นี่แหละที่เรียว่า คำสาวก

คำสาวก...ย่อ

ก. สามัญญลักษณะ เป็นลักษณะสามัญเป็นลักษณะธรรมดาที่ธรรมทั้งหลาย ที่สิ่งทั้งหลายมีเหมือน ๆ กันเป็นลักษณะทั่ว ๆ ไป ที่ธรรมทั้งหลายจะต้องเป็นไป อย่างนั้น สามัญญลักษณะมี ๓ อย่าง คือ อนิจจลักษณะ ๑ ทุกขลักษณะ ๑ และ อนัตตลักษณะ ๑
อนิจจลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ไม่เที่ยง ไม่มั่นคง ไม่ยั่งยืน อยู่ได้ตลอดกาล 
ทุกขลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้ จำต้องแตกดับ เสื่อมสลายไป
อนัตตลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ว่างเปล่า ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ หมายว่าจะให้เป็นไปตามใจชอบ หาได้ไม่
เพราะเหตุว่า สามัญญลักษณะ มีสภาพ ๓ อย่าง ดังที่ได้กล่าวแล้วนี้ จึงได้ชื่อ ว่า ไตรลักษณ์ 
จิต เจตสิก และรูป มีไตรลักษณ์ คือ สามัญญลักษณะ ครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ อย่าง แต่นิพพานมีสามัญญลักษณะเพียง ๑ คือ อนัตตลักษณะเท่านั้น
ส่วนบัญญัติธรรม ไม่มีสามัญญลักษณะ ๓ อย่าง คือ ไตรลักษณ์นี้แต่อย่าง หนึ่งอย่างใดไม่เพราะบัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรมแต่เป็นบัญญัติธรรมคือ สมมติสัจจะ ที่สมมติขึ้นบัญญัติขึ้น ตามโวหารของโลกเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่มีเองเป็นเองแต่อย่างใด.............

https://ppantip.com/topic/39402957

บรรทัดที่ 8 นี่แหละที่เรียกว่า คำสาวก คือ ไม่ใช่พุทธพจน์

เพราะฉนั้น...จะเชื่อหมดทุกบรรทัด และทุกตัวอักษรคงไม่ได้... เพราะ

1   อนิจจลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ไม่เที่ยง ไม่มั่นคง ไม่ยั่งยืน
2   ทุกขลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ทนอยู่ไม่ได้ จำต้องแตกดับ เสื่อมสลายไป
3   อนัตตลักษณะ เป็นสภาวะหรือเป็นลักษณะที่ว่างเปล่า ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ หมายว่าจะให้เป็นไปตามใจชอบ หาได้ไม่....

แต่ตามความเป็นจริงของกฏธรรมนิยามมีอยู่ว่า....

เพราะมี 1 จึงเป็นเหตุให้รู้ว่าต้องมี 2  เพราะมี 1 และมี 2  จึงทำให้รู้ตามความเป็นจริงยิ่งขึ้นไปว่ามันเป็น 3

จู่ๆจะเอาข้อที่ 3 มายัดเยียดใช้กับนิพพานมันผิดฝาผิดตัวกันครับ
ไม่มีเหตุหรือที่มาที่ไป ที่จะระบุบ่งชี้ได้ว่ามันมาได้อย่างไร

เพราะฉนั้น... อย่าเชื่อไปเสียทั้งหมดโดยไม่พิจารณาให้ละเอียดถูกต้อง ถี่ถ่วน สมบุรณ์ด้วย้หตุและผล.....

จะอู้หื้อ....
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่