**ชี้แจง การค้าเสรีในที่นี่หมายถึง “ตลาดเสรี” นะครับ คือการค้าที่ไม่ถูกผูกขาดโดยรัฐ**
คือ หลายแหล่งข้อมูลบอกว่า สยามหรือไทยเราเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบการค้าเสรี โดยการชักนำของอังกฤษผ่านทาง “สนธิสัญญาเบาวริ่ง” ที่ทำให้การผูกขาดของพระคลังสินค้าถูกยกเลิกไปโดยสิ้นเชิง
แต่เมื่ออ่านเนื้อความของ “สนธิสัญญาเบอร์นี่” ที่สยามได้ทำกับอังกฤษในสมัย ร.3 มีข้อตกลงว่า อังกฤษสามารถเข้ามาทำการค้ากับเอกชนได้อย่างเสรี โดยต้องทำตามธรรมเนียมของท้องที่นั้นเสียก่อน เช่น กรณีของสยามคือ “ภาษีปากเรือ” ซึ่งเมือจ่ายแล้วพ่อค้าวานิชอังกฤษสามารถค้าขายกับราษฎรได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านพระคลังสินค้าอย่างแต่เก่าก่อน
ซึ่งวิเคราะห์ดูแล้ว กรมพระคล้งสินค้าที่เคยผูกขาดก็ถูกลดบทบาทไปมากแล้วด้วยสนธิสัญญานี้ตั้งแต่ ร.3 แต่ทำไมถึงนับว่าสยามเข้าการค้าเสรีใน ร.4 ครับ
หรือว่า เพราะในข่วง ร.3 ไทยยังคงมีการจำกัดบางส่วน เช่น ห้ามขายข้าว หรือ รัฐบาลสยามยังผูกขาดการขายไม้สักอยู่ (ซึ่งอังกฤษต้องการมากๆ) ก็เลยยังไม่นับว่าสยามเข้าสู่การค้าเสรีอย่างแท้จริง?
ขอบพระคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้านะครับ ^_^
สรุปสยามเข้าสู่การค้าเสรีใน ร.4 หรือ ร.5 กันแน่ครับ
คือ หลายแหล่งข้อมูลบอกว่า สยามหรือไทยเราเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบการค้าเสรี โดยการชักนำของอังกฤษผ่านทาง “สนธิสัญญาเบาวริ่ง” ที่ทำให้การผูกขาดของพระคลังสินค้าถูกยกเลิกไปโดยสิ้นเชิง
แต่เมื่ออ่านเนื้อความของ “สนธิสัญญาเบอร์นี่” ที่สยามได้ทำกับอังกฤษในสมัย ร.3 มีข้อตกลงว่า อังกฤษสามารถเข้ามาทำการค้ากับเอกชนได้อย่างเสรี โดยต้องทำตามธรรมเนียมของท้องที่นั้นเสียก่อน เช่น กรณีของสยามคือ “ภาษีปากเรือ” ซึ่งเมือจ่ายแล้วพ่อค้าวานิชอังกฤษสามารถค้าขายกับราษฎรได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านพระคลังสินค้าอย่างแต่เก่าก่อน
ซึ่งวิเคราะห์ดูแล้ว กรมพระคล้งสินค้าที่เคยผูกขาดก็ถูกลดบทบาทไปมากแล้วด้วยสนธิสัญญานี้ตั้งแต่ ร.3 แต่ทำไมถึงนับว่าสยามเข้าการค้าเสรีใน ร.4 ครับ
หรือว่า เพราะในข่วง ร.3 ไทยยังคงมีการจำกัดบางส่วน เช่น ห้ามขายข้าว หรือ รัฐบาลสยามยังผูกขาดการขายไม้สักอยู่ (ซึ่งอังกฤษต้องการมากๆ) ก็เลยยังไม่นับว่าสยามเข้าสู่การค้าเสรีอย่างแท้จริง?
ขอบพระคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้านะครับ ^_^