JJNY : อัคราฯ เปิด6ปม ชนะคดีเหมืองทอง/โภคินพร้อม หากพรรคเสนอนั่งปธ.กมธ.ฯ/ภาคเกษตรโดนด้วย หั่นจีดีพี โตแค่0.5-1.5%ฯ

อัคราฯ เปิด 6 ปม ชนะคดีเหมืองทอง
https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/414192

งวดเข้ามาทุกทีสำหรับผลการตัดสินในคดีที่บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ประเทศออสเตรเลีย บริษัทแม่ของ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำชาตรีเหนือ และชาตรีใต้ ซึ่งอยู่ในพื้นที่คาบเกี่ยว 2 จังหวัดคือจังหวัดพิจิตร และจังหวัดเพชรบูรณ์  ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ยื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการของอนุญาโตตุลาการ ฟ้องร้องรัฐบาลไทย ใช้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ตามมาตรา 44 ให้ ระงับการอนุญาตให้สํารวจและทําเหมืองแร่ทองคํา รวมถึงการต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่ทองคําและการต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหกรรมแร่ทองคํา ในขณะที่บริษัทพยายามจะเข้าพบรัฐบาลหลายครั้ง แต่ไม่ได้รับโอกาสนั้น ทำให้บริษัท คิงส์เกท คอนโซลิเดตเต็ด จำกัด ประเทศออสเตรเลีย ตัดสินใจส่งจดหมายแจ้งรัฐบาลใช้สิทธิ์ หารือ(Consultation Process)ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทย-ออสเตรเลีย(TAFTA)

-มั่นใจชนะด้วยข้อมูลและเหตุผลที่ปรากฏ

ล่าสุดนายสิโรจ ประเสริฐผล กรรมการ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงเหตุผลว่าทำไมบริษัทถึงมั่นใจว่า จะชนะคดีแน่นอน หลังจากที่บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ประเทศออสเตรเลีย บริษัทแม่ได้ยื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการของอนุญาโตตุลาการ ฟ้องร้องรัฐบาลไทย ที่อาศัยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) มาตรา 44 ให้ระงับการอนุญาตให้สํารวจและทําเหมืองแร่ทองคํา รวมถึงการต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่ทองคําและการต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหกรรมแร่ทองคําไว้ จนกว่าคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ จะมีมติเป็นอย่างอื่น รวมทั้งให้ผู้ประกอบการที่ได้รับประทานบัตรและใบอนุญาตต่างๆ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคํา ระงับการประกอบกิจการไว้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป จนกว่าคณะกรรมการจะมีมติเป็นอย่างอื่น ทำให้เหมืองแร่ทองคำชาตรีต้องหยุดดำเนินกิจการ
ทั้งนี้เหตุผลที่ทำให้บริษัทมั่นใจ นอกจากรายละเอียดในรูปคดีที่รัฐบาลไทยขออนุญาโตตุลาการไม่ให้เปิดเผยข้อมูลด้านคดีเผยแพร่เป็นการทั่วไปแล้ว ในส่วนของบริษัท อัครา รีซอร์สเซสฯ มีความมั่นใจถึง 6 เหตุผลว่าจะเป็นฝ่ายชนะคดีดังกล่าวแน่นอนไล่ตั้งแต่ 

1. การใช้มาตรา 44  ของรัฐบาลไทยเป็นกฏเกณฑ์ที่เหนือกฏหมายสากลทั่วไป ซึ่งทางต่างประเทศจะไม่ยอมรับการใช้อำนาจแบบนี้ ซึ่งเหมือนเป็นกฏหมายพิเศษที่ใช้เฉพาะกับเมืองไทย และเป็นกฏหมายที่เกิดขึ้นในเวลาที่ไม่ปกติ

2. บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ประเทศออสเตรเลีย บริษัทแม่ของ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยตามคำเชิญชวนของรัฐบาลไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)  ตั้งก่อนปี 2540 ที่เข้ามาสำรวจแหล่งแร่  พอปี 2540 ประเทศไทยเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง บริษัทฯ ก็ตัดสินใจตั้งโรงงานถลุงแร่ทองคำและเงิน โดยในขณะนั้นเป้าหมายของรัฐบาลอยากให้ภาคเอกชนลงทุนและเร่งส่งออกเพื่อปลุกเศรษฐกิจที่กำลังวิกฤติในช่วงดังกล่าว

3. บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)มั่นใจว่า ไม่ได้เป็นต้นเหตุของปัญหากรณีที่ถูกอ้างว่า ทำเหมืองสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชาวบ้านรอบเหมือง เนื่องจากผลการตรวจสอบพบว่าไม่มีคนป่วยที่เกิดจากโลหะหนัก  

4. ผลการรายงานบริษัท แบร์โดแบร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบและประเมินมาตรฐานการปฏิบัติงานของเหมืองแร่ทองคำทั่วโลกที่กระทรวงอุตสาหกรรมเลือกมาทำการศึกษา ชี้ชัดว่าบริษัทอัครา รีซอร์สเซสฯดำเนินการได้ตามมาตรฐานของการทำเหมืองแร่ทองคำ

5. ในช่วงที่ผ่านมาระหว่างที่บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่ กระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมมลพิษ  รวมถึงเหมืองอัคราเอง มีจุดมอนิเตอร์ตรวจสอบมลพิษจากเสียง ฝุ่น แรงสั่นสะเทือนและน้ำในแหล่งใกล้รัศมีโรงงาน เพื่อดำเนินการเก็บข้อมูลทุกวัน และยังมีการเข้ามาตรวจสอบจากภาครัฐอย่างสม่ำเสมอ

6. บริษัทมีโครงการตรวจสุขภาพประจำปีของพนักงาน เนื่องจากมองว่าถ้าจะมีความเสี่ยงเกิดขึ้น  คนที่อยู่ในโรงงานจะได้รับความเสี่ยงก่อนเป็นลำดับแรก  และต่อมาขยายการดูแลสุขภาพให้กับชุมชนรอบเหมือง โดยระยะแรกจะตรวจให้กับ 27 หมู่บ้าน รอบเหมือง จนกระทั่งตรวจแล้วไม่เจอสิ่งที่บ่งบอกว่าโรงงานเป็นสาเหตุ

 “รัฐบาลขอให้เก็บเรื่องของคดีไว้เป็นความลับไม่ให้เผยแพร่    แต่ความจริงทางบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ประเทศออสเตรเลีย บริษัทแม่ของ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) อยากให้เปิดเผยเพราะอยู่ในตลาดหลักทรัพย์สเตรเลีย ซึ่งต้องแจ้งผู้ถือหุ้น”

-ไม่อยากให้มี“ผู้แพ้” หรือ” “ผู้ชนะ”ควรเจรจากันได้

  อย่างไรก็ตามคดีนี้ทางบริษัทมีความมั่นใจมาก ด้วยหลักฐานที่เรามีว่าเราถูกต้อง  แต่เวลาขึ้นศาลแล้วก็ต้องมีทั้ง “ผู้แพ้” และ “ผู้ชนะ”  แต่ก็ไม่อยากให้มีผู้ชนะหรือผู้แพ้  อยากให้ร่วมกันเจรจาหาผลประโยชน์ที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย ทั้งรัฐบาล นักลงทุน ชุมชน  มันมีทางออกถ้าเราเริ่มเจรจาหันมาคุยกันว่าแต่ละฝ่ายอยากได้ผลประโยชน์อย่างไรแล้วหาที่ลงตัวให้ได้  ผมยังหวังว่ารัฐบาลจะยอมเจรจาด้วย เพราะมันจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะวันที่ 18-29 พฤศจิกายนนี้ จะต้องไปที่ศาลที่ฮ่องกง  แต่จะยังไม่มีคำพิพากษาออกมา ก็น่าจะยิ่งมีเวลาที่สามารถเจรจากันได้อยู่  ซึ่งหลังวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 ไปแล้ว น่าจะมีเวลาอีก 2-3 เดือนก่อนที่จะมีคำพิพากษาออกมา

“พิจาณาดคีที่ฮ่องกง ซึ่จะเป็นการพิจารณาในสถานที่ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียจากทั้ง 2 ฝ่าย(รัฐบาลไทยและบริษัทคิงส์เกตฯ)  โดยครั้งนี้จะเป็นการนำข้อมูลมาพิจารณาเพื่อตัดสิน  และจะยังไม่สิ้นสุด และจะไม่มีการอุทธรณ์ แต่จะเปิดโอกาสให้เจรจากันได้ ซึ่งทางทนายฝ่ายเรา มีการคาดการณ์ว่า ฝ่ายเราจะชนะตามข้อมูลและหลักฐานและคำฟ้องที่มี”

- “อัครา”สร้างเงินหมุนเวียนในระบบศก.ได้

นายสิโรจกล่าวอีกว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากถ้าโครงการนี้ล้มไปจริงๆ แทนที่ประเทศไทยจะมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้โดยเฉพาะในจังหวัดพิจิตรกับจังหวัดเพชรบูรณ์ เพราะตลอด 15 ปีที่ผ่านมา เหมืองอัคราฯมีเงินที่เกิดจากการดำเนินกิจการและเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในประเทศไทยรวมแล้วทั้งสิ้นราว 42,000 ล้านบาท  เฉพาะค่าภาคหลวงที่เหมืองอัคราฯต้องแบกรับภาระสูงถึง 10% ของค่าภาคหลวงแร่ทั้งประเทศโดยภาครัฐเก็บค่าภาคหลวงสูงเป็นอัตราก้าวหน้าตามราคาทอง ถ้าราคาทองในปีนั้นสูง ค่าภาคหลวงก็จะสูงตาม ซึ่งเคยมีช่วงที่ทองมีราคาดีมาก บริษัทฯต้องจ่ายค่าภาคหลวงสูงกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปีก็เคยปรากฏมาแล้ว

“ถ้าคิดต้นทุนในการแบกภาระค่าภาคหลวงทั้งหมดตั้งแต่ปีที่ทำกิจการมาเป็นเงินประมาณ 4,539 ล้านบาท ยังไม่รวมภาษีเงินได้นิติบุคคล ตลอด 15 ปี เป็นเงิน 1,145 ล้านบาท  นอกจากนี้ยังมีค่าจ้างพนักงานที่มีอายุงาน 15 ปีประมาณ 1,800 ล้านบาท  อีกทั้งค่าจ้างบริษัทซับพลายเออร์ที่ทำงานบำรุงรักษา ที่ขุดเจาะเหมืองอีกประมาณ 32,363 ล้านบาท จ่ายค่ากองทุนพัฒนาท้องที่อีก 207.5 ล้านบาท และอื่นๆอีกจำนวนหนึ่งโดยเฉพาะงานด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมและการดูแลสุขภาพประชาชนในรอบๆโรงงาน”

- บริษัทแม่ “คิงส์เกต”มีข้อสงสัยสะท้อนกลับ

นายสิโรจ  กล่าวว่าก่อนหน้านี้บริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นบริษัทแม่มีข้อสงสัยหลักอยู่ 3 ประการ ไล่ตั้งแต่มีการตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลไทยไม่ยอมรับข้อเท็จจริง ทั้งที่มีเอกสารด้านต่างๆเป็นหลักฐานยืนยันมากมายปรากฏ มีทั้งเอกสารจากข้อเท็จจริงในพื้นที่  เอกสารที่เป็นข้อพิสูจน์จากผลตรวจสุขภาพของคนในพื้นที่

นอกจากนี้บริษัทแม่ยังมีข้อสงสัยอีกว่าทำไมรัฐบาลไม่ลงไปตรวจสอบว่าผู้ประท้วงที่เข้ามาร้องเรียนแต่ละครั้งนั้น เป็นคนในพื้นที่หรือคนนอกพื้นที่ และมีผลประโยชน์อะไรแอบแฝงอยู่หรือไม่  และสุดท้ายบริษัทแม่อยากได้ความยุติธรรมเกิดขึ้น เพราะคนตาย คนเจ็บที่เกิดขึ้นไม่ได้พบหลักฐานว่าบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)เป็นต้นเหตุ

“วันนี้บริษัทในฐานะเอกชนที่ต้องการสร้างความเจริญในพื้นที่ถูกกล่าวหา ก็อยากให้มีการตรวจสอบอย่างเป็นธรรมเกิดขึ้น โดยบริษัทแม่ย้ำหลายครั้งว่าไม่อยากให้ประเทศไทยเสียหาย และพร้อมที่จะเจรจาเพื่อหาทางออกร่วมกัน ได้ประโยชน์ร่วมกันโดยมีพื้นฐานที่ว่าจะต้องยอมรับความจริงกัน”

สำหรับด้านผลการดำเนินธุรกิจในช่วง 15 ปีที่ผ่านหรือระหว่างปี 2544-2559 บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เคยมีรายได้สูงถึง ประมาณ 7,000 ล้านบาทต่อปี และเคยมีกำไรสูงสุดที่ ราว 2,000 ล้านบาทต่อปี โดยรายได้จะขึ้น-ลงอยู่ที่ราคาทองแต่ละปี และสามารถถลุงแร่ทองและเงินได้ 6 ล้านตันต่อปี และผลิตทองได้ถึง 150,000 ออนซ์ ผลิตเงินได้ประมาณ 600,000-800,000 ออนซ์ ขึ้นอยู่กับแต่ละปีเพราะวัตถุดิบขึ้นอยู่กับธรรมชาติ



“โภคิน” พร้อมหากพรรคเสนอนั่ง ประธาน กมธ. ศึกษาแก้ รธน. ด้าน “วัฒนา”เชื่อ ส.ว.ส่วนใหญ่รอฟังเสียงปชช.
https://www.matichon.co.th/politics/news_1748399

“โภคิน” พร้อม หากพรรคเสนอนั่ง ประธาน กมธ. ศึกษาแก้ รธน. ด้าน “วัฒนา”เชื่อ ส.ว.ส่วนใหญ่รอฟังเสียงปชช. เพราะเห็นแค่ 3-4 คน ขาประจำเท่านั้นที่ค้าน

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 11 พฤศจิกายน ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) นายโภคิน พลกุล และนายวัฒนา เมืองสุข คณะกรรมการยุทธศาสตร์ พรรคพท. พร้อมด้วยนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรค แถลงถึงประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญ

โดยนายโภคิน กล่าวว่า เราตั้งใจให้ประเด็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องใหญ่ แล้วตัวประธาน กมธ. เป็นเรื่องรอง โดยเราตั้งใจว่า อยากให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด ตั้งแต่การตั้ง สสร. ไปจนถึงการทำประชามติ จะไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งพรรคร่วมฝ่ายค้านเราก็ได้มีการยกร่างแก้ไขขึ้น แต่ไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2 อย่างไรก็ตาม กมธ.ชุกศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ต้องเดินให้เร็ว ไม่ใช่บอกว่าให้มีแต่หา กมธ. ไปเรื่อยๆ เพราะถ้ากติกาไม่ดี การเดินไปข้างหน้าของประเทศไม่ว่าด้านไหนก็ได้รับผลกระทบ แล้วเราจะอยู่แบบนี้หรือ ตนคิดว่า กมธ. ที่เราจะเดินร่วมกันมีเรื่องที่ต้องพิจารณาใหญ่ๆ 3 ประเด็นคือ 

1. ถ้าส.ว.ไม่เอาด้วย แม้ฝ่ายค้านอยากแก้ ก็แก้ไม่ได้ หรือถ้ารัฐบาลเห็นความจำเป็นก็แก้ไม่ได้ 
2. มีบางมาตราที่เป็นปัญหาอยู่ 
และ 3. ควรเห็นชอบร่วมกันหรือไม่ที่เราต้องมีรัฐธรรมนูญที่เราทุกคนรวมไปถึงพี่น้องประชาชนได้ร่วมออกแบบร่วมกันเพื่อไม่ให้มีรัฐประหารอีกในอนาคต
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่