ประเด็นเรื่องเหมืองทอง ที่รัฐได้อนุมัติใบอนุญาตประทานบัตรเหมืองแร่ 4 ฉบับ ในพื้นที่เหมืองทองคำชาตรี ให้กับบริษัท คิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด ลิมิเต็ดหรือ “คิงส์เกต” ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) กลายเป็นประเด็นที่พูดถึงทั้งในสื่อสังคมออนไลน์
เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้แบบรอบด้าน เราคงต้องไปดูถึงที่มาที่ไปของเรื่องราวดังกล่าวว่ามีความเป็นมาอย่างไร
พ.ศ.2543 ยุครัฐบาล นายชวน หลีกภัย มีการให้สัมปทานการทำเหมืองทอง ชื่อ “ชาตรี” บริเวณรอยต่อของ จ.พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แก่บริษัท อัครารีซอร์สเซสฯ
พ.ศ.2544 สมัยรัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร บริษัท อัครารีซอร์สเซส ฯ ได้รับสิทธิส่งเสริม BOI ได้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และเริ่มมีการผลิตทองคำในเชิงพาณิชย์
ต่อมาสมัย รัฐบาล คสช. ชาวบ้านรอบพื้นที่เหมืองทอง ร้องเรียนหน่วยงานรัฐว่า ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ มีการตรวจพบสารอันตรายในเลือด และอาหาร
16 ต.ค.58 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยุคนั้นได้รับฟังความเดือดร้อนของประชาชน และให้ความสำคัญกับปัญหานี้ โดยได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา มีตัวแทนจาก 4 กระทรวง คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และตัวแทนภาคส่วนต่างๆ เช่น นักวิชาการ ประชาชน และผู้ประกอบการ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการชุดดังกล่าวก็ไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ จนนำไปสู่การที่หัวหน้า คสช.ได้ออกคำสั่ง ม.44 ให้ผู้ประกอบการเหมืองทองคำทุกรายทั่วประเทศ ระงับการประกอบกิจการทำแร่ทองคำไว้ชั่วคราว เพื่อให้คณะกรรมการพิสูจน์ข้อเท็จจริงด้านต่างๆ ที่ประชาชนร้องเรียนมาได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ซึ่งหากรัฐบาลในขณะนั้นไม่ดำเนินการอะไร ปล่อยให้มีการทำเหมืองทองต่อไป ไม่ใส่ใจความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ก็จะถูกกล่าวหาว่าสนใจแต่ผลประโยชน์ของนายทุน ไม่สนใจชีวิตของประชาชน
ต่อมาบริษัท คิงส์เกตฯ ได้ยื่นเรียกร้องค่าเสียหายกับทางรัฐบาล แต่ตกลงกันไม่ได้ จึงนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งขณะนี้กระบวนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการยังไม่ยุติ เพราะทั้งสองฝ่ายก็พยายามหาทางออกด้วยการเจรจากัน
ส่วนเรื่องการได้ประทานบัตร ทำเหมืองเพิ่มอีก 4 ใบ ของบริษัท อัคราฯ ที่ปรากฎเป็นข่าวมาก่อนหน้านี้ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันว่า ไม่เกี่ยวกับการต่อรองให้ บริษัท คิงส์เกตฯ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท อัคราฯ ถอนฟ้องแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องที่ทางบริษัท อัคราฯ ทำแผนมาขอฟื้นฟูทำเหมืองในพื้นที่เดิม ไม่ใช่พื้นที่ใหม่ และเป็นการยื่นคำร้อง ตาม พ.ร.บ.2560 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้รัดกุม ในแง่ของการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพกับประชาชนโดยรอบ ซึ่งบริษัทยินยอมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทุกอย่างที่ทางราชการกำหนด ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง การวางหลักประกันฟื้นฟูสภาพ และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบริษัทใดที่ทำสามารถทำตามขั้นตอน กฎระเบียบได้ครบถ้วน ก็สามารถดำเนินการได้
เพราะการให้เอกชนมาประกอบกิจการทำเหมืองแร่ดังกล่าว ด้านหนึ่งเป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ และท้องถิ่น ทั้งในแง่ภาษี ค่าภาคหลวง การจ้างงาน ตลอดจนก่อให้เกิดกิจการที่เกี่ยวเนื่องที่เป็นประโยชน์กับชุมชนหลายด้าน เช่นกัน
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ทั้งในฐานะของ รัฐบาล คสช. และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ได้เข้ามาแก้ปัญหาที่มีเกิดขึ้นมาก่อน ภายใต้การจัดความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติ กับ ความปลอดภัย คุณภาพชีวิตของประชาชน ให้เดินคู่กันไปด้วยกันได้
คลิก.
https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/33/iid/77018
เหมืองแร่ทองคำอัคราพิจิตรที่หยุดกิจการไปเกือบ 6 ปี วันนี้ประกาศรับสมัครพนักงานระดับปฏิบัติการกว่า 160 ตำแหน่ง เปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ขอรับใบสมัคร ปรากฏว่าแห่กันมาเป็นพันคน หวังมีงานทำมีรายได้อยู่ใกล้บ้าน ในขณะที่เหมืองทองพร้อมเดินเครื่องปลายปี 65 หรือต้นปี 66 เชื่อมั่นเศรษฐกิจชุมชนที่เงียบเหงาจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง
คลิก.
https://www.thaipost.net/district-news/259989/
เหมืองทองอัครา สังคมควรเข้าใจรอบด้าน ชาวบ้านแห่สมัครงาน หวังมีงานทำมีรายได้อยู่ใกล้บ้าน
เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้แบบรอบด้าน เราคงต้องไปดูถึงที่มาที่ไปของเรื่องราวดังกล่าวว่ามีความเป็นมาอย่างไร
พ.ศ.2543 ยุครัฐบาล นายชวน หลีกภัย มีการให้สัมปทานการทำเหมืองทอง ชื่อ “ชาตรี” บริเวณรอยต่อของ จ.พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แก่บริษัท อัครารีซอร์สเซสฯ
พ.ศ.2544 สมัยรัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร บริษัท อัครารีซอร์สเซส ฯ ได้รับสิทธิส่งเสริม BOI ได้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และเริ่มมีการผลิตทองคำในเชิงพาณิชย์
ต่อมาสมัย รัฐบาล คสช. ชาวบ้านรอบพื้นที่เหมืองทอง ร้องเรียนหน่วยงานรัฐว่า ได้รับผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ มีการตรวจพบสารอันตรายในเลือด และอาหาร
16 ต.ค.58 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยุคนั้นได้รับฟังความเดือดร้อนของประชาชน และให้ความสำคัญกับปัญหานี้ โดยได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา มีตัวแทนจาก 4 กระทรวง คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และตัวแทนภาคส่วนต่างๆ เช่น นักวิชาการ ประชาชน และผู้ประกอบการ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการชุดดังกล่าวก็ไม่สามารถหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ จนนำไปสู่การที่หัวหน้า คสช.ได้ออกคำสั่ง ม.44 ให้ผู้ประกอบการเหมืองทองคำทุกรายทั่วประเทศ ระงับการประกอบกิจการทำแร่ทองคำไว้ชั่วคราว เพื่อให้คณะกรรมการพิสูจน์ข้อเท็จจริงด้านต่างๆ ที่ประชาชนร้องเรียนมาได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ซึ่งหากรัฐบาลในขณะนั้นไม่ดำเนินการอะไร ปล่อยให้มีการทำเหมืองทองต่อไป ไม่ใส่ใจความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ก็จะถูกกล่าวหาว่าสนใจแต่ผลประโยชน์ของนายทุน ไม่สนใจชีวิตของประชาชน
ต่อมาบริษัท คิงส์เกตฯ ได้ยื่นเรียกร้องค่าเสียหายกับทางรัฐบาล แต่ตกลงกันไม่ได้ จึงนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งขณะนี้กระบวนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการยังไม่ยุติ เพราะทั้งสองฝ่ายก็พยายามหาทางออกด้วยการเจรจากัน
ส่วนเรื่องการได้ประทานบัตร ทำเหมืองเพิ่มอีก 4 ใบ ของบริษัท อัคราฯ ที่ปรากฎเป็นข่าวมาก่อนหน้านี้ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันว่า ไม่เกี่ยวกับการต่อรองให้ บริษัท คิงส์เกตฯ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท อัคราฯ ถอนฟ้องแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องที่ทางบริษัท อัคราฯ ทำแผนมาขอฟื้นฟูทำเหมืองในพื้นที่เดิม ไม่ใช่พื้นที่ใหม่ และเป็นการยื่นคำร้อง ตาม พ.ร.บ.2560 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้รัดกุม ในแง่ของการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพกับประชาชนโดยรอบ ซึ่งบริษัทยินยอมปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทุกอย่างที่ทางราชการกำหนด ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกองทุนประกันความเสี่ยง การวางหลักประกันฟื้นฟูสภาพ และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการทำเหมือง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบริษัทใดที่ทำสามารถทำตามขั้นตอน กฎระเบียบได้ครบถ้วน ก็สามารถดำเนินการได้
เพราะการให้เอกชนมาประกอบกิจการทำเหมืองแร่ดังกล่าว ด้านหนึ่งเป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ และท้องถิ่น ทั้งในแง่ภาษี ค่าภาคหลวง การจ้างงาน ตลอดจนก่อให้เกิดกิจการที่เกี่ยวเนื่องที่เป็นประโยชน์กับชุมชนหลายด้าน เช่นกัน
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ทั้งในฐานะของ รัฐบาล คสช. และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ได้เข้ามาแก้ปัญหาที่มีเกิดขึ้นมาก่อน ภายใต้การจัดความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติ กับ ความปลอดภัย คุณภาพชีวิตของประชาชน ให้เดินคู่กันไปด้วยกันได้
คลิก. https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/33/iid/77018
เหมืองแร่ทองคำอัคราพิจิตรที่หยุดกิจการไปเกือบ 6 ปี วันนี้ประกาศรับสมัครพนักงานระดับปฏิบัติการกว่า 160 ตำแหน่ง เปิดโอกาสให้คนในพื้นที่ขอรับใบสมัคร ปรากฏว่าแห่กันมาเป็นพันคน หวังมีงานทำมีรายได้อยู่ใกล้บ้าน ในขณะที่เหมืองทองพร้อมเดินเครื่องปลายปี 65 หรือต้นปี 66 เชื่อมั่นเศรษฐกิจชุมชนที่เงียบเหงาจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง
คลิก. https://www.thaipost.net/district-news/259989/