บทความเรื่อง "อานาปานสติ แบบ ลม3ฐาน"

กระทู้สนทนา


"เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หาย ใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ฯ" 

ให้คุณ "กำหนดรู้ลมหายใจ"  ไม่ใช่  "กำหนดลมหายใจ"  (จะต้องมีคำว่า "รู้" ด้วย) 

ให้เราหายใจ เข้า-ออก ไปตามปกติ ไม่บังคับการหายใจ (ถ้าไปบังคับมัน หรือกำหนดให้มันสั้นหรือมันยาว เราจะอึดอัด เพราะมันจะไม่เป็นธรรมชาติ) 
ร่างกายของเรามันต้องการจะหายใจอย่างไร จะหนัก จะเบา จะสั้น จะยาว ก็ให้เราหายใจไปตามปกตินั้น  

เพียงแต่ว่าให้เราเอาจิตของเรา เข้าไปกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เท่านั้น (ให้เอาจิตเข้าตามจับลมหายใจเข้าออกไปเฉยๆเท่านั้น

ให้  "กำหนดรู้"  ว่าในตอนนี้เรากำลัง หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว 
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น 
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง 

(รู้ทั้งเวลาลมเข้า รู้ทั้งเวลาลมออก รู้ทั้งเวลาลมเข้ายาว รู้ทั้งเวลาลมออกยาว รู้ทั้งเวลาลมเข้าสั้น รู้ทั้งเวลาลมออกสั้น) 

ความรู้สึกตรงจุดนี้ ยิ่งคุณรู้สึกได้ละเอียดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี  (ยิ่งรู้สึกได้ละเอียดชัดเจนมากยิ่งขึ้นเท่าไร ยิ่งเข้าฌานได้ลึกมากขึ้นเท่านั้น) 

คุณจะรู้สึกถึงการไหลของลม ได้ละเอียดชัดเจน แจ่มชัดมากขึ้น ตามความลึกของฌานสมาธิที่คุณเข้าถึงได้   
คุณจะรู้สึกว่าลมหายใจวิ่ง เป็นเส้น-เป็นสาย ลงมา กระทบจุดทั้ง 3 จุด (อานาปานสติ แบบ ลม 3 ฐาน

(ฐานที่1) จุดปลายจมูกหรือช่องจมูกหรือริมฝีปาก (แล้วแต่ว่าใครชอบที่จะกำหนดให้ลมเข้าตรงจุดไหนเป็นจุดที่1) (จุดที่ลมสัมผัส) 
(ฐานที่2) ลงมากระทบจุดหน้าอก (กลางหน้าอก ภายในลำตัว)
(ฐานที่3) ลงมากระทบจุดเหนือสะดือ (จุดศูนย์กลางกาย กลางลำตัว เหนือสะดือ 2 นิ้ว)  

หายใจเข้าเริ่มจาก จมูก-หน้าอก-เหนือสะดือ พอหายใจออกเริ่มจาก เหนือสะดือ-หน้าอก-จมูก (วิ่งลง - วิ่งขึ้น ตามจังหวะหายใจเข้าออก) 
ความรู้สึกว่าลมหายใจวิ่งผ่านจุดทั้ง 3 นี้ ยิ่งชัดเจนแจ่มชัดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี 
จะรู้สึกเหมือนเป็นลมวิ่ง เป็นเส้น-เป็นสาย หรือคล้ายสายน้ำไหล วิ่งขึ้น-วิ่งลง ผ่านทั้ง 3 จุดนี้  (จมูก-หน้าอก-สะดือ(ท้อง)) 

ถ้ารู้สึกได้ชัดเจนแค่จุดปลายจมูก เป็นแค่ ขณิกสมาธิ (สมาธิเล็กน้อยของคนทั่วไป)  
ถ้ารู้สึกได้ชัดเจนลงมาถึงจุดหน้าอก เป็น อุปจารสมาธิ (หรือ อุปจารฌาน) (สมาธิเฉียดฌาน)   
ถ้ารู้สึกได้ชัดเจนลงมาถึงจุดเหนือสะดือ (จุดศูนย์กลางกาย กลางลำตัว เหนือสะดือ 2 นิ้ว) เป็น ปฐมฌาน 

ยิ่งชัดเจน ยิ่งมีความสุข จะมีความรู้สึกถึงการไหลของลมนี้ชัดเจน เป็นเส้น-เป็นสาย วิ่งขึ้น-วิ่งลง ผ่านทั้ง 3 จุดนี้ ต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย (เอกัคคตารมณ์)


เอา ปฐมฌาน ให้ได้กันก่อน ค่อยๆสะสมกำลังของจิตไปเรื่อยๆ 
ถ้าคุณวางกำลังใจ หรือ วางอารมณ์ในขณะที่ฝึกสมาธิไม่ถูกต้อง บางทีคุณอาจจะต้องใช้เวลาคลำทางไปทั้งชีวิต 
(ถ้าวางอารมณ์ในการทำสมาธิที่ประกอบไปด้วยกิเลส คุณก็จะเข้าฌานไม่ได้) 
แต่ถ้าคุณวางกำลังใจถูก หรือ วางอารมณ์ในขณะที่ฝึกสมาธิได้ถูกต้อง ความก้าวหน้าทางสมาธิก็จะเกิดขึ้นได้เร็วมาก   

และคุณจะต้องเจริญวิปัสสนาญาณควบคู่ไปกับการปฏิบัติแบบสมถะภาวนา (ให้เห็นทุกข์-เห็นโทษ ของการมีร่างกาย และทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิด)
เพราะถ้าอารมณ์วิปัสสนาญาณของคุณต่ำ จะมีผลทำให้จิตของคุณดิ้นรนมาก คุณจะนึกถึงเหตุผลที่คุณจะต้องมาอดทนปฏิบัติธรรมไม่ออก สุดท้ายก็เลิก
(เพราะจิตที่มีกิเลสจะมีลักษณะดิ้นรน แส่ส่ายส่งออกเพื่อไปหามาเสพ จึงทำให้จิตใจสงบระงับได้ยาก) (จึงเข้าฌานไม่ได้

เพราะฉนั้น ยิ่งคุณมีอารมณ์วิปัสสนาญาณที่สูงที่เข้มข้นมากขึ้นเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งทำสมาธิได้ดีมากยิ่งขึ้นเท่านั้น 
ยิ่งวันไหนคุณรู้สึกปลงต่อโลก ปลงต่อร่างกาย วันนั้นคุณจะวางอารมณ์ในการทำสมาธิได้ดีเป็นพิเศษ (บางทีพรวดเดียว ไปถึงจุดที่ดีที่สุดในฉับพลัน)

เพราะอารมณ์กิเลสทั้งหลายแหล่ ส่วนมากเป็นการต่อยอดจากการมีร่างกาย เพราะเห็นร่างกายตนเองเป็นของดี เห็นการเวียนว่ายตายเกิดเป็นของดี
พอคุณเห็นโทษของการมีร่างกาย เห็นโทษของการเวียนว่ายตายเกิด  "อย่างตระหนักแน่แก่ใจแล้ว
อารมณ์จิตที่เคยฟุ้งซ่าน แส่ส่ายส่งออกนอกตัวไปคิดวุ่นวายเรื่องโลก ไปคิดเรื่องกิเลส ไปคิดเรื่องสัพเพเหระ มันก็จะหดสั้นเข้ามาหาตัว   

ความนิ่งแนบแน่นสนิทอยู่แต่กับลมหายใจ เป็นอารมณ์เดียว(เอกัคคตารมณ์) ก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่