สิ้นปีแล้ว ชาวคอนโดทุกคนน่าจะต้องเตรียมจ่ายค่าส่วนกลางกันแล้วถูกไหมครับ วันนี้คอนโดนิวบ์เลยจะมา Talk ให้ฟัง ทุกเรื่องเกี่ยวกับค่าส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็น ค่าส่วนกลางจ่ายตอนไหน จ่ายเท่าไหร่ จ้ายแล้วนิติฯ เอาไปทำอะไร หรือแม้กระทั่งไม่จ่ายได้หรือเปล่า? คำตอบทั้งหมดอยู่ใน NewbTalk คลิปนี้ ไปดูกันเลยครับ
แต่ก่อนอื่น อยากรู้ไหมว่า
นิติเอาค่าส่วนกลางไปทำอะไรบ้าง สามารถอ่านได้ที่นี่เลย
ไม่จ่ายค่าส่วนกลางได้ไหม
หัวข้อแรกแบบร้อนแรง แบบสับ ๆ กันไปเลย กับ “ไม่จ่ายค่าส่วนกลางได้ไหม” ซึ่งคำถามนี้เชื่อไหมครับว่า มีคนถามเข้ามาในเพจกันเยอะมาก และมันสามารถแบ่งข้อชี้แจงสำหรับคำตอบนี้ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ
🚩 ในแง่ของกฎหมาย
จริง ๆ แล้ว เรื่องของค่าส่วนกลาง บางคนอาจจะคิดว่าไม่ได้มีกฎหมายอะไรมารองรับ เป็นการเก็บจาก นิติฯ ของโครงการ แต่จริง ๆ แล้วมันมี พ.ร.บ.อาคารชุดฉบับปรับปรุงปี 2551 มาตรา 11 ระบุเอาไว้เกี่ยวกับกรณีไม่จ่ายค่าส่วนกลาง แบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
กรณีไม่จ่ายค่าส่วนกลางหรือค้างชำระไม่เกิน 6 เดือน นิติบุคคลสามารถเรียกค่าปรับได้ไม่เกิน 12% ต่อปีของจำนวนที่ค้างชำระ และห้ามคิดทบต้นทบดอก
กรณีไม่จ่ายและค้างชำระเกิน 6 เดือน นิติบุคคลสามารถเรียกค่าปรับได้ไม่เกิน 20% ต่อปี และสามารถสั่งห้ามไม่ให้ใช้ค่าส่วนกลางได้ เช่น ตัดน้ำ ยกเลิกบัตรจอดรถ ห้ามใช้สระว่ายน้ำ ฟิตเนส สปา รวมถึงไม่มีสิทธิ์ออกเสียงในการประชุมแต่ละครั้งด้วย
ซึ่งนิติฯ ก็จะมีการส่งหนังสือเตือนล่วงหน้าแหละ เผื่อกรณีลืมจ่าย หรือจ่ายล่าช้าอะไรแบบนี้ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ยืนยันแล้วนะครับว่า การไม่จ่ายค่าส่วนกลาง จะมีความผิดนะ
🚩ในแง่ของเจ้าของร่วม
ในส่วนนี้ผมไม่ได้มีข้อมูลมายืนยันชัดเจนนะครับ แต่อยากจะเล่าสู่กันฟังในฐานะเจ้าของร่วมว่า ค่าส่วนกลางเป็นอะไรที่เจ้าของร่วมทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันเนอะ การไม่จ่ายค่าส่วนกลางจะเป็นการเอาเปรียบเจ้าของร่วมท่านอื่น และถ้าหากไม่จ่าย นิติฯ จะมีปัญหาของการบริหารจัดการ และสุดท้ายแล้วผลมันก็กลับมาที่เจ้าของร่วมนั่นแหละเนอะ
🚩ในแง่ของสัญญา
ตอนที่เจ้าของบ้านหรือเจ้าของร่วมคอนโดได้มีการทำสัญญาซื้อขาย จะมีการระบุเอาไว้แล้วว่า เจ้าของต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และตกลงไว้เเล้วว่าจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้
. . . . . . . . . .
จะเกิดอะไรขึ้นหากค่าส่วนกลางไม่พอ
ขอยกตัวอย่าง กรณีที่ลูกบ้านพากันไม่จ่ายค่าส่วนกลางแล้วนิติฯ มีเงินไม่เพียงพอที่จะบริหารจัดการอาคารนะครับ
🚩งบประมาณในการดูแลรักษาจะมีปัญหาที่เห็นเด่นชัดที่สุด คือ ส่วนกลางเราอาจจะเริ่มชำรุด เริ่มโทรม ใช้งานได้ไม่เต็มที่
🚩ระบบรักษาความปลอดภัยอาจเกิดความบกพร่อง ทั้งในส่วนที่ต้องใช้คนและอุปกรณ์ต่าง ๆ
🚩ค่าบำรุงรักษาโครงการจะสูงขึ้น เนื่องจากมีความทรุดโทรมหลายส่วน รวมถึงอุปกรณ์ใด ๆ ที่ต้องบำรุงอย่างสม่ำเสมอจะเสียหาย
🚩ผลกระทบสุดท้ายที่ย้อนมาคือ ราคาอสังหาริมทรัพย์จะตกเนื่องจากขาดการดูแล
ไม่จ่ายค่าส่วนกลางได้ไหม จะเกิดอะไรขึ้นหากค่าส่วนกลางไม่พอ
แต่ก่อนอื่น อยากรู้ไหมว่า นิติเอาค่าส่วนกลางไปทำอะไรบ้าง สามารถอ่านได้ที่นี่เลย
ไม่จ่ายค่าส่วนกลางได้ไหม
หัวข้อแรกแบบร้อนแรง แบบสับ ๆ กันไปเลย กับ “ไม่จ่ายค่าส่วนกลางได้ไหม” ซึ่งคำถามนี้เชื่อไหมครับว่า มีคนถามเข้ามาในเพจกันเยอะมาก และมันสามารถแบ่งข้อชี้แจงสำหรับคำตอบนี้ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ
🚩 ในแง่ของกฎหมาย
จริง ๆ แล้ว เรื่องของค่าส่วนกลาง บางคนอาจจะคิดว่าไม่ได้มีกฎหมายอะไรมารองรับ เป็นการเก็บจาก นิติฯ ของโครงการ แต่จริง ๆ แล้วมันมี พ.ร.บ.อาคารชุดฉบับปรับปรุงปี 2551 มาตรา 11 ระบุเอาไว้เกี่ยวกับกรณีไม่จ่ายค่าส่วนกลาง แบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
กรณีไม่จ่ายค่าส่วนกลางหรือค้างชำระไม่เกิน 6 เดือน นิติบุคคลสามารถเรียกค่าปรับได้ไม่เกิน 12% ต่อปีของจำนวนที่ค้างชำระ และห้ามคิดทบต้นทบดอก
กรณีไม่จ่ายและค้างชำระเกิน 6 เดือน นิติบุคคลสามารถเรียกค่าปรับได้ไม่เกิน 20% ต่อปี และสามารถสั่งห้ามไม่ให้ใช้ค่าส่วนกลางได้ เช่น ตัดน้ำ ยกเลิกบัตรจอดรถ ห้ามใช้สระว่ายน้ำ ฟิตเนส สปา รวมถึงไม่มีสิทธิ์ออกเสียงในการประชุมแต่ละครั้งด้วย
ซึ่งนิติฯ ก็จะมีการส่งหนังสือเตือนล่วงหน้าแหละ เผื่อกรณีลืมจ่าย หรือจ่ายล่าช้าอะไรแบบนี้ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ยืนยันแล้วนะครับว่า การไม่จ่ายค่าส่วนกลาง จะมีความผิดนะ
🚩ในแง่ของเจ้าของร่วม
ในส่วนนี้ผมไม่ได้มีข้อมูลมายืนยันชัดเจนนะครับ แต่อยากจะเล่าสู่กันฟังในฐานะเจ้าของร่วมว่า ค่าส่วนกลางเป็นอะไรที่เจ้าของร่วมทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันเนอะ การไม่จ่ายค่าส่วนกลางจะเป็นการเอาเปรียบเจ้าของร่วมท่านอื่น และถ้าหากไม่จ่าย นิติฯ จะมีปัญหาของการบริหารจัดการ และสุดท้ายแล้วผลมันก็กลับมาที่เจ้าของร่วมนั่นแหละเนอะ
🚩ในแง่ของสัญญา
ตอนที่เจ้าของบ้านหรือเจ้าของร่วมคอนโดได้มีการทำสัญญาซื้อขาย จะมีการระบุเอาไว้แล้วว่า เจ้าของต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และตกลงไว้เเล้วว่าจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้
. . . . . . . . . .
จะเกิดอะไรขึ้นหากค่าส่วนกลางไม่พอ
ขอยกตัวอย่าง กรณีที่ลูกบ้านพากันไม่จ่ายค่าส่วนกลางแล้วนิติฯ มีเงินไม่เพียงพอที่จะบริหารจัดการอาคารนะครับ
🚩งบประมาณในการดูแลรักษาจะมีปัญหาที่เห็นเด่นชัดที่สุด คือ ส่วนกลางเราอาจจะเริ่มชำรุด เริ่มโทรม ใช้งานได้ไม่เต็มที่
🚩ระบบรักษาความปลอดภัยอาจเกิดความบกพร่อง ทั้งในส่วนที่ต้องใช้คนและอุปกรณ์ต่าง ๆ
🚩ค่าบำรุงรักษาโครงการจะสูงขึ้น เนื่องจากมีความทรุดโทรมหลายส่วน รวมถึงอุปกรณ์ใด ๆ ที่ต้องบำรุงอย่างสม่ำเสมอจะเสียหาย
🚩ผลกระทบสุดท้ายที่ย้อนมาคือ ราคาอสังหาริมทรัพย์จะตกเนื่องจากขาดการดูแล