พท.ส่งมือดังกม.”วัฒนา-พงศ์เทพ-ชูศักดิ์”นั่งกมธ.แก้รธน.
https://www.innnews.co.th/politics/news_528958/
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงการตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า หากสัดส่วนเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมสภาฯข้อ 92 เขียนไว้ว่าให้ ครม. ตั้งกรรมาธิการได้ 1 ใน 4 ของกรรมาธิการทั้งหมด ที่เหลือให้เป็นไปตามสัดส่วนของพรรคการเมืองตามจำนวนสมาชิก พรรคเพื่อไทยจะได้ประมาณ 10-11 เสียง นั้น นอกจากจะเสนอชื่อ นายโภคิน พลกุล ชิงตำแหน่งประธาน กรรมาธิการแล้ว รายชื่ออื่นๆ ที่เหลือของพรรคล้วนเป็นนักกฎหมาย ที่มีความรู้ความชำนาญ เพื่อบ่งบอกถึงความตั้งใจ และเอาจริงของพรรคเพื่อไทย ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ รายชื่อที่คาดว่า จะร่วมเป็น กรรมาธิการของพรรค จะประกอบด้วย นาย
วัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พาณิชย์, นาย
พงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองนายกฯ, นาย
ชัยเกษม นิติสิริ อดีต รมว.ยุติธรรม, นาย
ชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย, นาย
สุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคราม,นาย
ชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.นครพนม เป็นต้น
ลุ้น "สุริยะ" ปิดจ็อบเหมืองอัครา ล่อคิงส์เกตให้สัมปทานภายใต้กม.แร่ใหม่
https://www.prachachat.net/economy/news-389774
เปิดเงื่อนไข “สุริยะ” เจรจาอัคราฯ ต้องผ่าน “พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่” สุดหิน แถมไม่คุ้มค่ากับการทำธุรกิจเหมืองทุกประเภท บล็อกธุรกิจทางอ้อม ก่อนที่จะมีการไต่สวนตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการนัดแรกในวันที่ 18 พ.ย.นี้
นาย
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงแนวทางการเจรจาข้อยุติกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ลิมิเต็ด ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้ยื่นร้องรัฐบาลไทย
ละเมิดข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ด้วยการออกคำสั่งปิดเหมืองทองคำชาตรีที่ดำเนินกิจการโดยบริษัทลูก หรือบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) โดยยื่นข้อเสนอให้ดำเนินการต่อได้แต่ต้องปฏิบัติตาม “
พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560” ซึ่งเพิ่งมีผลบังคับใช้ 29 ส.ค. 2560 เท่านั้น
แหล่งข่าวจากวงการเหมืองแร่ เปิดเผย “
ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แม้ว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะเปิดทางเจรจา แต่จนถึงขณะนี้บริษัท อัคราฯยังไม่ได้รับการตอบรับให้เข้าพบรัฐบาลไทย ส่วนทางออกที่ยื่นข้อเสนอให้อัคราฯสามารถกลับมาสำรวจแร่และทำเหมืองแร่ได้อีกครั้ง ภายใต้ พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่นั้น ถือว่าเป็นเรื่องยาก เนื่องจากแต่ละมาตรามีรายละเอียดค่อนข้างยากมากในทางปฏิบัติ และไม่คุ้มค่ากับการประกอบธุรกิจทำเหมืองต่อเกือบทุกประเภท
“การรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ซึ่งจะแยกกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่และกลุ่มนอกพื้นที่ออกได้อย่างไร รวมถึงอัตราค่าภาคหลวงใหม่ที่เมื่อเทียบกับต่างประเทศแล้ว ไทยถือว่าให้อัตราสูงที่สุด แต่แม้จะขึ้นศาลวันที่ 18 พ.ย. นี้ การเจรจาก็ยังทำได้จนกว่าจะตัดสิน”
รายงานข่าวระบุว่า พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 มี 16 หมวด 189 มาตรา ซึ่งมีความแตกต่างจากฉบับเก่าในด้านหลัก ๆ อาทิ
1. กำหนดให้ตั้งคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จากเดิมที่ไม่เคยมี เพื่อจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการแร่ทุก 5 ปี โดยคำนึงถึงเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพและสิ่งแวดล้อม
2. ให้ประชาชนในพื้นที่ทำเหมืองมีส่วนร่วมและรับฟังความเห็น ต้องปิดประกาศอย่างเปิดเผย ไม่น้อยกว่า 30 วัน ต้องทำประชาพิจารณ์ หรือทำประชามติชุมชนในพื้นที่ที่ขอประทานบัตร รวมถึงเชิญผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมสังเกตการณ์ จากเดิมใช้ประชาคมหมู่บ้าน และผู้ขอประทานบัตรต้องจัดทำรายงานผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA)
3. กระจายอำนาจออกใบสำรวจแร่ โดยอาชญาบัตรสำรวจแร่ ให้อำนาจนายกเทศมนตรี หรือนายก อบต.อนุมัติ, อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ ให้อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.), อาชญาบัตรพิเศษ ให้อธิบดี กพร. ตามมติคณะกรรมการแร่ ซึ่งปลัดกระทรวงเป็นประธานจากเดิมเป็นอำนาจ รมว.อุตสาหกรรม
4. อำนาจออกใบทำเหมืองแร่ประทานบัตร 3 ประเภท คือ เหมืองแร่ขนาดเล็กไม่เกิน 100 ไร่ เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องอนุมัติตามมติคณะกรรมการแร่จังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน, เหมืองแร่ขนาดกลางไม่เกิน 625 ไร่ และเหมืองแร่ขนาดใหญ่ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อธิบดี กพร.อนุมัติตามมติคณะกรรมการแร่
5. กำหนดให้ผู้ขออาชญาบัตรพิเศษ และผู้ขอประทานบัตรต้องเสนอผลประโยชน์พิเศษให้รัฐ และจ่ายค่าภาคหลวงแร่ตามอัตราที่กำหนดอย่างเป็นระบบมากขึ้น ส่วนค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สูงกว่าเดิม 1,000 เท่า ส่วนค่าบำรุงพิเศษจัดเก็บ 5% ของค่าภาคหลวง
6. การเยียวยาผลกระทบ ให้ผู้ถือประทานบัตรทำแผนฟื้นฟู พัฒนา และใช้ประโยชน์สิ่งแวดล้อมระหว่างทำหรือหลังปิดเหมือง และวางหลักประกัน ซึ่งเดิมไม่มี
7. ความรับผิดทางแพ่ง อาทิ กำหนดให้รัฐมีสิทธิเรียกค่าเสียหาย 2-3 เท่าของมูลค่าแร่
9. การประกอบธุรกิจแร่ ชนิดที่ไม่ได้ประกาศให้เป็นแร่ควบคุม หากชำระค่าภาคหลวงเรียบร้อยแล้ว สามารถนำไปประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต
10. ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้อำนาจ รมว.อุตสาหกรรมออกกฎกระทรวง ตามคำแนะนำของคณะกรรมการแร่
และ 11. เพิ่มโทษทางอาญาและโทษปรับสูงถึง 30 เท่าจากเดิม และจ่ายค่าปรับรายวัน
JJNY : พท.ส่ง”วัฒนา-พงศ์เทพ-ชูศักดิ์”นั่งกมธ.แก้รธน.ฯ/ลุ้น "สุริยะ" ปิดจ็อบเหมืองอัคราฯ/เอกชนชี้วิกฤตข้าวไทยปี"62ฯ
https://www.innnews.co.th/politics/news_528958/
ทั้งนี้ รายชื่อที่คาดว่า จะร่วมเป็น กรรมาธิการของพรรค จะประกอบด้วย นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พาณิชย์, นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองนายกฯ, นายชัยเกษม นิติสิริ อดีต รมว.ยุติธรรม, นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย, นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคราม,นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.นครพนม เป็นต้น
ลุ้น "สุริยะ" ปิดจ็อบเหมืองอัครา ล่อคิงส์เกตให้สัมปทานภายใต้กม.แร่ใหม่
https://www.prachachat.net/economy/news-389774
เปิดเงื่อนไข “สุริยะ” เจรจาอัคราฯ ต้องผ่าน “พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่” สุดหิน แถมไม่คุ้มค่ากับการทำธุรกิจเหมืองทุกประเภท บล็อกธุรกิจทางอ้อม ก่อนที่จะมีการไต่สวนตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการนัดแรกในวันที่ 18 พ.ย.นี้
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงแนวทางการเจรจาข้อยุติกับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด ลิมิเต็ด ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นผู้ยื่นร้องรัฐบาลไทย
ละเมิดข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ด้วยการออกคำสั่งปิดเหมืองทองคำชาตรีที่ดำเนินกิจการโดยบริษัทลูก หรือบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) โดยยื่นข้อเสนอให้ดำเนินการต่อได้แต่ต้องปฏิบัติตาม “พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560” ซึ่งเพิ่งมีผลบังคับใช้ 29 ส.ค. 2560 เท่านั้น
แหล่งข่าวจากวงการเหมืองแร่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แม้ว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะเปิดทางเจรจา แต่จนถึงขณะนี้บริษัท อัคราฯยังไม่ได้รับการตอบรับให้เข้าพบรัฐบาลไทย ส่วนทางออกที่ยื่นข้อเสนอให้อัคราฯสามารถกลับมาสำรวจแร่และทำเหมืองแร่ได้อีกครั้ง ภายใต้ พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่นั้น ถือว่าเป็นเรื่องยาก เนื่องจากแต่ละมาตรามีรายละเอียดค่อนข้างยากมากในทางปฏิบัติ และไม่คุ้มค่ากับการประกอบธุรกิจทำเหมืองต่อเกือบทุกประเภท
“การรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ซึ่งจะแยกกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่และกลุ่มนอกพื้นที่ออกได้อย่างไร รวมถึงอัตราค่าภาคหลวงใหม่ที่เมื่อเทียบกับต่างประเทศแล้ว ไทยถือว่าให้อัตราสูงที่สุด แต่แม้จะขึ้นศาลวันที่ 18 พ.ย. นี้ การเจรจาก็ยังทำได้จนกว่าจะตัดสิน”
รายงานข่าวระบุว่า พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2560 มี 16 หมวด 189 มาตรา ซึ่งมีความแตกต่างจากฉบับเก่าในด้านหลัก ๆ อาทิ
1. กำหนดให้ตั้งคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จากเดิมที่ไม่เคยมี เพื่อจัดทำแผนแม่บทบริหารจัดการแร่ทุก 5 ปี โดยคำนึงถึงเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพและสิ่งแวดล้อม
2. ให้ประชาชนในพื้นที่ทำเหมืองมีส่วนร่วมและรับฟังความเห็น ต้องปิดประกาศอย่างเปิดเผย ไม่น้อยกว่า 30 วัน ต้องทำประชาพิจารณ์ หรือทำประชามติชุมชนในพื้นที่ที่ขอประทานบัตร รวมถึงเชิญผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมเข้าร่วมสังเกตการณ์ จากเดิมใช้ประชาคมหมู่บ้าน และผู้ขอประทานบัตรต้องจัดทำรายงานผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA)
3. กระจายอำนาจออกใบสำรวจแร่ โดยอาชญาบัตรสำรวจแร่ ให้อำนาจนายกเทศมนตรี หรือนายก อบต.อนุมัติ, อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ ให้อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.), อาชญาบัตรพิเศษ ให้อธิบดี กพร. ตามมติคณะกรรมการแร่ ซึ่งปลัดกระทรวงเป็นประธานจากเดิมเป็นอำนาจ รมว.อุตสาหกรรม
4. อำนาจออกใบทำเหมืองแร่ประทานบัตร 3 ประเภท คือ เหมืองแร่ขนาดเล็กไม่เกิน 100 ไร่ เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องอนุมัติตามมติคณะกรรมการแร่จังหวัดซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน, เหมืองแร่ขนาดกลางไม่เกิน 625 ไร่ และเหมืองแร่ขนาดใหญ่ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อธิบดี กพร.อนุมัติตามมติคณะกรรมการแร่
5. กำหนดให้ผู้ขออาชญาบัตรพิเศษ และผู้ขอประทานบัตรต้องเสนอผลประโยชน์พิเศษให้รัฐ และจ่ายค่าภาคหลวงแร่ตามอัตราที่กำหนดอย่างเป็นระบบมากขึ้น ส่วนค่าธรรมเนียมต่าง ๆ สูงกว่าเดิม 1,000 เท่า ส่วนค่าบำรุงพิเศษจัดเก็บ 5% ของค่าภาคหลวง
6. การเยียวยาผลกระทบ ให้ผู้ถือประทานบัตรทำแผนฟื้นฟู พัฒนา และใช้ประโยชน์สิ่งแวดล้อมระหว่างทำหรือหลังปิดเหมือง และวางหลักประกัน ซึ่งเดิมไม่มี
7. ความรับผิดทางแพ่ง อาทิ กำหนดให้รัฐมีสิทธิเรียกค่าเสียหาย 2-3 เท่าของมูลค่าแร่
9. การประกอบธุรกิจแร่ ชนิดที่ไม่ได้ประกาศให้เป็นแร่ควบคุม หากชำระค่าภาคหลวงเรียบร้อยแล้ว สามารถนำไปประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาต
10. ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้อำนาจ รมว.อุตสาหกรรมออกกฎกระทรวง ตามคำแนะนำของคณะกรรมการแร่
และ 11. เพิ่มโทษทางอาญาและโทษปรับสูงถึง 30 เท่าจากเดิม และจ่ายค่าปรับรายวัน