นิมิต (กรรมฐาน) - เครื่องหมายในเวลาทำสมถะกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน
เช่น นิมิตของกสิณไฟ คือ เปลวไฟ, นิมิตของอานาปานนุสติ คือ ลม เป็นต้น
นิมิตมี 3 อย่าง คือ
๑. บริกรรมนิมิต จะเห็นบ้างไม่เห็นบ้าง ( เห็นๆ หายๆ) ถ้าเห็นมากขึ้น ใจจะนิ่งมากขึ้นมี ความรู้สึกเฉยๆ
๒. อุคคหนิมิต จะเห็นตลอดแต่ยังไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความรู้สึก สบาย
๓. ปฏิภาคนิมิต จะเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้นเข้าไปแล้วจะขยาย มีความรู้สึกเป็นสุขมาก
นิมิตทำให้เกิด สมถะและวิปัสสนา
วิปัสสนาทำให้เห็น
นิมิตที่เป็นขันธ์5
นิมิตในสภาพธรรมที่กำลัง มี กำลังปรากฎ ที่เป็น
รูปนิมิต เวทนานิมิต สัญญานิมิต สังขารนิมิต วิญญาณนิมิต
นิมิตของสภาพธรรม นั่นก็คือ
ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ ซึ่งในวิปัสสนาญาณ ที่เห็นความเป็นภัย
นิมิตในสติปัฏฐาน4
ในพระไตรปิฎก ปฏิสัมภิทามรรค แสดงถึง
สังขารนิมิต นิมิตของสภาพธรรมไว้
น่าพิจารณาครับว่า พระโยคาวจร คือ ผู้ที่อบรมปัญญา พิจารณาเห็นสังขารนิมิต
ว่ามีภัยคือ สภาพธรรมในขณะนี้ ที่เกิดขึ้น และ ดับไป มีภัย เป็นต้น
ส่วน พระนิพพาน ชื่อว่าสภาพธรรมที่ไม่มีนิมิต คือ
ไม่มีลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป
ดังนั้นนิมิตอีกนัยหนึ่ง ย่อมหมายถึง สภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นนิมิตให้รู้ มีลักษณะให้รู้
หากไม่มีนิมิต ไม่มีลักษณะให้รู้ ปัญญาที่เป็นการเจริญสติปัฏฐาน วิปัสสนาญาณ
ก็ไม่สามารถรู้ได้ เพราะ ไม่มีนิมิต ลักษณะให้รู้
แต่เมื่อรู้โดยความเป็นนิมิตของสภาพธรรม
ย่อมเห็นว่าเกิดขึ้น และ ดับไป
นิมิตนั้น หาสาระไม่ได้เลย จึงเจริญอบรมปัญญา
ออกจากนิมิต คือ ประจักษ์พระนิพพาน ออกจากนิมิตที่เป็นสังขารนิมิต
ที่เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 704
อาทีนวญาณนิทเทส
นิมิตทำให้เกิดวิปัสสนา