ถึงเมาเหล้า แต่เราไม่เมาค้าง
ดื่มอย่างไร ไม่ให้แฮงค์
ขึ้นชื่อว่ามีปาร์ตี้ที่ไหน ก็ต้องมีแอลกอฮอล์ที่นั่น ยิ่งช่วงเทศกาลต่าง ๆ ยิ่งขาดไม่ได้ เพราะสำหรับนักดื่ม แอลกอฮอล์จะช่วยทำให้บรรยากาศของงานสังสรรค์อบอวลไปด้วยความสุขมากขึ้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ไปกดระบบประสาทส่วนกลางและคลายกล้ามเนื้อ ทำให้ผู้ที่ดื่ม (เพียงปริมาณเล็กน้อย) รู้สึกผ่อนคลาย
เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย ก็จะเดินทางไปยังกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เพื่อดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือดแล้วก็จะเดินทางต่อไปยังสมอง ซึ่งก็จะทำปฏิกริยาที่แตกต่างกันไปตามหน้าที่ของสมองในแต่ละส่วน และนี่แหละครับที่เป็นสาเหตุของการเมาในรูปแบบต่างๆ
·
สมองส่วนหน้า (Frontal lobe) มีหน้าที่ควบคุมการตัดสินใจ อารมณ์ ความคิด สติปัญญา บุคลิกภาพ ถ้าดื่มมากไปก็จะทำให้เราขาดความยับยั้งชั่งใจ ตัดสินใจผิดพลาด หรือแสดงบุคลิกภาพบางอย่างที่อาจจะไม่ได้ทำในช่วงเวลาปกติ เช่น คนที่ดูเรียบร้อยก็อาจจะลุกขึ้นมาเต้นรำแบบสุดเหวี่ยงได้
·
สมองส่วนความจำ (Hippocampus) เป็นหน่วยเก็บความทรงจำทั้งหมดของเราทั้งระยะใกล้และระยะไกล หากแอลกอฮอล์ซึมเข้าไปถึงส่วนนี้ ก็อาจจะทำให้เราจดจำสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันนั้นได้เลือนราง แต่ในบางครั้งก็อาจทำให้ความทรงจำที่เก็บซ่อนไว้เผยออกมา เกิดเป็นอาการร้องไห้ฟูมฟาย ดังนั้น ใครที่บอกว่ากินเหล้าแล้วจะทำให้ลืม ก็อาจจะไม่จริงเสมอไปนะครับ
·
สมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) สมองส่วนนี้จะช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ความหิว ความอิ่ม การนอนหลับ หากแอลกอฮอล์ซึมเข้าไปในส่วนนี้ก็จะทำให้เรากระหายน้ำ หิวง่าย รวมถึงทำให้การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตและการนอนผิดปกติ
·
สมองส่วนซีรีเบลลัม (Cerebellum) ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว เมื่อดื่มเข้าไปมากๆ ก็จะทำให้เสียการทรงตัว เดินไม่ตรงทาง อันนี้พบได้ง่ายและบ่อยมาก
·
ก้านสมอง (Brain Stem) จะคอยควบคุมการส่งถ่ายข้อมูลจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าดื่มเข้าไปมากๆ ก็จะทำให้การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ช้าลง
·
ก้านสมองส่วนท้ายหรือเมดัลลา (Medulla oblongata) มีหน้าที่ควบคุมการอาเจียน การหายใจและความดันเลือด ซึ่งหากดื่มมากไปจะทำให้รู้สึกคลื่นไส้ แต่ถ้าดื่มมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหว จะทำให้หมดสติ ช็อค หยุดหายใจและเสียชีวิตได้
อาการเมาค้างเกิดขึ้นได้อย่างไร
หลังจากที่ดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปมากๆ ส่วนใหญ่เมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกปวดศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย กระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ชีพจรเต้นเร็ว ซึ่งสาเหตุของอาการเหล่านี้ก็มาจากการที่แอลกอฮอล์ที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปจะถูกเอนไซม์ Alcohol Dehydrogenase เปลี่ยนให้ไปอยู่ในรูปของอะซิตัล แอลดีไฮด์ (Acetal aldehyde) ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ในร่างกาย ถ้ายังมีอะซิตัล แอลดีไฮด์สะสมอยู่ในร่างกายก็จะส่งผลให้มีอาการเมาค้างหรือแฮงค์โอเวอร์นั่นเองครับ
เทคนิคแก้อาการเมาค้าง
ถึงแม้ว่าจะยังไม่มียาที่สามารถแก้อาการเมาค้างได้ 100% แต่ก็มีหลายวิธีที่นิยมใช้กัน เช่น
· ดื่มน้ำเปล่าบ่อยๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถขับสารตกค้างจากแอลกอฮออล์ออกมา หรือจะดื่มน้ำชาร่วมด้วยก็ได้ เพราะชาก็มีฤทธิ์ขับปัสสาวะเช่นกัน
· ดื่มน้ำผักหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวหวาน หรือวิตามินชนิดเม็ดฟู่ละลายน้ำ เพื่อช่วยให้ร่างกายไม่อ่อนเพลียจากการสูญเสียวิตามินและแร่ธาตุหลังการดื่มแอลกอฮอล์ และสำหรับผู้ที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน การดื่มน้ำขิงหรือชามินต์ ก็สามารถลดอาการเหล่านี้ได้
· การรับประทานวิตามิน เช่น วิตามินบีรวม วิตามินซี แมกนีเซียม และกรดอะมิโนแอล-ซีสเทอีน (L-Cysteine) รวมถึงการรับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้มหรือโจ๊ก ก็ช่วยบรรเทาอาการเมาค้างได้เช่นกัน
· ถ้ามีอาการปวดศีรษะและตัวร้อนร่วมด้วย ก็สามารถรับประทานยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟ่น หรือยาตัวอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันได้ ทั้งนี้ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนซื้อยามารับประทานด้วยนะครับ
· สำหรับกาแฟอาจไม่ได้ทำให้อาการเมาค้างดีขึ้น แค่ช่วยให้เราตื่นตัว เพราะเมื่อหมดฤทธิ์กาแฟ เราก็จะกลับไปเพลียเหมือนเดิม
ดังนั้น ก่อนที่จะออกไปดริงก์ทุกครั้ง พี่หมอแนะนำว่าไม่ควรปล่อยให้ท้องว่าง แต่ควรหาอะไรรองท้องซักหน่อย หรือจะรับประทานกับแกล้มไปด้วยก็ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลตก และอย่าดื่มแอลกอฮอล์ครั้งละมากๆ ให้ค่อยๆ จิบ จะได้ไม่เมาเร็ว รวมถึงควรดื่มน้ำตามทุกชั่วโมงเพื่อไม่ให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงจนเกินไปและยังเป็นการทดแทนน้ำที่เสียไปกับปัสสาวะระหว่างที่ดื่มด้วย ข้อสุดท้าย ควรรับประทานวิตามินรวมหรือกรดอะมิโนแอล-ซีสเทอีนที่จะช่วยลดอาการอักเสบของตับจากการถูกแอลกอฮอล์ทำร้ายได้
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสมองแล้ว ยังส่งผลต่อตับ ทำให้โอกาสที่
ไขมันและสารพิษจะไปสะสมที่ตับเพิ่มมากขึ้น หากดื่มบ่อยๆ ตับก็จะอักเสบ เกิดพังผืดที่ตับ และกลายเป็นตับแข็งได้ในที่สุด ดังนั้น ถ้ารักจะดื่ม ก็ต้องดื่มอย่างมีสติด้วยนะครับ จะได้ไม่เป็นการทำลายสุขภาพและชีวิตของเรา
ปีใหม่นี้ เมาไม่ขับ กลับบ้านกันอย่างปลอดภัยนะครับทุกคน 😘 😘 😘
ถึงเมาเหล้า แต่เราไม่เมาค้าง ดื่มอย่างไร ไม่ให้แฮงค์
ดื่มอย่างไร ไม่ให้แฮงค์
ขึ้นชื่อว่ามีปาร์ตี้ที่ไหน ก็ต้องมีแอลกอฮอล์ที่นั่น ยิ่งช่วงเทศกาลต่าง ๆ ยิ่งขาดไม่ได้ เพราะสำหรับนักดื่ม แอลกอฮอล์จะช่วยทำให้บรรยากาศของงานสังสรรค์อบอวลไปด้วยความสุขมากขึ้น ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ไปกดระบบประสาทส่วนกลางและคลายกล้ามเนื้อ ทำให้ผู้ที่ดื่ม (เพียงปริมาณเล็กน้อย) รู้สึกผ่อนคลาย
เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกาย ก็จะเดินทางไปยังกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เพื่อดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือดแล้วก็จะเดินทางต่อไปยังสมอง ซึ่งก็จะทำปฏิกริยาที่แตกต่างกันไปตามหน้าที่ของสมองในแต่ละส่วน และนี่แหละครับที่เป็นสาเหตุของการเมาในรูปแบบต่างๆ
· สมองส่วนหน้า (Frontal lobe) มีหน้าที่ควบคุมการตัดสินใจ อารมณ์ ความคิด สติปัญญา บุคลิกภาพ ถ้าดื่มมากไปก็จะทำให้เราขาดความยับยั้งชั่งใจ ตัดสินใจผิดพลาด หรือแสดงบุคลิกภาพบางอย่างที่อาจจะไม่ได้ทำในช่วงเวลาปกติ เช่น คนที่ดูเรียบร้อยก็อาจจะลุกขึ้นมาเต้นรำแบบสุดเหวี่ยงได้
· สมองส่วนความจำ (Hippocampus) เป็นหน่วยเก็บความทรงจำทั้งหมดของเราทั้งระยะใกล้และระยะไกล หากแอลกอฮอล์ซึมเข้าไปถึงส่วนนี้ ก็อาจจะทำให้เราจดจำสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันนั้นได้เลือนราง แต่ในบางครั้งก็อาจทำให้ความทรงจำที่เก็บซ่อนไว้เผยออกมา เกิดเป็นอาการร้องไห้ฟูมฟาย ดังนั้น ใครที่บอกว่ากินเหล้าแล้วจะทำให้ลืม ก็อาจจะไม่จริงเสมอไปนะครับ
· สมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) สมองส่วนนี้จะช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ความหิว ความอิ่ม การนอนหลับ หากแอลกอฮอล์ซึมเข้าไปในส่วนนี้ก็จะทำให้เรากระหายน้ำ หิวง่าย รวมถึงทำให้การเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตและการนอนผิดปกติ
· สมองส่วนซีรีเบลลัม (Cerebellum) ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว เมื่อดื่มเข้าไปมากๆ ก็จะทำให้เสียการทรงตัว เดินไม่ตรงทาง อันนี้พบได้ง่ายและบ่อยมาก
· ก้านสมอง (Brain Stem) จะคอยควบคุมการส่งถ่ายข้อมูลจากสมองไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าดื่มเข้าไปมากๆ ก็จะทำให้การรับรู้และตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ ช้าลง
· ก้านสมองส่วนท้ายหรือเมดัลลา (Medulla oblongata) มีหน้าที่ควบคุมการอาเจียน การหายใจและความดันเลือด ซึ่งหากดื่มมากไปจะทำให้รู้สึกคลื่นไส้ แต่ถ้าดื่มมากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหว จะทำให้หมดสติ ช็อค หยุดหายใจและเสียชีวิตได้
อาการเมาค้างเกิดขึ้นได้อย่างไร
หลังจากที่ดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปมากๆ ส่วนใหญ่เมื่อตื่นขึ้นมาจะรู้สึกปวดศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามร่างกาย กระหายน้ำ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ชีพจรเต้นเร็ว ซึ่งสาเหตุของอาการเหล่านี้ก็มาจากการที่แอลกอฮอล์ที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปจะถูกเอนไซม์ Alcohol Dehydrogenase เปลี่ยนให้ไปอยู่ในรูปของอะซิตัล แอลดีไฮด์ (Acetal aldehyde) ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ในร่างกาย ถ้ายังมีอะซิตัล แอลดีไฮด์สะสมอยู่ในร่างกายก็จะส่งผลให้มีอาการเมาค้างหรือแฮงค์โอเวอร์นั่นเองครับ
เทคนิคแก้อาการเมาค้าง
ถึงแม้ว่าจะยังไม่มียาที่สามารถแก้อาการเมาค้างได้ 100% แต่ก็มีหลายวิธีที่นิยมใช้กัน เช่น
· ดื่มน้ำเปล่าบ่อยๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถขับสารตกค้างจากแอลกอฮออล์ออกมา หรือจะดื่มน้ำชาร่วมด้วยก็ได้ เพราะชาก็มีฤทธิ์ขับปัสสาวะเช่นกัน
· ดื่มน้ำผักหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวหวาน หรือวิตามินชนิดเม็ดฟู่ละลายน้ำ เพื่อช่วยให้ร่างกายไม่อ่อนเพลียจากการสูญเสียวิตามินและแร่ธาตุหลังการดื่มแอลกอฮอล์ และสำหรับผู้ที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน การดื่มน้ำขิงหรือชามินต์ ก็สามารถลดอาการเหล่านี้ได้
· การรับประทานวิตามิน เช่น วิตามินบีรวม วิตามินซี แมกนีเซียม และกรดอะมิโนแอล-ซีสเทอีน (L-Cysteine) รวมถึงการรับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้มหรือโจ๊ก ก็ช่วยบรรเทาอาการเมาค้างได้เช่นกัน
· ถ้ามีอาการปวดศีรษะและตัวร้อนร่วมด้วย ก็สามารถรับประทานยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟ่น หรือยาตัวอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันได้ ทั้งนี้ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนซื้อยามารับประทานด้วยนะครับ
· สำหรับกาแฟอาจไม่ได้ทำให้อาการเมาค้างดีขึ้น แค่ช่วยให้เราตื่นตัว เพราะเมื่อหมดฤทธิ์กาแฟ เราก็จะกลับไปเพลียเหมือนเดิม
ดังนั้น ก่อนที่จะออกไปดริงก์ทุกครั้ง พี่หมอแนะนำว่าไม่ควรปล่อยให้ท้องว่าง แต่ควรหาอะไรรองท้องซักหน่อย หรือจะรับประทานกับแกล้มไปด้วยก็ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลตก และอย่าดื่มแอลกอฮอล์ครั้งละมากๆ ให้ค่อยๆ จิบ จะได้ไม่เมาเร็ว รวมถึงควรดื่มน้ำตามทุกชั่วโมงเพื่อไม่ให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงจนเกินไปและยังเป็นการทดแทนน้ำที่เสียไปกับปัสสาวะระหว่างที่ดื่มด้วย ข้อสุดท้าย ควรรับประทานวิตามินรวมหรือกรดอะมิโนแอล-ซีสเทอีนที่จะช่วยลดอาการอักเสบของตับจากการถูกแอลกอฮอล์ทำร้ายได้
การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสมองแล้ว ยังส่งผลต่อตับ ทำให้โอกาสที่
ไขมันและสารพิษจะไปสะสมที่ตับเพิ่มมากขึ้น หากดื่มบ่อยๆ ตับก็จะอักเสบ เกิดพังผืดที่ตับ และกลายเป็นตับแข็งได้ในที่สุด ดังนั้น ถ้ารักจะดื่ม ก็ต้องดื่มอย่างมีสติด้วยนะครับ จะได้ไม่เป็นการทำลายสุขภาพและชีวิตของเรา
ปีใหม่นี้ เมาไม่ขับ กลับบ้านกันอย่างปลอดภัยนะครับทุกคน 😘 😘 😘