ตามที่มีคำแถลงจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 กรณีให้เหมืองแร่ทองคำชาตรี ของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) หยุดดำเนินกิจการเหมืองภายในสิ้นปี 2559 นี้ ทางบริษัทอัคราฯ ได้ออกแถลงการณ์ว่า กรณีนี้สร้างความประหลาดใจให้กับบริษัทฯ เป็นอย่างมาก เนื่องจากบริษัทฯ ยังคงมีประทานบัตรที่ได้รับอนุญาตอยู่จนถึงปี 2571 ซึ่งบริษัทฯ ได้วางแผนการทำเหมืองไว้แล้วจนถึงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่บริษัทฯ เริ่มดำเนินกิจการ ได้พิสูจน์ให้เห็นมาตลอดว่าไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนโดยรอบเหมืองแร่ทองคำชาตรีแต่อย่างใด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีส่วนช่วยสร้างให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจแก่ประเทศไทยทั้งในระดับท้องถิ่นและต่อประเทศไทยโดยรวม
ทั้งนี้ มติของคณะรัฐมนตรีที่ให้ยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำและประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงคำขอต่ออายุประทานบัตรทั่วประเทศ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งบริษัทอัคราฯ ผู้ดำเนินงานเหมืองแร่ทองคำชาตรีได้แถลงข่าวหลังจากนั้น ขอให้ภาครัฐหาข้อสรุปด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้กระจ่างตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และคลายความกังวลใจที่เกิดขึ้นในชุมชน
นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการฝ่ายประสานกิจการภายนอก บริษัทอัคราฯ กล่าวว่า บริษัทเข้าใจถึงเหตุผลการตัดสินใจดังกล่าวว่าเป็นไปเพื่อลดความขัดแย้งด้านผลกระทบที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเหมืองแร่ทองคำชาตรี แม้จะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่ามาจากการดำเนินงานของเหมืองแร่ทองคำชาตรี ดังนั้น บริษัทขอเรียกร้องให้ภาครัฐ
1. ดำเนินการหาข้อเท็จจริงของสาเหตุความขัดแย้งด้านผลกระทบที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเหมืองแร่ทองคำชาตรี ตามหลักของวิทยาศาสตร์และธรณีวิทยา เพื่อให้เกิดความกระจ่าง และสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะชาวบ้านตัวจริงที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเหมืองแร่ทองคำ 2. บริษัทฯ ยินดีให้ความร่วมมือในทุกด้านอย่างเต็มที่ เพื่อให้ความจริงปรากฏชัด ซึ่งจะนำไปสู่มาตรฐานที่เป็นต้นแบบของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำในประเทศไทยต่อไป
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังไม่ได้รับหนังสือข้อสั่งการอย่างเป็นทางการจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จึงยังไม่สามารถให้ข้อมูล รายละเอียดแผนการดำเนินงานต่อจากนี้ได้ และยังไม่มีนโยบาย แนวทางในการใช้มาตรการทางกฎหมาย เนื่องจากต้องการดูข้อสั่งการอย่างละเอียด เพราะถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
ด้านมาตรการฟื้นฟูพื้นที่บริษัทได้ดำเนินการฟื้นฟูควบคู่ไปกับการประกอบกิจการอยู่แล้ว ตามแผนการดำเนินงานภายใต้มาตรการ EHIA อย่างเคร่งครัด แต่หากเหมืองแร่ทองคำชาตรีต้องปิดดำเนินการลงในระยะเวลาอีก 7 เดือนข้างหน้า ทางบริษัทจะต้องดำเนินการปรับแผนการทำงานใหม่
“เราเชื่อว่าความขัดแย้งที่เกิดในพื้นที่เกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจข้อมูลที่ถูกต้องทั้งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการไม่เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำตามมาตรฐานในระดับสากล จึงทำให้เกิดความกังวลในคนบางกลุ่ม ซึ่งหากเขาเหล่านั้นได้รับข้อมูลที่เพียงพอ เช่น ข้อมูลของสารโลหะหนัก เกณฑ์มาตรฐาน ผลที่เกิดต่อสุขภาพ ตามหลักวิทยาศาสตร์และสาธารณสุข ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อทั้งประชาชนในชุมชนเอง เราเชื่อว่าการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องคือหนทางสู่การลดความขัดแย้ง และแน่นอนว่าความตั้งใจดี ความจริงใจในการแก้ปัญหา และข้อเท็จจริงที่ทางบริษัทฯ มี จะสามารถลดความขัดแย้ง และทำให้เกิดความกระจ่าง จนส่งผลให้ภาครัฐพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้” นายเชิดศักดิ์กล่าว
ด้านนายสิโรจ ประเสริฐผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมีความกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานและครอบครัวกว่า 4,000 คน ต้องขาดรายได้ และต้องย้ายถิ่นฐานไปทำงานยังพื้นที่อื่น ที่ผ่านมาการดำเนินงานของเหมืองทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจในชุมชน เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้สู่ภาคธุรกิจต่างๆ ในท้องที่ เช่น ธุรกิจที่พักอาศัย รีสอร์ต ร้านอาหาร ร้านขายของชำ ต่างก็ได้รับอานิสงส์ มีเงินหมุนเวียนในท้องถิ่นกว่า 4 พันล้านบาทต่อปี
ขณะที่นายคมสัน ขวัญแก้ว อายุ 43 ปี ชาวบ้านหมู่ 8 บ้านนิคม ต.เขาเจ็ดลูก ปัจจุบันเป็นหัวหน้างานห้องทอง บมจ.อัคราฯ กล่าวถึงการทำงานในเหมืองอัคราว่า ตนมั่นใจในเหมืองอัครา โดยทำงานอยู่กับสารเคมีมามากกว่า 15 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพทั้งของบริษัทเองและจากที่อื่นก็ไม่พบสารใดๆ แม้แต่ไซยาไนด์ที่ใช้ในกระบวนการสกัดทองคำที่หลายคนกลัว สุขภาพของตนแข็งแรงปกติดี และครอบครัวของตนก็อาศัยอยู่ใกล้เหมือง หากมีการรั่วไหลของสารเคมีจริงตนคงไม่เอาตัวเองและครอบครัวมาเสี่ยง และก็คงไม่อยากให้อัคราอยู่
“พอได้ยินข่าวว่าเหมืองโดนสั่งปิดก็ช็อค ทำอะไรไม่ถูกเลย เพราะมีผมคนเดียวเป็นคนหารายได้ให้กับครอบครัว ลูกก็ยังเรียนอยู่ อีกทั้งพ่อแม่ที่ต้องดูแล และภาระหนี้สิน ผมเป็นคนในพื้นที่ตัวจริง ขอเป็นตัวแทนเพื่อนๆ พนักงานออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐเห็นใจพี่น้องพนักงาน ครอบครัว และธุรกิจในชุมชน ที่จะได้รับผลกระทบจากการปิดเหมืองแร่ทองคำชาตรี โดยพวกเรากว่าครึ่งหมื่นจะไม่มีอนาคต พวกเราพนักงานจะไม่มีงานทำ บางคนมีอายุมากก็ยิ่งหางานทำได้ยาก และโดยเฉพาะในจังหวัดเองก็ไม่มีอะไรให้ทำ หากเหมืองแร่ทองคำชาตรีปิด เราต้องย้ายไปทำงานในจังหวัดอื่น ต้องห่างจากครอบครัว พ่อ แม่ ลูก จะไม่ได้อยู่พร้อมหน้า พวกเราไม่ต้องการรับเงินชดเชยเพียงเท่านั้น แต่พวกเราต้องการที่จะมีอนาคตที่ดีในบ้านเกิดของพวกเรา” นายคมสันกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายคมสันยังตั้งคำถามกับรัฐบาลอีกว่า ยุติธรรมกับตนและพนักงานคนอื่นๆ แล้วหรือที่ตัดสินว่าเหมืองเป็นสาเหตุทำให้สารเคมีรั่วไหล แม้ว่าจะไม่มีใครกล้าออกมาฟันธงเรื่องนี้อย่างจริงจัง พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลไตร่ตรองผลการพิจารณาอีกครั้ง
เสียงเล็กๆ ของคนในพื้นที่
ทั้งนี้ ในวันแถลงข่าวมีตัวแทนพนักงาน ตัวแทนคนในชุมชนรอบเหมือง ผู้นำชุมชน มาร่วมงาน ผู้สื่อข่าวได้พูดคุยกับนายธงชัย ธีระชาติดำรง อยู่หมู่ 9 ต.เขาเจ็ดลูก อายุ 66 ปี เป็นชาวบ้านที่อยู่มาก่อนตั้งแต่ยังไม่มีเหมืองทองชาตรีฯ มีอาชีพทำไร่ปลูกดอกดาวเรือง เพาะเห็ดขาย เล่าว่า “เป็นคนที่นี่ เมื่อก่อนผมอาศัยน้ำที่สระวัดดื่มกิน อุปโภคบริโภค เริ่มมีน้ำประปาใช้ตอนที่มี อบต. แล้ว ถึงมีน้ำประปาใช้ ตอนนั้นก็ไม่ได้พิสูจน์ว่ามีแมงกานีส มีอะไรต่ออะไร ก็ใช้น้ำกันมาตลอด แต่พอมามีเหมืองเกิดขึ้น จึงมาพิสูจน์ว่าน้ำนั้นมีแมงกานีส แต่ไม่เกินมาตรฐาน แต่ประชาชนร้องเรียน บริษัทอัคราเลยจัดการเอาเครื่องกรองแมงกานีสมาใช้ โดยไม่ให้มีสารแมงกานีส”
“ปกติร่างกายต้องการแมงกานีส แต่ไม่ให้มากเกินไป พอที่ร่างกายจะกำจัดออกได้ ซึ่งผลสรุปแล้วมันไม่มีค่าเกินมาตรฐาน แม้กระทั่งผิวพรรณของผม อายุขนาดนี้ยังเป็นอย่างนี้ ใช้น้ำดื่ม น้ำอาบ ใช้หุงข้าว ซักผ้า โดยไม่ได้เอาน้ำที่อื่นมาใช้ ตรวจร่างกายเมื่อเดือนมีนาคมเมื่อวันที่ 22 ผลออกมาแมงกานีสก็ไม่เกิน หมอพิสูจน์ว่าหากคนที่แมงกานีสเกิน มือจะสั่นและเวลาเดินจะเขย่งเท้า อาการผมปกติ ตั้งแต่อยู่มาก็ปกติ ผมมีโรคประจำตัวไขมัน ความดันโลหิตสูง” นายธงชัยกล่าว
พร้อมระบุว่า “ขออนุญาตผู้สื่อข่าว หากจะลงในพื้นที่ กรุณาอย่าไปลงเฉพาะที่ผู้ร้องเรียนพาไป กรุณาไปหาผู้นำชุมชนหรือประชาชนคนอื่นๆ ที่ไม่ได้ร้องเรียนด้วย ในหมู่บ้านผมมีทั้งหมด 67 คน ผมบอกได้ว่าผู้คัดค้านมี 4-5 คน แต่เราก็ไม่คิดว่า ถึงขนาดร้องเรียนให้ปิดเหมือง แต่ก่อนผมก็เคยร้องเรียนเหมืองเหมือนกัน ตอนที่เริ่มทำเหมืองใหม่ๆ ก็มีผลกระทบจริงๆ เรื่องเสียงและฝุ่น และอีกอย่างเราก็อยากขายที่ดินด้วยในปี 2553-2554 แต่ว่าตอนนั้นเรื่องแมงกานีส เราไม่รู้เรื่องหรอก เพราะไม่ได้เป็นอะไร และที่ผ่านมาเหมืองก็แก้ไขมาโดยตลอด และคุณภาพน้ำก็ดีขึ้น ตอนนั้นที่ร้องเรียนผมก็อยากขายที่ดินให้เหมืองเพราะได้ราคาแพงๆ เขาซื้อราคาไร่ละ 500,000 บาท จากราคาไร่ละ 1,000 บาท ผมขายไป 40 กว่าไร่”
เมื่อถามต่อว่า พอขายที่ดินได้แล้วก็ไม่ประท้วงใช่หรือไม่ นายธงชัยกล่าวว่า “ไม่ใช่ ทีแรกเราเชื่อเขาว่าจะมีผลกระทบอย่างนั้นอย่างนี้ พอเราได้พบกับเหมืองจริงๆ มันไม่เป็นอย่างที่ว่า อย่างภรรยาผม (สิริรัตน์ ม่วงวัดท่า เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 บ้านเขาหม้อ) เป็นทาลัสซีเมีย (ภรรยามาร่วมให้สัมภาษณ์ด้วย) ตัดม้ามออก แต่ก็ไม่เป็นไร หากมีสารพิษจริงๆ ก็อยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีที่กรองเชื้อ ดังนั้น หากผู้สื่อข่าวจะลงพื้นที่ขอให้ลงไปที่บ้านผู้ใหญ่ หรือผู้นำชุมชน อย่าไปเจาะจงลงเฉพาะคนที่ต่อต้าน เราต้องให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย”
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ในเมื่อคนที่ต่อต้านมีน้อยทำไมไม่พูดคุยทำความเข้าใจกัน นายธงชัยกล่าวว่า “เขาไม่พูดกับใคร เขามี 4-5 คน เขาไม่สนใจคนในชุมชน เขารู้ว่าเราไม่ร้องเรียน ไม่ร่วมมือกับเขา เขาจะไม่เข้าใกล้เลย เขาก็ไปเอาคนนอกพื้นที่ เช่น เนินมะปราง, สระบุรี คนนอกพื้นที่ที่ช่วยเขา เพราะเขาเป็นเอ็นจีโอด้วยกัน เป็นเครือข่ายกัน จะไปกันเป็นทีมๆ ร้องเรียนเหมืองนี้ก็ยกกันไป ร้องเรียนเหมืองนั้นก็เฮกันไป เราก็บอกรัฐมนตรีว่าผู้คัดค้านนั้นเป็นคนนอกพื้นที่ ถ้าผู้ร้องเรียนจริงๆ ต้องโชว์บัตรประชาชน เราก็รู้ว่าไม่ใช่คนในพื้นที่ ถ้าคนในพื้นที่เราต้องรู้จัก เพราะในหมู่ 9 ของเรามีแค่ 67 คน แต่นี่ไม่มีอะไรมาแสดงให้เราดูว่าคุณเป็นคนพื้นที่จริงไหม และคนที่มาคัดค้านเราก็ไม่เคยเห็น”
ด้านนางสิริรัตน์ในฐานะผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 กล่าวเสริมว่า “ในส่วนที่ออกข่าวว่ามีชาวบ้านเสียชีวิตเรื่อยๆ พูดจริงๆแล้ว หมอออกใบมรณบัตรมาส่วนใหญ่มะเร็งทั้งนั้น ไม่เกี่ยวกับเหมือง เราไปงานศพบ่อย ไปทอดผ้าบังสกุลบ่อย เราย่อมรู้ หากบอกว่าน้ำมีสารพิษ ที่เขาบอกว่าเป็นผื่นคัน เป็นน้ำเหลืองเฟอะฟะ ไม่เกี่ยว บางคนอาจจะไปทำงาน ไปรับจ้างฉีดยามา แต่ไม่ได้ทำความสะอาดที่ดีพอก็เป็นผื่นคัน เราเป็นคนพื้นที่ เรารู้คนคนนี้เขาทำอาชีพอะไร รับจ้างอะไร เรารู้หมด”
ด้านพนักงานอีกกลุ่มหนึ่งร่วมกัน(ภาพด้านบน)ให้ความเห็นว่า “เรามาเรียกร้องความเป็นธรรม ว่าสิ่งที่คุณตัดสินให้ปิดเลยมันถูกแล้วเหรอ ทั้งที่เหมืองยังไม่มีความผิดเลย ผมอยากให้ดูว่านี่คือบัตรสภากาชาดไทย มารับบริจาคเลือดในเหมือง หลายปีมาแล้ว ทุก 3 เดือนเขามาครั้งหนึ่ง ทำไมเขายังไปรับบริจาคเลือดจากพนักงาน หากมีปัญหาเรื่องสารเคมีทำไมยังมารับบริจาคเลือด และพนักงานก็กินน้ำ ใช้น้ำ กินอาหารในบริเวณนั้น พนักงานไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ สภากาชาดยังยอมรับเลือดของพวกผมเลย ชาวบ้านบางกลุ่มบอกว่าพวกผมมีสารพิษ อยู่ในเหมือง ร่างกายผมมีเลือดบริสุทธิ์ที่สามารถไปช่วยคนอื่นได้ ต้องถามกาชาดว่าเลือดที่ได้มาจากเหมืองมีอะไรปนเปื้อน และเคยมีที่ใช้ไม่ได้เลยหรือไม่”
เสียงเล็กๆ ของคนเหมืองทองอัคราฯ ในวันที่ถูกสั่งปิด กับข้อเท็จจริงอีกด้านของชุมชน
ทั้งนี้ มติของคณะรัฐมนตรีที่ให้ยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำและประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงคำขอต่ออายุประทานบัตรทั่วประเทศ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งบริษัทอัคราฯ ผู้ดำเนินงานเหมืองแร่ทองคำชาตรีได้แถลงข่าวหลังจากนั้น ขอให้ภาครัฐหาข้อสรุปด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้กระจ่างตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และคลายความกังวลใจที่เกิดขึ้นในชุมชน
นายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้จัดการฝ่ายประสานกิจการภายนอก บริษัทอัคราฯ กล่าวว่า บริษัทเข้าใจถึงเหตุผลการตัดสินใจดังกล่าวว่าเป็นไปเพื่อลดความขัดแย้งด้านผลกระทบที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเหมืองแร่ทองคำชาตรี แม้จะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่ามาจากการดำเนินงานของเหมืองแร่ทองคำชาตรี ดังนั้น บริษัทขอเรียกร้องให้ภาครัฐ
1. ดำเนินการหาข้อเท็จจริงของสาเหตุความขัดแย้งด้านผลกระทบที่มีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเหมืองแร่ทองคำชาตรี ตามหลักของวิทยาศาสตร์และธรณีวิทยา เพื่อให้เกิดความกระจ่าง และสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะชาวบ้านตัวจริงที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเหมืองแร่ทองคำ 2. บริษัทฯ ยินดีให้ความร่วมมือในทุกด้านอย่างเต็มที่ เพื่อให้ความจริงปรากฏชัด ซึ่งจะนำไปสู่มาตรฐานที่เป็นต้นแบบของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำในประเทศไทยต่อไป
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังไม่ได้รับหนังสือข้อสั่งการอย่างเป็นทางการจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จึงยังไม่สามารถให้ข้อมูล รายละเอียดแผนการดำเนินงานต่อจากนี้ได้ และยังไม่มีนโยบาย แนวทางในการใช้มาตรการทางกฎหมาย เนื่องจากต้องการดูข้อสั่งการอย่างละเอียด เพราะถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
ด้านมาตรการฟื้นฟูพื้นที่บริษัทได้ดำเนินการฟื้นฟูควบคู่ไปกับการประกอบกิจการอยู่แล้ว ตามแผนการดำเนินงานภายใต้มาตรการ EHIA อย่างเคร่งครัด แต่หากเหมืองแร่ทองคำชาตรีต้องปิดดำเนินการลงในระยะเวลาอีก 7 เดือนข้างหน้า ทางบริษัทจะต้องดำเนินการปรับแผนการทำงานใหม่
“เราเชื่อว่าความขัดแย้งที่เกิดในพื้นที่เกิดจากความไม่รู้ ไม่เข้าใจข้อมูลที่ถูกต้องทั้งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการไม่เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำตามมาตรฐานในระดับสากล จึงทำให้เกิดความกังวลในคนบางกลุ่ม ซึ่งหากเขาเหล่านั้นได้รับข้อมูลที่เพียงพอ เช่น ข้อมูลของสารโลหะหนัก เกณฑ์มาตรฐาน ผลที่เกิดต่อสุขภาพ ตามหลักวิทยาศาสตร์และสาธารณสุข ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อทั้งประชาชนในชุมชนเอง เราเชื่อว่าการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องคือหนทางสู่การลดความขัดแย้ง และแน่นอนว่าความตั้งใจดี ความจริงใจในการแก้ปัญหา และข้อเท็จจริงที่ทางบริษัทฯ มี จะสามารถลดความขัดแย้ง และทำให้เกิดความกระจ่าง จนส่งผลให้ภาครัฐพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง ตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้” นายเชิดศักดิ์กล่าว
ด้านนายสิโรจ ประเสริฐผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมีความกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของพนักงานและครอบครัวกว่า 4,000 คน ต้องขาดรายได้ และต้องย้ายถิ่นฐานไปทำงานยังพื้นที่อื่น ที่ผ่านมาการดำเนินงานของเหมืองทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจในชุมชน เกิดการจ้างงาน การกระจายรายได้สู่ภาคธุรกิจต่างๆ ในท้องที่ เช่น ธุรกิจที่พักอาศัย รีสอร์ต ร้านอาหาร ร้านขายของชำ ต่างก็ได้รับอานิสงส์ มีเงินหมุนเวียนในท้องถิ่นกว่า 4 พันล้านบาทต่อปี
ขณะที่นายคมสัน ขวัญแก้ว อายุ 43 ปี ชาวบ้านหมู่ 8 บ้านนิคม ต.เขาเจ็ดลูก ปัจจุบันเป็นหัวหน้างานห้องทอง บมจ.อัคราฯ กล่าวถึงการทำงานในเหมืองอัคราว่า ตนมั่นใจในเหมืองอัครา โดยทำงานอยู่กับสารเคมีมามากกว่า 15 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพทั้งของบริษัทเองและจากที่อื่นก็ไม่พบสารใดๆ แม้แต่ไซยาไนด์ที่ใช้ในกระบวนการสกัดทองคำที่หลายคนกลัว สุขภาพของตนแข็งแรงปกติดี และครอบครัวของตนก็อาศัยอยู่ใกล้เหมือง หากมีการรั่วไหลของสารเคมีจริงตนคงไม่เอาตัวเองและครอบครัวมาเสี่ยง และก็คงไม่อยากให้อัคราอยู่
“พอได้ยินข่าวว่าเหมืองโดนสั่งปิดก็ช็อค ทำอะไรไม่ถูกเลย เพราะมีผมคนเดียวเป็นคนหารายได้ให้กับครอบครัว ลูกก็ยังเรียนอยู่ อีกทั้งพ่อแม่ที่ต้องดูแล และภาระหนี้สิน ผมเป็นคนในพื้นที่ตัวจริง ขอเป็นตัวแทนเพื่อนๆ พนักงานออกมาเรียกร้องให้ภาครัฐเห็นใจพี่น้องพนักงาน ครอบครัว และธุรกิจในชุมชน ที่จะได้รับผลกระทบจากการปิดเหมืองแร่ทองคำชาตรี โดยพวกเรากว่าครึ่งหมื่นจะไม่มีอนาคต พวกเราพนักงานจะไม่มีงานทำ บางคนมีอายุมากก็ยิ่งหางานทำได้ยาก และโดยเฉพาะในจังหวัดเองก็ไม่มีอะไรให้ทำ หากเหมืองแร่ทองคำชาตรีปิด เราต้องย้ายไปทำงานในจังหวัดอื่น ต้องห่างจากครอบครัว พ่อ แม่ ลูก จะไม่ได้อยู่พร้อมหน้า พวกเราไม่ต้องการรับเงินชดเชยเพียงเท่านั้น แต่พวกเราต้องการที่จะมีอนาคตที่ดีในบ้านเกิดของพวกเรา” นายคมสันกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายคมสันยังตั้งคำถามกับรัฐบาลอีกว่า ยุติธรรมกับตนและพนักงานคนอื่นๆ แล้วหรือที่ตัดสินว่าเหมืองเป็นสาเหตุทำให้สารเคมีรั่วไหล แม้ว่าจะไม่มีใครกล้าออกมาฟันธงเรื่องนี้อย่างจริงจัง พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลไตร่ตรองผลการพิจารณาอีกครั้ง
เสียงเล็กๆ ของคนในพื้นที่
ทั้งนี้ ในวันแถลงข่าวมีตัวแทนพนักงาน ตัวแทนคนในชุมชนรอบเหมือง ผู้นำชุมชน มาร่วมงาน ผู้สื่อข่าวได้พูดคุยกับนายธงชัย ธีระชาติดำรง อยู่หมู่ 9 ต.เขาเจ็ดลูก อายุ 66 ปี เป็นชาวบ้านที่อยู่มาก่อนตั้งแต่ยังไม่มีเหมืองทองชาตรีฯ มีอาชีพทำไร่ปลูกดอกดาวเรือง เพาะเห็ดขาย เล่าว่า “เป็นคนที่นี่ เมื่อก่อนผมอาศัยน้ำที่สระวัดดื่มกิน อุปโภคบริโภค เริ่มมีน้ำประปาใช้ตอนที่มี อบต. แล้ว ถึงมีน้ำประปาใช้ ตอนนั้นก็ไม่ได้พิสูจน์ว่ามีแมงกานีส มีอะไรต่ออะไร ก็ใช้น้ำกันมาตลอด แต่พอมามีเหมืองเกิดขึ้น จึงมาพิสูจน์ว่าน้ำนั้นมีแมงกานีส แต่ไม่เกินมาตรฐาน แต่ประชาชนร้องเรียน บริษัทอัคราเลยจัดการเอาเครื่องกรองแมงกานีสมาใช้ โดยไม่ให้มีสารแมงกานีส”
“ปกติร่างกายต้องการแมงกานีส แต่ไม่ให้มากเกินไป พอที่ร่างกายจะกำจัดออกได้ ซึ่งผลสรุปแล้วมันไม่มีค่าเกินมาตรฐาน แม้กระทั่งผิวพรรณของผม อายุขนาดนี้ยังเป็นอย่างนี้ ใช้น้ำดื่ม น้ำอาบ ใช้หุงข้าว ซักผ้า โดยไม่ได้เอาน้ำที่อื่นมาใช้ ตรวจร่างกายเมื่อเดือนมีนาคมเมื่อวันที่ 22 ผลออกมาแมงกานีสก็ไม่เกิน หมอพิสูจน์ว่าหากคนที่แมงกานีสเกิน มือจะสั่นและเวลาเดินจะเขย่งเท้า อาการผมปกติ ตั้งแต่อยู่มาก็ปกติ ผมมีโรคประจำตัวไขมัน ความดันโลหิตสูง” นายธงชัยกล่าว
พร้อมระบุว่า “ขออนุญาตผู้สื่อข่าว หากจะลงในพื้นที่ กรุณาอย่าไปลงเฉพาะที่ผู้ร้องเรียนพาไป กรุณาไปหาผู้นำชุมชนหรือประชาชนคนอื่นๆ ที่ไม่ได้ร้องเรียนด้วย ในหมู่บ้านผมมีทั้งหมด 67 คน ผมบอกได้ว่าผู้คัดค้านมี 4-5 คน แต่เราก็ไม่คิดว่า ถึงขนาดร้องเรียนให้ปิดเหมือง แต่ก่อนผมก็เคยร้องเรียนเหมืองเหมือนกัน ตอนที่เริ่มทำเหมืองใหม่ๆ ก็มีผลกระทบจริงๆ เรื่องเสียงและฝุ่น และอีกอย่างเราก็อยากขายที่ดินด้วยในปี 2553-2554 แต่ว่าตอนนั้นเรื่องแมงกานีส เราไม่รู้เรื่องหรอก เพราะไม่ได้เป็นอะไร และที่ผ่านมาเหมืองก็แก้ไขมาโดยตลอด และคุณภาพน้ำก็ดีขึ้น ตอนนั้นที่ร้องเรียนผมก็อยากขายที่ดินให้เหมืองเพราะได้ราคาแพงๆ เขาซื้อราคาไร่ละ 500,000 บาท จากราคาไร่ละ 1,000 บาท ผมขายไป 40 กว่าไร่”
เมื่อถามต่อว่า พอขายที่ดินได้แล้วก็ไม่ประท้วงใช่หรือไม่ นายธงชัยกล่าวว่า “ไม่ใช่ ทีแรกเราเชื่อเขาว่าจะมีผลกระทบอย่างนั้นอย่างนี้ พอเราได้พบกับเหมืองจริงๆ มันไม่เป็นอย่างที่ว่า อย่างภรรยาผม (สิริรัตน์ ม่วงวัดท่า เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 บ้านเขาหม้อ) เป็นทาลัสซีเมีย (ภรรยามาร่วมให้สัมภาษณ์ด้วย) ตัดม้ามออก แต่ก็ไม่เป็นไร หากมีสารพิษจริงๆ ก็อยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีที่กรองเชื้อ ดังนั้น หากผู้สื่อข่าวจะลงพื้นที่ขอให้ลงไปที่บ้านผู้ใหญ่ หรือผู้นำชุมชน อย่าไปเจาะจงลงเฉพาะคนที่ต่อต้าน เราต้องให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย”
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ในเมื่อคนที่ต่อต้านมีน้อยทำไมไม่พูดคุยทำความเข้าใจกัน นายธงชัยกล่าวว่า “เขาไม่พูดกับใคร เขามี 4-5 คน เขาไม่สนใจคนในชุมชน เขารู้ว่าเราไม่ร้องเรียน ไม่ร่วมมือกับเขา เขาจะไม่เข้าใกล้เลย เขาก็ไปเอาคนนอกพื้นที่ เช่น เนินมะปราง, สระบุรี คนนอกพื้นที่ที่ช่วยเขา เพราะเขาเป็นเอ็นจีโอด้วยกัน เป็นเครือข่ายกัน จะไปกันเป็นทีมๆ ร้องเรียนเหมืองนี้ก็ยกกันไป ร้องเรียนเหมืองนั้นก็เฮกันไป เราก็บอกรัฐมนตรีว่าผู้คัดค้านนั้นเป็นคนนอกพื้นที่ ถ้าผู้ร้องเรียนจริงๆ ต้องโชว์บัตรประชาชน เราก็รู้ว่าไม่ใช่คนในพื้นที่ ถ้าคนในพื้นที่เราต้องรู้จัก เพราะในหมู่ 9 ของเรามีแค่ 67 คน แต่นี่ไม่มีอะไรมาแสดงให้เราดูว่าคุณเป็นคนพื้นที่จริงไหม และคนที่มาคัดค้านเราก็ไม่เคยเห็น”
ด้านนางสิริรัตน์ในฐานะผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 กล่าวเสริมว่า “ในส่วนที่ออกข่าวว่ามีชาวบ้านเสียชีวิตเรื่อยๆ พูดจริงๆแล้ว หมอออกใบมรณบัตรมาส่วนใหญ่มะเร็งทั้งนั้น ไม่เกี่ยวกับเหมือง เราไปงานศพบ่อย ไปทอดผ้าบังสกุลบ่อย เราย่อมรู้ หากบอกว่าน้ำมีสารพิษ ที่เขาบอกว่าเป็นผื่นคัน เป็นน้ำเหลืองเฟอะฟะ ไม่เกี่ยว บางคนอาจจะไปทำงาน ไปรับจ้างฉีดยามา แต่ไม่ได้ทำความสะอาดที่ดีพอก็เป็นผื่นคัน เราเป็นคนพื้นที่ เรารู้คนคนนี้เขาทำอาชีพอะไร รับจ้างอะไร เรารู้หมด”
ด้านพนักงานอีกกลุ่มหนึ่งร่วมกัน(ภาพด้านบน)ให้ความเห็นว่า “เรามาเรียกร้องความเป็นธรรม ว่าสิ่งที่คุณตัดสินให้ปิดเลยมันถูกแล้วเหรอ ทั้งที่เหมืองยังไม่มีความผิดเลย ผมอยากให้ดูว่านี่คือบัตรสภากาชาดไทย มารับบริจาคเลือดในเหมือง หลายปีมาแล้ว ทุก 3 เดือนเขามาครั้งหนึ่ง ทำไมเขายังไปรับบริจาคเลือดจากพนักงาน หากมีปัญหาเรื่องสารเคมีทำไมยังมารับบริจาคเลือด และพนักงานก็กินน้ำ ใช้น้ำ กินอาหารในบริเวณนั้น พนักงานไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ สภากาชาดยังยอมรับเลือดของพวกผมเลย ชาวบ้านบางกลุ่มบอกว่าพวกผมมีสารพิษ อยู่ในเหมือง ร่างกายผมมีเลือดบริสุทธิ์ที่สามารถไปช่วยคนอื่นได้ ต้องถามกาชาดว่าเลือดที่ได้มาจากเหมืองมีอะไรปนเปื้อน และเคยมีที่ใช้ไม่ได้เลยหรือไม่”