอนเครดิต มองว่าหากตั้งเป้าไปที่ ภท.จะไม่ตอบโจทย์การเลือกตั้งครั้งหน้า และต้องยอมรับว่า แกนนำพรรคฝ่ายค้านอย่าง พท.กำลังเสียคน เสีย ส.ส.ศรีสะเกษทั้งจังหวัดให้ ภท. ถือว่าเป็นปัญหา ยุทธศาสตร์ที่ดีคือมีเป้าหมายชัดเจน การไปอภิปรายโจมตีรัฐมนตรีทุกพรรคความชัดเจนจะหาย และสุดท้ายจะกลายเป็นเหมือนการอภิปรายรอบที่แล้ว ไม่มีเป้าเป้ารอบนี้ต้องปลุกกระแสให้คนจำให้ได้ว่า พล.อ.ประยุทธ์อยู่มา 8 ปีแล้ว 3 ป.อยู่มานานแล้ว ตอนนี้รอยร้าวคือรอยร้าวใน พปชร. การเมืองระหว่าง ภท.กับ พท. น่าจะไปสู้กันที่การเลือกตั้งมากกว่า

โอฬาร ถิ่นบางเตียว
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับ 3 ป. จากการประเมินกำลังการพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 จะเห็นว่าฝ่ายรัฐบาลมีความได้เปรียบค่อนข้างมาก เพราะสะท้อนถึงกำลัง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ว่ายังมีกำลังอยู่ในมือค่อนข้างมาก เนื่องจากดูในเรื่องพรรคเศรษฐกิจไทย มีกำลังอยู่ในมือมากเหมือนกัน สามารถล้มรัฐบาลได้เหมือนกัน แต่เชื่อมต่อกับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ทำให้การลงคะแนนจนเป็นที่ไว้วางใจในวาระ 1 ทั้งที่การอภิปรายไม่ไว้วางใจเกี่ยวกับ3 ป. ความจริงต้องทำการบ้านอย่างมากเป็นพิเศษ ต้องคุมเสียงในสภาให้ได้มากที่สุด
 
แต่เมื่อผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณแล้ว ตอนนี้ไม่ต้องดูเรื่องเนื้อหาสาระจะอภิปราย ควรมามองเรื่องคณิตศาสตร์ทางการเมืองกันมากกว่า มีการจัดวางยุทธศาสตร์ ทั้งการแจกกล้วย การให้เงื่อนไขกับพรรคเล็กพรรคน้อย คิดว่าศึกอภิปรายจะผ่านพ้นไปด้วยดี สถานการณ์ที่สำคัญคือ กระแสของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถตัดสินใจยุบสภา หรือลาออกก็ไม่ได้ เพราะว่าจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามได้เปรียบทางการเมืองค่อนข้างมาก
ศึกอภิปรายในครั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดนหนักแน่นอน เพราะสถานการณ์ตกต่ำ มีคู่เปรียบเทียบเยอะเรื่องการบริหารงาน รวมทั้งภาวะผู้นำ มีกระแสทั้งการโจมตี กระแสของความด้อยค่านำมาเปรียบเทียบกับผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ รวมทั้งจะต้องอภิปรายโจมตี พล.อ.ประวิตรด้วย เพราะมีโอกาสมานั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ส่วนคนที่ 3 คือ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่