ค่าส่วนกลาง​ -​ ค่ากองทุน​ ​?

กระทู้คำถาม
ค่าส่วนกลาง​ (ไม่พอ)​ .... กองทุน​ (ผู้ซื้อ)​ หมด​ ?

เมื่อเครื่องปรุงอาหาร​ "ต้มยำ" ขาด​ หรือมีไม่เพียงพอ​ เชฟ​ (Chef)​ หรือพ่อครัว​ อาจประยุกต์​ นำเครื่องปรุงอื่นที่รสชาดใกล้เคียงกัน​ ใช้ทดเเทน​ หรือเมื่อองค์กร​ บริษัทจำกัด​ห้างร้าน​ ขาดรายได้​ ขาดทุนจากการบริหารงาน​ ก็อาจจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงาน​ ลูกจ้าง​ เพื่อให้องค์กร​ อยู่รอด​ เป็นต้น​ ประเด็น​ เรื่องข้างต้น​ ผู้คนส่วนใหญ่​ มักคุ้นเคย​ เข้าใจ​ เเต่หากพ่อครัว​ เชฟ​ ไม่สามารถหาเครื่องปรุงอาหารอื่น​ ทดเเทนได้​ สำรับกับข้าว​ "ต้มยำ" ก็ไม่สามารถปรุงให้ทานได้​ หรือหากผู้บริหาร​ เจ้าของธุรกิจ​ นายจ้าง​ ไม่ลดจำนวนบุคลากร​ ลูกจ้าง​ ก็อาจส่งผลให้องค์กร​ เดินต่อไม่ได้​ หรืออาจล้มละลายได้ในที่สุด

โครงการ​ นิติบุคคลอาคารชุด​ "ก​" มีห้องชุดพักอาศัย​ รวม​กว่า​ ๕๐๐​ ยูนิต​ เรียกเก็บค่าส่วนกลางตามข้อบังคับกับเจ้าของร่วม​ ผู้ซื้อ​ รายย่อย​ เเละผู้ขาย​ รายใหญ่​ เดือนละ​ ๑​ ล้านบาท​ หรือ​ ๑๒​ ล้านบาทต่อปี​ มีรายจ่าย​เดือนละล้านบาท​ หรือ​ ๑๒​ ล้านบาทต่อปี​ ปัจจุบัน​ มีห้องชุดเหลือโอน​ รอขายเเก่ผู้สนใจ​ภายนอก​จำนวนกว่า​ ๓๐๐​ ห้องเศษ​ คิดเป็น​ ๖๐% ข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดกำหนดให้ผู้ซื้อ​ รายย่อย​ ชำระค่าส่วนกลาง​ "รายปี" ผู้ขาย ชำระ​ "รายเดือน" เเละจ่ายค่ากองทุนตามข้อบังคับให้เเก่นิติบุคคลอาคารชุดเมื่อจดทะเบียนซื้อ​ -​ ขายห้องชุดได้เเล้วเท่านั้น
ปีเเรกของการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด​ผู้ประกอบการ​ ผู้ขาย​ เเบกรับภาระค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลางตามข้อบังคับเเทนนิติบุคคลอาคารชุดทั้งหมด​ เว้นค่าใช้จ่ายการซื้อทรัพย์สิน​ ปีที่สอง​ นิติบุคคลอาคารชุด​ ก​ เริ่มใช้เงิน  หรือค่าส่วนกลางของผู้ซื้อ​ รายย่อย​ บวกกับค่าส่วนกลาง​ของผู้ขาย​ รายใหญ่​ ซึ่งชำระทีละเดือน​ หรือเดือนละครั้ง​ กับยูนิต​ ห้องชุดเหลือขาย​ อนึ่ง​ รายรับ​ เเละรายจ่ายของรอบบัญชีปีเเรก​ "ไม่เกิดปัญหา" ​นิติบุคคลอาคารชุดไม่ขาดทุน​ เหตุเพราะรายรับ​ เเละรายจ่าย​ สอดคล้อง​ สมดุลย์กับงบประมาณค่าใช้จ่ายส่วนกลางตามที่นิติบุคคลอาคารชุดเสนอต่อที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ "รับทราบ" พลันเมื่อขึ้นปีที่สาม​ นิติบุคคลอาคารชุด​ ก​ เเจ้งเรียกเก็บค่าส่วนกลาง​" รอบใหม่​" เรียกเก็บค่าส่วนกลางล่วงหน้า​ ทั้งปีกับผู้ซื้อ​ ทุกราย​ เเต่ผู้ขาย​ ผู้ประกอบการ​ เจ้าของร่วม​ รายใหญ่​ ยังคงชำระค่าส่วนกลาง​ รายเดือนๆ​ ละครั้ง​ เเละไม่จ่ายค่ากองทุนตามข้อบังคับ​ อ้างข้อบังคับ​ กำหนดให้ชำระค่าส่วนกลาง​ เเละกองทุนตามที่ข้อบังคับกำหนด
ดังนั้น​ รายรับค่าส่วนกลาง​ จำนวน​ ๑๐๐% ต่อเดือนจึงเท่ากับเดือนละ​ ๑​ ล้านบาท​ กรณีผู้ซื้อ​รายย่อย เเละผู้ขาย​ รายใหญ่​ ชำระครบถ้วน​ เเต่ข้อเท็จจริง​ ไม่ใช่​ พบว่าผู้ซื้อ​ รายย่อย​ จำนวนกว่า​ ๑​ ใน​ ๓​ ของผู้ซื้อทั้งหมด​ ชำระค่าส่วนกลาง​ รายปี​ ตามที่นิติบุคคลอาคารชุดเเจ้งยอดเรียกเก็บ​ ผู้ซื้อไม่อยู่อาศัย​ ไม่ให้เช่า​ ไม่จ่าย​ ส่วนที่จ่าย​ ได้เเก่​ ผู้ซื้ออยู่อาศัยห้องชุด หรือให้เช่า​ ดังนั้น​ รายรับค่าส่วนกลาง​ รายเดือน​ จะได้รับจริงไม่ครบ​ ๑๐๐% ระบบการบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลางในรอบ​ ๖​ เดือนเเรก​ อาจไม่กระทบต่อเจ้าของร่วม​ เหตุเพราะมีเงินส่วนกลางในอนาคต​ รองรับ​ เเต่เมื่อพ้น​ ๖​ เดือน​ ถัดมา​ รายรับค่าส่วนกลาง​ เริ่มร่อยหรอ​ มีน้อย​ มีไม่เพียงพอกับรายจ่าย​ ๑๐๐% เหตุเพราะผู้ซื้อ​ ซึ่งเป็นลูกหนี้​ จำนวน​ ๒​ ใน​ ๓​ ของผู้ซื้อรายย่อย​ทั้งหมด ค้างจ่ายค่าส่วนกลางดังกล่าว

สำหรับ​ "ค่ากองทุน" ของนิติบุคคลอาคารชุด​"ก​" จำนวน​ ๑๐๐% ของจำนวนห้องชุดทั้งหมด​ เป็นเงิน​ ๑๐​ ล้านบาท​ เเต่ปัจจุบัน​ มีเงินกองทุนของฝ่ายผู้ซื้ออย่างเดียว​ จำนวน​ ๔๐% ของห้องชุดทั้งหมด​ กล่าวคือ​ประมาณ​ ๔​ ล้านบาทเศษ​ ผู้ซื้อ​ สอบถามนิติบุคคลอาคารชุด​ เหตุใด​ ผู้ขาย​ เจ้าของร่วม​ รายใหญ่ จึงไม่จ่ายค่ากองทุนให้เหมือนผู้ซื้อตามจำนวนตารางเมตรห้องชุด​ "คงเหลือ" คำตอบ​ ได้เเก่​ ยังขายห้องชุดจำนวนดังกล่าว​ ไม่ได้​ หรือขายเมื่อใด​ จะชำระเงิน​ ค่ากองทุนตามตารางเมตร​ ให้เเก่นิติบุคคลอาคารชุด

ค่ากองทุน​ จำนวนกว่า​ ๔​ ล้านบาทเศษ​นิติบุคคลอาคารชุด​ ไม่เเยกเงินจำนวนดังกล่าว​ จากค่าส่วนกลางเป็นการต่างหาก​ เงินกองทุนอยู่ในบัญชีค่าส่วนกลาง​ ค่าน้ำประปา​ รายได้อื่นๆ​ ผู้ซื้อจึงสอบถามนิติบุคคลอาคารชุด​ เหตุใด​ ผู้จัดการ​ จึงไม่เเยกเงินกองทุนดังกล่าวออกจากบัญชีค่าส่วนกลาง​ หรือหารายได้ทางอื่นจากเงินกองทุน​ หรือจัดซื้อสลากออมสิน​ ฝากประจำธนาคาร​ เป็นต้น​ นิติบุคคลอาคารชุด​ ก​ ชี้เเจง​เงินกองทุน​ ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าส่วนกลาง​ตามข้อบังคับ ผู้จัดการสามารถนำมาใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นต้องเเจ้ง​ หรือขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการ​ หรือที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ ตามที่ข้อบังคับกำหนดเเต่อย่างใด​ ในขณะที่ข้อบังคับ​ ถูกเขียน​ กำหนดขึ้นโดยผู้ประกอบการ​ เจ้าของโครงการ​ เมื่อคราวจดทะเบียนอาคารชุดกับพนักงานเจ้าหน้าที่​ "กรมที่ดิน" อีกทั้งคะเเนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของคะเเนนเสียงทั้งหมดในอาคารชุด​ คะเเนนเสียงของผู้ขาย​ เจ้าของร่วม​ รายใหญ่​ ดังกล่าว​ ย่อมชนะคะเเนนเสียงของฝ่ายผู้ซื้อรายย่อยโดยตลอด​

ผู้ซื้อ​ "รายย่อย" ตั้งข้อสังเกตุ​ ดังนี้

๑.​ ค่าส่วนกลาง​ ผู้ขาย "รายใหญ่" ชำระรายเดือน​ ตามที่ข้อบังคับกำหนดนั้น​ ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องตามกฏหมายว่าด้วยอาคารชุด

๒.​ ผู้ขาย​ เจ้าของร่วม​ "รายใหญ่" ค้างจ่ายค่ากองทุนตามข้อบังคับ​ ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องตามกฏหมายว่าด้วยอาคารชุด

๓.​ ผู้ขาย​ "รายใหญ่" ค้างจ่ายค่าส่วนกลาง​ล่วงหน้า​ เเละค้างจ่ายค่ากองทุน​ สามารถใช้สิทธิออกเสียงลงคะเเนนในที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมได้หรือไม่

๔.​ ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ "ครั้งเเรก" เเละครั้งที่สองที่ผ่านมา​ ผู้ขาย​ "รายใหญ่" ใช้สิทธิออกเสียงลงคะเเนนในที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ มติที่ประชุมครั้งดังกล่าว​ (ในอดีต)​ ชอบด้วยกฏหมายว่าด้วยอาคารชุด​ เเละข้อบังคับหรือไม่

๕.​ ทางเเก้ไขข้อบังคับที่ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ซื้อ​ รายย่อย​ สามารถกระทำได้หรือไม่​อย่างไร​ ?

นิติบุคคลอาคารชุด​ ซึ่งผู้จัดการ​เป็น​ "นอมินี" ฝ่ายผู้ประกอบการ​ ผู้ขาย​ เจ้าของร่วม​ รายใหญ่​ ไม่ตอบ​ ไม่เเสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวให้ผู้ซื้อ​ รายย่อย​ ได้ทราบเเต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม​ เมื่อรายรับค่าส่วนกลาง​ ล่วงหน้า​ ถูกนำมาใช้จ่ายในงานบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลาง​ ส่งผลให้ตั้งเเต่เดือนที่หก​เจ็ด​ แปด​ เก้า​ มีรายรับค่าส่วนกลาง​ ไม่เพียงพอ​ นิติบุคคลอาคารชุดจึงนำเงินกองทุนของผู้ซื้อ​ รายย่อย​ จำนวนกว่า​ ๔​ ล้านบาทเศษดังกล่าวมาใช้จ่าย​ "ทดเเทน" ค่าส่วนกลางของผู้ซื้อรายย่อย​ จำนวน​ ๒​ ใน​ ๓​ ที่ค้างจ่าย​ จัดเก็บไม่ได้ ในที่สุด​ เงินกองทุนจำนวนดังกล่าว​ ก็ถูกใช้จนเกือบหมดบัญชี

ผู้ซื้อ​ "รายย่อย" สอบถามนิติบุคคลอาคารชุด​ในที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ ดังนี้

๑.​ การใช้เงินกองทุนของฝ่ายผู้ซื้อ​ ในการบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลางตามข้อบังคับ ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฏหมายว่าด้วยอาคารชุดหรือไม่

๒.​ เมื่อเงินกองทุนจำนวนดังกล่าว​ ถูกนำไปใช้ในกิจการบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลางตามข้อบังคับจนหมด​ ผู้ใดรับผิดชอบ​ ผู้ซื้อ​ หรือผู้ขาย​ จำเป็นต้องเติมเงินกองทุนให้ครบตามจำนวนดังเช่นเดิมหรือไม่

๓.​ กรณีเกิดความเสียหายใหญ่​ต่อทรัพย์ส่วนกลาง​ หรือจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อการซ่อมเเซมดังกล่าว​ เมื่อนิติบุคคลอาคารชุดไม่มีเงินออม​ กองทุน​ จะเเก้ไขความเสียหายทรัพย์ส่วนกลางตามข้อบังคับดังกล่าวอย่างไร

๔.​ กรณีที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ เสียงข้างมากของผู้ขาย​ "รายใหญ่" เเจ้งที่ประชุมฯ​ ให้เรียกเก็บเงินกับเจ้าของร่วมทุกราย​๑๐๐% เพื่อการดังกล่าวตามมาตรา​ ๔๐​ (๓) หรือข้อบังคับ​ ถูกต้องเหมาะสม​ เป็นธรรมเเก่ผู้ซื้อ​ "รายย่อย" หรือไม่

๕.​ กรณีที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ เสียงข้างมากของผู้ขาย​ "รายใหญ่" ไม่อนุมัติปรับเพิ่มค่าส่วนกลาง​ให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย​ เหตุใด​ ผู้ขาย​ จึงไม่ชำระค่าส่วนกลาง​ "ล่วงหน้า" ให้เหมือนผู้ซื้อ​ "รายย่อย"

เรียนท่านผู้อ่าน​​ *เพิ่มเติม​* โครงการ​ นิติบุคคลอาคารชุด​ "ก​" ดังกล่าวข้างต้น​ เป็นของบริษัทพัฒนาที่ดิน​ จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย​​ ซึ่งเป็นที่รู้จักของผู้คนในเเวดวงอสังหาริมทรัพย์​ หลายท่าน​ อาจคิดเช่นเดียวกับผู้เขียน​ หรือท่านผู้อ่าน​ อาจคิด​ เหตุที่ขายห้องชุดได้น้อย​ หรือขายไม่ได้​ อาจเกิดจากสาเหตุเเห่งปัญหาดังกล่าวตามที่ผู้เขียนนำเรียนให้ทราบข้างต้น​ ผู้ประกอบการ​ ผู้ขาย​ "ขาดวิสัยทัศน์" "เอารัดเอาเปรียบ" เเละ​ "ผู้จัดการ​ขาดประสิทธิภาพ" (หรือไม่​ ​?)​ หลายท่าน​ อาจมองภาพในอนาคต​ ระยะยาวได้ระดับหนึ่ง​ โครงการ​ นิติบุคคลอาคารชุด​ "ก" ดังกล่าว​ จะเป็นอย่างไร​ ?

นายพิสิฐ​ ชูประสิทธิ์

นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุด​ -​ หมู่บ้านจัดสรรไทย​ เเละ​" ที่ปรึกษา" ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน​ ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำ

ที่ปรึกษา​ "คณะกรรมการ​ -​ ผู้จัดการ" โครงการ​ นิติบุคคลอาคารชุด​ *ขนาดใหญ่​* ทั้งในกรุงเทพมหานคร​ เเละต่างจังหวัด

Email​ address​: bgathaigroup@gmail.com
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่