มาต่อกันที่บทความส่งท้ายปีเก่า ที่จะเป็นข้อมูลสำคัญช่วยให้ทุกท่านได้นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนช่วงสุดท้ายของปีนี้ โดยพวกเราจะมาทำให้ทุกอย่างกระจ่างชัดในเรื่องของเหตุการณ์ที่ถูกพูดถึงกันเป็นประจำทุก ๆ สิ้นไตรมาส ไม่ว่าจะเป็นบทวิเคราะห์ทุกสำนักหรือตามกระทู้ต่าง ๆ ที่ทุกคนต่างก็คาดหวังให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น โดยเฉพาะสิ้นปีที่มักมีให้ลุ้นเป็นพิเศษ และเรื่องที่เราหยิบยกมาเป็น Topic ในวันนี้จะเป็นเรื่องอื่นไปไม่ได้เลย นอกเสียจากเรื่องของ
Window Dressing เพียงแต่ว่ามันยังมีข้อมูลอื่น ๆ แอบแฝงที่เป็น
“เหตุการณ์ทับซ้อน” ที่สำคัญไม่แพ้กันและเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่คาดไม่ถึงแต่จำเป็นต้องรู้เพื่อการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง โดยจะเป็นอะไรและส่งผลกระทบต่อตลาดแค่ไหน พวกท่านสามารถทำความเข้าใจได้จากบทความนี้
Window Dressing คืออะไร ?
Window Dressing เป็น
ความเชื่อทางการเงิน ที่นักลงทุนคิดว่า บริษัทใหญ่ๆหรือสถาบันจะมีการ
“ทำราคาหุ้น” เพื่อให้การปิดงบบัญชีในรอบนั้นมีตัวเลขผลประกอบการที่ดี โดยมีแรงจูงใจเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับนักลงทุนที่ไว้ใจนำเงินมาฝาก รวมไปถึงเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับนักลงทุนหน้าใหม่ หรือพูดง่าย ๆ การทำ Window Dressing ก็คือการที่กองทุนเจตนาซื้อหุ้นในช่วงสิ้นไตรมาส เพื่อให้ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นนั่นเอง
แล้วพวกท่านละครับ คิดว่า Window Dressing จะเกิดขึ้นจริง หรือเป็นเพียงแค่คำหลอกล่อนักลงทุนให้มโนตั้งความหวังกันเองว่าจะเกิดขึ้น ? พวกเราจะมาพิสูจน์ให้ทุกอย่างชัดเจน โดยทำการเก็บข้อมูลในอดีต เพื่อดูว่าในช่วง 5 วันทำการสุดท้ายก่อนสิ้นไตรมาสตลอด 7 ปีที่ผ่านของตลาดหุ้นไทย
นักลงทุนสถาบันเขาเข้ามาซื้อหุ้นเพื่อทำ Window Dressing หรือไม่ โดยได้ผลลัพธ์ดังนี้
ตารางแสดงการซื้อขายสุทธิสะสมในช่วง 5 วันสุดท้ายของทุกสิ้นไตรมาสของนักลงทุนทั้ง 4 กลุ่ม
Window Dressing มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ !
จากตารางพบว่าในช่วงเวลา 7 ปี หรือ 27 ไตรมาสที่ผ่านมา ในช่วง 5 วันทำการสุดท้าย นักลงทุนสถาบันมีแนวโน้มในการเข้ามาซื้อสะสมโดดเด่นที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ โดยมีแนวโน้มสูงถึง 63% ที่พวกเราจะมียอดซื้อขายสะสมสุทธิที่เป็นบวก ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติตามมาเป็นอันดับ 2 โดยมีจำนวนครั้งที่มียอดซื้อสุทธิสะสมมากกว่า 50% และจากข้อมูลที่เกิดขึ้น จึงสามารถสรุปได้ว่า
แนวโน้มการทำ Window Dressing มีโอกาสเกิดขึ้นจริงในทุก ๆ สิ้นไตรมาส ซึ่งถือเป็นข่าวดีของนักลงทุนที่ถือหุ้นไว้เพื่อลุ้นกับเหตุการณ์นี้
นอกจากนี้การทำ Window Dressing ยังมีนิยามที่ลึกลงไปมากกว่านั้น เพราะบางสำนักเขาเชื่อกันว่าสถาบัน “ไม่จำเป็นต้องทำทุกสิ้นไตรมาส” เพราะพวกเขาจะทำเฉพาะไตรมาสที่สำคัญเท่านั้น ซึ่งไตรมาสที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นการ
ปิดงบสิ้นปีหรือไตรมาสสุดท้าย หรือหากถ้าละเอียดขึ้นมาอีกสักนิด คงเพิ่มไตรมาสที่ 2 ที่บางคนอาจใช้เป็นตัววัด Performance ทุก ๆ ครึ่งปี เป็นต้น แล้วพวกท่านคิดว่าคำนิยามเหล่านี้จะเป็นจริงหรือไม่ เราจึงทำการเรียงข้อมูลการซื้อสุทธิของนักลงทุนสถาบันใหม่ โดยแยกเป็นรายไตรมาสในแต่ละปี มีผลลัพธ์ดังนี้
ตารางแสดงการซื้อขายสุทธิสะสมของนักลงทุนสถาบันในช่วง 5 วันสุดท้ายของทุกสิ้นไตรมาส
จากตารางเมื่อเราทำการเรียงข้อมูลเป็นรายไตรมาสแล้ว กลับพบว่าเกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ โดยนักลงทุนสถาบันมีการซื้อสะสมเฉลี่ยสูงสุดที่สุดในไตรมาส 4 โดยมีการ
ซื้อสะสมในช่วง 5 วันสุดท้ายสูงถึง 5000 กว่าล้าน ! และรองลงมาก็เป็นไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของครึ่งปี โดยมีการซื้อสะสมกว่า 1000 ล้าน และจากข้อมูลในส่วนนี้ คงทำให้ต่อจากนี้ไปนักลงทุนทุกคนคงเกิดความชัดเจนกันและมั่นใจกันได้แล้วใช่ไหมครับ ? ว่า
สถาบันเขามีการพยายามทำ Window Dressing อย่างแน่นอน โดยเฉพาะในช่วงสิ้นไตรมาสสุดท้ายของปี
แล้วในช่วง 5 วันทำการสุดท้ายของปีนี้ พวกเราเองก็เชื่อว่านักลงทุนสถาบันเขาย่อมคิดไม่ต่างจากเดิม และเราคงได้เห็นยอดการซื้อสะสมในตลาดหุ้น และมีแนวโน้มเห็นการทำ “Window Dressing” ดังนั้น สำหรับใครที่อ่านบทความมาถึงตรงนี้ คงต้องเริ่มใช้โอกาสนี้ในการซื้อหุ้น หรือเปิด Long เพื่อทำกำไรเป็นโบนัสก้อนสุดท้ายของปี … แต่เดียวก่อนนะครับ พวกเราบอกไว้อย่างชัดเจนว่ากองทุนเขา “พยายาม” ทำ Window Dressing แต่เราไม่ได้บอกไว้ว่า
“ตลาดหุ้นจะต้องปรับตัวขึ้นตามไปด้วย” เพราะพวกเรายังไม่ได้ให้ข้อมูลในส่วนของทิศทางราคาเลย ดังนั้น เราลองมาตรวจสอบข้อมูลราคาเพิ่มเติม โดยมาดูกันว่าตลาดหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกสิ้นไตรมาสจริงหรือไม่ โดยได้ผลลัพธ์ดังนี้
ตารางแสดงการเคลื่อนไหวของ SET50 ในช่วง 5 วันสุดท้ายของทุกสิ้นไตรมาส
ตลาดหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงสิ้นไตรมาส
จากตารางพบว่าเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังพอสมควร ที่ในทุกสิ้นไตรมาสตลาดมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 5 วันทำการก่อนหน้าเพียงแค่ 11 ใน 27 ครั้ง หรือ
คิดเป็นเพียง 40% เท่านั้น สวนทางกับความคาดหวังของนักลงทุนที่คิดว่าแรงซื้อของสถาบัน จะช่วยผลักดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุก ๆ สิ้นไตรมาสเสมอ และเมื่อพิจารณาเพิ่มเติมจะพบว่าสิ้นไตรมาสที่ดัชนี SET50 เคยปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในระดับ 4% ก็เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2013 หรือ 7 ปีก่อน หลังจากนั้นเราไม่ค่อยได้เห็นการปรับตัวขึ้นแรงในช่วงสิ้นไตรมาสอีกเลย
แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกันครับ เพราะอย่างที่รู้กันว่าไตรมาส 4 ที่เป็นไตรมาสสุดท้ายนั่นมีนัยสำคัญมากกว่าไตรมาสอื่น ๆ ดังนั้น เราลองมาเรียงข้อมูลใหม่ราคาใหม่โดยทำเป็นรายไตรมาส แล้วมาพิจารณาดูเฉพาะการเคลื่อนไหวของตลาดเฉพาะช่วงปลายปีกันดีกว่า
ตารางแสดงการของดัชนี SET50 ในช่วง 5 วันสุดท้ายของทุกสิ้นไตรมาส
แม้แต่ไตรมาสสุดท้ายที่สถาบันเทเงินเข้ามาในตลาดหุ้นก็มีผลลัพธ์ที่น่าผิดหวัง
จากตารางพบว่า แม้เราจะเรียงการเปลี่ยนแปลงของราคาออกมาเป็นรายไตรมาส ก็พบว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายที่สถาบันซื้อสุทธิอย่างมีนัยสำคัญก็มีผลตอบเฉลี่ยที่ไม่ได้ดีกว่าไตรมาสอื่น เพราะมีเพียงแค่ 3 ใน 6 ปี หรือครึ่งนึงเท่านั้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และเมื่อดูจากค่าเฉลี่ย ตลาดยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงกว่า 1% เสียด้วยซ้ำ ดังนั้น คงทำให้หลายคนต้องคิดวิเคราะห์เพิ่มเติมใหม่ในประเด็น Window Dressing นี้
สรุปแล้ว
การทำ Window Dressing ของกองทุนนั้นเป็นเรื่องจริงแท้แน่นอน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าตลาดจะปรับตัวขึ้นเสมอ … แล้วพวกท่านคิดว่าเป็นเพราะอะไร ? เกิดอะไรขึ้น ทำไมการเคลื่อนไหวของตลาดถึงไม่เป็นไปตาม Fund Flow ของสถาบัน ซึ่งแท้จริงเรื่องนี้มีคำตอบอยู่ครับ เพราะอย่างที่เราได้เกริ่นไปตั้งแต่ย่อหน้าแรกว่าในช่วงสุดท้ายของไตรมาส จะมี
“เหตุการณ์ทับซ้อน” เกิดขึ้น และเป็นเหตการณ์ที่ส่งผลต่อกำไรขาดทุนของสถาบันหรือ
”รายใหญ่ในตลาด” ไม่แพ้กันด้วย มันจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้การทำ Window Dressing ของกองทุนไม่ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ซึ่งเหตการณ์นั้นก็คือ
“การหมดอายุของสัญญา Futures”
ทำความเข้าใจเรื่องการหมดอายุของสัญญา Futures ในตลาด TFEX
ไม่รู้เป็นเรื่องบังเอิญหรือตั้งใจนะครับ ที่ Futures ที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 , หุ้นรายตัว หรือแม้กระทั่ง Option ของ Series ที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด ก็ดันมีวันหมดอายุ ณ สิ้นไตรมาสเช่นเดียวกัน ซึ่งตามกฎกติกา เขาเขียนไว้ว่า มันจะหมดอายุทุก
วันทำการก่อนหน้าวันทำการสุดท้าย นั่นก็คือ
1 วันทำการก่อนสิ้นไตรมาสนั่นเอง และอย่างที่รู้กัน เมื่อถึงวันหมดอายุเมื่อไร ทุกคนที่เป็นคู่สัญญากันอยู่จะต้องถูกบังคับปิดโดยอัตโนมัติ ซึ่งตามปกติแล้วสถานะคงค้าง ณ วันสุดท้ายเมื่อรวมกันทุก Product แล้วจะมี
มากกว่า 50,000 สัญญา แล้วพวกท่านลองสวมหมวกจินตนาการว่าตัวเองเป็นรายใหญ่ที่ถือสถานะในฝั่ง Short ไว้เต็มมือดูนะครับ ว่าจะยอมให้เหตุการณ์ Window Dressing มาลากตลาดให้ขึ้นสวนทางกับสถานะที่ถือครองของตัวเองหรือไม่ ? แน่นอนคำตอบคือไม่มีทาง เพราะถ้าอยากทำให้ตลาดหุ้นขึ้นจริงก็ต้องผ่านวันหมดอายุนี้ไปก่อน และ
นี่คือเหตุผลที่บิดเบือนกลไกการทำ Window Dressing ของกองทุนที่หลายคนไม่เคยรู้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้แล้วการถือ Futures จนหมดอายุมันเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของหุ้น/ดัชนีหุ้นได้อย่างไร
คืองี้นะครับ แม้ว่าระหว่างวันก่อนหมดอายุ เราอาจเห็นการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันกันระหว่างตัว Futures กับหุ้น/ดัชนีหุ้นอ้างอิง เช่น บางวันดัชนีขึ้นแต่ Futures ไม่ยอมขึ้น แต่ให้รู้ไว้นะครับว่า เรื่องแบบนี้จะไม่มีวันเกิดขึ้นในวันหมดอายุเป็นอันขาด เพราะตามกฎแล้วเมื่อเวลา Futures หมดอายุลง ตลาด TFEX จะใช้ “ราคาหุ้นอ้างอิง” ซึ่งก็คือดัชนี SET50 Index ตัวแม่ เป็นราคาที่ใช้คิดกำไรขาดทุนให้กับทุกคน โดยมีวิธีคำนวณคร่าว ๆ จากการเอาราคาเฉลี่ยของดัชนี SET50 ในช่วง 15 นาทีสุดท้าย (16.15 – 16.30 น.) ดังนั้น พวกท่านจะได้เห็นความปั่นป่วนที่ผิดปกติในช่วงเวลานี้ ณ วันหมดอายุเสมอ
เอาละครับ เรามาตอกย้ำความจริงในเรื่องนี้จากข้อมูลเหตุการณ์ที่ไม่น่าเชื่อในปีก่อนกันดีกว่า พวกท่านจำได้ไหมครับ ? ว่าปีที่แล้ว (2018) ตลาดปรับตัวลงมาทำจุดต่ำสุดของปีในวันที่เท่าไร? คำตอบ คือ วันที่ 27 ธ.ค. ซึ่งเป็นเรื่องบังเอิญค่อนข้างมากที่วันนั้น เ
ป็นวันหมดอายุของสัญญาฟิวเจอร์สไตรมาสสุดท้ายพอดี แล้วหากถ้าบางท่านลืมเรื่องราวไปแล้ว เราจะย้อนเวลาไปอธิบายเหตุการณ์ผ่านกราฟดังนี้
กราฟของดัชนี SET50 ในช่วงกลางปี 2018 ถึง ต้นปี 2019
จากกราฟจะเห็นว่าแท่งเทียนที่พวกเราวงเอาไว้เป็นของวันที่ 27 ธ.ค.18 ที่เป็นแท่งที่สีแดงยาวที่มีราคาปิดต่ำสุดของรอบการเคลื่อนไหวนั้น โดยที่มีเรื่องที่น่าสนใจอยู่ 2 ประเด็น
1.ตลาดพยายามเปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยกระโดดขึ้นมาแรงกว่า 20 จุด หรือประมาณ 2% ตามแรงซื้อในช่วง 4-5 วันทำการก่อนหน้าที่ปรับตัวเขียวอย่างต่อเนื่อง แต่ในระหว่างวันก็ถูกแรงขาย (จากไหนไม่รู้) ทำให้ดัชนีทิ้งดิ่งกว่า 30 จุดลงมาปิดจุดต่ำสุดของวันและของปีสวนทางกับเพื่อนบ้านอย่างหน้าตาเฉย
2.หลังจากที่ผ่านพ้นวันนี้ (วันหมดอายุของสัญญา) ไปแล้ว ตลาดไม่ทำจุดต่ำสุดอีกเลย และค่อย ๆ เดินหน้าปรับตัวขึ้น (เพื่อเล่นรอบใหม่) โดยขึ้นกว่า 100 จุดในช่วง 2 เดิอนถัดไป …
เฉลยความจริง Window Dressing กับฉากสุดท้ายของตลาดหุ้นไทยในปีนี้ <<Event Series ตอนที่ 1>>
Window Dressing คืออะไร ?
Window Dressing เป็นความเชื่อทางการเงิน ที่นักลงทุนคิดว่า บริษัทใหญ่ๆหรือสถาบันจะมีการ “ทำราคาหุ้น” เพื่อให้การปิดงบบัญชีในรอบนั้นมีตัวเลขผลประกอบการที่ดี โดยมีแรงจูงใจเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับนักลงทุนที่ไว้ใจนำเงินมาฝาก รวมไปถึงเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับนักลงทุนหน้าใหม่ หรือพูดง่าย ๆ การทำ Window Dressing ก็คือการที่กองทุนเจตนาซื้อหุ้นในช่วงสิ้นไตรมาส เพื่อให้ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นนั่นเอง
แล้วพวกท่านละครับ คิดว่า Window Dressing จะเกิดขึ้นจริง หรือเป็นเพียงแค่คำหลอกล่อนักลงทุนให้มโนตั้งความหวังกันเองว่าจะเกิดขึ้น ? พวกเราจะมาพิสูจน์ให้ทุกอย่างชัดเจน โดยทำการเก็บข้อมูลในอดีต เพื่อดูว่าในช่วง 5 วันทำการสุดท้ายก่อนสิ้นไตรมาสตลอด 7 ปีที่ผ่านของตลาดหุ้นไทย นักลงทุนสถาบันเขาเข้ามาซื้อหุ้นเพื่อทำ Window Dressing หรือไม่ โดยได้ผลลัพธ์ดังนี้
ตารางแสดงการซื้อขายสุทธิสะสมในช่วง 5 วันสุดท้ายของทุกสิ้นไตรมาสของนักลงทุนทั้ง 4 กลุ่ม
Window Dressing มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ !
จากตารางพบว่าในช่วงเวลา 7 ปี หรือ 27 ไตรมาสที่ผ่านมา ในช่วง 5 วันทำการสุดท้าย นักลงทุนสถาบันมีแนวโน้มในการเข้ามาซื้อสะสมโดดเด่นที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ โดยมีแนวโน้มสูงถึง 63% ที่พวกเราจะมียอดซื้อขายสะสมสุทธิที่เป็นบวก ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติตามมาเป็นอันดับ 2 โดยมีจำนวนครั้งที่มียอดซื้อสุทธิสะสมมากกว่า 50% และจากข้อมูลที่เกิดขึ้น จึงสามารถสรุปได้ว่า แนวโน้มการทำ Window Dressing มีโอกาสเกิดขึ้นจริงในทุก ๆ สิ้นไตรมาส ซึ่งถือเป็นข่าวดีของนักลงทุนที่ถือหุ้นไว้เพื่อลุ้นกับเหตุการณ์นี้
นอกจากนี้การทำ Window Dressing ยังมีนิยามที่ลึกลงไปมากกว่านั้น เพราะบางสำนักเขาเชื่อกันว่าสถาบัน “ไม่จำเป็นต้องทำทุกสิ้นไตรมาส” เพราะพวกเขาจะทำเฉพาะไตรมาสที่สำคัญเท่านั้น ซึ่งไตรมาสที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นการปิดงบสิ้นปีหรือไตรมาสสุดท้าย หรือหากถ้าละเอียดขึ้นมาอีกสักนิด คงเพิ่มไตรมาสที่ 2 ที่บางคนอาจใช้เป็นตัววัด Performance ทุก ๆ ครึ่งปี เป็นต้น แล้วพวกท่านคิดว่าคำนิยามเหล่านี้จะเป็นจริงหรือไม่ เราจึงทำการเรียงข้อมูลการซื้อสุทธิของนักลงทุนสถาบันใหม่ โดยแยกเป็นรายไตรมาสในแต่ละปี มีผลลัพธ์ดังนี้
ตารางแสดงการซื้อขายสุทธิสะสมของนักลงทุนสถาบันในช่วง 5 วันสุดท้ายของทุกสิ้นไตรมาส
จากตารางเมื่อเราทำการเรียงข้อมูลเป็นรายไตรมาสแล้ว กลับพบว่าเกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ โดยนักลงทุนสถาบันมีการซื้อสะสมเฉลี่ยสูงสุดที่สุดในไตรมาส 4 โดยมีการซื้อสะสมในช่วง 5 วันสุดท้ายสูงถึง 5000 กว่าล้าน ! และรองลงมาก็เป็นไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของครึ่งปี โดยมีการซื้อสะสมกว่า 1000 ล้าน และจากข้อมูลในส่วนนี้ คงทำให้ต่อจากนี้ไปนักลงทุนทุกคนคงเกิดความชัดเจนกันและมั่นใจกันได้แล้วใช่ไหมครับ ? ว่าสถาบันเขามีการพยายามทำ Window Dressing อย่างแน่นอน โดยเฉพาะในช่วงสิ้นไตรมาสสุดท้ายของปี
แล้วในช่วง 5 วันทำการสุดท้ายของปีนี้ พวกเราเองก็เชื่อว่านักลงทุนสถาบันเขาย่อมคิดไม่ต่างจากเดิม และเราคงได้เห็นยอดการซื้อสะสมในตลาดหุ้น และมีแนวโน้มเห็นการทำ “Window Dressing” ดังนั้น สำหรับใครที่อ่านบทความมาถึงตรงนี้ คงต้องเริ่มใช้โอกาสนี้ในการซื้อหุ้น หรือเปิด Long เพื่อทำกำไรเป็นโบนัสก้อนสุดท้ายของปี … แต่เดียวก่อนนะครับ พวกเราบอกไว้อย่างชัดเจนว่ากองทุนเขา “พยายาม” ทำ Window Dressing แต่เราไม่ได้บอกไว้ว่า “ตลาดหุ้นจะต้องปรับตัวขึ้นตามไปด้วย” เพราะพวกเรายังไม่ได้ให้ข้อมูลในส่วนของทิศทางราคาเลย ดังนั้น เราลองมาตรวจสอบข้อมูลราคาเพิ่มเติม โดยมาดูกันว่าตลาดหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกสิ้นไตรมาสจริงหรือไม่ โดยได้ผลลัพธ์ดังนี้
ตารางแสดงการเคลื่อนไหวของ SET50 ในช่วง 5 วันสุดท้ายของทุกสิ้นไตรมาส
ตลาดหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในช่วงสิ้นไตรมาส
จากตารางพบว่าเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังพอสมควร ที่ในทุกสิ้นไตรมาสตลาดมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 5 วันทำการก่อนหน้าเพียงแค่ 11 ใน 27 ครั้ง หรือคิดเป็นเพียง 40% เท่านั้น สวนทางกับความคาดหวังของนักลงทุนที่คิดว่าแรงซื้อของสถาบัน จะช่วยผลักดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุก ๆ สิ้นไตรมาสเสมอ และเมื่อพิจารณาเพิ่มเติมจะพบว่าสิ้นไตรมาสที่ดัชนี SET50 เคยปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในระดับ 4% ก็เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2013 หรือ 7 ปีก่อน หลังจากนั้นเราไม่ค่อยได้เห็นการปรับตัวขึ้นแรงในช่วงสิ้นไตรมาสอีกเลย
แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกันครับ เพราะอย่างที่รู้กันว่าไตรมาส 4 ที่เป็นไตรมาสสุดท้ายนั่นมีนัยสำคัญมากกว่าไตรมาสอื่น ๆ ดังนั้น เราลองมาเรียงข้อมูลใหม่ราคาใหม่โดยทำเป็นรายไตรมาส แล้วมาพิจารณาดูเฉพาะการเคลื่อนไหวของตลาดเฉพาะช่วงปลายปีกันดีกว่า
ตารางแสดงการของดัชนี SET50 ในช่วง 5 วันสุดท้ายของทุกสิ้นไตรมาส
แม้แต่ไตรมาสสุดท้ายที่สถาบันเทเงินเข้ามาในตลาดหุ้นก็มีผลลัพธ์ที่น่าผิดหวัง
จากตารางพบว่า แม้เราจะเรียงการเปลี่ยนแปลงของราคาออกมาเป็นรายไตรมาส ก็พบว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายที่สถาบันซื้อสุทธิอย่างมีนัยสำคัญก็มีผลตอบเฉลี่ยที่ไม่ได้ดีกว่าไตรมาสอื่น เพราะมีเพียงแค่ 3 ใน 6 ปี หรือครึ่งนึงเท่านั้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และเมื่อดูจากค่าเฉลี่ย ตลาดยังมีแนวโน้มปรับตัวลดลงกว่า 1% เสียด้วยซ้ำ ดังนั้น คงทำให้หลายคนต้องคิดวิเคราะห์เพิ่มเติมใหม่ในประเด็น Window Dressing นี้
สรุปแล้วการทำ Window Dressing ของกองทุนนั้นเป็นเรื่องจริงแท้แน่นอน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าตลาดจะปรับตัวขึ้นเสมอ … แล้วพวกท่านคิดว่าเป็นเพราะอะไร ? เกิดอะไรขึ้น ทำไมการเคลื่อนไหวของตลาดถึงไม่เป็นไปตาม Fund Flow ของสถาบัน ซึ่งแท้จริงเรื่องนี้มีคำตอบอยู่ครับ เพราะอย่างที่เราได้เกริ่นไปตั้งแต่ย่อหน้าแรกว่าในช่วงสุดท้ายของไตรมาส จะมี “เหตุการณ์ทับซ้อน” เกิดขึ้น และเป็นเหตการณ์ที่ส่งผลต่อกำไรขาดทุนของสถาบันหรือ ”รายใหญ่ในตลาด” ไม่แพ้กันด้วย มันจึงเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้การทำ Window Dressing ของกองทุนไม่ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ซึ่งเหตการณ์นั้นก็คือ “การหมดอายุของสัญญา Futures”
ทำความเข้าใจเรื่องการหมดอายุของสัญญา Futures ในตลาด TFEX
ไม่รู้เป็นเรื่องบังเอิญหรือตั้งใจนะครับ ที่ Futures ที่อ้างอิงกับดัชนี SET50 , หุ้นรายตัว หรือแม้กระทั่ง Option ของ Series ที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด ก็ดันมีวันหมดอายุ ณ สิ้นไตรมาสเช่นเดียวกัน ซึ่งตามกฎกติกา เขาเขียนไว้ว่า มันจะหมดอายุทุกวันทำการก่อนหน้าวันทำการสุดท้าย นั่นก็คือ 1 วันทำการก่อนสิ้นไตรมาสนั่นเอง และอย่างที่รู้กัน เมื่อถึงวันหมดอายุเมื่อไร ทุกคนที่เป็นคู่สัญญากันอยู่จะต้องถูกบังคับปิดโดยอัตโนมัติ ซึ่งตามปกติแล้วสถานะคงค้าง ณ วันสุดท้ายเมื่อรวมกันทุก Product แล้วจะมีมากกว่า 50,000 สัญญา แล้วพวกท่านลองสวมหมวกจินตนาการว่าตัวเองเป็นรายใหญ่ที่ถือสถานะในฝั่ง Short ไว้เต็มมือดูนะครับ ว่าจะยอมให้เหตุการณ์ Window Dressing มาลากตลาดให้ขึ้นสวนทางกับสถานะที่ถือครองของตัวเองหรือไม่ ? แน่นอนคำตอบคือไม่มีทาง เพราะถ้าอยากทำให้ตลาดหุ้นขึ้นจริงก็ต้องผ่านวันหมดอายุนี้ไปก่อน และนี่คือเหตุผลที่บิดเบือนกลไกการทำ Window Dressing ของกองทุนที่หลายคนไม่เคยรู้
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เอาละครับ เรามาตอกย้ำความจริงในเรื่องนี้จากข้อมูลเหตุการณ์ที่ไม่น่าเชื่อในปีก่อนกันดีกว่า พวกท่านจำได้ไหมครับ ? ว่าปีที่แล้ว (2018) ตลาดปรับตัวลงมาทำจุดต่ำสุดของปีในวันที่เท่าไร? คำตอบ คือ วันที่ 27 ธ.ค. ซึ่งเป็นเรื่องบังเอิญค่อนข้างมากที่วันนั้น เป็นวันหมดอายุของสัญญาฟิวเจอร์สไตรมาสสุดท้ายพอดี แล้วหากถ้าบางท่านลืมเรื่องราวไปแล้ว เราจะย้อนเวลาไปอธิบายเหตุการณ์ผ่านกราฟดังนี้
กราฟของดัชนี SET50 ในช่วงกลางปี 2018 ถึง ต้นปี 2019
จากกราฟจะเห็นว่าแท่งเทียนที่พวกเราวงเอาไว้เป็นของวันที่ 27 ธ.ค.18 ที่เป็นแท่งที่สีแดงยาวที่มีราคาปิดต่ำสุดของรอบการเคลื่อนไหวนั้น โดยที่มีเรื่องที่น่าสนใจอยู่ 2 ประเด็น
1.ตลาดพยายามเปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยกระโดดขึ้นมาแรงกว่า 20 จุด หรือประมาณ 2% ตามแรงซื้อในช่วง 4-5 วันทำการก่อนหน้าที่ปรับตัวเขียวอย่างต่อเนื่อง แต่ในระหว่างวันก็ถูกแรงขาย (จากไหนไม่รู้) ทำให้ดัชนีทิ้งดิ่งกว่า 30 จุดลงมาปิดจุดต่ำสุดของวันและของปีสวนทางกับเพื่อนบ้านอย่างหน้าตาเฉย
2.หลังจากที่ผ่านพ้นวันนี้ (วันหมดอายุของสัญญา) ไปแล้ว ตลาดไม่ทำจุดต่ำสุดอีกเลย และค่อย ๆ เดินหน้าปรับตัวขึ้น (เพื่อเล่นรอบใหม่) โดยขึ้นกว่า 100 จุดในช่วง 2 เดิอนถัดไป …